ทีละหลังสองหลัง

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 October 2011 เวลา 0:22 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2883

บันทึกนี้เป็นบันทึกที่พันสามร้อยของลานซักล้าง ไม่ใช่โอกาสที่จะฉลองอะไรหรอกนะครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่าเรื่องราวที่เขียนทุกวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่หน่อมแน้มเรื่อยเจื้อยแบบนี้ เขียนไม่ยาก เพียงแต่สังเกตเหตุการณ์รอบตัว พยายามแยกประเด็นออกมาให้ชัดเพื่อให้บันทึกทันสมัยอยู่เสมอ… ส่วนบันทึกอ่านยากก็ไม่เป็นไร มีคนอ่านแล้วได้ประโยชน์ก็พอ ถ้าเขียนแล้วไม่มีใครได้อะไรเลย เสียเวลาเปล่า

หลายวันที่ผ่านมา ได้รับรู้เรื่องราวว่าบ้านเพื่อน บ้านลูกน้องเก่า จมไปทีละหลังสองหลัง ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ที่บ้านยังไม่ท่วม แต่ก็ไม่รู้ว่าจะอีกนานเท่าไร น้ำเหนือยังมีปริมาณมหาศาล เขื่อนทานแรงน้ำอยู่เป็นเดือนแล้วว กลัวใจเลยว่าพอเห็นว่าทนได้ ก็จะไม่เสริมความแข็งแรง และความประมาทนี้จะนำไปสู่ความพินาศ

ผมพาพ่อแม่ออกมาอยู่หัวหิน คนเป็นล้าน แต่ก็อยู่สุขสบายดี ยังมีคนที่เป็นห่วงอยู่ในพื้นที่ประสบภัยและพื้นที่เสี่ยงอีกมาก แต่ทุกอย่างก็ต้องจัดลำดับความสำคัญทั้งนั้นละครับ สิ่งใดติดขัดก็หาทางแก้ไขไปทีละเปลาะ

ถ้าผมยังบริหารอยู่ คงประกาศปิดบริษัทในส่วนที่ไม่จำเป็นไปแล้ว นึกถึงใจเชาใจเรานะครับ ถ้าบ้านพนักงานน้ำท่วม จะเดินทางมาทำงานลำบากมาก มีครอบครัว มีทรัพย์สินที่ต้องดูแล จะถือว่าบริษัทจ่ายเงินเดือนแล้วต้องมาทำงาน ดูจะเป็นความเลือดเย็นเกินไป ส่วนใครจะบอกว่าบริษัทจดทะเบียนต้องโกยกำไรให้ผู้ถือหุ้นให้มากที่สุด ดังนั้นต้องทำงานไปเรื่อยๆ ก็เป็นแนวคิดทุนนิยมแบบไร้วิญญาณ ลืมคิดไปว่าถ้าพนักงานที่ไม่มีกะใจทำงาน ไม่น่าจะได้ผลงานที่ดี

อ่านต่อ »


วงจรน้ำขึ้น-น้ำลง

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 October 2011 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3221

ประมาณการน้ำขึ้นสูงสุดพรุ่งนี้ หลังจากนั้น น้ำทะเลก็จะหนุนน้อย — น้ำขึ้นสูงในวันขึ้นแรม 15 ค่ำ และน้ำลงต่ำสุดในวันขึ้นแรม 8 ค่ำ — แม้เขื่อนยังไม่พัง ก็อย่างเพิ่งดีใจว่าจะรอด

ในช่วงที่น้ำทะเลหนุนน้อยลง เป็นจังหวะของการระบายน้ำ ซึ่งมีเรื่องที่ยังต้องทำอีกเยอะ ก่อนที่น้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน

พื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหลผ่าน ก็จะยังมีน้ำไหลผ่านไปอีกนานครับ ระดับน้ำจะไม่ได้ลดลง น้ำเหนือยังมีปริมาณอีกมากมายที่นังต้องระบายไปลงทะเลครับ

ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ไปพังคันกั้นน้ำที่คลองประปานั้น ทำให้การผลิตน้ำประปาเป็นปัญหาไปทั่วทั้งกรุงเทพ ฉลาดซะทีดีไหมครับ พังคันกั้นน้ำลงไป ก็ไม่ได้ทำให้น้ำที่ท่วมบ้านท่านอยู่ลดลงไป

ถ้าจะให้น้ำลด ต้องไปกู้คันกั้นน้ำที่แตกไปแล้วขึ้นมาใหม่ แล้วระบายเอาน้ำที่ขังอยู่ออกไปจากพื้นที่ ถ้ามีแรงเหลือ กรุณาใช้แรงย่ด้วยครับ

สำหรับคันกั้นน้ำและแนวกระสอบทรายที่ยังทานแรงน้ำอยู่ อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะคันดินและแนวกระสอบทรายต้านทานน้ำมาเป็นเดือนแล้ว ย่อมเปียก เปื่อย มีน้ำซึม ทำให้สูญเสียความแข็งแรง จังหวะที่น้ำลงนี้ เป็นจังหวะที่ต้องเสริมความแข็งแรงของคันดินและแนวกระสอบทราย ไม่ใช่รอลุ้นว่าเมื่อไหร่มันจะพังครับ

อ่านต่อ »


สัญญาณน้ำ

อ่าน: 2464

น้ำท่วมกรุงเทพ ก็เป็นการศึกษาภูมิศาสตร์อีกแบบหนึ่ง คือสื่อสารมวลชนแทบจะอุทิศเนื้อที่ทั้งหมดให้กับข่าวนี้

แต่การศึกษาที่ดีนั้น ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก หรือฟันธงว่าถูกหรือผิด เราโตๆ กันแล้ว ไม่ได้กำลังทำข้อสอบอยู่นะครับ การศึกษาที่นำไปสู่ความรู้นั้นไม่ใช่แค่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่จะต้องเข้าใจความหมายจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อีกด้วย

บันทึกนี้ผมมีบางประเด็นจะเสนอ

  1. เขื่อนต่างๆ ที่แตกแล้ว และได้พิจารณาแล้วว่าน้ำปริมาณมากจะไม่บ่ามาเพิ่มอีก ตัวคันดินและกระสอบทรายจะกักน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำลดช้าและนิ่งจนเน่าเสีย ดังนั้นหากคันดินแตกแล้วจนน้ำด้านนอกและด้านในแนวป้องกันมีระดับที่เท่ากัน จะดีกว่าหรือไม่หากจะรื้อคันดินออก เปิดทางให้น้ำไหลออกได้สะดวก กระสอบทรายที่น้ำล้นข้ามมาแล้ว ควรย้ายไปเสริมหลังแนวกำแพงบริเวณแม่น้ำหรือส่วนที่ยังทานอยู่ดีไหม ในช่วงน้ำท่วมเครื่องมือกลเข้าพื้นที่ไม่ได้ ข้อเท็จจริงก็คือมันก็ไม่ง่ายที่จะรื้อออกหรอกครับ แต่ก็ยังน่าพิจารณาอย่ดี
  2. น้ำที่ไหลข้ามถนน น่าจะเป็นตัวชี้บ่งถึงปริมาณน้ำที่กำลังมาได้ ยกตัวอย่างเช่นระดับน้ำที่ไหลข้ามถนนสายเอเซีย (ขึ้นเหนือผ่านอยุธยา) หรือถนนรังสิต-สระบุรีแถววังน้อย หรือระดับน้ำบนถนนสายอื่นๆ… ไม่น่ายากที่จะทำไม้วัดระดับน้ำสักอัน ปักไว้กับดิน ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้เทียบกับระดับน้ำทะเลานกลาง เช่นบนนถนนหนึ่ง วันนี้ระดับ +10 ซม. ถ้าพรุ่งนี้เหลือ +5 ซม. ก็แปลว่าน้ำมาลดลงแล้ว ข้อมูลที่ไม่เป็นวิชาการอย่างนี้ ใครก็ทำได้ ไม่มีต้นทุน แต่ส่งสัญญาณสำคัญเพื่อให้การจัดการปั๊มน้ำ วางแผนได้ดียิ่งขึ้น… ถ้าน้ำไม่ข้ามถนนจากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาทาง อ.วังน้อย (โรงไฟฟ้าวังน้อยของ กฟผ.) หรือ อ.คลองหลวง (หน้าธรรมศาสตร์รังสิต) ก็แปลว่าแรงกดดันต่อคันดินและกำแพงกระสอบทรายต่อคลองรังสิต จะลดลงมหาศาล
  3. ควรจะมีการจัดตั้งเครือข่ายเตือนภัยในภาคประชาชน หากระดับน้ำสูงขึ้นผิดปกติ ผู้ที่อยู่เหนือน้ำ สามารถแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำไปยังผู้ที่อยู่ใต้น้ำได้ ให้ระวังคันดิน/กระสอบทรายที่มีอยู่ อาจจะต้องเสริมความสูงหรือความแข็งแรง เพื่อที่ว่าผู้ที่อยู่ทางใต้น้ำ จะได้มีโอกาสสูงขึ้น วิธีที่ดีที่สุดคือถ่ายรูปแล้วทวิตบอกครับ ติดแท็ก #thaiflood ด้วยเสมอ ส่วนจะติด tag อื่นด้วย ก็ติดไปตามสบายครับ
  4. น้ำทะเลหนุนสูงสุดวันที่ 30 นี้ จากนั้นก็จะค่อยๆลดลง แต่จะหนุนสูงสุดอีกครั้งหนึ่งประมาณกลางเดือนหน้า ดังนั้นจะทำอะไรก็รีบทำซะครับ น้ำเหนือยังมีอีกมาก ไม่ใช่ว่าผ่านรอบนี้ไปแล้วจะจบ
  5. ถ้ายังไม่ได้อ่านบันทึกที่แล้ว ลองไปอ่านดูนะครับ อ่านทุกลิงก์ในบันทึก สอนวิธีทำอีเอ็มเพื่อใช้บำบัดกลิ่นน้ำเน่า จะต้องใช้เวลาหมักน้ำอีเอ็ม 7 วัน ดังนั้นยิ่งเริ่มเร็วก็ยิ่งดี ใช้ขวดพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท (ขวดน้ำหรือขวดน้ำอัดลม) ใช้น้ำตาลทรายแดง ใช้น้ำที่ท่วมอยู่นั่นแหละ และหัวเชิ้ออีเอ็มที่ราคาไม่แพง ผสมในสัดส่วนที่ถูกต้อง ตั้งทิ้งไว้ในร่ม 7 วัน — หัวเชื้อ 1 ลิตร หมัก 7 วันได้ 100 ลิตร ถ้าเอาอีเอ็ม 100 ลิตรนี้ไปหมักต่อ อีก 7 วันกลายเป็นหมื่นลิตร แล้วถ้ายังทนเหม็นได้ไม่ยอมเอาไปใช้ ก็หมักต่อ อีก 7 วันกลายเป็นล้านลิตร


บำบัดกลิ่นน้ำท่วมขัง

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 October 2011 เวลา 19:49 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3401

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ช่วงที่เรือน้ำตาลล่มที่อยุธยาทำให้แม่น้ำเน่าเสีย ผมเขียนบันทึกชุดใหญ่เรื่อง EM Ball ในการปรับสภาพน้ำเน่า ตอนนี้ถึงเวลาใช้จริงจังแล้วครับ… ที่จริงควรทำก่อนหน้านี้ แต่ขืนตีฆ้องร้องป่าวไปก็ไม่มีใครสนใจเพราะว่าคนสนใจเรื่องน้ำจะท่วมบ้านหรือไม่มากกว่า แต่ถ้าเริ่มวันนี้ก็ยังไม่สายเกินไปแม้จะไม่ทันใจก็ตาม

ถ้าหากว่าน้ำท่วมยังเป็นน้ำไหลหลาก ควรจะทิ้ง EM Ball เหนือน้ำครั้ง EM Ball แต่ละลูกพอจะบำบัดน้ำได้ 4-7 ลูกบาศก์เมตร น้ำที่หลากจะพัดจุลินทรีย์ไป ดังนั้นอาจจะไม่เห็นผลทันใจ แต่ก็ยังใช้ได้ ถือว่าช่วยผู้ที่อยู่ปลายน้ำก็แล้วกันครับ

แต่ถ้าเป็นกรณีน้ำท่วมขัง อันนี้เรื่องใหญ่ เพราะน้ำนิ่ง ส่งกลิ่นโชย; กลิ่นเป็นของเสียจากจุลินทรีย์ร้ายในน้ำ EM ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ดีในน้ำ ไปกินกลิ่น ในกรณีที่น้ำท่วมขังนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้ EM Ball แต่ใช้ EM น้ำได้เลย อัตรส่วนที่น่าจะเหมาะคือ 1:200 คือใช้น้ำหมัก EM ห้าลิตรต่อน้ำเน่า 1 ลบ.ม.

ถ้าน้ำท่วมแค่เอว (ลึก 1 เมตร) กว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร ก็ต้องใช้น้ำ EM 50 ลิตร

ใครที่ยังไม่ยอมอพยพออกมา อยู่บ้านว่างๆ ก็หมักน้ำ EM ไปนะครับ

อ่านต่อ »


ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 October 2011 เวลา 20:23 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2703

วันนี้เน็ตแน่นมาก มีคนเพิ่งจะอพยพมาสมทบอีกเยอะแยะ คงไม่เขียนอะไรยาวยืดนะครับเพราะค้นข้อมูลไม่สะดวก

มานั่งคิดดู รู้สึกขำมาก ตอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ตอนนั้นทุกคนดูจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์กันหมด ตอนนี้น้ำท่วม ผู้อพยพใหม่ ดูจะเป็นผู้รู้กันซะเหลือเกิน อิอิ… ถ้าป้ารู้จริงทำไมเพิ่งมา

วันนี้ผมก็นั่งรอเน็ตเรื่อยเปื่อย มีผู้อพยพใหม่เดินทางมา โบ้งเบ๊งเสียงลั่นว่าหาน้ำดื่มไม่ได้… โธ่ น้ำประปาดื่มไม่เป็นหรือยังไง

คนเมืองนึกว่าตัวเจ๋ง แต่อพยพมาจะมาหาสิ่งของจำเป็นเอาเบื้องหน้า ไม่รู้หรอกครับว่านี่เป็นสถานการณ์ที่เงินซื้อของที่ต้องการไม่ได้ (เรื่องเก่า เคยบ่นแล้ว) แค่รู้ตัวว่าไม่รู้อะไร ก็ฉลาดมากแล้ว ฮาๆๆๆ

คิดว่าสิ่งที่ส่งเข้าไปช่วยกรุงเทพได้ดีที่สุด คือน้ำดื่มครับ เคยบ่นแล้วเหมือนกันว่าประหลาดที่สุดที่คิดขนน้ำดื่มไปครึ่งประเทศเพื่อช่วยผู้ประสบภัย อันนี้ไม่ใช่ว่าน้ำดื่มไม่จำเป็น แต่ขนจากพื้นที่ใกล้เคียงได้ดีกว่าขอจากกรุงเทพ

ควรหาโรงงานผ้าใบตัดเย็บถุงขนาดใหญ่ บรรจุน้ำดื่มบรรทุกสิบล้อจากจังหวัดใกล้เคียง คันละ 15 คิว (ถุง 5 คิวสามถุง) นำไปกระจายในพื้นที่ที่คนยังออกมาไม่ หมด ให้คนละไม่เกิน 10 ลิตร/รอบ (15 คิว แจกได้ 1,500 คน ต่อสิบล้อหนึ่งคัน) ต้องยอมให้มีการเวียนเทียนบ้าง ดีกว่าให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เด็ก ออกมารับของด้วยตัวเองซึ่งอันตราย

อ่านต่อ »


ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 October 2011 เวลา 0:54 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3501

เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น โดยนิยามภัยพิบัติเกินกำลังการจัดการของท้องถิ่น และจะต้องมีความช่วยเหลือจากภายนอกส่งเข้าไปช่วย

เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นทั่วประเทศ กรุงเทพและปริมณฑลเป็นฐานกำลังสำคัญในการส่งความช่วยเหลือออกไปยังพื้นที่ประสบภัย แม้กระทั่งส่งน้ำดื่มซึ่งทั้งหนักและกินปริมาตรบรรทุกมากไปครึ่งประเทศก็ยังทำกัน อันนี้เป็นเรื่องที่สมควรอยู่แล้วเนื่องจากกรุงเทพมีกำลังมากทั้งทางเศรษฐกิจและคน ยังไม่รวมการจัดการแบบรวมศูนย์จากส่วนกลางอีก

แต่เมื่อกรุงเทพและปริมณฑลประสบภัย ความช่วยเหลือจากต่างจังหวัดนั้นจะยากลำบาก (ไม่ได้บ่น) เพราะว่าประชากรของกรุงเทพและปริมณฑลนั้นมีมากมายเหลือเกิน ทั้งที่อยู่ในทะเบียนและไม่อยู่ อีกทั้งกำลังที่ส่งเข้ามาช่วยนั้นกระจัดกระจายแตกกระสานซ่านเซ็น ไม่สามารถรวมพลังกันได้

ดังนั้นคนกรุงเทพและปริมณฑลตามทะเบียนบ้าน ประมาณ 10.3 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด จึงควรยอมรับความจริงว่าต้องช่วยตัวเองก่อนรอให้ใครมาช่วย

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีหลายลักษณะ แต่โดยหลักการจัดการภัยพิบัติแล้ว ไม่ควรจะตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภัยซ้ำซ้อน ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อทุกคนในศูนย์ เตี้ยอุ้มค่อมไม่เวิร์คแน่ ถ้าไม่ติดการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ ก็คงเข้าใจนะครับว่าศูนย์กลางความช่วยเหลือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัยนั้น ส่งอะไรเข้าไปช่วยไม่ได้ เอาอะไรออกมาช่วยคนก็ไม่ได้เหมือนกัน — อาจจะมีจุดกระจายความช่วยเหลือตั้งอยู่ใน- หรือใกล้กับพื้นที่ประสบภัยได้ หากการคมนาคมขนส่งและการติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างสะดวก

อ่านต่อ »


วันที่น้ำเข้ากรุงเทพ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 October 2011 เวลา 19:25 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3587

ผมไม่คิดว่าการก่นด่า ประณามใครจะช่วยอะไรได้ในขณะนี้หรอกครับ การพูดไปก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่เกิดขึ้นเลย

สถานการณ์น้ำท่วมดำเนินมาหลายเดือน สิ่งที่คิดว่าควรจะเตรียมตัวล่วงหน้า ก็ได้เขียนไปเท่าที่นึกออกหมดแล้ว ประเด็นหลักไม่ใช่ว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่เป็นเตรียมตัวอะไรไว้บ้างครับ ที่คิดว่าตัวมีความรู้นั้น เอามาใช้อะไรในยามจำเป็นได้บ้าง ถ้าเป็นความรู้แห้งๆ (รู้ไม่จริง จำเค้ามา ไม่เคยลอง รู้ตามทฤษฎี) คราวนี้ล่ะ จะกลายเป็นความรู้เปียกซะที

เจ็กตื่นไฟ ไทยตื่นน้ำ เจ็กปนไทยตื่นทั้งไฟตื่นทั้งน้ำ

ถ้าคิดจะอพยพตอนนี้ ต้องหาสถานที่ที่สามารถอยู่ได้โดยการพึ่งตนเองแล้วครับ เงินมีที่ให้ใช้เสมอ แต่เงินหาซื้อสิ่งของที่ต้องการซื้อไม่ได้เสมอไป เกิดการขาดแคลนสินค้าจำเป็นขึ้นทั่วไป เนื่องจากกระแสผู้อพยพจากกรุงเทพระรอกแรก ซื้อแหลก แถมคลังสินค้าถูกน้ำท่วมอีก ทำให้การจัดส่งสินค้าจำเป็นหยุดชงักไปหมด

น้ำท่วมที่หลากลงมาใกล้อ่าวไทย เป็นน้ำที่สกปรกมาก พอจะอนุมาณได้ว่าจะมีวิกฤตการณ์เรื่องสุขภาพตามมาอีก ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าลุยน้ำเด็ดขาด หรือถ้าจำเป็นก็เอาถุงพลาสติกขนาดใหญ่รัดขา ทำเป็นถุงน่องลุยน้ำซะเลย

อ่านต่อ »


สู่ความปลอดภัย

อ่าน: 2607

หลังจากประเมินสถานการณ์ สี่ทุ่มคืนวันเสาร์(22) ผมก็ตัดสินใจโทรบอกทุกคนในบ้านกลางดึกให้อพยพทันทีในตอนเช้า(23)

ทุกคนช็อคแน่นอนครับ… มีการเตรียมการป้องกันบ้านมาเป็นอย่างดีแล้ว มีน้ำ-มีอาหารสำรองไว้พอสมควร มีเขื่อน มีปั๊มน้ำ มีเรือ มีความสามารถในการจุดไฟหุงหาอาหารเมื่อครัวหลักใช้ไม่ได้ มีความรู้ และมีข้อมูล… แต่การเตรียมพร้อมนี้ ไม่สามารถจะประเมินความเป็นมือสมัครเล่น และความเป็นอันธพาลของคนบางกลุ่มได้

สำหรับผมแล้ว ยังไงก็ดูความปลอดภัยของพ่อกับแม่ก่อนครับ จึงเดินทางมาบ้านพักตากอากาศ พ่อแม่รู้สึกสบายใจที่จะอยู่ที่นี่และสามารถอยู่ได้เป็นเวลานานๆ ผมมาถึงที่พักก็น็อคไปเลย แบตหมดทั้งคนและโทรศัพท์

ที่ประเมินไว้ สถานการณ์นี้จะนานหลายเดือน เขียนมากไม่ได้ อยากรู้ก็โทรมาถามก็แล้วกัน บอกได้เพียงแต่ว่า แม้ยกเอาอคติออกไป การมองชั้นเดียวก็จะเห็นแต่เปลือก ซึ่งอาจจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดไปได้ ถ้ามองความเชื่อมโยงลึกๆ พูดไปคนก็ว่าบ้า… เรื่องถูกผิดเป็นเรื่องกระจอกครับ ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์อะไร

ก่อนออกมาจากบ้าน เตือนเพื่อนที่อยู่ในบริเวณที่เสี่ยงที่สุดจากความวิปลาส ความดื้อรั้นและการไม่มองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าอย่าเห็นว่าน้ำลดแล้วความเสี่ยงจะลด ให้เตือนเพื่อนคนอื่นๆ แถวนั้น และแนะนำให้ออกมาทันทีที่มีโอกาส

อ่านต่อ »


ความหมายของการเตือนภัย

อ่าน: 3600

ผมคิดว่ามีคนเข้าใจความหมายของคำนี้คลาดเคลื่อนไปเยอะนะครับ

คำว่าเตือนภัย ไม่ได้มีความหมายแค่บอกกล่าวเท่านั้น เนื่องจากภัยมีความสำคัญเกี่ยวกับความอยู่รอด ดังนั้นผู้สื่อสารและผู้รับสารจะต้องเข้าใจอย่างเดียวกัน หากเป็นการคาดเดา ก็ต้องสื่อให้ชัดเจนว่าเป็นการคาดเดาและแสดงเหตุผลสนับสนุนด้วย แต่นี่ยังไม่สำคัญเท่ากับว่าผู้รับสารต้องรู้ว่าจะทำอะไรต่อ ไม่อย่างนั้นการเตือนภัยก็เป็นกิจกรรมอันไม่เกิดประโยชน์เลย -> เตือนหรือไม่เตือน มีค่าเท่ากัน คือไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรอยู่ดี

ดังนั้นหากจะมีการเตือนภัยอย่างเป็นระบบ ระบบนั้นจะต้องครอบคลุมการทำความเข้าใจถึงภัยในลักษณะต่างๆ ความเสี่ยงของพื้นที่ แผนจัดการความเสี่ยงต่างๆ การฝึกซ้อม การลงมือแก้ไขความเสี่ยงต่างๆ ล่วงหน้า ตลอดจนแผนสำรองด้วย

การเตือนภัยเป็นอำนาจตามกฏหมาย!!! แต่คนที่มีเพื่อน มีเครือข่าย และเป็นมนุษย์นั้น เค้าไม่รอการเตือนภัยกันตามกฏหมายหรอกครับ อย่างช่วงเดือนกรกฎาคม ที่น้ำแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านกำลังไหลบ่าลงมาทางใต้นั้น เทศบาล-อบต.ที่กำลังประสบภัย ยังมีน้ำใจโทรบอกกัน เพื่อที่จะเตือนภัยเทศบาล-อบต.ที่อยู่ในเส้นทางของภัยพิบัติ

กรณีสึนามิเมื่อปี 2547 นั้น คลื่นเข้าที่ฝั่งตะวันตกของภูเก็ตก่อน แต่ด้วยความที่ไม่มีการเตรียมตัวใดๆ มาก่อน จึงไม่มีการเตือนภัย… เคยเล่าแล้วในบล็อกนี้ว่าวันนั้นน้องสาวผมพร้อมทั้งครอบครัวพักอยู่ที่บ้านทางใต้ของภูเก็ต เมื่อคลื่นใหญ่ซัดมาชนกำแพงกันคลื่นน้ำกระเด็นไปสูงพอๆ กับยอดมะพร้าว ทุกคนตกใจ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก็ได้โทรไปสั่งอพยพแขกของรีสอร์ตบนเกาะพีพีซึ่งอยู่ห่างจากโรงแรมอื่นๆ บนเกาะ อีกครึ่งชั่วโมงสึนามิจึงไปถึงเกาะพีพี ทำให้รอดได้เป็นร้อยคน

อ่านต่อ »


ทดสอบระบบคลังภาพ

อ่าน: 3596

บ่ายสามโมงครึ่ง เริ่มมีน้ำเอ่อขึ้นมาแถวบ้าน เป็นระดับประมาณ 10 ซม.ต่ำกว่าถนนซึ่งค่อนข้างสูง

นอกจากว่านี่คือสัญญาณเตือนว่ากำลังจะเป็นผู้ประสบภัยแล้ว ยังแสดงให้่เห็นว่าน้ำหลากมาเป็นปริมาณมากอีกด้วย น้ำที่หลากมานี้มีปลาติดมาด้วย ซึ่งคุณภาพน้ำแย่มาก ขนาดปลาหงายท้องเลยครับ แต่เมื่อพระอาทิตย์ตกระดับน้ำสูงขึ้นประมาณ 10 ซม. จากนี้ไปคงขึ้นช้าเพราะว่าเป็นระดับเดียวกับน้ำในทะเลสาปใหญ่ซึ่งไม่ห่างจากบ้าน รอดไปอีกวันหนึ่ง

สหภาพยุโรป (EC) ได้ให้ทุนพัฒนาระบบตรวจการณ์ภัยพิบัติแก่บริษัท AnsuR ของนอรเวย์ ซึ่งเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ เรียกว่าระบบ ASIGN (Adaptive System for Image Communication over Global Networks) ซึ่ง

  1. ถ่ายรูปด้วยกล้องในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
  2. ระบุพิกัดที่ถ่ายด้วย GPS (หรือ aGPS) ที่มีอยู่ในโทรศัพท์
  3. ส่งรูปถ่ายของสถานการณ์เข้าเซอร์เวอร์กลาง โดยส่งภาพเล็ก thumbnail ขนาด 600×360 pixels ทำให้ไม่เสียเวลาในการส่ง แต่เมื่อต้องการภาพละเอียดเพื่อซูมดู เซอร์เวอร์กลางจะขอภาพรายละเอียดสูงจากมือถือมาอีกครั้งหนึ่ง

ภาพจากโทรศัพท์มือถือเครื่องต่างๆ จะถูกรวบรวมเอาไว้เป็นจุดในแผนที่ตามพิกัดที่ถ่ายรูป เรื่องนี้เมื่อเราดูแผนที่ จะเห็นสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมทั้งมีเวลาที่ถ่ายรูปกำกับไว้ด้วย

จึงอยากเชิญชวนผู้ที่มีโทรศัพท์แอนดรอยด์ โหลดโปรแกรมไปทดลอง ถ่ายภาพที่เกี่ยวกับอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมแล้ว น้ำยังไม่ท่วม ภาพคน เขื่อน รอยรั่ว ความเสี่ยงต่างๆ การร้องขอความช่วยเหลือ ความต้องการ ฯลฯ ใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบภัยเอง หรือผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ เมื่อถ่ายรูปแล้ว ส่งผ่าน 3G/EDGE/GPRS/Wi-fi/ADSL/LAN หรืออะไรก็ได้ที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต

อ่านต่อ »



Main: 0.054182767868042 sec
Sidebar: 0.13808608055115 sec