สลายความขัดแย้ง, นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ

อ่าน: 7117

เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในช่วงสองสามวันนี้ จะไม่มีรายการบันเทิง ก็เป็นโอกาสดีที่แฟนๆ บล็อกของผม จะได้อ่านหนังสือดีครับ

หนังสือนี้เป็นการรวมรวมงานจากสี่แหล่ง คือถอดเทปการแสดงวิสัชนาแก่คุณจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสื่อเกษตร จำกัด เมื่อวันที่ ๑๕​ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ (ผมชอบทั้งคำถามและคำตอบครับ) ประกอบกับปาฐกถาสำคัญของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) อีกสามอัน

อ่านต่อ »


ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ // ใจมีค่าที่สุด อย่านำไปแลกกับสิ่งใด

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 November 2008 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 6573

พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระอริยสงฆ์ก็ตาม พระอริยบุคคลก็ตาม ท่านเป็นที่ใจ ใจที่เป็นจริง มิใช่คิดเองว่าเป็นพระพุทธธรรมสูงส่งบริสุทธิ์ ต้องเป็นจริงที่จิตใจกิเลสก็ต้องหมดจริงที่จิตใจ หมดระดับไหนก็จะเป็นอริยสงฆ์ หรือพระอริยบุคคล ในระดับนั้น

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ” และใจนั้นหลอกใครอาจหลอกได้ แต่หลอกตัวเองไม่ได้

นอกเสียจากเป็นการหลงเข้าใจผิดจริงๆ และนั่นก็เป็นการเข้าใจผิดจริง ใจเป็นเครื่องรับรองพระพุทธภาษิตที่ว่า

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ” เช่นนั้น ใจหลงผิด ก็ผิดตามอำนาจใจไปหมด จึงควรเห็นค่าของใจตนให้มากที่สุด ถนอมรักษาให้ดีที่สุด ให้เป็นใจที่มีความงดงามที่สุด

ใจที่งดงามที่สุดคือ ใจที่ไกลกิเลสที่สุด ไกลทั้งความโลภ ไกลทั้งความโกรธ ไกลทั้งความหลง ไกลอย่างสิ้นเชิงเด็ดขาดจริง ไม่มีการย้อมกลับเข้าสู่จิตใจได้อีกทั้งโลภะโทสะโมหะ คือทั้งความโลภความโกรธความหลง

อ่านต่อ »


จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยคิดว่า…

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 November 2008 เวลา 11:38 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4882

 


ความคิด

อ่าน: 2963

วิถีแห่งปราชญ์ เป็นปฏิปทา จริยาวัตร ของ พระพรหมคุณาภรณ์​ (ป. อ. ปยุตฺโต)

๒๙.
ความคิด

ท่านเจ้าคุณ​ฯ เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความคิดไว้หลายแห่ง ที่สำคัญที่สุดน่าจะได้แก่ “วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ๑๐ ประการ” ในหนังสือ พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ หน้า ๖๗๕-๗๒๗)​ นอกจากนั้นก็มีปรากฏในปาฐกถาต่างๆ อีกหลายแห่ง

ปาฐกถาหนึ่งที่ขออ้างถึงในที่นี้ เป็นปาฐกถาที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ที่ไหนเลย บรรยายที่ศูนย์วัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หัวข้อว่า “วิธีคิดและแก้ปัญหาแบบพุทธวิธี” มีใจความตอนหนึ่งที่อยากจะนำมาเล่าไว้ ณ ที่นี้

“ควรสอนวิธีคิดที่ถูกต้องให้แก่เด็กตั้งแต่อยู่ในวัยแรก อาจจะโดยการใช้วิธีคำถามคำตอบ ซึ่งเป็นวิธีที่แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ทรงใช้มาก และใช้บ่อย

“บางคนอาจจะนึกว่า ขั้นเด็กเล็กนี่ยังไม่จำเป็น ที่แท้แล้ว การฝึกตั้งแต่เด็กเล็กมีความสำคัญมาก

“ขอยกตัวอย่างของการฝึกเด็กที่นำไปสู่วิถีชีวิตและชะตากรรมของสังคมไทยในสังคมไทย คนมีค่านิยมบบริโภคมาก ไม่ค่อยมีค่านิยมผลิต หรือการไฝ่รู้ มองดูให้ลึกแล้วจะเห็นว่า เริ่มมาตั้งแต่การเลี้ยงดูของพ่อแม่ เพราะเด็กกำลังโตจะมีศักยภาพที่จะเป็นไปได้สองทาง คือ ๑. ศักยภาพในการรับรู้แบบชอบ-ชัง และ ๒. ศักยภาพในการรับรู้ไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ อันนี้สุดแล้วแต่เราจะฝึกเด็กไปทางไหน

อ่านต่อ »


ชั่งหัวมัน

อ่าน: 2953

เรื่อง ชั่งหัวมัน
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๑๙

ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย

ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรมะอันเป็นหลักคำสอนในทางพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการฟังตามสมควรแก่เวลา

ในระยะสองสามวันมานี้พวกเราคงจะได้ยินข่าวอันหนึ่ง คือข่าวว่าประธานเหมาเจ๋อตุงถึงแก่ความตาย ที่เอาเรื่องประธานเหมาเจ๋อตุงมาพูดกับโยม อย่านึกว่าพูดการบ้านการเมือง ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการเมือง แต่ว่าเป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นถึงชีวิตว่า คนเรานี้แม้จะยิ่งใหญ่ขนาดไหน มีอำนาจราชศักดิ์สักเท่าใดก็ตาม ก็ย่อมจะถึงจุดจบลงไปสักวันหนึ่ง จุดจบนั้นคือความตายนั่นเอง ความตายของคนคนหนึ่งเกิดขึ้น ก็ย่อมมีข่าวไปทั่วโลก เพราะว่าคนคนนั้นมีชื่อมีเสียงในทางการบ้านการเมือง

ข่าวที่ปรากฎออกไปนั้น มีคนเสียดายก็มี มีคนดีใจก็มีเหมือนกัน เช่นว่าจากเกาะไทเป (ไต้หวัน) หนังสือพิมพ์เขาดีใจ เขาดีใจว่าตายเสียทีก็ดีแล้ว แต่ว่าในส่วนอื่นๆ ของโลกนั้นเขาเสียใจกัน เพราะว่าเป็นเรื่องธรรมดา คนเราย่อมมีคนรักบ้าง มีคนชังบ้าง

เรื่องความรักความชังของมนุษย์นี้ เป็นเรื่องที่จะต้องเกิดต้องมี หนีไม่พ้น ในทางธรรมท่านจึงบอกให้รู้ว่า มันเป็นโลกธรรม คือเป็นธรรมสำหรับชาวโลกทั่วๆ ไป คือว่าบางสิ่งก็เป็นที่พอใจ เช่นในดิลกธรรม ว่าถึงเรื่องความมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีความสุข อันนี้เป็นอิฏฐารมณ์ เป็นสิ่งที่น่าพอใจพึงใจ ใครๆ ก็อยากจะมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีความสุข แต่ในอีกด้านหนึ่งในความไม่มีลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ อันนี้ไม่มีใครต้องการ

แต่ว่าเราอยู่ในโลกจะหนีพ้นไปจากสิ่งนี้ไม่ได้ ธรรมทั้งแปดประการนี้ เป็นกระแสของโลก เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า เป็นโลกธรรม คือมีอยู่ในโลกตลอดเวลา เราเกิดมาในโลกก็ต้องพบกับสิ่งหล่านี้ ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ญาติโยมทุกคนลองคิดดู ว่าในชีวิตของเรานี้ เราเคยมีลาภ เราเคยเสื่อมลาภ เราเคยมียศ เราเคยสรรเสริญ มีความทุกข์ มีความสุข ได้รับการสรรเสริญ ได้รับการนินทา ใครๆ ก็เหมือนกันทั้งนั้น คนเราจะเป็นคนที่ดีส่วนเดียวก็ไม่ได้ การดีการเสียของบุคคลนั้น มันขึ้นอยู่กับการกระทำเป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าคนอื่นนั้นเขาอาจจะมองเราในทางใดก็ได้ เพราะการเพ่งมองของคนอื่นนั้น เป็นสิทธิของเขา เป็นสิทธิในการที่จะมอง ในการที่จะพูด ในการทีจะแสดงออก ถึงความรู้สึกนึกคิดของเขา เราจะไปห้ามก็ไม่ได้

อ่านต่อ »


หนึ่งในร้อย: กตัญญู

อ่าน: 3493

หนังสือใหม่ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

ขอให้อ่านเถิดครับ ถ้าเชื่อถือการเลือกสรรของผม อ่านเล่มนี้แล้ว รับประกันว่าจะไม่เสียใจอย่างแน่นนอน

โมทนียพจน์

สังคมไทยในยุค “โลภาภิวัตน์” (ประชาชนตกเป็นทาสของความโลภ) เต็มไปด้วยความขัดแย้ง แตกสามัคคี ประชาชนทั่วทุกภาคแบ่งกันออกเป็นสามฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเลือกข้างรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งเลือกข้างพันธมิตร อีกฝ่ายหนึ่งไม่เลือกข้างไหนได้แต่เก็บตัว เป็นพลังเงียบด้วยความเบื่อหน่ายต่อความเป็นไปของการเมืองที่มองไม่เห็นว่า จุดสิ้นสุดยุติจะอยู่ตรงไหน ท่ามกลางความขัดแย้งแตกแยกนี้เอง มีการเพรียกหา “คนดี” ให้เข้ามาเป็นอัศวินม้าขาวเพื่อเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ “การเมืองใหม่” ดังกึกก้องไปทั่วทุกหัวระแหง แต่ยิ่งเพรียกหาคนดี ก็ดูเหมือนว่า คนดีในเมืองไทยในยามนี้จะหายากเสียเหลือเกิน เพราะเมื่อมีฝ่ายใดก็ตามเสนอ “คนดี” ของตนขึ้นมา ให้เป็นตัวเลือก ก็มักถูกอีกฝ่ายหนึ่งตีให้ตกไปด้วยการให้เหตุผลว่า คนดีที่ว่านั้นเป็นคนดีที่ไม่มีความเป็นกลาง

ในทางโลกียวิสัย การหาคนดีที่มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในทางธรรมวิสัย การหาคนดีไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด ด้วยในพุทธศาสนานั้น ท่านมีหลักการวัดคนดีเอาไว้อย่างชัดเจนผ่านพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า

“นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา”
“ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี”

คนดีตามนัยทางพุทธศาสนา ท่านนิยามสั้นๆว่าคือ คนที่มี “ความกตัญญู กตเวที” ใครมีคุณสมบัติข้อนี้เพียงข้อเดียว ก็นับเป็นคนดีที่ประเสริฐเลิศล้ำ

จริงอยู่ แม้ความเป็นคนกตัญญูกตเวที จะเป็นคุณสมบัติพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป แต่หากนำมาใช้ในทางบ้านเมือง ความกตัญญูกตเวที ก็สามารถนำพาเมืองไทยให้ก้าวพ้นวิกฤติได้เหมือนกัน เนื่องเพราะคนที่มี “ความกตัญญูกตเวที” นั้น ไม่มีทางเลยที่เขาจะเป็นคนเลวที่มุ่งแต่การทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง ตรงกันข้าม คนกตัญญูกตเวที จะเป็นคนที่พิทักษ์รักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดินเอาไว้ด้วยชีวิตเสียด้วยซ้ำ

หนังสือชื่อ “หนึ่งในร้อย” ที่จัดพิมพ์โดย “กลุ่มกัลยาณธรรม” ซึ่งนำโดย ทันตแพทย์หญิงอัจฉรา กลิ่นสุวรรณ และกัลยาณมิตรเล่มนี้ เกิดขึ้นจากการถอดเทปบันทึกเสียงของผู้บรรยายสองเรื่องด้วยกัน กล่าวคือ

(๑) มารดามหาบุรุษ
(๒) ร้อยความดี ความกตัญญูมาเป็นที่หนึ่ง

สาระสำคัญว่า ด้วยความหมาย ความสำคัญ ของความกตัญญูในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวาง หวังว่า ทุกถ้อยกระทงความในผลงานเล่มนี้ คงจะเป็นประทีปธรรม นำทางให้คนไทยได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความกตัญญูกตเวทีเพิ่มขึ้นเป็นอย่างดี และหากจะมีคนกตัญญูกตเวทีเพิ่มขึ้นมาอีกมากมายหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว คณะผู้จัดทำทุกคนก็คงจะมีความสุขในหัวใจเป็นอย่างยิ่ง

ว.วชิรเมธี
๖ ตุลาคม ๒๕๕๑


สติต้านกระแส

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 1 November 2008 เวลา 0:51 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3446

พระนิพนธ์ แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ยาวมาก แต่น่าอ่านครับ

ยานิ โสตานิ โลกสฺมิ……..สติ เตสํ นิวารณํ
โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ…………ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร

พระพุทธภาษิตข้างต้นนี้ มีความว่า “กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา”

คำว่ากระแส ในภาษาทั่วไปหมายถึง สิ่งที่เคลื่อนไปเป็นแนวเป็นทางเรื่อยๆ เช่น กระแสลม กระแสน้ำ ความหมายทั่วไปของกระแสเป็นเช่นนั้น

แต่กระแสในพระพุทธภาษิตข้างต้นที่มีอยู่ในโลก เช่นเดียวกับกระแสน้ำกระแสลม แต่กระแสทั้งกระแสน้ำกระแสลมจัดเป็นรูปธรรมได้ เห็นได้ สัมผัสได้ แม้กระแสลมจะเห็นไม่ได้ด้วยตาเช่นสิ่งที่จัดเป็นรูปธรรมทั้งหลาย แต่สัมผัสที่ได้จากกระแสลมนั้นเหมือนดังสิ่งที่เป็นรูปธรรม

กระแสลมแตกต่างกับกระแสเสียง ที่น่าจะเข้าใจได้ไม่ยากเกินไปนัก กระแสเสียงที่สัมผัสหู แตกต่างกับกระแสลมที่สัมผัสกาย แต่ยากจะอธิบาย แม้จะเข้าใจได้ชัดเจนในความแตกต่างของกระแสลมกับกระแสเสียง

พระพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า “กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น” ก่อนอื่นควรต้องเข้าใจความหมายของคำว่าสติ เพื่อจะได้เข้าใจความหมายของพระพุทธภาษิตว่าสมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงสอนไว้ ให้กั้นกระแสที่มีอยู่ในโลกด้วยสตินั้น ทรงหมายถึงอะไรที่ควรนำมากั้นกระแส

สติคืออะไร

สติคือความรู้ผิด รู้ชอบ รู้ชั่ว รู้ดี ความหมายของสติชี้ชัดถึงความสำคัญอย่างยิ่งของคำว่าสติ อะไรจะสำคัญสำหรับชีวิตยิ่งไปกว่าความรู้ผิดชอบรู้ชั่วดี ไม่มีแน่นอน ความผิดความชั่วที่ทำกันอยู่มากมาย โดยเฉพาะในทุกวันนี้ไม่ได้เกิดจากเหตุใด ที่สำคัญเท่ากับความขาดสติ ขาดความรู้ผิดรู้ถูกรู้ดีรู้ชั่ว

ทำลงไปแล้วอาจได้สติ รู้ตัวว่าได้ทำสิ่งที่ผิดที่ชั่วก็สายเกินไป ทำให้ต้องได้รับทุกข์โทษภัย จากการทำที่ไม่รู้ถูกไม่รู้ผิดไม่รู้ดีไม่รู้ชั่ว จึงพึงเห็นความสำคัญของสติให้อย่างยิ่ง และพึงพยายามอบรมสติให้เกิดมากๆ พยายามให้สติขาดไปจากใจให้น้อยที่สุด

โดยยกเหตุผลสำคัญที่สุดไว้เตือนตน คือนึกถึงประโยคที่พูดกันเสมอ ดังเช่นเรียกคนบ้า ว่าคนเสียสติ หรือคนเสียสติว่าคนบ้า ไม่มีใครอยากเป็นคนบ้า เราทุกคนไม่อยากถูกเรียกว่าคนบ้า ดังนั้นพากันพยายามอบรมสติให้เต็มความสามารถ ทุกเวลานาทีให้เตือนตนเองว่า สติ สติเราต้องมีสติ เราต้องมีสติ อย่าให้สติเสียไปจะเป็นคนบ้า

คนไม่มีสติ แม้จะไม่ถึงขนาดเป็นคนบ้าก็ยังถูกตำหนิจากผู้รู้เห็นอยู่เสมอ ว่าเป็นคนขาดสติ ซึ่งไม่ใช่เป็นการยกย่อง แต่เป็นการตำหนิติเตียนในระดับที่ไม่น่าฟัง ซึ่งคำตำหนินี้พูดกันเกือบจะติดปากทีเดียว แสดงว่าพากันรู้ดี ว่าการขาดสติไม่ใช่ความดี แต่เพราะนำคำนี้มาพูดมาใช้ตำหนิกันจนกระทั่งฟังเป็นคำธรรมดา

ไม่เห็นความสำคัญของคำตำหนินี้ เป็นผลเสียที่สำคัญมากอยู่ เพราะทำให้พากันไม่เห็นความสำคัญของคำว่าสติ ทั้งๆที่สติเป็นคำสำคัญที่สุด ใจเป็นใหญ่ ดังที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงมีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ชัดแจ้ง แต่สติก็เป็นใหญ่เหนือใจ ของทุกคน ผลที่เห็นอยู่ก็คือใจที่มีสติเพียงใด เป็นใจที่ดีเพียงนั้น ใจที่ขาดสติเพียงใด เป็นใจที่บ้าๆบอๆเพียงนั้น

อ่านต่อ »


อภัยทาน

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 October 2008 เวลา 0:17 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4047

จากหนังสือ การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่ พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่ เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย

ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก

ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้รถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางที่ไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกรธแล้วจะหายโกรธไปเอง

โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น

อ่านต่อ »


เกร็ดพระพุทธรูปปางห้ามญาติ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 October 2008 เวลา 9:53 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 6827

ผมได้รับคำชี้แนะจากพระมหาชัยวุธ ถึงเรื่องที่ติดใจสงสัยหนังสือเล่มหนึ่ง ที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ซึ่งผมค้นพระไตรปิฎกมาหกเดือนก็ไม่เจอ พระอาจารย์แนะให้ลองค้นในอรรถกถาดู สองนาทีก็เจอครับ โง่เสียตั้งนาน เป็นอรรถกถามหาสมัยสูตร [พระไตรปิฎก]

ผมคัดลอกมาเฉพาะส่วนที่คิดว่าน่าสนใจมา ส่วนท่านที่สนใจ สามารถอ่านข้อความเต็มได้ตามลิงก์ข้างบน

เล่ากันมาว่า ชาวศากยะและโกลิยะช่วยกันกั้นแม่น้ำชื่อโรหิณี ในระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองโกลิยะ ด้วยเขื่อนเดียวเท่านั้นแล้วหว่านกล้า. ต่อมาในต้นเดือนเจ็ด เมื่อกล้ากำลังเหี่ยว พวกคนงานของชาวเมืองทั้งสองก็ประชุมกัน.

ในที่ประชุมนั้น พวกชาวเมืองโกลิยะพูดว่า น้ำนี้เมื่อถูกทั้งสองฝ่ายนำเอาไป (ใช้) พวกคุณก็จะไม่พอ พวกฉันก็จะไม่พอ แต่กล้าของพวกฉันจะสำเร็จด้วยน้ำ แต่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ขอให้พวกคุณจงให้น้ำแก่พวกฉันเถิดนะ

ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ก็พูดว่า เมื่อพวกคุณใส่ข้าวจนเต็มยุ้งแล้ว พวกฉันจะเอาทองแดงมณีเขียวและกหาปณะดำ มีมือถือกะบุงและไถ้เป็นต้น เดินไปใกล้ประตูบ้านของพวกคุณก็ไม่ได้ ถึงข้าวกล้าของพวกฉันก็จะสำเร็จด้วยน้ำ ครั้งเดียวเหมือนกัน ขอให้พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกฉันเถิดนะ

พวกฉันให้ไม่ได้. ถึงพวกฉันก็ให้ไม่ได้.

เมื่อทะเลาะกันลามปามอย่างนี้แล้ว คนหนึ่งก็ลุกไปตีคนหนึ่ง. แม้คนนั้นก็ตีคนอื่น ต่างทุบตีกันและกันอย่างนี้แล้วก็ทะเลาะกันลามปาม จนเกี่ยวโยงไปถึงชาติของพวกราชตระกูลด้วยประการฉะนี้.

อ่านต่อ »


ลืมตัว

อ่าน: 2936

เสือเห็นแก่กิน แต่กลับไม่เข้าใจว่าในน้ำไม่ใช่พื้นที่ของตน แม้เสือจะยิ่งใหญ่เมื่ออยู่บนบก แต่ก็หายใจในน้ำไม่ได้



Main: 0.43662118911743 sec
Sidebar: 0.73037195205688 sec