เชื่อใจ

อ่าน: 4723

เมื่อวันอาทิตย์ ลูกกตัญญูพาคุณแม่ไปช็อบปิ้ง ระหว่างคุณแม่เพลิดเพลิน ผมก็แวะเข้าร้านหนังสือ B2S เจอหนังสือของ Covey อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Speed of Trust: the one thing that changes everything

พลิกๆดูก็ชอบครับ แต่ไม่ได้หยิบมา คิดว่าค้นเน็ตอาจจะเจออะไรดีๆ ก็ได้ แล้วก็เจอจริงๆ มีหนังสือแปลด้วย ชื่อว่า พลานุภาพแห่งความไว้วางใจ: The speed of trust

คนบางคน ไม่มีความเชื่อใจใครเลย ระแวงไปหมด ปสด.แบบนี้ ป่วยการจะพูดถึงสันติวิธีและการสมานฉันท์ หรือว่าจะพูดถึงเป้าหมายร่วม ประโยชน์ของส่วนรวม อาจจะเป็นจากความเจ็บปวดที่ถูกทำร้ายจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งในอดีต จึงระแวงไปหมด และกลายเป็นคนขาด self-esteem ไปในที่สุด ไม่สามารถจะวางใจ หรือชื่นชมใครอย่างจริงใจได้

อาการนี้เป็นเช่นเดียวกับระบบราชการ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ไว้ใจใคร เพราะมีประสบการณ์ที่เลวร้ายมาจากอดีต เลยเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ จนทำให้แทบจะปฏิบัติงานไม่ได้ หรือเป็นไปด้วยความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนตามความต้องการในพื้นที่ไม่ได้ (เนื่องจากขัดกับเอกสาร แล้วเอกสารก็ไม่เคยเขียนได้ครอบคลุมทุกกรณี)

แต่การเชื่อใจ ก็ไม่เหมือนกับการอ่อนต่อโลก+มองโลกในแง่ดี ใครพูดอะไรก็เชื่อไปหมด ซึ่งนั่นก็เป็นฉันทาคติซึ่งเป็นหนึ่งในอคติ ๔

ในทางธุรกิจ เรามักจะได้ยินผู้รู้กล่าวว่า Strategy x Execution = Result แต่หนังสือเล่มนี้ กลับบอกว่า Strategy x Execution x Trust = Result คือว่า ไม่มี trust ก็ไม่มี result

อ่านต่อ »


อดได้ ทนได้ ทำใจได้

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 December 2008 เวลา 0:07 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 5247

ขันติ เป็นภาษาบาลี หมายถึง การรักษาภาวะปกติของตนไว้ได้ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจก็ตาม ในภาษาไทย ขันติ หมายถึงความอดทน

อด เป็นอาการที่อยากจะได้ แต่ไม่ได้
ทน เป็นอาการที่ไม่อยากได้ แต่ต้องได้

ในภาษาจีนและญี่ปุ่น ตัวอักษรคันจิที่มีความหมายว่าอดทน เป็นอักษรที่เกิดจากการนำคำสองคำมารวมกัน คำหนึ่งคือ มีด อีกคำหนึ่งคือ หัวใจ ซึ่งความหมายของศัพท์คำใหม่ที่ได้ก็คือ ทำใจได้ แม้มีใครเอามีดมาจ่อที่หัวใจ ก็ทำใจได้ คือมีความอดทน อดกลั้น ไม่หวั่นไหว

อ่านต่อ »


อริยะกลัวเหตุ ปุถุชนกลัวผล

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 December 2008 เวลา 0:14 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3847

คำภีร์กู่เต๋อ กล่าวว่า
“อริยะกลัวเหตุ
ปุถุชนกลัวผล”

พุทธะคอยระวังความคิด อันเป็นรากกำเนิด
เกรงว่าจะไปสร้างเหตุ เพราะต้องไปรับผล
เวไนย์กลัวต้องรับผลอันเจ็บปวด
แต่ไม่คิดที่จะไปแก้ไขที่ต้นเหตุ

แรงกรรมแรงปณิธาน


รสแห่งเมตตา ชุ่มเย็นนัก

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 November 2008 เวลา 0:14 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3396

ส่วนหนึ่งจาก พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราส สกลมหาสังฆปรินายก

รสแห่งเมตตาธรรม ชุ่มเย็นนัก

พุทธศาสนิกชน พึงอบรมเมตตาให้ยิ่ง

พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา แม้ไม่สนใจที่จะอบรมเมตตาให้อย่างยิ่ง ก็เหมือนไม่สนใจในความสงบเย็นเป็นสุขของตนเอง ไม่สนใจที่จะปฏิบัติตนเป็นผู้มีปัญญา ทั้ง ๆ ที่ย่อมรู้ว่าผู้มีปัญญานั้น เป็นที่ยกย่องสรรเสริญทุกที่ทุกกาลเวลา

การอบรมเมตตาต้องใช้ความคิดเป็นกำลังสำคัญ คิดให้ใจอ่อนละมุนเพียงไรก็ทำได้ เช่นเดียวกับคิดให้ใจเร่าร้อนราวกับน้ำเดือดก็ทำได้ นั่นก็คือคิดให้เมตตาก็ได้ คิดให้โกรธแค้นเกลียดชังก็ได้ ท่านจึงสอนให้ระวังความคิด ให้ใช้ความคิดให้ถูกให้ชอบ ให้มีเมตตายิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น

อ่านต่อ »


ความมีเหตุผล อาจทำให้หลงได้

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 November 2008 เวลา 0:50 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4441

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา — พระ(อัญญา)โกณฑัญญะเข้าใจเมื่อ 2596 ปีมาแล้ว, จากธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, ม. ๔/๑๖

ผู้ที่มีทิฏฐิมานะ (มีความคิดเห็นอย่างดื้อรั้น(แต่ไม่มีปัญญา) และมีความถือตัว) ไม่สามารถจะนำตัวเองหรือใครไปสู่ความเจริญได้เลย ข้ออ้างต่างๆ เป็นไปเพื่อปกป้องอัตตาของตน

เรามักเข้าใจสับสนระหว่างข้ออ้างกับเหตุผล ซึ่งความไม่รู้นี้ มีราคาแพงมาก และอาจไม่ได้มีผลแต่เฉพาะตนก็ได้ สุดยอดของความไม่รู้ คือความไม่รู้ว่าไม่รู้อะไร ยิ่งเจริญจึงยิ่งไม่สงบ ยิ่งไม่มีความสุข ยิ่งวุ่นวาย ยิ่งแก้ยิ่งเละ ยิ่งรู้มากกลับยิ่งไม่รู้

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความมีเหตุผล แต่อยู่ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นจริงหรือไม่

อ่านต่อ »


อตัมมยตาปริทัสน์

อ่าน: 5296

บ่ายเมื่อวานนี้ ไปประชุมที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เลิกประชุมสี่โมงเย็น ยังมีเวลาอีกนิดหน่อย เลยแวะไปมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปเลือกหนังสือได้มาสองเล่มครับ

แต่มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งอยู่ในชุดธรรมโฆษณ์ของท่านพุทธทาส ชื่ออตัมมยตาปริทัสน์ พลิกอ่านดูแล้วชอบครับ แต่คิดว่าอาจจะสูงไปสำหรับมนุษย์เดินดินธรรมดา จึงไม่ได้หยิบมา ตอนนี้เกิดนึกเสียดาย ว่าทำไมไม่เอามา(ฟะ)

ก็เลยมาค้นเน็ต เจอฉบับเต็ม และสารบัญครับ ผมเลือกมาให้อ่านตอนหนึ่ง ซึ่งยาวแต่น่าอ่านครับ คือเรื่อง อตัมมยตา กับ สันติสุข; ตอนแรกจะใส่สองตอน แต่ยาวเกินไป เดี๋ยวจะเบลอกันไปซะก่อน แล้วจะไม่ได้อะไรกัน

อ่านต่อ »


เกียรติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 November 2008 เวลา 6:59 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3032

พระบรมราโชวาทเรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
เนื่องในโอกาสพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชั้นสายสะพายแก่ข้าราชการ จำนวน ๑๘๘ คน
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๑๔
ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต
วันพฤหัสบดี ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕

ข้าพเจ้ายินดีที่ได้มอบเครื่องอิสริยาภรณ์แก่ท่านทั้งหลาย และขอให้ถือว่าอิสริยาภรณ์นี้เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติแก่ผู้ที่ได้ปฏิบัติงานมาด้วยความเข้มแข็ง ด้วยความตั้งใจดี จนกระทั่งเป็นผู้ที่ควรยกย่อง และแต่ละท่านได้ปฏิบัติงานในสาขาที่เชี่ยวชาญของท่านและได้ทำประโยชน์มากมาย

การที่จะทำประโยชน์แก่งานของตัวนั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่เป็นทางพัฒนาแก่อาชีพหรือแก่แนวงานของตนแต่ต้องคิดถึงว่าในปัจจุบันนี้ งานของแต่ละคนก็ต้องพัวพันกันอย่างมาก และถ้าถึงขั้นผู้ใหญ่เหมือนที่ท่านเป็นผู้แล้ว ก็ต้องนึกถึงว่า งานของตัวในสาขาของตัวจะเจริญได้ ก็ต้องประสานกับงานในสาขาอื่นๆ จึงจะทำให้งานของส่วนรวมเป็นปึกแผ่นและก้าวหน้า การได้สายสะพายนี้ก็เป็นทั้งเกียรติทั้งความรับผิดชอบในตัว เพราะว่าผู้ที่ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรตินี้ มีคนส่วนมากนับถือว่าเป็นผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ แต่บางทีก็เป็นทางที่จะทำให้คนนินทาได้เหมือนกัน เพราะบอกว่าพวกที่ใส่สายสะพายสีเขียวๆ แดงๆ เดินกันว่อน ทำให้เขาอาจรำคาญหมั่นไส้ ความรำคาญหมั่นไส้นี้อาจมีมูลก็ได้ แต่ว่าถ้าทุกคนที่ได้รับมีจิตใจที่มั่นคงแข็งแรง มั่นใจในตัวเองว่าได้ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็งจริงๆ มิได้ย่อท้อต่ออุปสรรค จนกระทั่งได้มาเป็นผู้ที่ได้รับการเชิดชู ก็ไม่ต้องเดือดร้อน ฉะนั้น ขอให้ถือว่าการได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรตินี้ จะยิ่งทำให้ทุกคนเข้มแข็ง แข็งแรงในงานการ ในงานของบ้านเมืองของส่วนรวม

อ่านต่อ »


รุกขธรรมชาดก - อานิสงส์ของหมู่คณะ

อ่าน: 5201

ฟังพระพรหมเมธี (วัดเทพศิริทราวาส) เทศน์ในงานบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทได้ยินเรื่องรุกขธรรมชาดก จึงไปค้นพระไตรปิฎก ปรากฏความสั้นๆ ดังนี้ครับ

๔. รุกขธรรมชาดก
ต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม

[๗๔] มีญาติมากเป็นความดี อนึ่ง ต้นไม้ที่เกิดขึ้นในป่าหลายต้นเป็นการดี ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่โดดเดี่ยว ถึงจะเป็นต้นไม้งอกงามใหญ่โตสักเท่าใด ลมก็ย่อมพัดให้ล้มลงได้.

ขุ. ชา. ๒๗/๗๔

อ่านต่อ »


สิ่งที่น่ารัก และควรรักที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 November 2008 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 5947

 


ปรมัตถวิจารณ์เกี่ยวกับพระคุณของแม่

อ่าน: 4259

ถอดการบรรยายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๖ จากหนังสือ พระเจ้าของชาวพุทธ หน้า ๑๒๒-๑๓๕

ปรมัตถวิจารณ์เกี่ยวกับพระคุณของแม่

ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย

การบรรยายปาฐกถาธรรมในวันนี้ อาตมาจะบรรยายในหัวข้อว่า ปรมัตถวิจารณ์เกี่ยวกับพระคุณของแม่.

บางคนอาจะจนึกสงสัยว่า นี่เป็นการแทรกแซงของการบรรยายเกี่ยวกับอิทัปปัจจยตาหรืออย่างไร. อาตมารู้สึกว่าไม่เป็นการแทรกแซงเพราะว่าถ้ารู้จักปฏิบัติเกี่ยยวกับแม่ให้ถูกต้อง. มันก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ กฎของอิทัปปัจจยตาอยู่นั่นเอง. แต่เนื่องจากมีผู้ขอร้องให้พูดเรื่องเกี่ยวกับแม่ อาตมาก็ต้องยอมรับ เรียกว่าเกรงใจก็ได้ เพราะเรามันทำงานร่วมกัน.

และคิดดูอีกทีหนึ่งก็รู้สึกว่าเราก็เป็นคนมีแม่ แม้จะเป็นเด็กหัวหงอกแล้วก็ยังมี ใคร ๆ ก็ยังมีแม่ แม่ยังจำเป็นอยู่; แม้แต่เด็กหัวหงอกที่ต้องรับรู้. ขอให้นึกอย่างนี้กันทุกคน ถ้าเป็นเด็กหัวหงอกแล้วยังสนองคุณของแม่ไม่ได้ มันก็ดูกระไรอยู่ จึงเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาสำหรับเป็นตัวอย่างแก่เด็กที่ยังไม่นุ่งผ้าเลยทีเดียว.

พ่อสร้างชีวิต แม่สร้างวิญญาณ

อ่านต่อ »



Main: 0.16331815719604 sec
Sidebar: 0.3613588809967 sec