รู้ทันจิตแบบเข้าใจง่าย

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 March 2009 เวลา 0:14 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 7983

ปฏิจจสมุปบาท ปัจจัยต่อเนื่องกันมา 12 องค์ของทุกข์ ดูจะเป็นสิ่งที่นักศึกษาพุทธศาสตร์ พยายามจำและทำความเข้าใจ

แต่ท่องได้ ก็ไม่พ้นทุกข์หรอกครับ การศึกษาทางปริยัติ ช่วยให้จัดความรู้เป็นหมวดหมู่ ความเข้าใจที่แท้จริง กลับต้องปฏิบัติเอง

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ

พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

เมื่อวาน ออกไปนอกบ้าน แวะไปหาหนังสือธรรมะเพื่อส่งไปให้ผู้ที่ผมนับถือ เจอหนังสือธรรมไหลไปสู่ธรรม ของพระอาจารย์มิตซุโอะ คเวสโก (สายพระอาจารย์ชา สุภัทโท) ซึ่งมีหน้ากลางเป็นรูปแผนภูมิที่เข้าใจง่ายครับ


คลิกบนรูปเพื่อดูภาพขยาย

ท่านผู้สนใจจะอ่านพระธรรมเทศนาอันนี้ อ่านได้จากลิงก์ข้างบน ในบันทึกนี้ ผมขอตัดตอน นำข้อความสามบทสุดท้ายมาแสดงไว้เท่านั้น

อ่านต่อ »


ถ้า Maslow ถูก

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 February 2009 เวลา 0:36 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 5567

Abraham Maslow (1908-1970) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งเคยเสนอทฤษฎีบรรลือโลก Maslow’s hierarchy of needs ในปี 1954 ซึ่งเป็นพื้นฐานของจิตวิทยามนุษยนิยม (humanistic psychology ว่าด้วยเรื่องของแรงจูงใจ แรงผลักดัน แรงบันดาลใจ ฯลฯ อันเป็นเบื้องต้นของพฤติกรรมและการกระทำต่างๆ)

ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ พยายามอธิบายโดยการศึกษาคน และพยายามจัดชั้นความต้องการ เบื้องต้นแบ่งออกมาเป็นห้าระดับ ซึ่งคุณเบิร์ดได้อธิบายไว้ดีแล้วครับ ผมขอลอกมาเลย…

อ่านต่อ »


ฉายเดี่ยว

อ่าน: 2996

ทำอะไรคนเดียว บางทีมันก็ออกมาดีเหมือนกัน เพียงแต่ว่าไม่ใช่ทุกอย่างจะออกมาดีถูกใจผู้คนเสมอไปหรอกนะครับ

คนที่ทำอะไรคนเดียวออกมาได้ดี มีเคล็ดลับอยู่ว่าเขาจะต้องมีอิสระที่จะเลือก และเข้าใจตัวเองว่าเขาทำอะไรได้ดี (”ทำได้” ต่างกับ “ทำได้ดี”)



คลิปนี้ มีเล่นผิดหลายเม็ดเหมือนกัน แต่ถ้าให้ผมเล่น ผมก็เล่นไม่ได้ ดังนั้น ฟังอย่างเดียวดีแล้วครับ


บาปใหญ่-บาปลึก

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 February 2009 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4824


กบฏทางความคิด “Practical Wisdom”

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 February 2009 เวลา 0:34 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4499

Barry Schwartz พูดถึงสังคมเสียสติ ที่เต็มไปด้วยกฏเกณฑ์ แต่ขาดความเป็นมนุษย์

สังคมแบบนี้น่ะหรือ เป็นสังคมที่มีความสุข

สังคมที่ฉลาดหลักแหลม แต่ไม่มีปัญญา ไม่มีวิญญาณ ไม่มีคุณธรรม ไม่เข้าใจคน อย่างนี้เป็นสังคมมนุษย์หรือครับ


หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 17 February 2009 เวลา 11:22 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4735

“หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” นี้เป็นการประมวลจากคำบรรยายของ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในการสัมมนา เรื่อง องค์การที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล จัดโดยสำนักพระราชวัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการสำนักพึงน้อมรับใส่เกล้าฯเป็นแนวทางปฏิบัติ

มี 23 ข้อ Matichon Online ตีพิมพ์ไว้ แต่เพราะมติชนเปิดให้อ่านเดือนเดียว คุณ sikkha แห่ง palawat.com บล็อกเอาไว้อีกทีครับ

อ่านต่อ »


นาถกรณธรรม

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 February 2009 เวลา 0:53 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3672

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


[324] นาถกรณธรรม 10 (ธรรมอันกระทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้ - virtues which make for protection)

  1. ศีล (ความประพฤติดีงามสุจริต รักษาระเบียบวินัย มีอาชีวะบริสุทธิ์ - good conduct; keeping moral habits)
  2. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้ง - great learning)
  3. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, การคบคนดี ได้ที่ปรึกษา และผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี - good company; association with good people)
  4. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รับฟังเหตุผล - amenability to correction; meekness; easy admonishability)
  5. กิงกรณีเยสุ ทักขตา (ความเอาใจใส่ช่วยขวนขวายในกิจใหญ่น้อยทุกอย่างของเพื่อนร่วมหมู่คณะ รู้จักพิจารณาไตร่ตรอง สามารถจัดทำให้สำเร็จเรียบร้อย - willingness to give a helping hand; diligence and skill in managing all affairs of one’s fellows in the community)
  6. ธัมมกามตา (ความเป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ใฝ่ความรู้ใฝ่ความจริง รู้จักพูดรู้จักฟัง ทำให้เกิดความพอใจ น่าร่วมปรึกษาสนทนา ชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป - love of truth; to the Doctrine, be pleasant to consult and converse with and rejoice in the advanced teaching of both the Doctrine and the Discipline)
  7. วิริยารัมภะ (ความขยันหมั่นเพียร คือ เพียรละความชั่ว ประกอบความดีมีใจแกล้วกล้า บากบั่นก้าวหน้า ไม่ย่อท้อ ไม่ทอดทิ้งธุระ - energy; effort; energetic exertion)
  8. สันตุฏฐี (ความสันโดษ คือ ยินดี มีความสุขความพอใจด้วยปัจจัย 4 ที่หามาได้ด้วยความเพียรอันชอบธรรมของตน - contentment)
  9. สติ (ความมีสติ รู้จักกำหนดจดจำ ระลึกการที่ทำคำที่พูดไว้ได้ ไม่มีความประมาท - mindfulness; ability to remember what one has done and spoken)
  10. ปัญญา (ความมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้จักคิดพิจารณา เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง - wisdom; insight)

นาถกรณธรรมนี้ ท่านเรียกว่าเป็น พหุการธรรม หรือ ธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นกำลังหนุนในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์


แปดความลับของความสำเร็จ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 January 2009 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3989

ผมไม่ค่อยเชื่อหนังสือพวก How-To ที่เขียนออกมาเป็นสูตรวิเศษที่ใช้ได้ทุกบริบทหรอกนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ชี้นิ้วบอกว่าคนอื่นต้องทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้

แต่ในการนำเสนอยาวสามนาทีเพื่อตอบคำถาม What leads to success? ซึ่งเป็นผลจากการสัมภาษณ์ “ผู้ที่ประสบความสำเร็จ” 500 คนในเวลา 7 ปี ได้ข้อสรุปมาเป็นหลักคิดที่ดี — พูดถึงตัวเองทั้งนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหลือวิสัย ถ้าจะทำ

อ่านต่อ »


“โฟกัส” ในความหมายของ สตีฟ จ๊อบส์

อ่าน: 4286

People think focus means saying yes to the thing you’ve got to focus on. But that’s not what it means at all. It means saying no to the hundred other good ideas that there are. You have to pick carefully.

คงไม่ต้องอธิบายนะครับ ว่าสตีฟ จ็อบส์คือใคร


โคลนติดล้อ

อ่าน: 26976

เมื่อตอนกลางปี 2550 ท่านอาจารย์ไร้กรอบพูดถึงเรื่องการศึกษา แล้วเลยไปถึงบทพระราชนิพนธ์อันหนึ่ง จำเนื้อความได้ลางๆ แต่หาอ่านไม่ได้แล้ว

ผมจึงไปค้นมาได้ว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.​ 2458 เกือบร้อยปีมาแล้ว อยากนำมาให้อ่านอีกครั้งหนึ่งครับ

สหายเอยจงเงยหน้า และเปิดตาพินิจดู
เผยม่านพะพานอยู่ กำบังเนตรบ่เห็นไกล
เปิดม่านแลมองเถิด จะเกิดความประโมทย์ใจ
เห็นแคว้นและแดนไทย ประเสริฐแสนดังแดนสรวง
หวังใดจะได้สม เสวยรมยะแดดวง
เพ็ญอิสสะโรปวง ประชาเปรมเกษมสานต์
ซื่อตรงและจงรัก ผดุงศักดิ์ดิถูบาล
เพื่อทรงดำรงนาน อิศเรศร์ประเทศสยาม

โคลนติดล้อ หมายถึงความเห็นผิดที่เหนี่ยวรั้งเมืองไทยไม่ให้ก้าวหน้า มี 12 ข้อ น่าอ่าน แล้วน่าคิดทุกข้อครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.13619303703308 sec
Sidebar: 0.33904314041138 sec