ชักหน้าไม่ถึงหลัง

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 January 2009 เวลา 5:54 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 5320

สำหรับลูกจ้างกินเงินเดือน ใช้จ่ายเดือนชนเดือน นายจ้างสามารถช่วยเหลือลูกจ้างได้ โดยเพิ่มงวดการจ่ายเงินค่าจ้างขึ้นมา เช่นเดิมจ่ายเดือนละครั้งเมื่อสิ้นเดือน ก็เปลี่ยนเป็นจ่ายเดือนละสองครั้ง ครั้งละครึ่ง ภาษีที่จะต้องหักไว้เพื่อนำส่งสรรพากร ก็อาจจะหักเต็มจำนวนของเดือนนั้นในการจ่ายงวดแรกเลย เพื่อที่งวดหลังจะได้โตกว่างวดแรกสักหน่อย (งวดหลังมักจะต้องไปจ่ายหนี้บัตรเครดิต ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายรายเดือนอื่นๆ หรือแม้แต่จ่ายหนี้นอกระบบ)

แน่ล่ะ ก็จะได้ยิน “เหตุผล” ว่าไม่มีอารมณ์ งานยุ่ง เอาไว้ก่อน ยุ่งยาก ทำงานซ้ำซ้อนหลายครั้ง และผมแน่ใจที่สุดว่าจะได้ยิน “เหตุผล” ว่าไม่มีระเบียบให้จ่ายได้

เรื่องนี้ให้พิจารณาให้ดี “เหตุผล” เป็นเรื่องที่คนที่ไม่ยอมทำใช้มาอ้าง ที่จะไม่ช่วยคนอื่น (แล้วตัวเองเสียประโยชน์ อย่างน้อยก็ต้องทำงานหนักขึ้น) ต่อให้ไม่มีระเบียบ ก็พิจารณาในแนวนี้ได้เหมือนกัน คนสร้างระเบียบขึ้น ดังนั้นเพิ่มเติม/ใช้ชั่วคราว หรือจะแก้ไขถาวรเลยก็ได้ ถ้าอยากจะทำ

อ่านต่อ »


คำแนะนำถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรทำ ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 December 2008 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3647

เป็นคำแนะนำที่ดีครับ แต่รูปและสำนวนตลกมาก


คุณลักษณะของ “ผู้นำ”

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 December 2008 เวลา 0:36 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 6874

เอาของเก่ามารีไซเคิลอีกแล้ว บันทึกนี้เป็นบันทึกเก่าซึ่งเอามาปรับปรุงครับ

เรื่องของ “ผู้นำ” มีผู้รู้เขียนไว้มากมาย ตลอดจนมีคำแนะนำ+ข้อคิดเห็นดีๆ แต่ก็ยังขาดประเด็นที่ผมอยากจะแลกเปลี่ยนกับสมาชิกคือ ความหมายและหน้าที่ของผู้นำ เลยอยากจะขอลองเรียบเรียงความคิดดูครับ

Warren G. Bennis (เกิด พ.ศ. 2468 และยังมีชีวิตอยู่) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ด้าน Leadership ได้ให้คำนิยามของคุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำไว้ดังนี้: (ตัวเอียงเป็นคำอธิบาย+การตีความของผมเอง)

  1. มี Guiding Vision ผู้นำที่ดีรู้ว่าต้องการจะต้องทำอะไร พวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะทำให้งานบรรลุผล และแม้เจออุปสรรคขัดขวาง ก็หาวิถีทางที่จะฝ่าฟันจนบรรลุผล –»» มีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นเหมือนแสงนำทางไปสู่ความสำเร็จ โดยการสื่อสาร+สร้างแนวร่วม+สร้างแรงบันดาลใจกับทั้งองค์กร การเป็นผู้นำไม่ได้เป็นแค่ “ผู้มีวิสัยทัศน์” เท่านั้น
  2. มี “ความหลงไหล” ในเป้าหมาย (Passion) พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง รักในสิ่งที่ทำ จึงสามารถใช้สิ่งนี้ กระตุ้นตัวเองให้ฝ่าฟันต่ออุปสรรคต่างๆ ได้โดยไม่ย่อท้อ –»» ” ความหลงไหล” ในเป้าหมายนั้น หมายถึงว่าเป้าหมายเป็นสิ่งที่เขารัก เข้าใจดีว่าสิ่งที่ทำนั้นจะเกิดผลอย่างไร อยากแบ่งปันผลสำเร็จนั้นให้กับคนรอบตัว ความหลงไหลในความหมายนี้ ต่างกับความหมกมุ่นจนถูกครอบงำ (obsession); คำว่า Passion นี้ น่าจะใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า “ความรัก” ในคริสต์ศาสนา ซึ่งมีความหมายไปในแนวความรักในเพื่อนมนุษย์ และบอกเป็นนัยถึงความเสียสละด้วย ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมในการเผยแพร่ศาสนา และมูลนิธิองค์กรการกุศลต่างๆ
  3. มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในคุณธรรม ในความถูกต้อง ในความจริง (Integrity) เพราะว่าผู้นำที่ดีเข้าใจตัวเองเป็นอย่างดี พวกเขาจึงรู้จักจุดด้อยของตน และสามารถหลีกเลี่ยงจุดด้อยเหล่านั้นได้ด้วย เขาจึงไม่ให้สัญญาพล่อยๆ ในสิ่งที่ไม่สามารถจะทำได้ พวกเขาจึงสามารถ “แผ่รังสีแห่งความซื่อสัตย์” ทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว อันเป็นผลให้พวกเขาได้รับความเชื่อถือ (trust) เป็นอย่างมากจากบุคคลในองค์กร และสามารถเป็นตัวแทนขององค์กรได้โดยไม่มีผู้ใดขัดข้อง — ศ.เบนนิส แยกเรื่อง trust ออกจาก integrity; integrity เป็นเหตุ ส่วน trust เป็นผล
  4. มีความอยากรู้อยากเห็น ไม่หยุดนิ่ง (Curiosity) ผู้นำเป็นผู้เรียนรู้ เป็นผู้แสวงหา พวกเขาตั้งคำถามกับผลของการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน พวกเขาแสวงหาคำตอบที่จำเป็นต้องรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ –»» ผู้นำ ไม่ได้หยุดนิ่งเมื่อสามารถนำพาองค์กรบรรลุเป้าหมายแล้ว แต่กลับมองหาสิ่งที่สามารถจะปรับปรุงได้ มองหาโอกาสใหม่ เป้าหมายใหม่ อยากรู้อยากเห็น อยากทดลองอยู่ตลอดเวลา
  5. ทัศนคติต่อความเสี่ยง (Risk) ผู้นำคำนวณผลของความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า หากมีเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้น ผู้นำที่ดีสามารถเรียนรู้เหตุแห่งความผิดพลาดนั้นได้ เพื่อที่จะมองหาโอกาสอื่นๆ ได้ดีขึ้น ผู้นำที่ไม่เสี่ยงอะไรเลย ไม่สามารถจะเป็นผู้นำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเป็นผู้นำในทางธุรกิจ

อ่านต่อ »


วัฒนธรรมเฮ

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 December 2008 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3379

มีเพื่อนร่วมงาน ไปอ้างอิงบันทึกเก่าของผมที่เขียนไว้ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว เรื่องทำไมองค์กรที่ดีจึงพังได้ เลยมีโอกาสไปอ่านบันทึกเก่าอีกครั้งหนึ่ง เจอความคิดเห็นที่ 41 ไม่รู้ว่าเขียนไปได้ยังไงเหมือนกัน อิอิ แต่อยากเอามาแก้ไขให้อ่านกันอีกทีครับ

วัฒนธรรมองค์กรประกอบไปด้วย:

  1. ทัศนคติในแนวเดียวกัน — คือแนวความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ
  2. ประสบการณ์ร่วมกัน — ความสำเร็จ ความผิดหวัง ความเป็นเพื่อน ความภูมิใจที่เกิดร่วมกัน
  3. ความเชื่อร่วมกัน — คือสิ่งที่อยู่ในอนาคต และเชื่อมใจคนไว้ด้วยกัน ความเชื่อเหมือนเป็นทัศนคติต่อเป้าหมายครับ
  4. คุณค่่าร่วมกัน — ความเห็นร่วมว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี (คำว่าดีหรือไม่ดีนั้น ใช้ประเมินเมื่อผลลัพท์เกิดขึ้นแล้ว หากยังไม่เกิดก็เป็นเพียงความเชื่อ)

ขนาดขององค์กรจะมีปัญหากับการเปลี่ยนแปลง หรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาใหม่เสมอครับ; ในบางองค์กรที่ไม่ค่อยมีเรื่องหวือหวา ใช้วิธีการอบรมพวก team building เพื่อประสบการณ์ร่วมกัน

สำหรับผม คิดว่าประเด็นวัฒนธรรมองค์กร ทั้ง 4 ประเด็นเป็นเรื่องที่อยู่ในใจ ดังนั้นก็ต้องพูดคุยกันมากๆ หน่อย และต้องใช้เวลามากครับ อย่ารวบรัดใจร้อน; ถ้าวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการ จะเป็นสิ่งที่คงอยู่ยืนยาวคู่กับองค์กร การทำอะไรครั้งเดียว-อย่างเดียว-ทำเสร็จในเทอมเดียว-โปรยเงินลงไปหวังให้จบ คงไม่ค่อยเข้ากับลักษณะของเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่หวังให้เกิดขึ้นอย่าง ยาวนานเท่าไหร่หรอกนะครับ

เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ครับ ควรจะหาแนวร่วม กระจายกันเป็น change agent (ซึ่งจะต้อง empower คนให้สามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงนั้นได้) แบ่งปัญหาให้เล็กลง ทำไปเป็นขั้นเล็กๆ แต่ทำหลายอย่างขนานกันไปในเวลาเดียวกันได้นะครับ

ลองหาอะไรทำร่วมกันที่มีโอกาสประสบผลสำเร็จสูงดีไหมครับ อย่างน้อยก็สร้างกำลังใจร่วมกัน

อ่านต่อ »


ผู้นำกับความต่อเนื่อง

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 October 2008 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 4026

ทุกอย่างในโลกเป็นเหรียญสองด้าน เป็นดาบสองคมเสมอ ของสิ่งเดียวกัน เมื่อมองในแสงแดดจากมุมที่ต่างกัน ก็จะเห็นภาพที่ต่างกัน ต่อให้เป็นทรงกลม แสงและเงาก็จะต่างกัน

ความต่อเนื่องในการทำอะไรนั้น โดยปกติมักให้ผลที่ดี เพราะรู้ลึก รู้ละเอียด เข้าใจข้อจำกัด รู้จักผู้เกี่ยวข้อง รู้จักงานที่ทำ รู้จักคู่แข่ง รู้จักเพื่อนพ้อง

แต่ว่าการจับเจ่าอยู่นานเกินไป ก็จะทำให้แรงบันดาลใจลดลง เกิดความล้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจมอยู่กับสิ่งนั้นอย่างหมกมุ่น หรือไม่ในอีกมุมหนึ่ง ก็กลับเกิดความหลง

สมเด็จฮุน เซน เป็นนายกฯ ผูกขาดของกัมพูชามาแล้วยี่สิบปี และยังจะอยู่ต่อ ดีหรือไม่
อดีตประธานาธิบดีคาสโตร เพราะว่าป่วยจึงไม่รับตำแหน่งต่อหลังจากที่ครองคิวบามาสี่สิบเก้าปี ดีหรือไม่
อดีตประธานาธิบดีซูฮาโต้ ครองอินโดนีเซียอยู่สามสิบสองปี ดีหรือไม่
อดีตประธานาธิบดีมาร์คอส ครองฟิลลิปปินส์อยู่ยี่สิบปี ดีหรือไม่
อดีตนายกฯ ทักษิณ ก็เคยคิดจะอยู่ยี่สิบปี จะดีหรือ???

ผู้นำเหล่านี้ จะบอกว่าไม่มีดีเลย ก็คงพูดไม่ได้หรอกครับ ไม่ยุติธรรม…

แต่ถ้าบอกว่าดีไปซะหมด อยากจะยกเทิดทูนไว้ประดุจดั่งเป็นพ่อเป็นแม่ คงจะต้องถามกลับว่า จะบ้าเหรอ


ธนาคารชุมชนกุดกะเสียน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 September 2008 เวลา 0:30 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5992

ไอเดีย “บ้านๆ” บริหารเงินล้าน เวอร์ชั่นธนาคารชุมชน “กุดกะเสียน”

จีราวัฒน์แก้ว

หลบเรื่องร้อนๆ มาฟังเรื่องเย็นๆ “อยู่เย็น เป็นสุข” บ้านกุดกะเสียน อุบลราชธานี เรื่องไม่ธรรมดาของชุมชนเล็กๆ ที่มีธนาคารเป็นของตัวเอง บริหารจัดการเงินแสนบวกกับกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท จนเพิ่มพูนได้ถึงกว่า 14 ล้านบาท พร้อมสูตร “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้” ฉบับชาวบ้าน ที่ฟังแล้วน่าแกะรอยความสำเร็จ

เมื่อมองจากองค์ประกอบภายนอก พบว่า “บ้านกุดกะเสียน” ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่าง หรือพิเศษ ไปจากหมู่บ้านอื่นๆ ที่นี่มีประชากรอยู่กว่า 200 หลังคาเรือน

ชาวบ้านมีอาชีพทำนาและค้าขาย เป็นหลัก อุปสรรคสำคัญที่เกิดขึ้นกับวิถีชีวิต คือ ทำนาก็เจอปัญหาน้ำท่วม เมื่อมาประกอบอาชีพค้าขาย ก็ติดปัญหาเป็นหนี้สินนอกระบบ เสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เจ็บตัวไปตามๆ กัน

“เดิมชาวบ้านมีฐานะไม่ดี เรียกว่ารายได้ต่ำกว่าเกณฑ์เยอะมาก เพราะเขาทำค้าขายเงินเชื่อ คือ ซื้อของมาจากในเมือง แล้วใส่รถไปเร่ขายตามต่างจังหวัด ขายปีนี้ ไปเก็บเงินเอาปีหน้า ทำให้ไม่มีทุน เลยต้องไปกู้เงินนอกระบบ เสียดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 3-5% ต่อเดือน ดอกเบี้ยแพงมาก เงินก็เข้ากระเป๋านายทุนหมด”

“ทุน” ไม่มี ซ้ำอุปสรรคยัง “เพียบ” แล้วจะบริหารกิจการแห่งนี้ให้งอกเงยได้อย่างไร

คำตอบอยู่ที่กุญแจ 3 ดอกนี้

อ่านต่อ »


กทม. ในฐานะองค์กรอันซับซ้อน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 September 2008 เวลา 17:00 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2616
Official seal of BangkokImage via Wikipedia

ช่วงนี้ใกล้เวลาเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จะว่าไป ผมก็จะไม่ไปเลือกกับเขาหรอกครับ (ไม่ได้อยู่ กทม.) แต่มาคิดดูว่าคนที่อาสามาเป็นผู้ว่าฯ จะบริหารเขตเศรษฐกิจที่เก็บภาษีได้ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศ มีประชากรที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านหกล้าน และเป็นที่ทำงานเลี้ยงชีวิตของคนสิบกว่าล้านนี่ เค้าคิดอะไรกันแน่

ยิ่งกว่านั้น เนื่องจาก กทม.เอง ก็เป็นส่วนราชการแบบท้องถิ่นขนาดใหญ่ มีข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดเป็นแสนคน ผู้ว่าฯ และทีมบริหารจะทำหมดแบบที่หาเสียงกันได้อย่างไร ปัญหาการศึกษา ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขยะ ปัญหาการจราจรและคมนาคม ปัญหาพ่อค้าแม่ค้า และอีกร้อยแปดพันเก้า จะเอาผู้วิเศษที่ไหนมาแก้

ในส่วนของคนเลือก เลือกผู้ว่าฯ จากอะไร จากประสบการณ์ จากความรู้ จากแคมเปญการตลาด จากนโยบาย จากพรรค จากโหงวเฮ้ง+ความถูกชะตา จากความสะใจ จาก “ความประหลาดพิลึกกึกกือ” หรือว่าหลายๆ อย่างกันแน่

ยิ่งคิดไป ก็ยิ่งคิดว่าองค์กรที่ซับซ้อนแบบ กทม. น่าจะต้องเป็นองค์กรแบบ Chaordic ทีมผู้บริหารตั้งนโยบาย แล้วเฝ้าติดตามความคืบหน้าของงาน กล้าเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างและตัวบุคคล เพื่อให้เกิดผลตามนโยบายและทิศทางที่วางไว้

  • ประเภทเก่งเดี่ยวไม่ฟังใคร แล้วจะมาเนรมิตให้ กทม.เป็นไปตามนโยบายที่หาเสียงไว้นั้น น่าจะเป็นการเพ้อเจ้อครับ
  • ผมคิดว่าผู้ว่าฯ ที่ดี ควรจะฟังเยอะๆ ทำงานประสานกับคนอื่นเป็น ใช้คนเป็น+เห็นทั้งข้อดีและข้อเสียของผู้ร่วมงานแต่ละคน มากกว่าจะรวบมาทำเอง; กทม. มี 50 เขต (อำเภอ) กับ 17 สำนัก รอง ผู้ว่าฯ อีกสามสี่คน แค่นับจำนวน direct report 70 คนนี้ ถ้าประชุมพร้อมกันหมด ก็เหมือนไม่ได้ประชุมแล้วครับ เป็นการมอบนโยบาย (ทางเดียว) ซะมากกว่า ต้องหาวิธีจัดการแล้ว
  • ผู้ว่าฯ กทม.ควรจะจัดการกับการทุจริตอย่างเด็ดขาด คำว่าเด็ดขาดหมายความว่าให้เป็นไปตามกฏหมาย
  • ดังนั้น จุดขาย จึงควรเป็นการขายนโยบาย และวิธีการเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ
  • แม้เลือกไม่ได้ แต่ผมอยากฟังข้อเสนอที่เป็นไปได้ ไม่ใช่สัญญาบ้าๆ บอๆ หรือการสาดโคลนใส่กันครับ


“ถูกต้อง”

อ่าน: 4099

ในเวลาที่มีพิธีกรเกมโชว์ใช้คำว่า “ถูกต้องนะคร้าาาาบบบ” เป็นที่ฮิตกันไปทั่วเมือง แม้ทางฝั่งการบ้านการเมือง การแสดงความคิดเห็น ก็ยังยืนยันว่า ฝ่ายของตนนั้นถูกต้อง และอีกฝ่ายหนึ่งไม่ถูกต้อง ผมค้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน… เชื่อไหมครับ ว่าไม่พบคำว่า “ถูกต้อง” !

ถูก ๑
ก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วย แสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทํา (มักใช้ในข้อความที่ทําให้ผู้ถูกทําเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ. ถูกกระทำ ก. ถูกทำให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ โดยวิธีใช้เวทมนตร์เป็นต้น. ถูกกัน ก. เข้ากันได้, ชอบพอกัน. ถูกขา ก. เข้ากันได้, รู้ชั้นเชิงกัน, (มักใช้ในการพนันและการเล่นกีฬา). ถูกคอ ก. ชอบพอ, ถูกอัธยาศัยกัน, มีรสนิยมเข้ากันได้. ถูกคู่ ก. เข้าคู่กันได้. ถูกใจ ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกอกถูกใจ ก็ว่า. ถูกโฉลก ก. ถูกตามตำรับนับโฉลก, ถูกชะตากัน, เป็นมงคล. ถูกชะตา ก. ถูกใจกันแต่แรกเห็น. ถูกตา ว. งาม, น่าดู, ต้องตา. ถูกน้อย (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งน้อย เป็นอาการของม้าวิ่งเรียบ ๆ ช้า ๆ. (อิเหนา). ถูกปาก ว. อร่อย. ถูกส่วน ว. ได้สัดส่วน, สมส่วน. ถูกเส้น (ปาก) ว. เข้ากันได้, ชอบพอกัน, ถูกอกถูกใจ. ถูกใหญ่ (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งใหญ่ เป็นอาการของม้าวิ่งอย่างเร็ว. ถูกอกถูกใจ ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกใจ ก็ว่า.
ถูก ๒
ว. จริง, ชอบ เช่น ถูกใจ, เหมาะสม, ไม่ผิด เช่น คิดถูก ทําถูก; มีราคาตํ่า, ไม่แพง.

เป็นไปได้หรือนี่ ที่ไม่มีการนิยามความหมายของคำว่าถูกต้องเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของกริยา วิเศษณ์ หรือนาม (ความถูกต้อง) เอาไว้

อ่านต่อ »


ประสบการณ์​ Brainwriting กระตุ้นความคิดใหม่ อิงการระดมสมอง

15 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 August 2008 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การบริหารจัดการ #
อ่าน: 6228

อ่านบล็อก Brainwriting is Brainstorming on Steroids แล้วรู้สึกสนใจ พอดีเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา มีการประชุมผู้จัดการสาขาซึ่งอยากไปฟังตอนสรุปอยู่แล้ว ก็เลยได้โอกาสทดลองใช้ดูครับ

Brainstorming (การระดมสมอง) มีปัญหาพื้นฐานอยู่หลายอย่าง

  1. เวลาระดมสมอง พูดได้ทีละคน เมื่อคนหนึ่งพูดแล้ว คนอื่นจะถูกชักนำให้ไขว้เขวไป ในทุกครั้งที่มีความคิดใหม่เกิดขึ้น ผู้พูดคนต่อไปจะมีทางเลือกคือเสนอความคิดใหม่ของตน หรือปรับปรุงความคิดที่มีผู้เสนอมาแล้ว ถ้ามีผู้พูด 5 คน ก็จะมีทางเลือกทั้งหมด 1+2+3+4+5 = 15 ทาง แต่พูดได้แค่ 5 ทางเท่านั้น อีก 10 ทางเลือก หายไปในกระบวนการด้วยข้อจำกัดของ queue
  2. แม้จะมีคำแนะนำอยู่เสมอๆ ว่าในการระดมสมอง อย่างเพิ่งวิจารณ์ทันที ให้เสนอความคิดออกมาให้ชัดเจนให้รู้ว่าเสนออะไรก่อน แล้วค่อยมาวิจารณ์ทีหลัง ในตอนวิจารณ์นี่ล่ะสำคัญ ถ้าผู้เสนอเป็น “ผู้ใหญ่” ใครล่ะจะกล้าวิจารณ์ บอกว่าไม่เห็นด้วย หรือบอกว่าห่วย (ฝรั่งก็มีปัญหานี้ ไม่ใช่เพราะเค้าเกรงใจ แต่เค้ารู้ว่า “ผู้ใหญ่” เป็นคนพิจารณาเงินเดือน/โบนัสของเขา)
  3. ในกรณีที่เลือกเหลือเพียงความคิดเดียว ผู้เสนอต่างคนต่างคิดว่าตัวเองเสนอสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ในเมื่อดีที่สุดเจอกับดีที่สุด จะเลือกข้อเสนอที่ดีกว่าดีที่สุดออกมาได้อย่างไร

อ่านต่อ »


อคติ (อีกครั้งหนึ่ง (อีกครั้งหนึ่ง …))

อ่าน: 3296

อับราฮัม มาสโลว์ปรมาจารย์ทางด้านจิตวิทยา+พฤติกรรมมนุษย์ เคยพูดไว้ว่า “To the man who only has a hammer, everything he encounters begins to look like a nail.” — สำหรับคนที่มีเพียงฆ้อน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาพบเห็นเริ่มดูเหมือนตะปูไปหมด

ความสำเร็จและประสบการณ์ในอดีต สร้างอคติ ซึ่งทำให้ผู้ตัดสินใจมีแนวโน้มที่จะแก้ทุกปัญหา ด้วยวิธีการที่เขาเคยทำสำเร็จมาแล้ว เพราะนั่นคือฆ้อนของเขา

ความสำเร็จในอดีต และประสบการณ์ ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเลย…

แต่แค่ความสำเร็จ บวกกับประสบการณ์ ยังไม่พอ เพราะว่าปัญหาในปัจจุบัน กับปัญหาในอดีต เป็นคนละสถานการณ์กัน มีบริบทที่แตกต่างกัน มีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน…

ดังนั้นด้วยเหตุใด จึงควรจะแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกันเป็นแผ่นเสียงตกร่อง?

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า “The person who reads too much and uses his brain too little will fall into lazy habits of thinking.” — ผู้ที่อ่านมากและใช้สมองน้อย (คือเชื่อในทันที) ก็จะมีนิสัยชอบคิด (แล้วไม่ทำ)



Main: 0.20736789703369 sec
Sidebar: 0.51686406135559 sec