ข้อคิดส่งท้ายปีวัวดุ - แก้อาการสะกดจิตตัวเอง

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 December 2009 เวลา 21:53 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4216

ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ทั้งขอขอบใจท่านเป็นอย่างมากที่วิตกห่วงใยในการเจ็บป่วยของข้าพเจ้าและ แสดงออกโดยประการต่างๆ จากใจจริง ที่จะให้ข้าพเจ้าหายเจ็บป่วยและมีความสุขสวัสดี

ความสุขสวัสดีนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่จะสำเร็จผลเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล

ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ชาวไทยทุกคนได้ตั้งจิตตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่ ที่จะประพฤติตัวปฏิบัติงานให้เต็มกำลังความสามารถ โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดกำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือจะคิดจะทำสิ่งใด ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดีให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง

ข้อสำคัญจะต้องระลึกรู้โดยตระหนักว่าประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือเป็นเป้าหมายหลัก ในการประพฤติตัวและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน ความสุขสวัสดีจักได้เกิดมีขึ้น ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายได้ตั้งใจปรารถนา

ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกายสุขใจและความสำเร็จสมประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน

อ่านต่อ »


“เบลมสตอร์มมิ่ง” รู้อยู่ว่าไม่ช่วยอะไร แต่ก็ทำ

อ่าน: 4271

คำว่า Blame Storming เกิดจากการเล่นคำ(เกือบ)พ้องเสียงกับ Brain Storming หรือการระดมสมอง

Urban Dictionary ให้ความหมายไว้สามอย่าง

Blamestorming (คำนาม) การประชุมอันหนึ่ง ซึ่งมีเป้าหมายจะค้นหา ว่าทำไมเป้าหมาย/เส้นตายจึงพลาดไป หรือทำไมงานจึงล้มเหลว และใครเป็นผู้รับผิดชอบ

Blamestorming (กริยา) การรวมหัวกัน หรือกระทำคนเดียว เพื่อหาว่าจะกล่าวโทษใครหรืออะไรดี สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น, ตรงข้ามกับการระดมสมองเพื่อหาทางออกให้แก่ปัญหา

Blame Storming การที่องค์กรมารวมกันเพื่อเลือกสรรข้อแก้ตัว หรือแพะรับบาป

อ่านต่อ »


ทำไมเราจึงไม่เข้าใจมากเท่าที่เราคิดว่าเข้าใจ?

อ่าน: 2883

ที่ TED มี presentation อันหนึ่งโดย Jonathan Drori เรื่อง “Why don’t we understand as much as we think we do?” — ทำไมเราจึงไม่เข้าใจ(เรื่องใดเรื่องหนึ่ง) มากเท่ากับที่เราคิดว่าเราเข้าใจ

ไม่ว่าเขาสรุปว่าอะไร จะอธิบายเหตุผลได้หรือไม่ ก็ไม่สำคัญหรอกครับ

เรื่องสำคัญคือถ้าไม่เข้าใจ แล้วตัดสิน/พิพากษาได้อย่างไร

แล้วเราจะเข้าใจทั้งหมดได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นตลอดเวลา ขนาดเราอยู่กับตัวเองมาตั้งแต่เกิด ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย

แต่ก็นั่นแหละครับ To Create Something Out of Nothing เรียกว่า Creativity
To Create Nothing Out of Lots of Things เรียกว่า Management :)


สันโดษ​

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 December 2009 เวลา 0:00 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4341

ความสันโดษไม่ใช่การปลีกวิเวกไปอยู่คนเดียวในป่าไม่ทำงานทำการ เรื่องนี้ฆราวาสก็ปฏิบัติได้ ผมยกเอาที่ อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปกเคยอธิบายไว้มาให้อ่านก็แล้วกันครับ

สันโดษ

คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

เรื่องที่คนไทยเข้าใจผิดมากเรื่องหนึ่งในหลายเรื่องคือสันโดษนี่แหละครับ คนส่วนมากมักเข้าใจกันว่า สันโดษคือความมักน้อย จึงมีคำพูดติดปากว่า “มักน้อยสันโดษ” แล้วก็เข้าใจต่อไปว่า คนที่สันโดษคือคนที่ไม่ทำอะไร ไม่ต้องการอะไร ปล่อยชีวิตไปตามเรื่องตามราว

เรียกว่าคนไม่เอาไหนนั่นแหละ คือคนสันโดษ

เมื่อเข้าใจอย่างนี้ก็พาลพาโลหาว่าพระพุทธศาสนาสอนสิ่งที่ขัดต่อการพัฒนาคนและสังคม มีอย่างหรือชาติกำลังต้องการพัฒนาคน ยังมาสอนไม่ให้ต้องการอะไรมากๆ ไม่ให้สร้างสรรค์ สอนให้มักน้อยสันโดษอยู่ได้

มีอยู่สมัยหนึ่ง คือสมัยท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คุณหลวง (อย่าให้เอ่ยชื่อเลยนะครับ เอาเป็นว่า “คุณหลวง” ก็แล้วกัน) ผู้เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของท่านนายกฯสฤษดิ์ ประกาศว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีมากมายที่ดีๆ แต่บางข้อก็ไม่เหมาะกับสังคมยุคพัฒนาพระไม่ควรนำไปสอนชาวบ้าน เช่น สันโดษ เป็นต้น

พอคุณหลวงประกาศออกมา พระสงฆ์องค์เจ้า “เต้น” เป็นการใหญ่ มีการเทศนาชี้แจงว่าไม่ใช่อย่างนั้น สันโดษจริงๆ มิใช่ความมักน้อย ไม่อยากได้อะไร ไม่อยากสร้างสรรค์อะไร ทำให้มีการ “ตื่นตัว” หาทางอธิบายธรรมให้ชาวบ้านเข้าใจมากขึ้น ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็เป็นผลดีและน่าขอบคุณคุณหลวงเป็นอย่างยิ่ง หาไม่แล้วพระท่านก็คงไม่ใส่ใจจะมาทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ปล่อยให้เขาเข้าใจผิดๆ ถูกๆ ไปตามเรื่อง

ว่างๆ ผมอาจจะประกาศอย่างคุณหลวงขึ้นมาบ้างก็ได้ เผื่อจะช่วย “กระตุ้น” ให้พระคุณเจ้าท่านหันมาสนใจอธิบายธรรมะให้ชาวบ้านเขาเข้าใจได้มากกว่านี้ บอกกันตรงๆ ว่าวงการพระศาสนาของเรายังต้องการพระนักเทศน์ นักบรรยาย นักเขียนที่คนอยากฟัง อยากอ่านมากกว่าที่มีอยู่

กองทัพทั้งกองทัพ มีขุนพลทหารฝีมือดีอยู่เพียงสามสี่คน จะไปสู้รบกับใครได้ครับ

ความจริง สันโดษกับมักน้อยมันคนละเรื่องกัน ความมักน้อยเป็นคำแปลของคำบาลีว่า “อปปิจฺฉตา” พระพุทธองค์ทรงสอนพระให้ปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ว่าสิ่งเหล่านี้ให้พระต้องการแต่น้อยพออาศัยยังชีพ เพราะชีวิตพระมิใช่ชาวบ้านจะได้สะสมสิ่งเหล่านี้ไว้มากมาย

ส่วนสันโดษ หรือสนฺตุฏฐี นั้นหมายถึง ความภาคภูมิใจในผลสำเร็จที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยความสามารถ ด้วยความพากเพียรพยายามของตนในทางสุจริตชอบธรรม

ฟังดูดีๆ จะเห็นว่าคนสันโดษหรือคนที่ขยันหา ขยันสร้างสรรค์ (ยถาลาภ)
ทุ่มเทกำลังกาย กำลังสติปัญญาเต็มที่ (ยถาพล)
ในสิ่งที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรม (ยถาสา รูปฺป)
เมื่อได้ผลสำเร็จขึ้นมาแล้วก็ภาคภูมิใจในผลสำเร็จนั้น

ธรรมะที่ตรงข้ามกับสันโดษคือ ความโลภและความเกียจคร้าน คนโลภและขี้เกียจคือคนที่ไม่สันโดษ ท่านเห็นหรือยังว่า สันโดษขัดขวางหรือส่งเสริมการพัฒนาล่ะขอรับ

ดังนั้นธรรมะที่สนับสนุนสันโดษ มีอยู่ 2 อย่างคือ ความไม่โลภกับความเพียร

คนสันโดษจึงมีคุณสมบัติสองประการนั้นคือ เป็นคนไม่โลภและเป็นคนพากเพียรพยายามสูง คนไม่สันโดษคือคนโลภนั้นเอง

คิดดูให้ดีจะเห็น คนที่อยากได้อะไรด้วยอำนาจความโลภมักจะไม่ชอบทำงาน เช่น คนโลภอยากได้สองขั้น (แค่ขั้นละไม่กี่ร้อย อยากกันจริง) ก็คอยดูว่าเจ้านายชอบอะไร เช่น ชอบเอ๊าะๆ ชอบอาบ อบ นวด ก็พาเจ้านาย (เฮงซวย) ไปลงอ่าง บริการให้เสร็จ ถ้าคนอยากได้สองขั้นเป็นเอ๊าะๆ เสียเอง ก็ยอมพลีกายแลก อย่างนี้งานการไม่ต้องทำหรือทำบ้างไม่ทำบ้าง ถึงเวลาเจ้านายเฮงซวยก็ให้สองขั้นเอง คิดเอาก็แล้วกัน เมื่อคนโลภก็มักจะขี้เกียจ ไม่ทำงาน เมื่ออยากได้แต่ไม่อยากทำงาน ก็ต้องหาโอกาสโดยทางลัดหรือโดยวิธีที่ทุจริตผิดกฎหมายบ้านเมืองและศีลธรรม

คนชนิดดังกล่าวมานั้นแหละ ทางพระท่านเรียกว่า คนไม่สันโดษ ส่วนคนที่มีลักษณะตรงข้ามเรียกว่า คนสันโดษ คิดเอาก็แล้วกัน (อีกแล้ว) ว่าคนประเภทไหนที่สังคมต้องการ

เพื่อความเข้าใจที่แจ่มชัดชนิดแจ้งจางปาง ขอสรุปลักษณะของคนที่มีความสันโดษดังต่อไปนี้

  1. คนสันโดษ จะต้องเป็นคนทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยสติปัญญาเท่าที่มีและโดยวิธีการอันชอบธรรม
  2. คนสันโดษ จะไม่อยากได้ของของคนอื่นหรือของที่ไม่ชอบธรรม จะไม่ทุจริตเพราะปากท้องหรือผลประโยชน์ส่วนตัว
  3. คนสันโดษ เมื่อหามาได้ก็ใช้สอยเท่าที่จำเป็น และใช้ด้วยสติปัญญา ไม่เป็นทาสของวัตถุ
  4. เมื่อไม่ได้ เมื่อสุดวิสัยที่จะได้ ก็ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไป ไม่ยอมให้ความผิดหวังครอบงำใจ
  5. หาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นของตน หรือเป็นสิทธิของตน สามารถดำรงชีวิตที่มีความสุขตามฐานะ
  6. มีความภูมิใจในผลสำเร็จอันเกิดจากกำลังของงาน มีความอดทน สามารถรอคอยผลสำเร็จอันจะพึงเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
  7. มีความรักและภักดีในหน้าที่ของตน มุ่งปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าของงาน เรียก “ทำงานเพื่องาน” อย่างแท้จริง
  8. ไม่ถือเอาสิ่งที่ตนหามาได้ สมบัติของตนหรือความสำเร็จของตนมาเป็นเหตุยกตนข่มผู้อื่น

คุณสมบัติที่กล่าวมา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศชาติใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ก็อยากอภิปรายไม่ไว้วางใจ เอ๊ย ! อยากเรียนถามว่า ที่ประเทศชาติไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น เพราะมัวแต่สอนสันโดษ หรือเพราะไม่สอนสันโดษกันแน่

ทรงพระเจริญ


บาดเลยนะเนี่ย: ความยับยั้งชั่งใจ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 November 2009 เวลา 19:20 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3792

มนุษย์กับความคิด

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 November 2009 เวลา 0:00 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4316

บันทึกนี้ เป็นบันทึกที่ 555 ของลานซักล้าง ทีแรกจะเขียนเรื่อง 555 แต่เอาเป็นแนะนำแง่คิด/หนังสือดีกว่า อ่านแล้วคิด ก็ 555 ได้เหมือนกัน

หนังสือ As a man thinketh เขียนโดย James Allen ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2445 (1902) เป็นหนังสือน่าอ่าน และควรอ่าน

บท 4 เริ่มต้นด้วยข้อความว่า

Until thought is linked with purpose there is no intelligent accomplishment. With the majority the bark of thought is allowed to “drift” upon the ocean of life. Aimlessness is a vice, and such drifting must not continue for him who would steer clear of catastrophe and destruction.

They who have no central purpose in their life fall an easy prey to worries, fears, troubles, and self-pityings, all of which are indications of weakness, which lead, just as surely as deliberately planned sins (though by a different route), to failure, unhappiness, and loss, for weakness cannot persist in a power-evolving universe.

ตราบใดที่ความคิดมิได้ถูกโยงเข้ากับจุดมุ่งหมาย ตราบนั้นปัญญาหรือความสำเร็จที่แท้จริงก็ยังไม่เกิด คนจำนวนมากปล่อยกระแสความคิดให้ล่องลอยไปในมหาสมุทรแห่งชีวิต การขาดจุดหมายคือความเลวร้ายชนิดหนึ่ง ผู้ที่ไม่ต้องการพบกับหายนะหรืออันตรายต้องไม่ปล่อยให้เรือของชีวิตตน ล่องลอยไปอย่างปราศจากจุดหมาย

ผู้ที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนในชีวิตย่อมตกเป็นเหยื่ออันง่ายดายของความกังวล ความกลัว เรื่องยุ่งยากใจและความสงสารตนเอง ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องชี้วัดความอ่อนแออันนำไปสู่ความล้มเหลว สูญเสียและเป็นทุกข์ ซึ่งแม้จะเกิดจากสาเหตุที่ต่างกันแต่ก็ให้ผลเช่นเดียวกันกับการทำชั่วที่ วางแผนมาอย่างดี เพราะความทนทานอยู่ได้ในจักรวาลที่ขับเคลื่อนและวิวัฒน์ด้วยพลัง

คำว่า thinketh แปลว่า think เป็นคำโบราณ มาจากคำภีร์ไบเบิ้ล


อีตอแหล!

17 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 November 2009 เวลา 6:19 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 6027

เมื่อตรวจปรับปรุงแก้ไขบันทึกที่เพิ่งเขียนเสร็จ แล้วนึกไปถึงเรื่องเล่าของพระอาจารย์รูปหนึ่งทางอีสาน

เรื่องนี้ผมไม่อาจยืนยันได้ว่าจริงเพราะไม่ได้ยินมาเอง แต่ยืนยันได้ว่าฮาจริงๆ นำมาจากตรงนี้ครับ เป็นเรื่องของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

อ่านต่อ »


กฐินวัดป่าสันติพุทธาราม อ.โพธาราม ราชบุรี

อ่าน: 11384

ปีนี้เป็นปีที่ห้าที่บริษัทจัดให้มีการทอดกฐิน ตอนที่ผมบริหารอยู่ ก็มักจะไปทอดตามวัดที่ห่างไกล ขาดแคลน ถ้าจำไม่ผิด มีสองครั้งที่(เกือบจะ)เป็นกฐินตกค้าง (กล่าวคือไม่มีผู้ใดจองกฐิน) แต่เนื่องจากปีนี้ ผมไม่ได้ทำงานบริหารแล้ว จึงไม่รู้รายละเอียดมากนัก เห็นว่าไปทอดที่วัดห่างไกลที่ อ.โพธาราม ราชบุรี หลังจากหาตำแหน่งโดยเปรียบเทียบเส้นทางในแผนที่ กับพิกัดใน Google Maps แล้วกำหนดจุดลงไปใน GPS แล้ว ก็วางใจ

เมื่อวานเพิ่งกลับมาจากบุรีรัมย์ เช้านั้นตื่นตีห้ากว่าๆ ก่อนหน้านั้นเพิ่งหายป่วย แถมเมื่อคืนกว่าจะนอนได้ก็ปาเข้าไปเกือบตีหนึ่ง เรียกว่าเหนื่อยและนอนน้อยติดกันมาหลายวัน จึงเลิกความตั้งใจที่จะออกจากบ้านตีห้าเพื่อไปใส่บาตรที่วัดตอน 7 โมงเช้า เอาเดินทางปลอดภัยดีกว่า ไหนๆ ก็ตั้งใจไปทอดกฐินแล้ว ให้ได้ร่วมทอดกฐินจริงๆ ดีกว่าครับ ตั้งนาฬิกาปลุกหกโมงครึ่ง เดินทางไปถึงวัดเกือบเก้าโมง ทันการทอดกฐินพอดี

แต่เพราะความไม่รู้รายละเอียด จึงเจอความประหลาดใจหลายอย่างครับ

อ่านต่อ »


การวิพากษ์ที่ไม่อยู่บนความเป็นจริง คือการฟุ้งซ่าน

อ่าน: 3398

พจนานุกรมให้ความหมายว่า:

วิพากษ์ = พิจารณาตัดสิน
จริง = แน่ แท้ ไม่ปลอม ไม่เท็จ ไม่โกหก ไม่หลอกลวง
ฟุ้งซ่าน = ไม่สงบ พล่านไป ส่ายไป

การวิพากษ์และการวิจารณ์ ไม่ยากหรอกครับ ที่ยากคือการตระหนักว่าเราไม่รู้อะไรต่างหาก

ถ้าไม่รู้แต่ดันนึกว่ารู้ ก็จะทำให้การตัดสินใจผิดเพี้ยนออกจากหลักของเหตุและผล หลักของการไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน และหลักของความยุติธรรม


กฐินสามัคคีวัดกลาง อ.ประโคนชัย บุรีรัมย์

อ่าน: 3753

ไปงานกฐินสามัคคีที่วัดกลาง อ.ประโคนชัย บุรีรัมย์ ซึ่งญาติพี่น้องป้าจุ๋มเป็นเจ้าภาพ อิ่มอกอิ่มใจไปตามๆ กันครับ

เช้าวันที่ 17 ป้าจุ๋มทำบุญคุณพ่อคุณแม่ แล้วตั้งองค์กฐินตอนบ่าย ช่วงเย็นปิดถนนฉลองกฐิน เช้าวันนี้ ก็เคลื่อนขบวนไปเวียนรอบโบสถ์สามรอบ แล้วนำองค์กฐินและบริวาร ขึ้นตั้งในศาลา พี่ชายป้าจุ๋มเป็นผู้นำกล่าวทอดผ้ากฐิน (ใช้กริยา “ทอด” ไม่ใช้ “ถวาย”)

เนื่องจากก่อนเดินทางหนึ่งวัน ผมได้ของเล่นมาใหม่ จึงนำภาพและเสียงของความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฐินมาให้ดูครับ

Get the Flash Player to see this player.



Main: 0.077245950698853 sec
Sidebar: 0.1377899646759 sec