กู้วิกฤตแม่น้ำเจ้าพระยา

อ่าน: 4273

บันทึกนี้ นอกจากจะ open source แล้ว ยัง open thought ด้วย

กรณีเรือบรรทุกน้ำตาลขนาด 2,400 ตัน ล่มตั้งแต่เช้าวันที่ 2 มิถุนายนที่บริเวณใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เรือจมค่อนมาทางตลิ่ง กระแสน้ำที่พัดมาเจอเรือที่ขวางทางน้ำอยู่ ก็แยกอ้อมเรือไปทั้งด้านกลางแม่น้ำและด้านริมตลิ่งด้วยความเร็ว ทำให้เซาะตลิ่งพังไป กระทบต่อบ้านเรือนชาวบ้าน; ตามข่าวบอกว่าสูบน้ำตาลออกจากเรือได้หมดเมื่อวันที่ 3 แล้ว

แต่ที่เกิดเป็นภัยก็คือน้ำตาลที่รั่วลงน้ำ ทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (dissolved oxygen หรือ DO) ลดลงสู่ระดับวิกฤต บางช่วงต่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร (ต่ำกว่า 2-3 มก./ลิตร หรือ 2-3 ppm ก็เรียกว่าน้ำเน่าแล้ว) สัตว์น้ำที่หากินอยู่แถวผิวน้ำ อาจจะยังพอขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้ แต่ปริมาณ DO ที่ต่ำนั้น กระทบต่อสัตว์น้ำที่หากินอยู่แถวผิวดินก้นแม่น้ำ (ซึ่งปลาเหล่านี้มีลักษณะทางกายภาพแตกต่างออกไป) ตายเสียเป็นส่วนใหญ่เช่น กระเบนราหู ปลาลิ้นหมา ปลาม้า ปลากดคัง ตัวละ 10-30 กก. — น้ำตาลเป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ พอจุลินทรีย์ยิ่งโต ยิ่งแบ่งตัว ก็ยิ่งใช้ DO ในน้ำ ทำให้ DO ลดลงต่ำมากจนสัตว์น้ำอื่นหายใจไม่ได้และตายยกแม่น้ำ

อ่านต่อ »



Main: 0.029866933822632 sec
Sidebar: 0.17433500289917 sec