ปรากฏการณ์ Tipping Point — เมื่อถึงจุดเปลี่ยน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 October 2008 เวลา 16:04 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 8423

บันทึกนี้ งอกออกมาจากบันทึกลานเสวนาประชาธิปไตยสไตล์เฮฮาศาสตร์ครับ แยกบันทึกเพราะไม่เกี่ยวกับบันทึกหลักโดยตรง

คำว่า Tipping Point มีความหมายที่ซ่อนอยู่หลายนัย แถมดูจากรากศัพท์ก็จะงง คำว่า tip ที่เป็นคำนาม แปลว่า ยอด หรือ เงินทิป

ในความหมายกว้างทางสังคมวิทยานั้น Tipping Point หมายถึง “เวลา” ที่เหตุการณ์อันหนึ่งซึ่งเคยเป็นเรื่องพิเศษ กลายเป็นเรื่องธรรมดา เช่นความละอายเปลี่ยนเป็นความไม่อาย ความท้าทายกลายเป็นความจำเจ ฯลฯ ซึ่งในปี 2543 Malcolm Gladwell เขียนอธิบายความไว้ว่าแม้ปัจเจกบุคคลจะไม่สามารถควบคุมสังคมได้ แต่การกระทำบางอย่าง สามารถสร้างความแตกต่างได้ ในหนังสือยอดนิยมชื่อ The Tipping Point: How Little Things Can Make a Big Difference

ความหมายในแนวกว้างนั้น ทำให้ Thomas Schelling ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2548

ในความหมายของสภาวะอากาศ หมายถึงจุดที่การเปลี่ยนแปลง(อุณหภูมิ)ไปจนถึงจุดที่ไม่สามารถจะย้อนกลับได้อีก ซึ่งตอนนี้ก็ใกล้ความพินาศมากแล้ว

ทฤษฎี Tipping Point ยังแตกย่อยออกไปอีกหลายแขนงเช่น

  • ทฤษฎีพินาศ​ (Catastrophe theory) เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งไม่น่ากลัวเหมือนชื่อ
  • มวลวิกฤติ (Critical mass) ปริมาณที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดผลที่ต้องการ เช่นปริมาณยูเรเนียม/พลูโตเนียมที่ใช้ในการผลิตระเบิดปรมาณู หรือจ่ายเงินเท่าไหร่จึงได้ควบคุมอย่างแน่นอน
  • ผลต่อเนื่อง (Domino effect) เมื่อเกิดอะไรขึ้นสักอย่าง ก็อาจมีผลกระทบต่อผู้ที่อยู่รอบข้าง ล้มตามๆ กันไป
  • Emergence ผลรวมเมื่อสิ่งเล็กๆ มารวมกัน เช่นจอมปลวก รังนก ซึ่งเกิดมาจากชิ้นส่วนเล็กๆ มาประกอบกัน ดูส่วนเล็กๆ จะไม่เข้าใจเลยว่าเมื่อประกอบกันออกมาแล้ว จะออกมาเป็นอย่างไร คล้ายตาบอดคลำช้าง
  • ปรากฏการณ์ลิงตัวที่หนึ่งร้อย (Hundredth Monkey Effect) หมายถึงพฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้น และแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อไปถึงปลายทางอาจกลายเป็นคนละเรื่องไปก็ได้ เช่น “กระแส” แฟชั่น ข่าวลือ ความลับที่บอกต่อๆ กันไปว่าห้ามบอกใคร (รวมทั้งสิ่งห่วยๆ ที่สังคมไทยชอบทำอีกหลายอย่าง ที่รับมาโดยไม่ได้พิจารณา ดัดแปลงโดยไม่เข้าใจแก่น ไม่มีราก)


พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 October 2008 เวลา 0:01 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3027

คำนำ

สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระปรารภว่านักเรียนนักศึกษา ตลอดถึงข้าราชการผู้ที่ไปศึกษาต่อหรือไปรับราชการ ณ ต่างประเทศ ควรจะมีหนังสือแนะแนวคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเป็นคู่มือ สำหรับอ่านเพื่อให้เกิดความรู้เป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติตนเอง และเพื่ออธิบายให้บรรดามิตรชาวต่างประเทศ ผู้ต้องการจะทราบเข้าใจได้ถึงหลักธรรมบางประการในพระพุทธศาสนา จึงอาราธนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ให้เรียบเรียงเรื่อง “พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร” ในแนวความโดยพระประสงค์ในพากษ์ภาษาไทย และทรงอาราธนาให้พระขนติปาโล (Laurence C.R.Mills) วัดบวรนิเวศวิหาร กับพระนาคเสโน วัดเบญจมบพิตร แปลเป็นภาษาอังกฤษขึ้นก่อน และโปรดให้พระยาศรีวิสารวาจา พันตำรวจโท เอ็จ ณ ป้อมเพ็ชร์ และนายจอห์น โบลแฟลด์ ตรวจแปลเรียบเรียงขึ้นอีกโดยตลอด จนเป็นที่พอพระหฤทัยในพากษ์ภาษาอังกฤษแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์ขึ้น เนื่องในวาระดิถีวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐

วังสระปทุม
๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐

วันนี้เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครบรอบ ๑๐๘ พรรษา



Main: 0.024797916412354 sec
Sidebar: 0.13744902610779 sec