ปลูกต้นไม้โดยอาศัยความรู้ที่ศึกษาจากธรรมชาติ

อ่าน: 3612

หากเรียกมนุษยชาติว่ามีความก้าวหน้า มีความรู้แล้วไซร้ เราควรเข้าใจและหาทางทำสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าปล่อยไปตามยถากรรม

การปลูกต้นไม้ก็เช่นกัน จะทำให้ดี ไม่ใช่เพียงแต่เพาะเมล็ด รดน้ำ แล้วรอ

ธรรมชาติสร้างสัตว์เป็นนักปลูกต้นไม้ โดยเมล็ดพืชที่สัตว์กินเข้าไป ผ่านระบบย่อยอาหารในลำไส้ของสัตว์ จะทำให้เปลือกแข็งของเมล็ดหลุดออก จะถูกถ่ายออกมาพร้อมกับมูลในที่ที่ไกลออกไปจากต้นแม่ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาพร้อมเมล็ดทำหน้าที่ป้องกันความชื้นจากดินระเหย ทำให้อัตราการงอกสูงขึ้นโดยธรรมชาติ นอกจากนั้น เมล็ดพืชก็ใช้ความชื้นจากมูลสัตว์และจากดินช่วยในการงอก

Capillary Water น้ำในท่อจิ๋วในดิน

อ่านต่อ »


จับตา “ภัยพิบัติ”

อ่าน: 3373

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. มีรายการ Post Script รู้จริง รู้ทัน ทางช่อง TNN24 ทางรายการได้เชิญ​ ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผ่นดินไหว

ผมดูแล้วก็ชอบใจ อาจารย์อธิบายง่ายๆ ตรงไปตรงมา จึงขอให้มูลนิธิโอเพ่นแคร์ ติดต่อทางรายการเพื่อขออนุญาตนำเทปรายการมาเผยแพร่ ซึ่งก็ได้รับอนุญาตเรียบร้อย แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 7 นาที ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


รอยเลื่อนมีพลัง ในประเทศไทย

อ่าน: 22424

บนทวิตเตอร์ ผมไม่ค่อยตามใครหรอกครับ ส่วนใหญ่เป็น automated feeds เสียด้วยซ้ำไป แต่ก็มีบางคนที่ผมตาม เช่น ดร.วรภัทร์​ ภู่เจริญ @jattaro เมื่อคืนนี้ อ.วรภัทร์ ส่งต่อ (RT) ข้อความน่าสนใจ 4 อัน

RT @top10thai: ดร.อานนท์ ปี49บอกว่ามีภูเขาไฟใต้ทะเล4ลูกเกาะภูเก็ต แต่อธิบดีกรมทรัพย์เถียงว่าแค่ภูเขาโคลน –ปี53 เชื่อมอแกนดีกว่า^-^

รอยเลื่อน ระนอง+คลองมะรุ่ย// @pomramida >คอนเฟิร์มข่าวค่ะส่วนเรื่องน้ำร้อนขึ้นและมีฟองอากาศผุดรอผลตรวจสอบค่ะ แนวนั้นมีรอยเลื่อน

RT @news1005fm ชาวมอแกนพบกระแสน้ำด้านล่างมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนลงดำน้ำไม่ได้ เชื่อเป็นลางบอกเหตุร้ายว่าอาจเกิดพิบัติภัยเร็วนี้

RT @bkk001 15 พ.ค.ข่าวไม่เป็นทางการ ปลาตายจำนวนมากที่ทะเลระนอง นัีกทดสอบสมุทรศาสตร์ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำเพิ่ม อาจมีภูเขาไฟใต้ทะเล

เรื่องภูเขาไฟ/ภูเขาโคลน(ร้อน)ใต้ทะเล เคยได้ยินข้อถกเถียง ไม่ว่ามันเป็นอะไรก็ไม่น่าจะใช่พื้นทะเลปกติ — ส่วนทางระนอง ถ้าอุณหภูมิของน้ำ อยู่ดีๆ ร้อนขึ้นได้ ก็คงเป็นเพราะความร้อนใต้พิภพขึ้นมาถึงผิวโลกได้ ตามรอยแยก/รอยเลื่อน ปัญหาคือว่ามีรอยแยกอยู่แถวนั้นหรือเปล่า สันนิษฐานว่ามีโดยสังเกตได้จากการมีบ่อน้ำร้อน [บันทึกเก่า: ภูเขาไฟใกล้ตัว] ก็เลยต้องค้นหาหลักฐานมาชั่งน้ำหนัก แล้วก็ได้เรื่องเลย

อ่านต่อ »


กระสุนข้าว

อ่าน: 3640

สักสองสัปดาห์ก่อน ผมได้รับอีเมลจากพี่ที่นับถือกัน ซึ่งรู้จักกันบน soc.culture.thai เมื่อสักยี่สิบปีที่แล้ว-ก่อนเมืองไทยมีอินเทอร์เน็ต ผมอยู่บริษัทฝรั่งจึงมีใช้ ในขณะนั้น พี่ทวิชเป็นวิศวกรนาซ่า ปัจจุบันท่านสอนอยู่ มทส.

พี่ทวิช เสนอวิธีการปลูกข้าว ที่

  1. ไม่เพาะกล้า ซึ่งต้องไปดำนา ไม่ค่อยเหมาะกับปัจจุบันเนื่องจากแรงงานเข้าไปอยู่ในโรงงานหมด
  2. ไม่หว่าน เนื่องจากดินนาไม่ได้สมบูรณ์

พี่แกว่าเอา’ดินดี’มาปั้นเป็นกระสุน ใส่เมล็ดข้าว 4 เมล็ด เอากระสุนนี้ไปดำด้วยเครื่อง การดำคือการฝังลงไปในดิน ด้วยความลึกและระยะห่างที่ได้ทดลองศึกษาบอกเล่ากันมาหลายชั่วอายุคน ใช้เครื่องดำทำเองได้ครับ (ไม่ใช้น้ำมัน เข็นเครื่องไป พอล้อหมุนไปได้ระยะ ก็ฝังกระสุนลงไปในดิน และดำแห้งๆ ได้ ปล่อยน้ำเข้าทีหลัง)

‘ดินดี’ที่เอามาปั้นกระสุน มีความหมาย เพราะเป็นสารอาหารแรกที่กล้าข้าวใช้สร้างโครงสร้างสำหรับการเติบโตต่อไป — ไม่ได้ใช้เยอะนะครับ

มีแปลงนาสาธิตอยู่โคราช พี่ทวิชรู้จัก อ.หลิน และรู้จักครูบาด้วย ปากเหมาะเคราะห์ดี จะไปขอความรู้เรื่องกังหันลมครับ

Posted by Wordmobi


เหยื่อกับนักล่า

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 April 2010 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 4128

เมื่อสัตว์นักล่าวิ่งล่าเหยื่อ เหยื่อจะหนีรอดได้ก็ต่อเมื่อวิ่งเร็วกว่านักล่า หรือนักล่าเลิกไป แต่นักล่ามักแข็งแรงมีกำลังมาก มีความเร็ว ดังนั้นธรรมชาติจึงให้เหยื่อเป็นผู้กำหนดเส้นทาง และมีนักล่าวิ่งตามไปตะปบตามแต่เหยื่อจะหนีไปทางไหน

นักล่าบางจำพวก รอเหยื่ออย่างอดทน ก็มีเหยื่อพวกหลงระเริงไม่ดูตาม้าตาเรือ นำตัวมาสังเวยเหมือนกัน

เหยื่อคือเหยื่อ พลาดก็ตาย — นักล่าคือนักล่า หากล่าไม่ได้ ก็หาเหยื่อตัวใหม่

การที่เหยื่อดำรงชีพอยู่ได้ บางทีก็อยู่ในบทบาทของนักล่าเช่นกัน แต่เป็นการล่าสัตว์ที่อ่อนแอกว่า อยู่ก่อนหน้าในห่วงโซ่อาหาร

อาจมีบางครั้งเหมือนกันที่เหยื่อดันจะไปล่านักล่า แล้วนักล่าก็ดันคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ อันนั้นก็เป็นความวิปลาสส่วนตัว ไม่ยั่งยืนหรอกครับ มันฝืนธรรมชาติ


ภูเขาไฟอีกที

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 April 2010 เวลา 0:07 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 3047

เมื่อสองเดือนก่อน เขียนบันทึกเรื่องภูเขาไฟใกล้ตัวเอาไว้ กล่าวถึงการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว (VEI) ตลอดจนภูเขาไฟในเขตอาเซียน ที่เคยระเบิดในระดับมหาวินาศ และระดับโลกาวินาศ คือ VEI ระดับ 7 และ 8 ซึ่งมีผลถึงการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ ซึ่งคนในรุ่นนั้นต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด

เมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา ภูเขาไฟ Eyjafjallajökul ในไอซ์แลนด์ได้ระเบิดขึ้น ส่งเถ้าถ่านฟุ้งกระจายไปในอากาศ จนทำให้ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศของสหภาพยุโรป (EuroControl) ประกาศห้ามบินในหลายประเทศ

ในขณะที่เขียนนี้ ยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่าจะเป็นการระเบิดระดับใด เพราะ VEI คำนวณจากปริมาณเถ้าถ่านที่ภูเขาไฟปล่อยออกมา ดังนั้นในขณะที่การระเบิดยังไม่จบสิ้น ก็ไม่สามารถคำนวณปริมาณเถ้าถ่านได้ อย่างไรก็ตาม Wikipedia ณ วันนี้ บอกว่าเป็น VEI ระดับ 1 แล้ว เมื่อพ่นเถ้าถ่านออกมามากขึ้น นานขึ้น ก็จะปรับระดับสูงขึ้นไป — เมื่อปี 1783-1784 ระเบิดอยู่นาน 8 เดือน ทำให้คนตายเพราะสูดก๊าซพิษหลายหมื่นคน โดยปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมาทุกๆ สามวัน เท่ากับการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากระเบิดของภูเขาไฟพินาตูโบในฟิลลิปปินส์ตั้งแต่ต้นจนสงบ


รดน้ำต้นไม้

อ่าน: 6865

ผมไม่รู้ว่าใครรดน้ำต้นไม้อย่างไรหรอกนะครับ ต่างคนก็ต่างจิตต่างใจ มีแบบอย่างที่ไม่เหมือนกัน

พืชรับน้ำและสารอาการจากระบบราก ซึ่งดูดเข้าได้มากผ่านรากฝอย แม้จะเป็นเส้นเล็กจิ๋วแต่มีปริมาณมาก เมื่อรวมกันแล้ว ก็สามารถหล่อเลี้ยงพืชให้เจริญเติบโตได้

รากที่ทะลวงไปในดิน มีปลายราก (root cap) เป็นเหมือนหัวเจาะ จะมีการออสโมซิสเอาน้ำและสารอาหารผ่านรากเข้าสู่แกนราก ซึ่งจะถูกส่งผ่านลำต้นไปสังเคราะห์แสงยังใบ

ดังนั้น รากแผ่ไปถึงไหน ก็ต้องรดน้ำถึงนั่นครับ — ไม่ใช่รดที่โคนต้นเฉยๆ

ปัญหาคือรากอยู่ในดิน จะไปรู้ได้อย่างไรว่าแผ่ไปถึงไหน ก็มีหลักประมาณการง่ายๆ คือกิ่งใบแผ่ไปถึงไหน รากก็แผ่ไปประมาณนั้น

แต่ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ในเมื่อเรารดน้ำที่ผิวดิน กว่าน้ำจะไปถึงราก ยังขึ้นกับว่าดินนั้นให้น้ำซึมลงไปมากน้อยแค่ไหน ดูดน้ำเอาไว้เท่าไร (เหลือให้รากและละลายสารอาหารในดินมากน้อยแค่ไหน)

เช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ย แหงล่ะครับไม่ใช่ราดเอาไว้บนผิวดิน โดยปกติเราก็จะพรวนดินนำปุ๋ยลงไปหารากด้วย แต่ก็มีปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือการพรวนดินอาจไปโดนราก แทนที่จะช่วยกลับทำลาย

อ่านต่อ »


สวนกล่อง

อ่าน: 5454

มีคนมากมายที่บอกว่าการปลูกต้นไม้ ดีอย่างโน้น ดีอย่างนี้ บางคนก็ว่ากินผักปลอดสารพิษ โดยไม่เข้าใจเลยว่าการที่สินค้าเคลมว่าปลอดสารพิษนั้น ไม่ได้หมายความว่าปลอดสารพิษจริง

อย่างนี้ก็ต้องลองกันครับ ยกเอาข้อจำกัดออกก่อน

นาย Mel Bartholomew เขียนหนังสือขายดีชื่อ Square foot Gardening (อ่านบางส่วนได้ที่นี่) โดยทำแปลงดินขนาด 1×1 ฟุต หลายๆชุด ยกมาใส่ในกล่อง เขาอ้างว่ามีต้นทุน 50% ใช้พื้นที่ 20% ใช้น้ำ 10% และใช้เมล็ดพันธุ์พืชเพียง 5% และใช้แรงงานแค่ 2% ของการปลูกลงดินตามปกติ เหตุที่เป็นเช่นนี้ได้ อยู่บนหลักการง่ายๆ คือสร้างสภาวะแวดล้อมที่ควบคุมได้ เช่นถ้าดินไม่ดี แทนที่จะปรับปรุงดินทั้งแปลง ก็เพียงแต่หาดินที่ดีมาใส่ในกล่อง(พื้นที่เล็กๆ) ถ้าไม่มีน้ำ ก็รดน้ำแค่ในกล่องเล็กๆ น้ำที่รดแล้ว ก็อยู่ในดินซึ่งอยู่ในกล่องนั่นแหละ จะประหยัดน้ำ ก็ใช้ชลประทานน้ำหยดได้ง่ายเนื่องจากอยู่ในพื้นที่จำกัด ฯลฯ

สวนกล่องเป็นความพยายามที่จะปลูกพืชในแนวตั้ง เนื่องจากกล่องบรรจุดินอยู่แล้ว ไม่ต้องวางอยู่กับดิน จะแขวน จะห้อย จะวางอยู่กับคอนกรีตก็ได้

อ่านต่อ »


ลมบก-ลมทะเล กับทฤษฎี Biotic Pump

อ่าน: 5921

ทฤษฎี Biotic Pump เริ่มต้นที่ต้นไม้บริเวณชายฝั่ง จะเหนี่ยวนำให้เกิดฝนตกบนฝั่ง เนื่องจากลมทะเลพัดพาเอาความชุ่มชื้นเข้ามาบนฝั่ง แต่หากไม่มีต้นไม้ชายฝั่ง แทนที่จะเกิดลมทะเลพัดพาเอาความชื้นเข้าฝั่งในตอนกลางวัน ลมกลับพัดในอีกทิศหนึ่งหอบเอาความชุ่มชื้นจากฝั่งลงไปในทะเลแทน

ดังนั้นหากมีป่าเป็นพื้นที่ติดกัน ก็จะนำความชุ่มชื้นจากทะเลเข้ามาสู่แผ่นดินลึกได้

(ทฤษฎีนี้เกิดในรัสเซีย แผนที่เขาเสนอในเอกสารทางวิชาการท้ายบันทึก แสดงแนวคิดในระดับทวีป)

ทฤษฎีนี้ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับเสียทีเดียว มีนักอุตุนิยมวิทยาแย้งว่าขัดกับฟิสิกส์ของบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม วารสาร New Scientist ก็ตีพิมพ์เรื่องนี้เมื่อปีที่แล้ว

จากการศึกษาไอน้ำในอากาศด้วยไมโครเวฟจากดาวเทียม โลกร้อนทำให้เกิดปริมาณไอน้ำเหนือทะเลมาก

ไอน้ำในอากาศ กรอง(และเก็บ)พลังงานแสงอาทิตย์เอาไว้ จึงมีผลเหมือนก๊าซโลกร้อนอื่นๆ เช่นกัน เมื่อมีปริมาณไอน้ำในอากาศมากขึ้น ก็ทำให้โลกร้อนมากขึ้น เป็นการป้อนกลับแบบบวก

สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนมากที่สุด คือนำไอน้ำในบรรยากาศไปสร้างเมฆ บังคับให้เมฆกลั่นตัวเป็นฝน เพิ่มปริมาณน้ำจืด และอุณหภูมิเย็นลงบ้าง


คลายร้อน

อ่าน: 4862

อากาศไม่ได้ร้อนด้วยตัวเองหรอกครับ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่แผ่มาให้โลกอย่างทั่วถึง

ปีนี้เอลนินโญ่รุนแรง ทำให้อากาศบริเวณอุษาคเนย์ (mainland southeast asia) มีอุณหภูมิสูงขึ้น พอนานๆ ไป ก็เข้าขั้นร้อนตับแตก

เพราะเราไม่ทำอะไร จึงปล่อยให้เสียความชุ่มชื้นในบรรยากาศไป พอความชื้น(สัมพัทธ์)ในบรรยากาศลดลง เมฆก็ไม่รวมตัวกัน แสงแดดทะลุลงมากระทบพื้นผิวโลกได้ แถมเราทำลายป่าไปจนจะโกร๋นหมดแล้ว เมื่อดินโดนแดดเผา อากาศร้อนก็ลอยสูงขึ้นไปไล่เมฆที่อาจจะหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่ว่าจะมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่เท่าไหร่ อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้นทำให้อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน dew point เมฆก็สลายตัว ทำให้แสงแดดส่องลงมาได้มากขึ้น ร้อนหนักเข้าไปใหญ่ วนเวียนไปเป็นวัฏจักร

อ่านต่อ »



Main: 0.12756991386414 sec
Sidebar: 4.2130570411682 sec