กระจายน้ำสำหรับการเกษตร

อ่าน: 3368

พืชต้องการน้ำไปละลายสารอาหารในดินและทำให้ปลายรากดูดซึมสารอาหารในดินด้วยวิธีการออสโมซิส

แต่พื้นที่ภายใต้โครงการชลประทานของเมืองไทยมีอยู่กระจ้อยร่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานและภาคเหนือ ดังนั้นเกษตรกรก็ต้องพึ่งแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่แม่น้ำลำคลองหนองบ่อและน้ำบาดาล การชักน้ำเข้าแปลงเกษตรก็ต้องใช้พลังงานซึ่งคือต้นทุนของเกษตรกร ยิ่งจ่ายค่าพลังงานมาก ต้นทุนก็จะสูงขึ้น กำไรหด เหนื่อยไปแล้วไม่เหลืออะไร ต้นทุนพลังงานในการสูบน้ำเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่มองกันไม่ค่อยออกเพราะจับต้องไม่ได้และแยกแยะไม่ออกนะครับ

ถ้าถามว่าพืชจะร่าเริงกับน้ำที่ฉีดมาอย่างแรงเป็นฝอยฟู่หรือไม่ อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ เท่าที่จำได้ก็ไม่เคยเป็นพืชเสียด้วย เราสามารถให้น้ำให้ปุ๋ยทางใบได้เหมือนกัน โดยเพิ่มแรงดันน้ำเข้าไปซึ่งหมายความว่าจะต้องจ่ายค่าพลังงานมากขึ้น บางทีเราก็ไม่คิดว่าจะต้องจ่ายค่าพลังงานเรื่องนี้โดยเอาแรงดันน้ำมาจากถังเก็บน้ำสูงๆ จริงอยู่ที่ถังยิ่งสูง ก็ยิ่งมีแรงดันน้ำมาก จะส่งน้ำ(ตามสายยางหรือฉีดน้ำ)ไปได้ไกล แต่ต้นทุนซึ่งเรามักจะไม่คิดกันนั้นมีสองส่วนครับ คือ

  1. ต้นทุนการก่อสร้างเพื่อนำน้ำไปเก็บไว้ที่สูง น้ำหนึ่งคิวหนักหนึ่งตัน ถ้าจะนำน้ำแปดคิวไปไว้สูงสิบเมตร ก็ต้องสร้างโครงสร้างเพื่อรับน้ำหนังแปดตันที่ลอยอยู่เหนือพื้นดินสิบเมตร สร้างได้ครับ วิศวกรทำได้หมด (แต่แพง!)
  2. ต้นทุนการสูบน้ำ อย่างที่รู้กัน น้ำแปดคิวหนักแปดตัน ถ้าจะยกจากผิวดินขึ้นไปสูงสิบเมตร ก็จะใช้กำลังแปดกิโลวัตต์ตามทฤษฎี (จริงๆ แล้วมากกว่านั้นเพราะปั๊มน้ำไม่ได้มีประสิทธิภาพ 100% กล่าวคือมีการสูญเสีย) หมายความว่าถ้าใช้น้ำมาก ก็ต้องจ่ายค่าพลังงานมากขึ้นตามไปด้วย

อ่านต่อ »



Main: 0.025475025177002 sec
Sidebar: 0.31690001487732 sec