หลักปฏิบัติของบล็อกเกอร์
อ่าน: 3375เมื่อสามปีที่แล้ว Tim O’Reilly ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงบนอินเทอร์เน็ต (Google ค้นพบชื่อนี้ในกว่าสองล้านแปดแสนเอกสาร) เกิดอาการทนไม่ได้กับการใช้เสรีภาพเกินขอบเขต (ตามความเห็นของเขา) ของบล็อกเกอร์จำนวนมาก จึงได้ร่างหลักปฏิบัติของบล็อกเกอร์ (Blogger’s Code of Conduct) ออกมาให้ใช้โดยสมัครใจ แต่ทำให้เกิดการถกเถียงมากมาย
เรื่องที่ถกเถียงกันนั้น ก็ไม่มีอะไรหรอกครับ มันมาจากฐานคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพของกฏหมายอเมริกัน ซึ่งโดยทั่วไปนั้น อะไรที่ไม่ได้ห้ามทำได้ทุกอย่าง ส่วนอะไรที่ห้ามทำ ก็จะต้องออกกฏหมายที่ผ่านสภามาห้าม — อันนี้ค่อนข้างอยู่คนละขั้วกับบ้านเรา ซึ่งคล้ายๆ กับว่า อะไรที่ให้ทำจึงจะมีกฏหมายออกมากำกับ และมีหน่วยงานรัฐออกใบอนุญาต หรือเข้ามาจัดการจดทะเบียนอะไรต่อมิอะไรให้ เช่นตั้งโรงงาน ทำธุรกิจ ฯลฯ จนกระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ ถึงได้รองรับสิทธิ เสรีภาพ (และหน้าที่) ของปวงชนชาวไทย และผมหวังว่าคงไม่มีผู้หวังดีมาเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้อีกนะครับ เพราะปวดหัวเวียนเฮดมากพอแล้ว
กลับมาที่หลักปฏิบัติของบล็อกเกอร์ ท่านผู้ใดอยากอ่านภาษาอังกฤษ เชิญที่นี่ครับ ผมเอาร่างแรกมาให้ดู เพราะมีหลักการและเหตุผลเขียนอธิบายไว้ด้วย