ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (5)

อ่าน: 4650

บันทึกนี้ เป็นส่วนของชุดบันทึกหลายตอนชื่อ ผลิด Biochar อย่างจริงจัง

เป็นวิธีการเผาถ่าน Biochar แบบที่ง่ายที่สุด แต่สิ้นเปลืองเชื้อไฟที่สุด คือเอาไม้แห้ง หรือ biomass อื่นๆ ใส่ถัง 200 ลิตรไว้หลวมๆ โดยถังนี้มีฝาปิดสนิททั้งหัวและท้าย เจาะรูสำหรับก๊าซออกไม้ที่ฝารูหนึ่ง แล้วเอาถังไปเผาไฟดื้อๆ เลย

ในขณะที่เผา อาจจะสังเกตได้ว่าควันที่ออกมาจากภายในถังนั้น ติดไฟได้ (ควันนี้ ห้ามสูดดม และควรให้ติดไฟอยู่ตลอด)

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (4)

อ่าน: 5706

เปลี่ยนเรื่องอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย

Biochar เป็นกรรมวิธีโบราณที่ชาวเผ่าอินคา ใช้ปรับปรุงดินที่เสื่อมสภาพแล้ว ให้กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ได้ มีการนำ Biochar ไปทดลองในหลายที่ทั่วโลก ได้ผลออกมาในแนวเดียวกัน คือสภาพดินดีขึ้น พืชเติบโตและให้ผลผลิตเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางมลรัฐฟลอริด้าซึ่งเป็นดินทราย (คล้ายหรือแย่กว่าอีสาน) ก็มีรายงานว่าได้ผลดีมาก

Biochar นั้นไม่ใช่ถ่านธรรมดาหรอกนะครับ เป็นถ่านที่เผาในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ (ซึ่งถ้าเผาที่อุณหภูมิสูงด้วย+ออกซิเจนต่ำด้วย เรียกว่าถ่านกัมมัน activated carbon)

วินาทีที่ 30 ดินนาข้าวที่ไม่ได้ปรับปรุงด้วย Biochar วินาทีที่ 34 ดินนาที่ปรับปรุงด้วย Biochar ก่อนดำนา

อ่านต่อ »


บำบัดน้ำเสีย เติมออกซิเจนในน้ำ

อ่าน: 7007

สำหรับบ้านเรือนที่น้ำท่วมแล้วระดับน้ำไม่ยอมลด หรือคาดว่าจะลดช้า (หรือเป็นมานานแล้ว/ทนมานานแล้ว) ปัญหาน้ำเน่าเสียเป็นปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งครับ

น้ำเสียเกิดจากหลายสาเหตุ แต่มีสองลักษณะที่มักจะเกิดร่วมกัน คือ (1) น้ำนิ่ง ไม่ไหวเวียนถ่ายเท และ (2) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ต่ำมาก

วันนี้เอาคลิปเรื่องวิธีการง่ายๆ ในการเติมอากาศลงในน้ำ และยังทำให้น้ำหมุนเวียนด้วย คือใช้ปั๊มน้ำแบบจมน้ำ ดูดน้ำมาแล้วปล่อยออกใต้น้ำนั่นละครับ แต่ก่อนปล่อย เราหาข้อต่อสามทางมา โดยที่ทางหนึ่งต่อสายยางขึ้นมารับอากาศบนผิวน้ำ ทางหนึ่งต่อกับปั๊มน้ำ อีกทางหนึ่งปล่อยน้ำออก

เมื่อเดินปั๊ม อากาศจะถูกดูดจากข้างบนลงไปตามสายยางเองโดยอัตโนมัติ (ด้วย Venturi effect) ไปผสมกับน้ำที่ปั๊มส่งออกมา กลายเป็นฟองอากาศเล็กๆ อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะเพิ่มออกซิเจนให้ละลายอยู่กับน้ำ ยิ่งกว่านั้น ปั๊มน้ำยังทำให้น้ำเคลื่อนไหว ทั้งสองอาการน่าจะช่วยปรับปรุงน้ำเสียได้บ้าง

อ่านต่อ »


ปั๊มน้ำที่ใช้อากาศ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 November 2011 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 7020

เป็นที่รู้กันว่าเมื่อปล่อยอากาศเป็นอิสระใต้น้ำ อากาศก็จะลอยขึ้นเหนือน้ำ แต่เมื่ออากาศลอยขึ้น ก็จะยกน้ำขึ้นด้วยแรงที่เท่ากับน้ำหนักของอากาศที่แทนที่น้ำ (ตามหลักของอคีมีดีส)

ดังนั้นหากอัดอากาศลงไปใต้น้ำได้ เราก็จะได้ปั๊มน้ำครับ

ประเด็นของวันนี้คือว่า เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าพื้นที่ที่น้ำขังจะต้องสูบน้ำออกเท่านั้นจึงจะแห้ง แล้วจะไปหาปั๊มน้ำจากที่ไหนล่ะ ในเมื่อถูกใช้ไปหมดแล้ว… แต่ว่ายังมีเครื่อมือกลแบบอื่นเช่นปั๊มลม สามารถเอามาประยุกต์ใช้ประกอบเป็นปั๊มน้ำได้ตามคลิปข้างบน ดังนั้นหากมีช่องทางระบายน้ำไปลงแม่น้ำ ก็อย่ารอใครมาทำให้เลยครับ

ปล่อยลมที่ปลายท่อที่จุ่มอยู่ในน้ำ อีกปลายหนึ่งก็จะมีน้ำกับอากาศไหลออกมา ท่อกลายเป็นปั๊มน้ำไป

อ่านต่อ »


ดีดน้ำ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 November 2011 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4683

หลักการสำคัญของปั๊มน้ำ คือเร่งให้น้ำมีความเร็วเพื่อที่พลังงานจลน์ของน้ำจะได้มีค่าไม่ต่ำกว่าพลังงานศักย์ของน้ำที่ความสูงที่ต้องการ

½mv2 ≥ mgh โดย m เป็นมวลของน้ำ v เป็นความเร็วต้นของน้ำ g เป็นค่าคงตัวของแรงโน้มถ่วง และ h เป็นความสูงของปลายที่สูงที่สุดของทางลาด หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือเราจะต้องปั่นให้น้ำมีความเร็ว v ≥ √(2gh)

แต่ปั๊มน้ำนั้น มักจะออกแบบให้ยกน้ำได้สูงมากๆ คือพลังงานที่ใส่ให้กับน้ำแล้วแปลงเป็น v มีค่าสูงเกินไปและสูญเปล่าซะเยอะ อีกอย่างหนึ่งคือปั๊มน้ำของทางราชการ ระดมมากรุงเทพและปริมณฑลแทบหมดประเทศอยู่แล้ว ปั๊มน้ำของนากุ้งซึ่งเป็นปั๊มแบบ head ต่ำแต่ปริมาณสูบสูง ก็ไม่รู้จักเอามาใช้ หากไม่ได้ปั๊มของทางราชการมาช่วย (เพราะอะไรก็แล้วแต่) แล้วหยิบยืมหรือหาเช่าปั๊มจากนากุ้งไม่ได้ น้ำท่วมขังจะหายไปได้อย่างไร?

บ้านเมืองเราเคยใช้ระหัดวิดน้ำ ใช้ลมเป็นต้นกำลัง จะใช้แรงคนถีบเอง หรือจะใช้มอเตอร์ก็ได้

อ่านต่อ »


เครื่องกรองน้ำราคาถูกมาก “น้ำใจปีบทอง” จาก มทส.

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 November 2011 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 22744

ได้รับข่าวแจกจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เรื่องการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำคุณภาพดี และราคาถูกมากครับ (150 บาท) เป็นหลักการ slow sand filter แต่ปรับปรุงให้กรองได้คุณภาพดี ชาวบ้านที่เดือดร้อน สร้างเองได้ง่าย

หากใช้ท่อพีวีซีขนาดสองนิ้ว ก็จะได้ปริมาณน้ำประมาณหนึ่งหยดต่อวินาที หรือวันละ 15 ลิตร ซึ่งพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน แต่หากยังไม่พอ ก็สามารถใช้ท่อพีวีซีที่ขนาดใหญ่ขึ้นได้ — ใช้ลักษณะท่อ ต่อเป็นรูปตัว U ทำให้ไม่มี head มากเกินไป และน้ำที่จะกรอง ก็วิ่งผ่านทรายเป็นระยะทางยาว ดูแล้วผมชอบใจ Like มาก

นี่ละครับ ผู้ที่มีความรู้จริง ก็จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตได้ ดีกว่าความรู้แห้งๆ ในตำราเป็นไหนๆ

ดู press release ก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


ผลักดันน้ำแบบเหมาะสม

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 November 2011 เวลา 0:38 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3890

เรื่องของการระบายน้ำ มีการใช้เครื่องผลักดันน้ำซึ่งก็เป็นความคิดที่ดี หลักการของเครื่องผลักดันน้ำคือการเปลี่ยนพลังงานกลของเครื่องยนต์ ให้เป็นพลังงานจลน์ของน้ำ (หากไม่คิดการสูญเสีย) ใส่พลังงานกลลงไปเท่าไหร่ ก็จะเป็นเป็นพลังงานจลน์ของน้ำเท่านั้น โดยพลังงานจลน์ของน้ำแปรผันกับความเร็วของกระแสน้ำยกกำลังสอง หมายความว่าน้ำเคลื่อนที่ไปได้เร็วขึ้นไม่ว่าจะค่อนแคะอย่างไรก็ตาม

ส่วนประเด็นที่ว่าคุ้มค่าหรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกันนั้น ขึ้นกับมุมมองครับ ถ้าเอาไปทำในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งกว้างสองร้อยเมตร เอาเรือน้อยใหญ่ไปเร่งความเร็วน้ำ ก็ดูว่าจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ คือไม่ได้เพิ่มความเร็วเฉลี่ยของกระแสน้ำขึ้นเท่าไร เพราะว่าน้ำเคลื่อนเร็วที่ผิว ตรงที่มีใบพัดเรือคอยเร่งอยู่ เรื่องนี้ก็จริงครับ แต่ว่าพลังงานจากเครื่องยนต์ที่หมุนใบพัด ก็ถ่ายให้กระแสน้ำจริงๆ ความเร็วเฉลี่ยของกระแสน้ำโดยรวมเร็วขึ้นจริง อาจจะไม่มาก ไม่ทันใจ แต่ก็เร็วขึ้นจริง (นิ๊ดดดด นึง) คุ้มค่าหรือเปล่า ก็ต้องไปถามคนจ่ายค่าน้ำมันเอาเอง

แต่ถ้าเป็นคลองอย่างเช่นคลองลัดโพธิ์​ซึ่งในปี 2546 ได้ขยายจากคลองซึ่งกว้าง 10-15 เมตร ลึก 1-2 เมตร ไปเป็นคลองกว้าง 80 เมตร ลึก 8 เมตร อย่างนี้จะเห็นผลมาก ตามข่าวนี้ ความเร็วของกระแสน้ำ(ที่ผิว)เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว ทำให้ปริมาณน้ำไหลผ่านคลองเพิ่มขึ้น 15%

อ่านต่อ »


ซูชิจานเวียน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 November 2011 เวลา 1:10 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 2894

เป็นความคิดพิสดารบ้าบอครับ

สำหรับชาวบ้านที่อยู่ในซอยลึกๆ จะเข้าจะออกบ้านกับถนนใหญ่ ต้องรอรถใหญ่หรือจ่ายค่าโดยสารเรือในราคาแพง

ผมคิดว่าทั้งชุมชน ช่วยกันเรี่ยรายหามอเตอร์เล็กๆ สักตัว หาล้อวงจักรยานสองอัน ติดไว้หัวกับท้ายซอย จากนั้นเอาเชือกขึงระหว้างล้อจักรยานเป็นวง เมื่อเอามอเตอร์​ (ที่ทดรอบลงให้ความเร็วต่ำ) หมุนล้อจักรยาน เชือกที่ขึงอยู่ ก็จะหมุนตามล้อไป ทำให้เชือกเคลื่อนที่ทั้งสองทาง ทั้งเข้า และออกจากซอย

ทีนี้ถ้าแต่ละคนเข้าไปนั่งในกาละมังพลาสติก แล้วเอามือไปจับเชือก เชือกก็จะพากาละมังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้อง เป็นการจัดการจราจรไปในตัวว่า ไม่มีชนกัน ไม่มีแซงกัน

เช้าเมื่อไปถึงปากซอย ก็ฝากกาละมังไว้ ตอนเย็นกลับมา ก็มาเอากาละมังเข้าบ้าน น่าจะเร็วและปลอดภัยกว่าเดินลุยน้ำครับ

สว. จะไปไหนมาไหนก็ต้องพึ่งคนพายเรือให้ แต่ถ้าใช้มือจับได้ แค่จับเชือกไหว ก็เดินทางได้แล้ว — ทีแรกจะเสนอเชือกผูกเสาแล้วใช้แรงแขนลาก แต่ดูอาการว่าจะไม่รอดหรอกครับ

ส่วนเรือจ้าง ก็ยังทำอาชีพเดิมต่อไปได้สำหรับคนที่ต้องการความรีบด่วน หรือรับจ้างตามแยกต่างๆ แล้วถ้าจะให้ดี ใช้เรือลากกาละมังไปเป็นพรวน โดยคิดค่าลากให้ถูกลงจากค่าโดยสารรายหัวก็ดีนะครับ เช่นถ้านั่งเรือได้สามคน คิดคนละสิบบาท ได้เงินสามสิบ แต่ถ้าลากกาละมัง ลากได้แปดกาละมัง คิดกาละมังละห้าบาท ได้เงินสี่สิบบาทเป็นต้น


แผงตัดยอดคลื่น

อ่าน: 2588

ที่จริง วันนี้ค้นข้อมูลจะหาวิธีลดผลกระทบจากเรือหรือรถที่วิ่งด้วยความเร็วไปในน้ำแล้วก่อให้เกิดคลื่นเข้ากระแทกบ้านเรือนจนพัง

น้ำท่วมอาจทำให้บ้านพังได้ แต่คลื่นที่มาจากพาหนะที่เข้ามาช่วยเหลือ ทำให้บ้านพังนี่ มันปวดใจครับ

ค้นไปค้นมา ก็เจอการออกแบบง่ายๆ ใช้พลาสติก LDPE หล่อเป็นรูปสามเหลี่ยม (ลอยน้ำ) โยงกันไว้ด้วยเชือก ผูกโยงกันเป็นแนว สามารถใช้กันคลื่นได้

ระหว่าง LDPE รูปสามเหลี่ยม มีช่องว่างอยู่ ช่องนี้ดักคลื่นที่พยายามวิ่งข้ามแนวกั้น ส่วน LDPE ที่ตั้ง ก็ปะทะคลื่นโดยตรง น่าจะลดพลังงานจากคลื่นไปได้ครึ่งหนึ่ง

ฝรั่งใช้ LDPE แต่ในยามจำเป็น ไม่ต้องไปทำโมลเพื่อจะมาหล่อบล็อกก็ได้นะครับ ใช้กระดาษ ใช้โฟม หรือวัสดุเหลือใช้อื่นๆ ก็น่าจะไหว พอน้ำลดแล้ว เราก็ไม่ใช้อีก… ผมเชียร์ถุงพลาสติกเป่าลมห่อด้วยกระดาษแข็ง ซึ่งสามัญสำนึกจะบอกเราว่าเดี๋ยวกระดาษก็เปื่อย แต่เปื่อยก็เปื่อยไปสิครับ ดีกว่าบ้านพังเป็นไหนๆ


ระดับความสูง

อ่าน: 3166

งงกันมานาน ว่าระดับความสูงของบ้านนั้น เท่าไรกันแน่

เมื่อสิบกว่าปีก่อน สหรัฐเริ่มวัดความสูงของพื้นที่และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาความหนาของน้ำแข็งในสภาวะโลกร้อยครับ โปรแกรมนั้นเรียกว่า STRM (Shuttle Radar Topography Mission) คือสำรวจความสูงของผิวโลกด้วยการจับสัญญาณสะท้อนจากเรดาร์ที่ยิงจากกระสวยอวกาศ ข้อมูลความสูงนั้น มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เหมือนกัน เมื่อทำการสำรวจเสร็จ เขาก็ปล่อยข้อมูลที่ได้จากการใช้เรดาร์ความถี่ C-band ออกมาเป็นข้อมูลสาธารณะ เรียกว่า ETOPO1 (ใช้เรดาร์แบบ C-band ความละเอียด 92.5m)

ETOPO1 นี้ เป็นข้อมูลสาธารณะที่บรรดาผุ้ให้บริการแผนที่นำไปใช้ (เพราะฟรี) แต่ไม่ละเอียดเลย การคำนวณอัตราการไหลของน้ำด้วย ETOPO1 จึงไม่แม่นยำ และมีปัญหาคาใจ 3 คำถามที่ตอบไม่มีใครตอบได้: น้ำจะท่วมเมื่อไร จะท่วมสูงเท่าใด และจะท่วมอยู่นานแค่ไหน ที่ตอบไม่ได้ก็เพราะแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ ETOPO1 นี้ ไม่แม่นยำพอ

ดูระดับในแผนที่ออนไลน์ บ้านผมสูง 7-8 เมตร แต่ดูแผนที่ทหารแล้ว เหลือนิดเดียว (แผนที่ทหารแม่นกว่าครับ แต่แผนที่ทหารไม่มีความสูงทุกจุดที่ต้องการรู้ ซึ่งคงต้องใช้วิธีเดิม คือประมาณเอาด้วยวิธี interpolation)

อ่านต่อ »



Main: 0.046007871627808 sec
Sidebar: 0.15995001792908 sec