ผลักดันน้ำแบบเหมาะสม

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 November 2011 เวลา 0:38 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3887

เรื่องของการระบายน้ำ มีการใช้เครื่องผลักดันน้ำซึ่งก็เป็นความคิดที่ดี หลักการของเครื่องผลักดันน้ำคือการเปลี่ยนพลังงานกลของเครื่องยนต์ ให้เป็นพลังงานจลน์ของน้ำ (หากไม่คิดการสูญเสีย) ใส่พลังงานกลลงไปเท่าไหร่ ก็จะเป็นเป็นพลังงานจลน์ของน้ำเท่านั้น โดยพลังงานจลน์ของน้ำแปรผันกับความเร็วของกระแสน้ำยกกำลังสอง หมายความว่าน้ำเคลื่อนที่ไปได้เร็วขึ้นไม่ว่าจะค่อนแคะอย่างไรก็ตาม

ส่วนประเด็นที่ว่าคุ้มค่าหรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกันนั้น ขึ้นกับมุมมองครับ ถ้าเอาไปทำในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งกว้างสองร้อยเมตร เอาเรือน้อยใหญ่ไปเร่งความเร็วน้ำ ก็ดูว่าจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ คือไม่ได้เพิ่มความเร็วเฉลี่ยของกระแสน้ำขึ้นเท่าไร เพราะว่าน้ำเคลื่อนเร็วที่ผิว ตรงที่มีใบพัดเรือคอยเร่งอยู่ เรื่องนี้ก็จริงครับ แต่ว่าพลังงานจากเครื่องยนต์ที่หมุนใบพัด ก็ถ่ายให้กระแสน้ำจริงๆ ความเร็วเฉลี่ยของกระแสน้ำโดยรวมเร็วขึ้นจริง อาจจะไม่มาก ไม่ทันใจ แต่ก็เร็วขึ้นจริง (นิ๊ดดดด นึง) คุ้มค่าหรือเปล่า ก็ต้องไปถามคนจ่ายค่าน้ำมันเอาเอง

แต่ถ้าเป็นคลองอย่างเช่นคลองลัดโพธิ์​ซึ่งในปี 2546 ได้ขยายจากคลองซึ่งกว้าง 10-15 เมตร ลึก 1-2 เมตร ไปเป็นคลองกว้าง 80 เมตร ลึก 8 เมตร อย่างนี้จะเห็นผลมาก ตามข่าวนี้ ความเร็วของกระแสน้ำ(ที่ผิว)เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว ทำให้ปริมาณน้ำไหลผ่านคลองเพิ่มขึ้น 15%

อ่านต่อ »


ซูชิจานเวียน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 November 2011 เวลา 1:10 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 2893

เป็นความคิดพิสดารบ้าบอครับ

สำหรับชาวบ้านที่อยู่ในซอยลึกๆ จะเข้าจะออกบ้านกับถนนใหญ่ ต้องรอรถใหญ่หรือจ่ายค่าโดยสารเรือในราคาแพง

ผมคิดว่าทั้งชุมชน ช่วยกันเรี่ยรายหามอเตอร์เล็กๆ สักตัว หาล้อวงจักรยานสองอัน ติดไว้หัวกับท้ายซอย จากนั้นเอาเชือกขึงระหว้างล้อจักรยานเป็นวง เมื่อเอามอเตอร์​ (ที่ทดรอบลงให้ความเร็วต่ำ) หมุนล้อจักรยาน เชือกที่ขึงอยู่ ก็จะหมุนตามล้อไป ทำให้เชือกเคลื่อนที่ทั้งสองทาง ทั้งเข้า และออกจากซอย

ทีนี้ถ้าแต่ละคนเข้าไปนั่งในกาละมังพลาสติก แล้วเอามือไปจับเชือก เชือกก็จะพากาละมังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้อง เป็นการจัดการจราจรไปในตัวว่า ไม่มีชนกัน ไม่มีแซงกัน

เช้าเมื่อไปถึงปากซอย ก็ฝากกาละมังไว้ ตอนเย็นกลับมา ก็มาเอากาละมังเข้าบ้าน น่าจะเร็วและปลอดภัยกว่าเดินลุยน้ำครับ

สว. จะไปไหนมาไหนก็ต้องพึ่งคนพายเรือให้ แต่ถ้าใช้มือจับได้ แค่จับเชือกไหว ก็เดินทางได้แล้ว — ทีแรกจะเสนอเชือกผูกเสาแล้วใช้แรงแขนลาก แต่ดูอาการว่าจะไม่รอดหรอกครับ

ส่วนเรือจ้าง ก็ยังทำอาชีพเดิมต่อไปได้สำหรับคนที่ต้องการความรีบด่วน หรือรับจ้างตามแยกต่างๆ แล้วถ้าจะให้ดี ใช้เรือลากกาละมังไปเป็นพรวน โดยคิดค่าลากให้ถูกลงจากค่าโดยสารรายหัวก็ดีนะครับ เช่นถ้านั่งเรือได้สามคน คิดคนละสิบบาท ได้เงินสามสิบ แต่ถ้าลากกาละมัง ลากได้แปดกาละมัง คิดกาละมังละห้าบาท ได้เงินสี่สิบบาทเป็นต้น


แผงตัดยอดคลื่น

อ่าน: 2586

ที่จริง วันนี้ค้นข้อมูลจะหาวิธีลดผลกระทบจากเรือหรือรถที่วิ่งด้วยความเร็วไปในน้ำแล้วก่อให้เกิดคลื่นเข้ากระแทกบ้านเรือนจนพัง

น้ำท่วมอาจทำให้บ้านพังได้ แต่คลื่นที่มาจากพาหนะที่เข้ามาช่วยเหลือ ทำให้บ้านพังนี่ มันปวดใจครับ

ค้นไปค้นมา ก็เจอการออกแบบง่ายๆ ใช้พลาสติก LDPE หล่อเป็นรูปสามเหลี่ยม (ลอยน้ำ) โยงกันไว้ด้วยเชือก ผูกโยงกันเป็นแนว สามารถใช้กันคลื่นได้

ระหว่าง LDPE รูปสามเหลี่ยม มีช่องว่างอยู่ ช่องนี้ดักคลื่นที่พยายามวิ่งข้ามแนวกั้น ส่วน LDPE ที่ตั้ง ก็ปะทะคลื่นโดยตรง น่าจะลดพลังงานจากคลื่นไปได้ครึ่งหนึ่ง

ฝรั่งใช้ LDPE แต่ในยามจำเป็น ไม่ต้องไปทำโมลเพื่อจะมาหล่อบล็อกก็ได้นะครับ ใช้กระดาษ ใช้โฟม หรือวัสดุเหลือใช้อื่นๆ ก็น่าจะไหว พอน้ำลดแล้ว เราก็ไม่ใช้อีก… ผมเชียร์ถุงพลาสติกเป่าลมห่อด้วยกระดาษแข็ง ซึ่งสามัญสำนึกจะบอกเราว่าเดี๋ยวกระดาษก็เปื่อย แต่เปื่อยก็เปื่อยไปสิครับ ดีกว่าบ้านพังเป็นไหนๆ


ระดมเครื่องสูบน้ำ

อ่าน: 2432

เมื่อน้ำเหนือบ่ามาล้นกำแพงกั้นน้ำที่หลักหก ปทุมธานี เหมือนกรุงเทพมีรูรั่วอันใหญ่ เวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ ก็ยังเปิดบ้านรับให้น้ำเข้าไปสู่ตัวเมืองชั้นใน

เมื่อคราวประตูน้ำบางโฉมศรีแตก ใช้เวลาเกือบสามสัปดาห์จนน้ำทะลักเข้ามาเต็มทุ่งทางตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยา ทุกวินาทีที่ล่าช้าไป หมายถึงน้ำปริมาณมหาศาลทะลักเข้ามาเรื่อยๆ ประสบการณ์เลวร้ายผ่านไป ก็ยังไม่เข็ด พอน้ำลงมากรุงเทพ การติดตั้งบิ๊กแบ็ก ก็เถียงกันอยู่นั่นแหละว่าใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ข้อเท็จจริงก็คือน้ำยังเข้ามาเรื่อยๆ สูบยังไงก็ไม่หมดหรอกครับ

แต่ถึงสูบไม่หมด ก็ยังต้องสูบอยู่ดี เพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินกว่ารถยนต์จะวิ่งไม่ได้ หากการคมนาคมขนส่งหยุดลง แล้วทุกคนเดินทางไม่ได้ การที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ จะไม่ง่ายเหมือนมั่นใจแบบคิดเอาเอง

เมื่อวานนี้ ศปภ.ระดมความร่วมมือจากภาคเอกชนและประชาชน ขอเครื่องสูบน้ำที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว ใครจะค่อนแคะอย่างไร ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ คิดเสียวันนี้ ก็ยังดีกว่าไม่พยายามหาทางออกอะไรเลย

บ้านผมไม่มีปั๊มขนาด 6 นิ้ว และไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีบ้านใครที่มีปั๊มขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่บ้านเหมือนกัน

ปั๊มน้ำซึ่งอยู่ในเขตที่น้ำไม่ท่วม ศปภ.คงระดมมาหมดแล้ว (ถ้ายังก็ควรทำซะ) ศึกน้ำของจังหวัดในที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างยังอีกไกลครับ ไม่จบลงง่ายๆ อย่าหลอกตัวเองเลย

อ่านต่อ »


เตรียมการกู้ชาติ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 November 2011 เวลา 1:27 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 2737

ยังหรอกครับ น้ำเหนือยังมีอีกเยอะ ทั้งที่ท่วมพื้นที่ต่างๆ อยู่เป็นเดือนแล้ว และยังมีน้ำในเขื่อนซึ่งแทบจะล้นความจุอยู่แล้ว

พื้นที่ใดน้ำลด ก็อย่าเพิ่งดีใจ เพราะยังมีน้ำอยู่ทางเหนืออีกมากมาย น้ำเหล่านี้แผ่ลงมาตามความลาดเอียง ส่วนการป้องกันบ้านเรือนนั้น ผมคิดว่าเป็นสิทธิที่มีด้วยกันทุกคน จะเลือกป้องกันหรือไม่ป้องกันก็ได้

การป้องกันพื้นที่เอาไว้ ไม่ได้ทำให้น้ำไหลย้อนไปทางอื่น นอกจากไหลไปตามความลาดเอียง (ยกเว้นว่าสูบน้ำไปทิ้งทางช่องทางอื่น) เมื่อน้ำไหลมาเจอเขื่อน ก็ต้องสู้กันหน่อย ถ้าน้ำชนะ เขื่อนก็แตก แต่ถ้ารักษาเขื่อนไว้ได้ น้ำก็จะหาทางไปทางอื่นโดยไหลไปตามความลาดเอียง จากที่สูงลงที่ต่ำ

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม น้ำในที่ราบลุ่มภาคกลางนี้ ก็จะต้องไหลลงอ่าวไทยครับ จะขวางกางกั้นอะไรเอาไว้ ก็ต้องมีช่องให้น้ำไหลลงอ่าว โดยปกติก็เป็นแม่น้ำครับ คลองก็ใช้ได้เหมือนกันเพียงแต่คลองส่งน้ำลงทะเลได้น้อยกว่าแม่น้ำเท่านั้นเอง เพราะมีขนาดเล็กกว่า

รัฐบาลไม่ยอมประกาศวันหยุดยาวเพื่อให้ข้าราชการได้เตรียมตัวรับสถานการณ์ ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล… ขอเพียงอย่างเดียว ว่าอย่าคิดและสื่อสารกับประชาชนว่าน้ำลดแล้ว ปัญหาผ่านไปแล้ว คนเราควรจะเรียนรู้เป็นนะครับ ผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกมาเพราะไม่รู้จักพิจารณาความเป็นจริง

เมื่อเห็นระดับน้ำลดลง ก็เป็นจังหวะที่จะต้องเสริมความแข็งแรงของคันดิน กระสอบทรายต่างๆ ที่จมน้ำมานาน ถ้าบิ๊กแบ็กทางน้ำเหนือไว้ไม่ไหว ย้ายบิ๊กแบ็กมายันตามเขื่อนริมแม่น้ำลำคลองยังดีเสียกว่าปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ

แต่เรื่องที่ผ่านไปแล้ว ก็ผ่านไปแล้วครับ พูดไปก็เปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้

อ่านต่อ »


นาวาฝ่าวิกฤต: Mobility in the time of flood

อ่าน: 2753

เรื่องนี้รู้มาสักพักหนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้เขียนถึงแม้จะคิดว่าเป็นไอเดียที่ดีมากก็ตามครับ

https://www.facebook.com/groups/floodcontest/

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ “นาวาฝ่าวิกฤต: Mobility in the time of flood” เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ ประสบภัย ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน โดยกำหนดให้การพัฒนาต้นแบบต้องเสร็จสิ้น ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน เพื่อส่งเข้าในรอบชิงชนะเลิศวันที่ 11 พฤศจิกายน ศกนี้ ชิงเงินรางวัลและเงินทุนพัฒนาโครงการมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท โดยผลงานที่สำเร็จจะนำมาสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยต่อไป ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ e-mail: floo...@nectec.or.th หรือ Facebook: “Flood Mobile Contest Thailand”

…สำหรับโจทย์ของการประกวดในครั้งนี้ คือ เราจะช่วยผู้คนเดินทางสัญจรทางน้ำได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือใกล้ตัวที่เหลือใช้ หาได้ง่ายได้อย่างไร ผู้สนใจจะต้องพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในการเคลื่อนย้ายซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ที่ 160 กิโลกรัมในพื้นที่น้ำท่วมโดยสะดวกและปลอดภัย ซึ่งอาจจะเป็นแพและ/หรือใช้จักรยานที่สามารถขับเคลื่อนหรือปั่นในน้ำ แทนที่จะใช้การพาย มีความถ่วงสมดุลและสามารถลอยน้ำได้ โดยใช้วัสดุทั่วไปที่ต้นทุนต่ำ หาง่ายและมีอยู่ในท้องถิ่น สร้างขึ้นโดยง่ายเพื่อให้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานที่ใดก็ได้ในประเทศไทย ทั้งนี้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของผู้ประดิษฐ์ แต่ผลงานต้องเปิดเผยและเผยแพร่ให้เป็นสมบัติสาธารณะ และอนุญาตให้คนไทยใช้งานได้ทั่วไป และสามารถนำไปผลิตเพื่อใช้งานจริงได้…

กล่าวคือเป็นพาหนะลอยน้ำ น้ำหนักบรรทุก 160 กก. เสถียรภาพดี ไม่ใช้เครื่องยนต์ เป็นเทคโนโลยีชาวบ้านซึ่งใครๆ ที่ไม่งอมืองอเท้า สามารถสร้างได้เองโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือ — ความคิดอย่างนี้น่ายกย่องครับ

ขอแสดงความยินดีกับทีมที่ผ่านการคัดเลือกทุกทีม ท่านใช้รอยหยักในสมองให้เป็นประโยชน์แล้ว

อ่านต่อ »


มีดี…ก็งัดออกมาเลย

อ่าน: 2672

เมื่อวานเข้ากรุงเทพไปทำเรื่องบัญชีการรับบริจาคซึ่งติดขัดอยู่ แก้ไขจนเรียบร้อยแล้วครับ หมดเวลาไปทั้งวันทั้งคืนจนไม่ได้เขียนบันทึก

บ้านอยู่ปากเกร็ดฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางตะวันตกห่างเพียง 1 กม. ทางตะวันออกเป็นคลองประปา ทางเหนือเป็นแนวคันดินพระราชดำริ (ถนนประชาชื่นปากเกร็ดหรือศรีสมาน) น้ำยังไม่ท่วม ก็ต้องยกความดีให้กับเทศบาลนครปากเกร็ดและชาวบ้านปากเกร็ดที่ป้องกันเขื่อนอย่างเข้มแข็ง

เมื่อน้ำทะลักแนวป้องกันเข้ามา เป็นเรื่องใหญ่ เพราะว่าพื้นที่ไม่ได้ราบเรียบ น้ำที่ขังอยู่ในที่ต่ำจะไม่ระเหยไปเอง แต่จะต้องสูบออก สถานการณ์นี้ เจอกันมาทุกจังหวัดตามแนวการไหลของน้ำ การยกน้ำปริมาณ 1 ลิตร (ซึ่งหนัก 1 กก.) ขึ้นสูง 1 เมตร ใช้กำลัง 1 วัตต์ บกน้ำหนึ่งคิวขึ้นสูงหนึ่งเมตร ใช้กำลัง 1 กิโลวัตต์ แต่น้ำที่ทะลักเข้ากรุงร้อยล้านคิว ที่ต้องสูบออก ใช้พลังงานอีกมหาศาลครับ

บ้านเรือนริมคลองที่น้ำยังไม่ท่วม พยายามกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้หมด ผักตบชวา และกอหญ้าริมตลิ่ง เอาออกนะครับ จะช่วยให้น้ำผ่านไปเร็วที่สุด

อ่านต่อ »


เสริมความแข็งแรงของคันดินกั้นน้ำ

อ่าน: 3910

คุณถนัด พีระประสมพงศ์ ส่งอีเมลถึงผู้ดูแลเว็บ thaiflood.com ซึ่งส่งเมลต่อให้ผมดู (ผมตัดอีเมลทิ้งไป)

From: Thanat Peeraprasompong
Date: 2011/10/9
Subject: เสนอแนวทางซ่อมประตูน้ำบางโฉมศรี
To: webm...@thaiflood.com

ขออนุญาตนำเสนอแนวทางการซ่อมแซมประตูน้ำบางโฉมศรี และอีกหลายๆ จุดนะครับ

สืบเนื่องจากได้ดูข่าวความพยายามซ่อมแซ่มประตูน้ำบางโฉมศรี ที่ใช้หินห่อตะแกรงเหล็ก แล้วนำไปวางต่อๆ กัน แต่ยังทนแรงน้ำเชี่ยวไม่ไหว

1. เสาเข็มต้นใหญ่ วางแนวขนานกับแนวพนังหินเดิม หลายๆ ต้น ซ้อนๆ กัน (ดูภาพจากไฟล์ที่แนบมา จะเข้าใจนะครับ)
2. หย่อนหินที่ห่อตะแกรงด้านหลังแนวเสาเข็มที่วางซ้อนต่อกัน

การทำแบบนี้ ทำให้หินที่วางลงไปจะไม่ถูกแรงน้ำพัดพาไป

ด้วยความเคารพ

ผมคิดว่าเป็นความคิดที่เข้าท่ามากๆ ครับ คนมีความรู้ หากไม่สามารถจะใช้ความรู้นั้นให้เกิดประโยชน์ได้ ก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่รู้

อ่านต่อ »


เรือโครงเหล็กเส้น

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 October 2011 เวลา 13:09 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3613

คนเราถ้าใส่ใจในความเดือดร้อนของผู้อื่น รู้ว่าน้ำท่วมผู้คนเดือดร้อนเป็นล้านคน คงไม่อยู่เฉยๆ หรอกครับ แล้วยิ่งมีความรู้จริง ก็จะเห็นช่องทางทำอะไรได้เยอะ แสวงเครื่องได้หลากหลาย

อาจารย์ทวิช อดีตวิศวกรนาซ่าท่านหนึ่ง สอนอยู่ที่สำนักวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สร้างต้นแบบเรือที่ใช้เหล็กเส้นมาผูกเป็นโครง (Rebar) แล้วใช้ผ้าใบคลุมรถสิบล้อมาทำเป็นลำเรือครับ สร้างได้ง่ายมาก งบประมาณสักสองพันบาท

(อาจารย์ไม่อยากให้นำชื่อนาซ่ามาใช้เป็นยี่ห้อเหมือนนักร้องที่ต้องมีชื่อวงหรือชื่อการประกวดแปะท้ายเป็นยี่ห้อ แต่ว่าผมรู้จักท่านบนเน็ตตั้งแต่ท่านยังทำงานอยู่ที่นั่นเมื่อยี่สิบปีก่อน รู้ว่าท่านเป็นของจริง; อดีตวิศวกรนาซ่าทุกคนที่ได้พูดคุย ต่างก็คิดแบบนี้เหมือนกันหมด เพราะต่างคนต่างเป็นของจริงโดยไม่ต้องอวดอ้าง)

ถ้าอย่างนี้ ช่างก่อสร้าง ช่างกล หรือใครๆ ก็สร้างได้ เหมือนดังกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานให้คณะผู้บริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรและถ่ายทอดทางโทรทัศน์

… ถ้าทำได้แล้วก็จะเป็นการช่วยประเทศชาติให้อยู่อย่างดี ถ้าไม่เอาใจใส่ในความคิดเหล่านี้ งานทั้งหลายที่เราทำก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย แต่ก็ต้องมีบกพร่อง เพราะว่าเศรษฐกิจพอเพียงถ้าคิดแบบชาวบ้าน ไม่มีอะไรที่ฝรั่งเรียก sophisticated มันแบบธรรมดาๆ พอทำอะไรแบบธรรมดาก็ดูท่าทางไม่มีประโยชน์ใหญ่โตมโหฬาร แต่ว่าถ้าทำไม่ sophisticated ชาวบ้านก็ทำเองได้ …

เศรษฐกิจพอเพียงนั้นซื้อของได้ แต่ซื้ออย่างฉลาด ซื้อเท่าที่จำเป็น… ถ้ายังคิดเอะอะอะไรก็ซื้อแหลก อย่างนั้นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงมั๊งครับ

เรือนี้เบื้องหลังเป็นเรื่องของการเลือกใช้สิ่งที่พอหาได้ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม (แรง+วัสดุ ฟังดูน่าปวดหัว) แต่เวลาสร้างนั้น ใครก็ทำได้ง่ายๆ ครับ

อ่านต่อ »


เรือกระดาษราคาถูกกว่า

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 October 2011 เวลา 22:30 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8707

จากบันทึกที่แล้ว [เรือส่วนตัวราคาถูก] ที่มีเป้าหมายที่ราคาลำละพันบาท ที่จริงมีถูกกว่านั้นครับ แต่ต้องอาศัยพื้นที่แห้ง ผลิตแล้วส่งไปช่วย ราคาไม่น่าจะเกินลำละห้าร้อยบาท โดยใช้กระดาษลูกฟูก กาว เทป OPP (อาจใช้สีพลาสติกสำหรับทาบ้านด้วย ถ้าจะหรูหน่อยก็อาจใช้โพลียูริเทน) บวกกับความกล้าคิดกล้าทดลอง

เรือลอยได้ด้วยแรงลอยตัว (buoyancy) คือลำเรือไปแทรกน้ำ เกิดแรงยกเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกแทนที่หรือผลักออกไป แต่ในขณะเดียวกันนำที่ถูกแทนที่ ก็จะพยายามกลับเข้ามาที่เดิม จึงเกิดแรงกดต่อลำเรือ ดังนั้นลำเรือจึงต้องมีความแข็งแรงพอ

กระดาษลูกฟูกที่ใช้ทำกล่อง โดยปกติแล้วต่อให้ติดเทปทำผิวกันน้ำ ก็ไม่น่าจะมีความแข็งแรงพอ… แต่ถ้าหากหัดสังเกตก็จะพบว่าอาการอย่างนี้ ไม้อัดก็เป็นครับ เค้าแก้ปัญหาความแข็งแรงของไม้อัดโดยการซ้อนเป็นหลายชั้น โดยเรียงลายไม้ไปคนละทางให้ขัดกัน ทากาวแล้วอบอัด ลายไม้ที่ขัดกันก็จะกระจายแรงที่กระทำต่อผิวของไม้อัดได้ ฉันใดก็ฉันนั้น หากเรานำเอากล่องลูกฟูกมาทางกาวติดกัน แต่ว่าเรียงแต่ละชั้นให้ลูกฟูกหันไปคนละทาง ก็จะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดาษลูกฟูกได้ดี!

อ่านต่อ »



Main: 0.049762010574341 sec
Sidebar: 0.15997195243835 sec