ประสบการณ์เที่ยวถ้ำ Ajanta มรดกโลกในอินเดีย

อ่าน: 6989

เมื่อหลายปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวอินเดีย เป็นทริปที่เปลี่ยนโลกทัศน์เกี่ยวกับการศึกษาศาสนาไปเป็นอย่างมาก ด้วยเห็นศรัทธาและความพยายามของคนโบราณที่มีต่อศาสนาต่างๆ ว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์ และมีพลังเหลือเกิน

ถ้ำ Ajanta และ Ellora เป็นศาสนสถานที่ขุดเข้าไปในหินบาซอลต์ (แกรนิตแข็ง) โดยขุดจากหินก้อนเดียวจนเป็นวิหารขนาดใหญ่

Ellora ประกอบไปด้วยวิหารฮินดู พุทธ และเชน — ของฮินดูอลังการอย่างไม่น่าเชื่อครับ มีพื้นที่เป็นสองเท่าของวิหารพาเธนอนในกรีก สูง 1.5 เท่า แต่ใช้วิธีขุดหินภูเขาไฟก้อนเดียวเข้าไป ไม่มีการเอาหินมาต่อกัน ตัดเจาะและแกะสลักหินสองแสนตันด้วยแรงงานคน

Ajanta พบโดยทหารอังกฤษในปี 1819 หลังจากไปล่าเสือ แล้วสังเกตเห็นงานก่อสร้างด้วยฝีมือมนุษย์ซ่อนตัวอยู่ในป่ารก Ajanta มี 30 ถ้ำ ก่อสร้างประมาณระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3 ถึง 7 อยู่ในรัฐมหาราชตระ

Ajanta ถูกทิ้งให้รกร้างเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาที่มหาราชาผู้ครองรัฐมหาราชตระใน เวลานั้นนับถือ (ต่อมาราชวงศ์นี้ครองประเทศอินเดีย และสร้างทัชมาฮาล)

ผมยังไม่ได้จาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่ แต่ก็ได้ชวนพนักงานไว้ให้เก็บเงินเดือนละพัน สามสี่ปีก็คงไปได้ (เงินเก็บมักจะรั่วไหล เลยต้องเผื่อเวลาไว้หน่อย)

ที่ยกเรื่องถ้ำ Ajanta ขึ้นมา เพราะเป็นจุดเปลี่ยนส่วนตัวเกี่ยวกับการมองพุทธศาสนาอีกอันหนึ่ง (อันแรกคือการค้น/อ่านพระไตรปิฎกตามอัธยาศัย) เดิมทีรู้สึกเหมือนเรื่องพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เมื่อย้อนกลับไปดูถึงอินเดีย ก็ได้เห็นศรัทธาอันแรงกล้าต่อพุทธศาสนาตั้งแต่ยุคโบราณ ได้รับรู้เรื่องราวว่าฝ่าฟันอะไรมาบ้างจนมาถึงวันนี้

(ถ้ำ #16? จำเลขไม่ได้แน่เพราะผ่านมาหลายปีมาแล้ว) มีภาพเขียนพุทธประวัติ ซึ่งกำลังเสื่อมสภาพจากน้ำฝน+ความชื้นอย่างรวดเร็วมาก และมีหลังคาถ้ำที่วิจิตรมาก เมื่อพิจารณาภาพก็ตรงกับเรื่องราวที่ศึกษามาทั้งๆ ที่เวลาห่างกันประมาณสองพันปี (ดูแล้วเข้าใจว่าเป็นพุทธประวัติตอนไหน)

หากมีกำลังไปดูได้และอยากไป แนะนำให้รีบครับ

http://gotoknow.org/blog/random/97695



Main: 0.029109001159668 sec
Sidebar: 0.17894697189331 sec