สื่ออะไรในสื่อสังคม

อ่าน: 2531

อย่างไรก็ตามเมื่อเทคโนโลยีทางการสื่อสาร “ก้าวหน้า” ขึ้น คนก็มี “เครื่องมือ” ใหม่ๆ ที่จะติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยนกัน ในความก้าวหน้าช่องทางการสื่อสารนั้น มีอยู่สองอย่างที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง คือ

  • เครื่องมือคือเครื่องมือ จะดีหรือไม่ดีอยู่ที่คนใช้ หากไม่เข้าใจเครื่องมือ หรือใช้เครื่องมืออย่างไม่เหมาะสม ผลลัพท์ก็ไม่ดี
  • ผู้ใช้เป็นผู้เลือก เลือกอ่านได้เอง เลือกเชื่อได้เอง เลือกเขียนได้เอง ไม่มีใครจะมาบังคับกะเกณฑ์ให้ดู ให้ฟัง ให้เชื่อในสิ่งที่ผิดได้ หากรู้จักพิจารณาอย่างแยบคาย

อย่างไรก็ตาม เรามักอ้างว่าข้อมูลข่าวสารมากมาย อ่านไม่หมด ย่อยไม่ไหว ก็แล้วทำไมจึงยังรับข่าวสารมากมายเหมือนเดิมล่ะครับ รับมาก็พิจารณาไม่ทัน ในที่สุดก็ปล่อยผ่านไปอยู่ดีใช่ไหม ถ้าทำเหมือนเดิม จะให้ผลแตกต่างออกไปได้อย่างไร

ข้อมูลในลักษณะเขาเล่าว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแบบที่สรุปฟันธงมาให้แล้ว คนที่มักเชื่อไปเลยนั้น เชื่อในสองแนวคือ เชื่อเพราะอยากจะเชื่อ(อคติ) และเชื่อเพราะเชื่อถือคนที่ส่งข้อมูลให้(อคติเช่นกัน) ผมมีบันทึกเกี่ยวเนื่องกับกาลามสูตรอยู่หลายบันทึก หากสนใจก็คลิกอ่านได้ครับ ในเมื่อความเชื่อนั้นเกิดจากอคติ จะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้อย่างไร

อ่านต่อ »


ธรรมเพื่อความผาสุก

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 May 2009 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3183

นำมาจากผาสุวิหารสูตรในพระไตรปิฎกครับ

[๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย
เมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ เข้าไปตั้งมโนกรรม
ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ มีศีลอันไม่
ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหา
และทิฐิไม่เกี่ยวเกาะ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง ๑ มีทิฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นไป
แห่งทุกข์โดยชอบ แห่งผู้กระทำ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้แล ฯ

พุทธวัจนะองค์นี้ ชี้ไปสู่องค์ประกอบ 5 ประการของการอยู่ร่วมกันโดยผาสุก คือ

  1. การกระทำอันประกอบด้วยเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  2. การพูดอันประกอบด้วยเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  3. การคิดอันประกอบด้วยเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  4. การไม่เบียดเบียนกัน ทั้งที่เบียดเบียนกันจริงและพยายามจะเบียดเบียน
  5. การให้ความเห็นอันผลักดันไปในทางออกที่ถูกต้อง


ส่งความสุขปีใหม่ พ.ศ. 2552

12 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 1 January 2009 เวลา 0:00 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3152

แฮ่ๆๆ ยอมรับว่ารีบเขียนบันทึกแรกของปีครับ

เพื่อความเป็นสิริมงคลของลานปัญญา จึงขอนำธรรมะบรรยายของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก สัทวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) มาเป็นธรรมะบรรณาการแก่ชาวเฮในลานปัญญา ตลอดจนแฟนบล็อกที่ไม่แสดงตัวครับ

บางทีคำตอบก็อยู่ใกล้มาก ไม่ต้องไปหาขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า เพียงแต่มองหาในที่ที่ถูกต้องเท่านั้นเองครับ

พระอาจารย์มิตซูโอะ แห่งวัดสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค กาญจนบุรี บรรยายธรรม มีตัวอย่างทางโลก มีเหตุ มีผล ทำให้เข้าใจง่าย

บันทึกนี้ ตัดตอนมาจากหนังสือ “ผิดก่อน-ผิดมาก”

อ่านต่อ »



Main: 0.64174485206604 sec
Sidebar: 2.0609931945801 sec