ถ่านแกลบ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 March 2009 เวลา 0:14 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 21947

พืชใช้ธาตุ 16 ชนิดในการเจริญเติบโต โดยได้รับคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจนจากน้ำและอากาศ ส่วนอีก 13 ธาตุได้จากดินซึ่งดูดผ่านระบบราก

จากบันทึกชุดปุ๋ยสั่งตัดที่ผ่านมา เป็นเรื่องของธาตุอาหารหลักสามตัวคือไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโปแตสเซียม(K) ส่วนธาตุอาหารอื่นๆ เป็นธาตุรอง

อธิบายจากโปสเตอร์ ในกรณีของข้าวโพด

  • ไนโตรเจน (N) ใช้สร้างใบ ลำต้น ถ้าขาดไปผลผลิตจะต่ำ ถ้าเกินพืชจะอวบน้ำ ล้มง่าย ให้ผลผลิตเมล็ดเล็กลง
  • ฟอสฟอรัส (P) ใช้ในการเจริญเติบโตของราก ออกดอก ออกผล ถ้าขาด ลำต้นจะเล็ก ผอม แกร็น ออกดอกช้า ติดผลต่ำ
  • โปแตสเซียม (K) ใช้ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ถ้าขาด เมล็ดจะลีบ น้ำหนักเบา แป้งน้อย ฝักติดเมล็ดไม่เต็ม
  • ถ้าพืชขาดธาตุหนึ่งธาตุใด ธาตุนั้นจะเป็น “ตัวจำกัด” การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช

ปุ๋ยสั่งตัด จึงเป็นการเกษตรแบบเป็นวิทยาศาสตร์ เติมเฉพาะในส่วนที่ขาด ไม่ให้มากไป ไม่ให้น้อยไป ทำให้พืชมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการให้ผลผลิตที่สูงตามศักยภาพ

แต่ผนังเซลของพืชคือเซลลูโลส (Cellulose) ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน ซึ่งพืชได้จากการ “หายใจ” เอาอากาศไปใช้ในการสังเคราะห์แสง บวกกับการดูดสารอาหารผ่านระบบราก

เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อประหยัดแรงงานและเวลา ชาวนา-ชาวสวน-ชาวไร่ มักเผาซากพืช เมื่อเปิดการเผาไหม้ในอากาศ เซลลูโลสแปรสภาพเป็นก๊าซคาร์บอกไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ก่อปัญหาโลกร้อนทับถมทวีคูณ อันจะเป็นเหตุให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจอ้างเป็นเหตุกีดกันผลิตผลทางการเกษตรของไทยได้

ซ้ำร้ายกว่านั้น ซากพืชเป็นเซลลูโลสอันมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อเผากลายเป็นก๊าซ คาร์บอนในดิน ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ ทำให้คาร์บอนในดินเหลือน้อยลง พืชจึงเจริญเติบโตได้ยากขึ้นในฤดูการเพาะปลูกถัดไป

อ่านต่อ »


ปุ๋ยสั่งตัด (3)

อ่าน: 4961

เมื่อรู้ว่าดินที่เพาะปลูก อยู่ในชุดดินใด และทำการวัดปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ในดินออกมาแล้ว ก็สามารถเปิดตารางเทียบดูได้ว่ากับพืชที่ปลูกลงบนชุดดินแบบนั้น และมีธาตุอาหารแบบที่วัดออกมา ควรจะปรับปรุงธาตุอาหารด้วยอะไร เป็นปริมาณเท่าไหร่

การตะบี้ตะบันใส่ปุ๋ย โดยไม่รู้ว่าดินขาดธาตุอะไร เป็นปริมาณเท่าไหร่ เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ไม่ให้ผลผลิตมากเท่าที่ควรจะเป็น

คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยทุนวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน มหาวิทยาลัยแห่งฮาวาย ได้จัดทำเว็บไซต์การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ (Site-specific nutrient management) ขึ้นมา

ในเว็บไซต์นี้ มีโปรแกรมสองชุด ชื่อว่า SimCorn และ SimRice ใช้สำหรับเปิดตารางดูค่าว่าชุดดินกับธาตุอาหารที่มีอยู่ จะต้องเพิ่มอะไรอีกเท่าไหร่ แล้วในกรณีที่สูตรธาตุอาหารที่พืชต้องการจากดิน ไม่มีขายเป็นปุ๋ยสูตรสำเร็จรูป โปรแกรมทั้งสองนี้ สามารถคำนวณส่วนผสมจากแม่ปุ๋ยหลักได้ด้วย

โปรแกรม SimCorn ใช้กับข้าวโพด ส่วนโปรแกรม SimRice ใช้กับข้าวเปลือกและยางพาราซึ่งใช้ธาตุอาหารในปริมาณ กก./ไร่ เท่าๆกัน

สำหรับเรื่องของชุดดิน ถ้ารู้พิกัด ก็สามารถถามกรมพัฒนาที่ดินตามบันทึกดินได้ แต่ถ้าไม่มี GPS โปรแกรมสามารถจะ “เดา” ชุดดินจากเนื้อดิน สีดิน ชิ้นส่วนหยาบ ร่วมกับจังหวัดที่ตั้งได้

ข้อเสียของโปรแกรมทั้งสองคือใช้ร่วมกับฐานข้อมูล Microsoft Access รุ่น 2000 หรือใหม่กว่า


ปุ๋ยสั่งตัด (2)

อ่าน: 8655

เรื่องสำคัญของปุ๋ยสั่งตัด คือต้องเข้าใจเสียก่อนว่าดินมีสภาพเป็นอย่างไร (ความเป็นกรด-ด่าง สี ความร่วนซุย ฯลฯ) นั่นคือการพยายามระบุ “ชุดดิน” ให้ได้

จากนั้นก็มีชุดทดสอบ ซึ่งหนึ่งชุด มีหลอดทดลอง มีน้ำยา มีคู่มือ สำหรับทดสอบดินได้ 50 ตัวอย่าง — การทดสอบนี้ เอาตัวอย่างดินใส่ไปในน้ำยาที่มากับชุดทดสอบ ผลจะออกมาเป็นสี ซึ่งอ่านได้เป็นค่า สูง-กลาง-ต่ำ-ต่ำมาก สำหรับธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโปแตสเซียม(K)

เมื่อรู้ชุดดิน และปริมาณ N-P-K ในพื้นที่จริง ก็สามารถเปิดตารางดูได้ว่า พืช (เริ่มต้นที่ข้าวโพด และข้าว) ต้องการสารอาหารอะไร ซึ่งทางผู้วิจัย จัดเตรียมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ให้ แต่ผมจะละเรื่องนี้ไว้ก่อนเพราะมีรายละเอียดอื่นที่ต้องอธิบายอีก


ปุ๋ยสั่งตัด (1)

อ่าน: 4335

วิดีทัศน์เผยแพร่ เรื่องชาวไร่ข้าวโพดกับปุ๋ยสั่งตัด

แนวคิดเรื่อง “ปุ๋ยสั่งตัด” เป็นอย่างนี้ครับ

  1. พืชเจริญเติบโตด้วยน้ำ และสารอาหารในดิน บวกกับประสิทธิภาพของราก (ความร่วนซุย) และความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
  2. ปุ๋ยคือ “อาหารเสริม” ซึ่งมาช่วยเติมสิ่งที่สารอาหารในดินขาดไป
  3. ดินแต่ละชนิด (เรียกว่า “ชุดดิน”) จะมีความร่วนซุยและปริมาณคาร์บอนไม่เหมือนกัน
  4. การเอาปุ๋ยตามสูตรสำเร็จรูปใส่ลงไป ไม่ได้แปลว่าจะได้ผลดี อาจเป็นการ over-doze หรือสูญเปล่า เพิ่มค่าใช้จ่าย และให้ผลผลิตไม่สูงเท่าที่ควร
  5. โปรแกรมปุ๋ยสั่งตัด เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ “ชุดดิน” จากแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นดินชนิดใด น่าจะมีสภาพ/สารอาหารอย่างไร
  6. ใส่ปุ๋ยลงไปตามความต้องการของชนิดของพืชที่ปลูก และชนิดของดิน

Get the Flash Player to see this player.

ไฟล์การนำเสนอ (15.4MB pdf อ่านด้วย Acrobat Reader)


ดิน

18 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 March 2009 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5648

เมื่อเย็น รับพี่ตากับน้องเขียวไปพบครูบากับผู้เชี่ยวชาญดิน (Soil Physics) กับภรรยาของท่าน สักครู่ครูปูก็ตามมา แล้วป้าจุ๋มก็มาสมทบในช่วงเย็น ปรากฏว่าท่านเคยอยู่กรมวิชาการเกษตร และรู้จักกับป้าจุ๋มมาก่อน แต่ลาออกจากราชการไป 15-16 ปีแล้ว

อย่างไรก็ดี นั่งฟังการบรรยายแบบ non-stop ก็นับได้ว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาเหมือนกัน มีประเด็นที่ผมจดมาสองสามเรื่อง

1. เวลาเราพูดถึงคุณภาพของดิน มีอยู่สามเรื่องที่ต้องดูไปพร้อมๆ กัน คือ

  • ความเป็นกรด เป็นด่าง ของดิน (pH)
  • ความร่วนซุยของดิน (ประเด็นของน้ำ อากาศในดิน และประสิทธิภาพของราก)
  • ปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหารในดิน

การใส่ปุ๋ย(ธาตุอาหาร)อย่างบ้าคลั่งประดุจยาวิเศษ โดยไม่เข้าใจองค์ประกอบของดินและการเจริญเติบโตของพืช จึงเป็นการสูญเปล่า ยิ่งทำยิ่งจน ส่วนคนขายปุ๋ยยิ่งรวย

อ่านต่อ »



Main: 0.038721799850464 sec
Sidebar: 0.15071105957031 sec