ยืนยัน

อ่าน: 3317

กะจะไปเงียบๆ ทำหน้าที่เสร็จแล้วรีบกลับ เจอทวิตทักทายซะแล้ว

ทั้งงาน Thailand ICT Awards (TICTA 2010) เจอแต่คนคุ้นเคย ถูกทักแทบทุกหัวมุมแฮะ ป็อบเหมือนกันนะเนี่ย

หน้าที่กรรมการก็คือคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปร่วมในงาน Asia-Pacific ICT Alliances (APICTA) ซึ่งมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนอยู่แล้วครับ วันนี้ไปดูการทำงานจริงเพื่อให้แน่ใจว่า การนำเสนอในวันที่คัดเลือก ไม่ใช่การวาดฝันในอากาศให้กรรมการฟัง ทั้งนี้ในวันที่คัดเลือก ไม่สามารถสาธิตได้เพราะว่ากติกาคือนำเสนอ ทุกทีมมีเวลาเท่ากันหมด และใช้เวลาอย่างเต็มที่แล้ว

ในวันนี้เนื่องจากมีเวลาไม่จำกัด จึงถือโอกาสเดินดู พูดคุย แนะแนวคิดธุรกิจกับบริษัทต่างๆ ทั้งในกลุ่มที่ผมเป็นกรรมการ และกลุ่มอื่นๆ ด้วย

ผมคิดว่าผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้แสดงผลงานในครั้งนี้ มีโอกาสดีที่จะแลกเปลี่ยนธุรกิจกัน ต่างคนต่างมีดีในส่วนของตัวเอง แต่ก็ไม่ค่อยได้คิดเรื่องความเชื่อมโยงกับบริษัทอื่นเพื่อให้ทั้งสองฝ่าย มี portfolio ที่สมบูรณ์ขึ้น ถ้าหากว่าเราจะต้องเขียนทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการทั้งหมดเองแล้ว อาจจะหมดแรงตายไปเสียก่อน สู้ไปหาคนที่เขาทำอย่างนี้แล้วเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน อาจจะดีกว่า

อ่านต่อ »


การกำหนดตำแหน่งให้แม่นยำขึ้น

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 July 2010 เวลา 0:07 ในหมวดหมู่ คอมพิวเตอร์ การใช้งาน โปรแกรม #
อ่าน: 5515

วิธีการที่ตรงที่สุดในการกำหนดตำแหน่งพิกัดบนพื้นโลก คือการรับสัญญาณเวลา (เพื่อคำนวณตำแหน่ง) จากดาวเทียม โดยอุปกรณ์และวิธีการที่เรียกว่า Global Positioning System หรือที่เรียกกันว่า GPS

เดิมที GPS ใช้ในกิจการทหารเท่านั้น แต่หลังจากปี 2526 ที่เครื่องบินของสายการบินเกาหลี ที่บินจากอลาสก้าจะไปโซล เกิดพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของโซเวียต จึงถูกเครื่องบินรบของโซเวียตยิงตก ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 267 คนเสียชีวิตทั้งหมด ประธานาธิบดีเรแกน จึงมีคำสั่งให้เปิดใช้สัญญาณ GPS สำหรับกิจการพลเรือนได้ ทำให้ตลาด GPS เริ่มต้นตั้งแต่สมัยนั้น ราคาลดลง ความแม่นยำเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม GPS มีข้อจำกัดหลายอย่างเช่นกัน สัญญาณลงมาจากฟ้า ถ้าจะรับสัญญาณ GPS ได้ ก็ต้องมองเห็นท้องฟ้า ซึ่งบางทีก็ถูกบังโดยหลังคา หรือตึกสูง

ต่อมาในปี 2544 เกิดเหตุการก่อการร้ายที่เวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ค ทำให้มีผู้เสียชีวิตและติดอยู่ภายใต้ซากปรักของตึกเป็นจำนวนมาก หลังจากถอดบทเรียนหลังเหตุการณ์แล้ว ทาง กสทช.ของสหรัฐ​ (FCC) ได้ออกประกาศให้โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่จะขายในตลาดสหรัฐ จะต้องมีความสามารถที่จะบอกตำแหน่งโดยประมาณได้ (A-GPS) เอาไว้ใช้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการระบุตำแหน่งของเหตุการณ์ (กรณีโทรเข้า 911 หรือ 411)

ในการนี้ สถานีสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ จะทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียม GPS โดยส่งสัญญาณออกไปจากสถานีฐานที่รู้พิกัดของที่ตั้งที่แน่นอน โทรศัพท์มือถือจะความแรงของวัดสัญญาณที่รับได้จากสถานีฐานต่างๆ ความแรงของสัญญาณแปรผันเป็นปฏิภาคกับระยะห่างยกกำลังสอง ดังนั้นก็สามารถคำนวณระยะห่างจากสถานีต่างๆ ได้ด้วยวิธี Trianglulation ทำให้ระบุตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือโดยประมาณได้ รายละเอียดอยู่ใน Mobile phone tracking

ดังนั้น เราจะเห็นโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ที่จะส่งเข้าไปขายในสหรัฐ มี A-GPS กัน*ทุกเครื่อง* ไม่ว่าจะมี GPS จริงๆ ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมหรือไม่

อ่านต่อ »


Thailand ICT Awards

อ่าน: 3475

สองสามปีก่อน ทางผู้ใหญ่ในเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ชวนผมไปเป็นสมัครเป็นกรรมการ Thailand ICT Awards (TICTA)

โครงการ Thailand ICT Awards (TICTA) เป็นโครงการประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์แห่งชาติที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารและสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยร่วมผลักดันให้เกิด ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 หลังจากที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ขึ้น โครงการ Thailand ICT Awards หรือ TICTA จึงได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อย่างต่อเนื่องตลอดมา

การแข่งขันประกวดผลงาน ซอฟต์แวร์ Thailand ICT Awards เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ รวมถึงนิสิต นักศึกษาเกิดความตื่นตัวในการผลิตและพัฒนาผลงานที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การนำผลงานร่วมประกวดระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ Asia Pacific ICT Alliance (APICTA) Awards มีผลให้เกิดผลงานซอฟต์แวร์ที่หลากหลายและสามารถนำไปเผยแพร่แก่กลุ่มผู้ใช้ ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในและต่างประเทศ อันสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ในการสร้างและส่งเสริมอุตสาหกรรมไอซีทีของ ประเทศให้มีมูลค่าทางการตลาดสูงขึ้น

ที่มา: Facebook fanpage ของ TICTA

เมื่อได้รับการคัดสรรแล้ว ผมก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ตัดสินซอฟต์แวร์ของกิจการใหม่ (Startup) มาตลอดทุกปี

สาเหตุที่ตอบตกลงเข้าร่วมเป็นกรรมการนั้น เป็นเพราะต้องการจะพบปะกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ชี้โอกาส ชี้ช่องทางธุรกิจให้ ต้องการให้คลื่นลูกหลัง ประสบความสำเร็จมากกว่าคนรุ่นผม ซึ่งมีเวลาสั้นๆ ในช่วงที่ผู้ประกวดแต่ละบริษัทเก็บของหลังจากนำเสนอเสร็จ (จึงไม่เบียดบังเวลาการนำเสนอและตอบคำถาม ซึ่งผู้ประกวดแต่ละรายมีเวลาเท่ากัน) และผมให้คะแนนเสร็จแล้ว (จึงไม่เกี่ยวกับคะแนนที่ให้)

อ่านต่อ »


ถามใจเธอดูก่อน — ข้อมูลสภาวะอากาศ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 July 2010 เวลา 0:50 ในหมวดหมู่ คอมพิวเตอร์ การใช้งาน โปรแกรม #
อ่าน: 3996

วิถีชีวิตในเมืองไทยขึ้นอยู่กับลมฟ้าอากาศมาก จะปลูกข้าวขึ้นกับน้ำ จะออกทะเลขึ้นกับลม

ดังนั้น หากมีข้อมูลใดที่จะเป็นประโยชน์กับคนในวงกว้าง ก็น่าจะเป็นข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา และการพยากรณ์อากาศ — กรมอุตุนิยมวิทยาทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว ทำมานานแล้ว และยังไม่เปลี่ยนวิธีการ เนื่องจากว่าอุตุนิยมวิทยาไทยนั้น เป็นศูนย์ภูมิภาคขององค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ซึ่งมีมาตรฐานของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการวัดและรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำมาใช้พยากรณ์อากาศ

ในการนี้ WMO ให้วัดและรวบรวมข้อมูลที่เวลา 0:00 UTC และ 12:00 UTC (UTC เมื่อก่อนเรียกว่า GMT หรือเวลามาตรฐานกรีนิช) -> เราจึงเห็นการพยากรณ์อากาศที่เวลา 7:00 น. และ 19:00 น. ทุกวัน เพราะเวลาบ้านเราเร็วกว่าเวลากรีนิชอยู่ 7 ชั่วโมง

สำหรับการพยากรณ์อากาศโดยทั่วไปนั้น ใช้ข้อมูลทั่วไปหมด ไม่เฉพาะข้อมูลในประเทศ เช่นการคาดการณ์ว่าความกดอากาศสูงจะแผ่ลงมา ก็ใช้ข้อมูลจากประเทศเพื่อนบ้านมาพยากรณ์ ในเมื่อประเทศเพื่อนบ้านส่งข้อมูลมาวันละสองครั้ง ก็พยากรณ์ได้สองครั้ง

แต่มีการพยากรณ์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งทำด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง และข้อมูลการวัดสภาพอากาศด้วยความถี่ที่มากขึ้น ทำให้สามารถ (1) พยากรณ์ได้ถี่ขึ้นกว่ารอบละ 12 ชั่วโมง และ (2) พยากรณ์ในพื้นที่เล็กลง เช่นจากระดับภาคเหลือแค่ระดับเมือง

อ่านต่อ »


Moving Dots++

อ่าน: 4024

เดิมคิดว่าจะเขียนโปรแกรมนี้เองเพื่อความมันส่วนตัว แต่ว่าผมติดบรรยายในวันที่ 1 กรกฎาคมที่ มช. เลยคิดว่า opensource ความคิดนี้ซะเลย เผื่อจะขยายไปพัฒนาใช้กับหลายๆ platform ได้

เดี๋ยวนี้มีสมาร์ทโฟนที่สมรรถนะสูงขึ้น เริ่มทำอะไรเป็นประโยชน์ได้มากขึ้น หลังเหตุการณ์เครื่องบินชนตึกที่อเมริกาในปี 2544 กสทช.สหรัฐ (FCC) ออกกฏให้โทรศัพท์มือถือที่ขายในสหรัฐ จะต้องมีเครื่องมือช่วยระบุตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือ เอาไว้ช่วยคนหายหรือคนที่ติดอยู่ในซากตึก คุณลักษณะนี้เรียกว่า A-GPS

ถึง A-GPS จะไม่แม่นเท่าไหร่ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องรับสัญญาณจากดาวเทียม เนื่องจากใช้สัญญาณจาก cell site ของโทรศัพท์มือถือแทนได้ นอกจากนั้น ก็ยังมีค่ายโทรศัพท์มือถือที่เปิดแพ็คเกจ Mobile Internet ที่ใช้งานในลักษณะเหมาจ่าย ไม่ขึ้นกับเวลาหรือปริมาณข้อมูลในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ดังนั้นผมจึงเสนอความคิดเกี่ยวกับโปรแกรม Moving Dots++ ดังนี้

อ่านต่อ »


ย้ายบ้านจาก Symbian ไป Android

อ่าน: 8716

ผมใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นช่วยจำนะครับ ใช้ทีละเครื่องเดียว-เบอร์เดียวเท่านั้น และไม่ได้เปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์บ่อย

คราวนี้ถึงคราวจะต้องเปลี่ยนเครื่อง เพราะเครื่องเก่าคือ Nokia E71 ซึ่งได้เป็นอภินันทนาการมาจาก Operator ดันทำตกพื้น แล้วพื้นมีน้ำ (เลยไม่รู้ว่าเจ๊งเพราะตกพื้นหรือเพราะตกน้ำ) น้องชายช่วยเอาไปซ่อมให้ทำให้ใช้งานได้พักหนึ่ง แต่ดูเหมือนว่าแบตเสื่อม เก็บไฟอยู่ได้ประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งไม่พอสำหรับคนที่ไม่ปิดมือถือแบบผม เปลี่ยนแบตดูจะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า แต่ผมเลือกเปลี่ยนเครื่องด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการ platform สำหรับการพัฒนาระบบการเตือนภัย OpenCARE

Nokia E71 ใช้ Symbian 3rd Edition ซึ่งเก่ามากแล้ว แต่ก็ยังใช้ได้อยู่; น้องชายใช้ E72 เป็น Symbian 5th Edition ใหม่กว่ามาก; @nontster ซึ่งทำ OpenCARE มาตั้งแต่ต้นใช้ iPhone iOS4; ยังขาด Windows Mobile กับ Android ผมจึงไปหา Android มาใช้เป็นเครื่องทดสอบโปรแกรม — เมืองไทยไม่ได้ร่ำรวย แม้ว่ามีเงินจะซื้อก็ไม่ควรซื้อของนำเข้า หากว่าไม่ได้สร้างประโยชน์สูงกว่ามูลค่าที่จ่ายไปหรอกนะครับ

เชื่อ @markpeak จึงไปเอา Samsung Galaxy S มา จอใหญ่ดี รู้อยู่แล้วว่าจอเป็น Super AMOLED จึงคิดว่าอายุใช้งานคงได้สักสองปี

อ่านต่อ »


Drum machine

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 March 2010 เวลา 3:18 ในหมวดหมู่ คอมพิวเตอร์ การใช้งาน โปรแกรม #
อ่าน: 3142

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ดูโปรแกรมสร้าง Flash animation ชื่อ Swift 3d มีงานอันหนึ่งชื่อ drum machine

อยู่ดีๆ ก็ไปเจออีก เลยเอามาฝากครับ คลิกตรงจุดแดงเพื่อเริ่ม จากนั้นรอโหลดแป๊บนึง ถ้ามันหลุด ก็คลิกตรงที่หยุด


ประวัติอย่างย่อของ ICT ในเมืองไทย พ.ศ.2511-2550

อ่าน: 4050

ประวัติอย่างย่อของ ICT ในเมืองไทย พ.ศ.2511-2550 โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สามปีก่อน Tony Waltham บรรณาธิการของ Post Database ขอให้อาจารย์ทวีศักดิ์เขียนบทความในโอกาสที่ Database ซึ่งเป็น IT section ของหนังสือพิมพ์ Bangkok Post มีอายุครบรอบยี่สิบปี อาจารย์ก็เขียนให้

ทำไมต้องปี พ.ศ.2511 — ในปีนั้น มีการพัฒนาหัวพิมพ์ภาษาไทยสำหรับ band printer ทำให้เป็นครั้งแรกที่คอมพิวเตอร์พิมพ์ภาษาไทยได้ แถมเวลาพิมพ์ต้องใช้เนื่อที่ถึงสี่บรรทัด จึงจะได้ภาษาไทยหนึ่งบรรทัด

กว่าที่เราจะมายืนอยู่ในปัจจุบัน คนรุ่นก่อนต้องต่อสู้ ล้มลุกคลุกคลานกันมายาวนาน มีการแข่งขัน มีความเห็นไม่ตรงกัน แต่ทั้งหมดก็เพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า และสิ่งที่ดีกว่า ก็จะถูกคลื่นลูกหลังกวาด กลบ ทดแทน แปรเปลี่ยนไปตามบริบทของเศรษฐกิจสังคม เป็นสัจธรรม… ไม่ว่าจะชอบ/ไม่ชอบ ดี/ไม่ดี ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นได้


Hektor

อ่าน: 3782

Hektor เป็นโครงงานเก่าอันหนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปริญญานิพนธ์ของ Jürg Lehni เพื่อจบการศึกษาจากวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบแห่งโลซาน (Ecole cantonale d’art de Lausanne) ใช้แล็ปท็อปควบคุมเซอร์โวมอเตอร์สองตัว ซึ่งแขวนอยู่กับผนังที่มุมบนทั้งสองข้าง (A กับ B) ระหว่างเซอร์โวมอเตอร์ทั้งสอง ก็โยงด้วยเชือกมาตรงกลางซึ่งเป็นเครื่องพ่นสีกระป๋อง (C)

ดังนั้น ด้วยโปรแกรมที่ควบคุมโดยแล็ปท็อป สามารถควบคุมระยะระหว่าง AC กับ BC ด้วยการหมุนซ้ายขวาที่จุด A และ B โดยทำให้จุด C เคลื่อนที่ไปยังที่ใดก็ได้ภายใต้ A กับ B และบังคับให้กระป๋องสีที่จุด C พ่นสีเมื่อใดก็ได้

ดังนั้น Hektor จึงเป็นเครื่องพ่นสีบนผนังที่มีการทำงานที่ง่ายมาก

อ่านต่อ »


การจัดสรรความถี่สาธารณะ

อ่าน: 5202

ความถี่ 2.4 GHz เป็นหนึ่งในความถี่ที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union หรือ ITU) แนะนำให้ประเทศสมาชิก กันไว้เป็นความถี่สำหรับการใช้งานทางอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ (ISM band) เรื่องนี้มีความสำคัญเนื่องจากหากทุกประเทศทำตาม (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำตามจริงๆ) การผลิตเป็นจำนวนมาก จะช่วยให้ราคาต่อหน่วยถูกลง และผู้ใช้สามารถเข้าถึงโครงข่ายได้ในง่ายขึ้น

ในประเทศไทย ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 กรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ได้จัดสรรความถี่ 2.4 GHz ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเป็น บมจ.ทีโอที) ให้ใช้สำหรับทำโทรศัพท์ทางไกลชนบท เพื่อประชาชนในพื้นที่ห่างไกลจากระบบโทรศัพท์ ในปี 2539 กรมไปรษณีย์โทรเลข ออกประกาศให้เครื่องวิทยุระยะสั้นที่ใช้ความถี่ ISM band ที่มีกำลังส่งต่ำ ไม่ต้องขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุ ต่อมาในปี 2546 ก็มีประกาศยกเลิกเงื่อนไขที่ห้ามใช้นอกอาคารสถานที่

ในปัจจุบัน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ออก “กฎกระทรวง กำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมบางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2547” ซึ่งในข้อ 2 (12) กำหนดกำลังส่งของเครื่องวิทยุรับส่งในความถี่ 2.4-2.5 GHz ไม่ให้มีกำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P.) เกิน 100 มิลลิวัตต์ [ข้อมูลเรื่องการรบกวนกัน ในย่านความถี่ 2.4 GHz]

ถ้าใช้ในอาคาร กำลังส่ง 100 mW E.I.R.P. ก็เหมาะดีแล้วครับ แต่เมื่อยอมให้ใช้นอกอาคาร กำลังส่งแค่นั้นมันไม่พอ ก็รู้รู้กันอยู่ สัญญาณแบบนี้ ไปไม่ไกล แค่ลมพัด ก็หลุดแล้ว ถ้าไปได้ไกลถึง 50 เมตร ก็ถือเป็นโชคแล้ว การที่ความถี่ในช่วงนี้ ส่งได้แค่ 50 เมตร จะให้ coverage ต่ำ ทำให้โอกาสที่เมืองไทยจะมี Wi-fi city เป็นไปได้ยาก เนื่องจากต้องใช้ access point เป็นจำนวนมาก

ในมหานครของต่างประเทศหลายแห่ง เขาขยายกำลังส่งได้ไกลกว่านี้ บางแห่งใช้กำลังส่ง 500 mW (แต่ทำให้ร้อนมาก จึงลดกำลังส่งลงมาเหลือ 3-400 mW แล้วใช้ร่วมกับ Smart Antenna) หากขยายกำลังส่งสูงสุดของอุปกรณ์ที่ใช้ความถี่วิทยุ ISM band ออกไปเป็น 300 mW เมื่อกำลังส่งสูงขึ้น 3 เท่า จำนวน access point ที่จะใช้ให้บริหารใน Wi-fi city ก็จะลดลง 9 เท่า; วันนี้ ดูจะไม่มีเหตุผลเลยที่เขตเมืองซึ่งไม่มีโทรศัพท์ทางไกลชนบท จะถูกจำกัดกำลังส่งไว้ เหมือนกับตั้งใจจะให้ใช้แต่ภายในอาคาร

E.I.R.P. หมายถึงกำลังส่งของ access point หักการสูญเสียในสายส่ง บวกกำลังขยายของสายอากาศ; เนื่องจากสายอากาศมีกำลังขยาย ดังนั้นเหลือให้กำลังส่งให้ access point ส่งด้วยกำลังนิดเดียว

ผมก็ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ควรจะทำอย่างไร ไม่รู้ว่าจะเป็นกระทรวงไอซีทีจะออกกฏกระทรวงใหม่ หรือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจะทำอะไรได้ เพียงแต่คิดว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้แล้ว น่าจะมีการพิจารณาทำอะไรสักอย่างนะครับ จะได้ไม่ต้องซื้อ access point กันเยอะนัก

มีข้อเสนอเพิ่มเติมสองข้อ คือ

  1. ให้ขยายกำลังส่งเฉพาะเครื่องวิทยุรับส่งที่ทำงานรับส่งข้อมูลดิจิตอลระยะใกล้ในแบบ Spread spectrum หรือ CDMA (เช่น Wi-fi หรือ ZigBee (ที่จริง Bluetooth ด้วย แต่พวกนี้มีกำลังรับส่งต่ำมากอยู่แล้ว)) เรื่องนี้จึงจะไม่รบกวนต่อการใช้ความถี่ ISM band แบบอื่นๆ เช่น Cordless telephone
  2. ให้ใช้เฉพาะในเขตเมือง เขตเทศบาล เพื่อให้แน่ใจว่าไม่รบกวนโทรศัพท์ทางไกลชนบท

เพิ่มเติม (ขอบคุณ @lewcpe ครับ): สำหรับความถี่ 5 GHz ซึ่งใช้กับ Wi-fi 802.11 a/h/j/n กทช.ออก​ “ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การใช้ความถี่วิทยุสำหรับอุปกรณ์สื่อสารระยะสั้น (Short Range Devices) ย่านความถี่วิทยุ 5 GHz” บางช่วง ส่งได้ด้วยกำลัง 1 W ครับ



Main: 0.048367977142334 sec
Sidebar: 0.12726187705994 sec