ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ // ใจมีค่าที่สุด อย่านำไปแลกกับสิ่งใด

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 November 2008 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 6588

พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระอริยสงฆ์ก็ตาม พระอริยบุคคลก็ตาม ท่านเป็นที่ใจ ใจที่เป็นจริง มิใช่คิดเองว่าเป็นพระพุทธธรรมสูงส่งบริสุทธิ์ ต้องเป็นจริงที่จิตใจกิเลสก็ต้องหมดจริงที่จิตใจ หมดระดับไหนก็จะเป็นอริยสงฆ์ หรือพระอริยบุคคล ในระดับนั้น

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ” และใจนั้นหลอกใครอาจหลอกได้ แต่หลอกตัวเองไม่ได้

นอกเสียจากเป็นการหลงเข้าใจผิดจริงๆ และนั่นก็เป็นการเข้าใจผิดจริง ใจเป็นเครื่องรับรองพระพุทธภาษิตที่ว่า

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ” เช่นนั้น ใจหลงผิด ก็ผิดตามอำนาจใจไปหมด จึงควรเห็นค่าของใจตนให้มากที่สุด ถนอมรักษาให้ดีที่สุด ให้เป็นใจที่มีความงดงามที่สุด

ใจที่งดงามที่สุดคือ ใจที่ไกลกิเลสที่สุด ไกลทั้งความโลภ ไกลทั้งความโกรธ ไกลทั้งความหลง ไกลอย่างสิ้นเชิงเด็ดขาดจริง ไม่มีการย้อมกลับเข้าสู่จิตใจได้อีกทั้งโลภะโทสะโมหะ คือทั้งความโลภความโกรธความหลง

อ่านต่อ »


อคติ (อีกครั้งหนึ่ง (อีกครั้งหนึ่ง …))

อ่าน: 3308

อับราฮัม มาสโลว์ปรมาจารย์ทางด้านจิตวิทยา+พฤติกรรมมนุษย์ เคยพูดไว้ว่า “To the man who only has a hammer, everything he encounters begins to look like a nail.” — สำหรับคนที่มีเพียงฆ้อน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาพบเห็นเริ่มดูเหมือนตะปูไปหมด

ความสำเร็จและประสบการณ์ในอดีต สร้างอคติ ซึ่งทำให้ผู้ตัดสินใจมีแนวโน้มที่จะแก้ทุกปัญหา ด้วยวิธีการที่เขาเคยทำสำเร็จมาแล้ว เพราะนั่นคือฆ้อนของเขา

ความสำเร็จในอดีต และประสบการณ์ ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเลย…

แต่แค่ความสำเร็จ บวกกับประสบการณ์ ยังไม่พอ เพราะว่าปัญหาในปัจจุบัน กับปัญหาในอดีต เป็นคนละสถานการณ์กัน มีบริบทที่แตกต่างกัน มีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน…

ดังนั้นด้วยเหตุใด จึงควรจะแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกันเป็นแผ่นเสียงตกร่อง?

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า “The person who reads too much and uses his brain too little will fall into lazy habits of thinking.” — ผู้ที่อ่านมากและใช้สมองน้อย (คือเชื่อในทันที) ก็จะมีนิสัยชอบคิด (แล้วไม่ทำ)


ผู้พิพากษา

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 July 2008 เวลา 20:00 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4123

พระราชดำรัส เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
ในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา นายประมาณ ชันซื่อ นำผู้พิพากษาเข้าเฝ้า ฯ
ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ครั้งแรก
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันจันทร์ ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๖

                ผู้พิพากษาที่จะออกไปรับหน้าที่ครั้งแรก มีประเพณีที่จะต้องเปล่งวาจาเป็นการแสดงสัตย์ปฏิญาณว่าจะปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และด้วยความตั้งใจที่ซื่อตรง. การเปล่งสัตย์ปฏิญาณนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นการยืนยันว่าท่านทั้งหลายจะปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ในหน้าที่ของผู้พิพากษา.

                หน้าที่ที่สำคัญนี้จะต้องมีหลายอย่าง จะต้องมีความรู้วิชาการ จะต้องมีความตั้งใจที่เข้มแข็ง แข็งแรงและมีความซื่อสัตย์สุจริต. ในการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษานี้จะต้องประสบปัญหาหลายอย่าง จะต้องพยายามที่จะขบปัญหาเหล่านั้น ด้วยความตั้งใจและด้วยความรู้ที่ถูกต้อง. เพราะขั้นแรกปัญหาที่เกิดขึ้น เราจะต้องขบด้วยความรู้ในวิชาการ. ถ้าปัญหานั้นเข้าไปในหลักของกฎหมายใด ก็จะต้องทำตามนั้นโดยเคร่งครัด. ที่สำคัญคือตอนไหนที่จะต้องตีความกฎหมาย เพราะว่ากฎหมายอาจเปิดโอกาสให้พิจารณาตามทฤษฎี. ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าดุลยพินิจนี้จะต้องอาศัยหลักกฎหมายหลักวิชาส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งจะต้องอาศัยหลักของความยุติธรรมซึ่งเรียนรู้ยาก. จะต้องฝึกให้เห็นว่าอันไหนที่สมควร อันไหนไม่สมควร และข้อนี้ก็คือที่ได้เปล่งวาจาว่าจะปราศจากอคติ.

อ่านต่อ »



Main: 0.037398099899292 sec
Sidebar: 0.37899589538574 sec