คำว่า “งัก”
“งัก” ก. ตลบแตลง หลอกลวง พูดอย่างทำอย่าง บิดเบือนได้อย่างไม่มีความละอาย; น. ผู้ดีจอมปลอม; ว. อย่างผู้ดีจอมปลอม
คำว่า “งัก” มาจากชื่อ งักปุ๊กคุ้ง ซึ่งเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฮั้วซัว (หัวซาน) แม้เป็นสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะอันมีชื่อเสียงเลื่องลือ แต่งักปุกคุ้งกลับเต็มไปด้วยอัตตา คิดเป็นเจ้ายุทธจักร จึงกระทำการต่างๆ อันไม่มีความละอาย ตลบแตลง ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งคัมภีร์กระบี่ปราบมาร และตนจะได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ
คนที่งัก ขาดกัลยาณมิตรธรรม จึงไม่ใช่มิตรแท้ และขาดสัปปุริสธรรม จึงไม่น่าคบหาอย่างยิ่ง
คนที่งัก มักจะงักแล้ว งักอีก แม้จะสัญญาว่าจะไม่งักอีกต่อไป แต่คำที่สัญญานั่นแหละคือการงัก
เกี่ยวเนื่อง
12 ความคิดเห็น
เป็นการเรียนรู้เพิ่มขึ้นค่ะ ไม่เคยทราบความหมายชองคำว่า”งัก” มาก่อนค่ะ
ปกติก็อ่อนแอภาษาไทยมาตั้งแค่เด็กค่ะ พยายามเขียนและอ่านให้มากขึ้นค่ะ คำไหนที่ไม่ได้เขียนนานๆก็เขียนไม่ถูกค่ะ
สวัสดีคะ
เพิ่งรู้ความหมาย ของคำว่า งัก อิอิ. อ่านไปก็นั่งขำไป เอ….
งักปุ๊กคุ้ง ซึ่งเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฮั้วซัว (หัวซาน) แม้เป็นสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะอันมีชื่อเสียงเลื่องลือ แต่งักปุกคุ้งกลับเต็มไปด้วยอัตตา คิดเป็นเจ้ายุทธจักร จึงกระทำการต่างๆ อันไม่มีความละอาย ตลบแตลง ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งคัมภีร์กระบี่ปราบมาร และตนจะได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ
เพิ่งรู้จักสำนักฮั้วซัว อิอิ ขำๆๆๆ จริงๆไม่มีแอบแฝงใดๆ
ท่านกอด ขึ้นด้วย ง.งู มันแย่ไปหมดเช่น :-
งักเงี่ยหงอกแหงก งุ่มง่ามงงงวย หงอกหงอยโงงเงง งึงงำง่องแง่ง งี่เง้าหง่าวโง่ เงี่ยโงนงึกงัก
เพิ่งทราบจากที่นี่ค่ะ ขอบคุณ
ศัพท์เทคนิคคำนี้คุ้นๆ นะ เหมือนเคยได้ยินที่ไหน ; P
ไม่ว่าพรรคอะไร ออกเสียงอย่างไร ก่อนจะเข้าพรรค ก็ควรพิจารณาให้ถ่องแท้ แล้วค่อยเลือกครับ ชั่วดีปะปนกันอยู่เป็นธรรมชาติ
ขอบพระคุณค่ะ หนิงเพิ่งทราบความหมายนะคะ
เพราะอย่างนี้ คำว่า “แก่งัก” จึงหมายถึง คนที่พูดอย่างทำอย่างเพราะอายุมันมากเลยหลงเลอะเลือน บิดเบือนเรื่องอย่างไม่ละอาย เพราะสมองมันเสื่อมซิเนอะ
ไม่ว่าเราไม่ถูกใจอย่างไร ก็ไม่สามารถเปลี่ยนคนอื่นให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้; ถ้าเขาจะเปลี่ยน เขาเปลี่ยนเองครับ แต่ว่าเมื่อเขาเปลี่ยนแล้ว ใจเรายังติดกับความรู้สึกในอดีต ไม่อยู่กับปัจจุบัน จึงไม่สามารถให้อภัยได้ วนไปวนมา
เป็นเพราะคนเรามีทิฐิ (การเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่) มานะ (การใช้อำนาจของตนเหนือผู้อื่น) และตัณหา (ความอยาก) “ตน” จึงอยู่เหนือ “ผู้อื่น” เสมอ
เรื่องนี้มีบทเรียนครับ: เพราะมีเรา มีเขา จึงวุ่นวาย
บทเรียนที่สอง: เพราะเราต้องการให้เขา(เป็น)เหมือนเรา ไม่เคารพในความแตกต่าง จึงวุ่นวายซ้ำสอง
บทเรียนที่สาม: เพราะสิ่งต่างๆ แตกต่างเป็นธรรมชาติ (จึงเรียกว่า “ต่างๆ”) การกระทำใดที่ฝืนธรรมชาติ จะวุ่นวายเสมอ