เห่อเฮ 10 ไปดูสุสานมูโอต์ที่หลวงพระบาง

295 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 21 กรกฏาคม 2009 เวลา 22:27 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2907

นี่ คือเรื่องราวของ สุสานมูโอต์ และชื่อผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนความสัมพันธ์กับสยามประเทศในยุคนั้น ทำให้ทราบพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยที่นำพาประเทศรอดพ้นการล่า อาณานิคมของฝรั่งเศสไปได้… ได้ความรู้สึกดีดีต่อประเทศชาติ มากมายทีเดียวครับ…

เพราะคำกล่าวของท่านอาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริที่ว่า  ...หลุมศพนี้..ช่างน่า “นอนตาย” และงดงามเสียนี่กระไร….
(ในหนังสือที่ชื่อ The Mekong: From Dza Chu-Lancang-Tonle Thom to Cuu Long) ทำให้ผมต้องหาทางไปดูสถานที่แห่งนี้ เมื่อคราวไปหลวงพระบางครั้งที่สองที่เพิ่งผ่านมา…   

ผมเอ่ยปากถามคนขับรถวันนั้น ก็เป็นชาวหลวงพระบางที่ “ออกรถตู้” มารับจ้างนักท่องเที่ยว น้องคนนี้ชื่อ “ต้น” เขาบอกว่าไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยิน เราไปถามคนขับรถรับจ้างคนอื่นๆแถวนั้น เขาบอกว่าอยู่ริมน้ำคานใกล้บ้านนุ่น ออกไปประมาณ 6 กิโลเมตร ต้น จึงรู้ทางแต่ก็สารภาพว่าไม่รู้เรื่องสุสานนี้จริงๆ ??  สะท้อนหรือเปล่าว่า น้อยคนนักที่จะมาดูสุสานนี้ ? 

ระหว่าง ทางเป็นลูกรังกับฝุ่นตลบ เหมือนวิ่งจากหลวงพระบางไปไชยบุรีไม่ผิด แต่ที่แย่กว่าเพราะต้องเลาะไปตามลำน้ำคานโค้งไปมาคนที่เมารถก็คงไม่ชอบ ส่วนผมเองนั้นชอบที่ได้ดูน้ำคานอันสวยงามเบื้องล่างนั่น ซึ่งน้ำใส สวย เบื้องล่างท้องน้ำเขียวขจี แน่นอนเป็นอะไรไปไม่ได้เลย นั่นคือ ไคน้ำ หรือไกบ้านเรา หรือสาหร่ายน้ำจืด ที่ขึ้นชื่อลือชานักในเรื่องคุณค่าทางอาหาร ผมและเพื่อนๆบอกให้จอดรถและถ่ายรูปแต่ก็ไม่สวยเท่าที่ต้องการเพราะอยู่สูง เกินไป   


วงกลมแดงนั่นคือที่ตั้งของสุสาน มูโอต์ 

พักเดียวเราก็มาถึงสถานที่สุสาน อองรี มูโอต์ (ระยะทางวัดโดย Google เท่ากับ 5.29 กม.)ขอทบทวนประวัติคนนี้สักนิดหนึ่งครับ 

………..ในสมัยที่ลาวและกัมพูชายังเป็นประเทศราชของไทยอยู่ ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ากรุงเทพฯ ในรัชสมัยรัชการที่ 4 มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งเข้ามาสำรวจดินแดนสยาม ลาว กัมพูชา เมื่อปี 2401-2404 นายคนนี้ชื่อ อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) เขาเป็นนักธรรมชาติวิทยาที่ได้รับทุนจากอังกฤษ….   


          เขาสำรวจทั่วดินแดนลุ่มน้ำโขง เขามากรุงเทพฯ จันทบุรี เพชรบุรี สระบุรี  ครั้ง สำคัญคือเลาะลัดจากตราดไปเมืองกัมปอต เดินต่อไปยังอุดง เมืองหลวงกัมพูชาสมัยนั้น แล้วขึ้นตนเลธมจนถึงนครวัด แล้วกลับเข้ากรุงเทพฯ          

            ในปี 2404 เขาเดินทางเข้าสู่ที่ราบสูงโคราช ไปชัยภูมิ เข้าปากลายแล้วขึ้นไปหลวงพระบาง ได้ไปเฝ้าเจ้ามหาชีวิต “จันทราช” และในที่สุดมูโอต์ก็เป็นไข้ป่าและเสียชีวิตที่หลวงพระบาง เมื่อ 29 ตุลาคม 2404 อายุเพียง 35 ปี ศพของเขาฝังที่ริมน้ำคานด้านเหนือหลวงพระบาง          

           บันทึก ของเขาที่น้องชายและภรรยาเขาตีพิมพ์ขึ้นภายหลังนั่นเองทำให้นครวัดนครธมกลาย เป็นสิ่งเลื่องลือถึงความมหัศจรรย์ของโลกตะวันออก และเป็นผลทำให้ฝรั่งเศสสนใจในดินแดนอินโดจีนอย่างมหาศาลจนในที่สุดก็เข้ามา ยึดครองเป็นอาณานิคม           

            การสำรวจแม่น้ำโขงไม่ได้สิ้นสุดที่ มูโอต์เท่านั้น ยังมีอีกชุดหนึ่งคือ ดู ดาร์ต เดอ ลาเกร (Dudart de Lagree) ในปี 2409 วัตถุประสงค์เพื่อเส้นทาง “ประตูหลัง” เข้าสู่เมืองจีน ทีมสำรวจชุดนี้มีนายทหารหนุ่มที่ “คลั่งแม่น้ำโขง” ชื่อ ฟรานซีส การ์นิเยร์ มาด้วย  ชื่อบุคคลเหล่านี้จะปรากฏบนสุสานของมูโอต์ด้วย….    


เส้น ทางเข้าถึงสุสานเหมือนถูกพัฒนามาเมื่อเร็วๆนี้เอง มีสะพานไม้ไผ่ข้ามลำห้วยปูพื้นด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ ทำราวจับและกันตกลงไปในห้วยพอใช้ได้ เส้นทางเดินไปถูกปรับให้เป็นทางชั่วคราวดูสะอาด เข้ากับบรรยากาศดี เบื้องล่างซ้ายมือคือแม่น้ำคาน ใส เขียวขจีด้วยไคเต็มท้องน้ำ ผมละตื่นเต้นที่จะเห็นตัวสุสาน….   


คุณครูสาวพาเด็กๆมาทำความสะอาดสุสานมูโอต์ทุกสัปดาห์ 

เราเดินมาสัก 50 เมตรก็มาถึงสถานที่ เราแปลกใจที่มีเด็กๆอยู่กันเต็ม(ประมาณ 30 คน) ต่างก็กวาดใบไม้ ทำความสะอาดบริเวณสุสานทั้งหมด มีสาวใหญ่สองท่านคุมการทำงานของเด็กๆ  ผม เข้าไปสอบถามทันที เป็นใคร มาทำอะไร มาจากไหน มากับใคร ทำไมถึงมา มาบ่อยไหม….คำตอบคือ เป็นคณะเด็กนักเรียนของโรงเรียนประจำหมู่บ้านนุ่นเหนือขึ้นไปไม่ไกลมากนัก คุณครูสองท่านเป็นคนพามาทุกต้นสัปดาห์ เป็นคำสั่งของท่านเจ้าแขวงหลวงพระบางให้มาทำความสะอาด… 

ผมถามเธอว่าเธอรู้จักประวัติคนที่นอนในสุสานนี้ไหม เธอรู้จักครับ..??   


เธอแสดงความยินดีที่เรามาเที่ยวสุสานแห่งนี้ ที่เธอเด็กนักเรียนและชาวบ้านใกล้ๆแห่งนี้มีส่วนมาดูแล… 

ผม นึกถึงการจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ว่าเขาทำได้ดี ที่เอานักเรียนมาช่วยกันทำความสะอาดบริเวณแห่งนี้และหากครูท่านนี้จะถือ โอกาสบรรยายประวัติศาสตร์นายคนนี้กับหลวงพระบาง กับประเทศลาว ต่อหน้าสุสาน และสถานที่ทางประวัติศาสตร์จริงแห่งนี้ ผมว่ามันน่าเรียนยิ่งนัก…   


เด็ก นักเรียนตั้งใจทำความสะอาดกันเต็มที่อย่างมีความสุข แบ่งกันรับผิดชอบพื้นที่ต่างๆจนทั่วบริเวณ แม้ว่าสถานที่จะยังไม่ได้ลงทุนมากนักในการปรับปรุงภูมิทัศน์ แต่ก็ดีมากสำหรับผมเห็นเช่นนั้น ร่มรื่น แต่ไม่น่านอนตาย อย่างท่านอาจารย์ชาญวิทย์กล่าว อิ..อิ..   


ถ้า ถามถึงความสมบูรณ์ของการให้ความรู้ที่เรียกว่า สังคมแห่งการเรียนรู้นั้น ผมว่า ยังขาดบางอย่างไป ซึ่งสำคัญมากๆ เหมือนกับ หลายๆแห่งในเมืองไทยก็ขาดสิ่งที่ผมจะกล่าวนี้ คือ…. ขาดอะไรสักอย่างที่อธิบายถึงสุสานแห่งนี้ เขาเป็นใคร มาจากไหน มาทำอะไร เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์หลวงพระบางและลาวอย่างไร  ทำไมถึงมาอยู่ในสุสานแห่งนี้..ฯลฯ ไม่มีแผ่นป้ายบรรยายข้อความดังกล่าว  มีผู้รู้ประวัติศาสตร์จากการอ่านหนังสือเท่านั้น  แต่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจริงๆคงจะน่าฟังน่าศึกษามากกว่า แต่ไม่มี.. คนมาดูที่ไม่ทราบประวัติศาสตร์ก็จะไม่สัมผัสพัฒนาการของสังคมแห่งนี้ไป …   


ชื่อ บุคคลและพ.ศ.มันบอกอะไรแก่คนทั่วไปบ้าง หากไม่มีการบรรยายก็ไม่ทราบว่ามันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคนี้ อย่างไร น่าเสียดายที่เมืองมรดกโลกหลวงพระบางไม่ได้ทำสิ่งนี้ไว้ ผมคงมีโอกาสสะท้อนเรื่องนี้ให้เจ้าเมืองบ้างในโอกาสข้างหน้า 

บันทึกผมน่าจะจบลงตรงนี้ แต่หากท่านสังเกตที่ตัวสุสานจะมีชื่อ  ”Pavie” อยู่ด้วย ผมคุ้นๆชื่อนี้จริงๆ อีตาหมอนี่เกี่ยวข้องกับไทยมากมายนัก  

ทำ ให้ผมต้องย้อนไปทบทวนประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อจะทราบประวัติ ซึ่งก็พบว่า คนชาติเดียวกับมูโอต์ คือเป็นฝรั่งเศสที่รัฐบาลเขาส่งมาปกครองญวนซึ่งฝรั่งเศสเอามาเป็นอาณานิคม และPavie ก็คิดขยายอาณานิคมไปทางตะวันตกคือ เขมรลาว ไทย ซึ่งสมัยนั้นลาว เขมรส่วนใหญ่เป็นประเทศราชของไทยในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และที่ 5 ขอนำบางส่วนมาลงไว้ดังนี้  

               ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ ฝรั่งเศสได้ส่งเมอซิเออร์ เดอมองติญี (Monsieur de Montigny) เป็นราชทูตเข้ามาเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้ากับไทย โดยยึดถือแนวทาง การทำสัญญาเช่นเดียวกับอังกฤษ ที่ได้ทำไว้กับไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ ได้เริ่มมีกงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ กงสุลฝรั่งเศสคนแรกคือ คองต์ เดอ คาสเตลโน (Conte de Castenau)  

               ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ไทยได้ส่งพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ไปทำสัญญากับฝรั่งเศสเรื่องเมืองเขมรกับฝรั่งเศสที่กรุงปารีส ตามสัญญาฉบับนี้ไทยยอมรับรู้ว่าเขมรอยู่ใต้ความคุ้มครอง ของฝรั่งเศส ส่วนเมืองพระตะบองและเสียมราฐนั้น ฝรั่งเศสยอมให้ไทยปกครองตามเดิม ต่อมาไทยกับฝรั่งเศสเริ่มแบ่งเขตแดนไทยกับเขมรบริเวณทะเลสาบกับแม่น้ำโขง ฝ่ายไทยต้องการเมืองจงกัล เมืองโซเตียน เมืองมโนไพร และเมืองท่าราชปริวัตรเป็นของไทย 

                    ในปี พ.ศ.๒๔๑๓ ไทยได้ส่งพระยาราชวรากูล (บุญรอด กัลยาณมิตร) ไปเจรจากับฝรั่งเศสที่ไซ่ง่อน เกี่ยวกับปัญหาเขตแดนและการภาษี จับปลาในทะเลสาบ การเจรจาปัญหาเขตแดนไม่คืบหน้านัก เนื่องจากฝรั่งเศสเริ่มทำสงครามกับเยอรมนี  

               ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ไทยยกกำลังไปปราบฮ่อ โดยมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นแม่ทัพ ฝรั่งเศสได้กล่าวหาไทยว่าถือโอกาสรุกล้ำเข้าไปในดินแดนลาว ซึ่งอยู่ในอำนาจของญวน ซึ่งฝรั่งเศสกำลังจัดการปกครอง เมืองญวนอยู่ ต่อมาไทยกับฝรั่งเศสได้ตกลงทำอนุสัญญาเมืองหลวงพระบาง โดยมี ม.ปาวี (Auguste Pavie) เป็นไวซ์กงสุล (Viee Consul) ประจำเมืองหลวงพระบาง เพื่อทำหน้าที่ดูแลความเคลื่อนไหวของไทยในดินแดน ลาว และสำรวจการสร้างทางระหว่างตังเกี๋ยกับแม่น้ำโขง  

                ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ ไทยกับฝรั่งเศสได้เจรจาเรื่องปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับญวน โดยตั้งกรรมการผสม โดยมี ม. ปาวี เป็นหัวหน้าคณะ
ออกทำการสำรวจแผนที่และภูมิประเทศชายแดน และในปีต่อมาไทยกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันว่า กองทหารไทยจะไม่เข้าไปในแคว้นสิบสองจุไทย ส่วนในแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหก และแคว้นพวน คงให้อยู่ใน สถานะเดิมคือ ทหารฝ่ายใดตั้งอยู่ที่ใดก็ให้คงอยู่อย่างนั้น ห้ามรุกล้ำเขตซึ่งกันและกัน จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันที่กรุงเทพ ฯ ส่วนทางด้านคำเกิด คำม่วน กองทหารไทยยกไปตั้งจนถึงเขตแดนญวน ม.ปาวี ก็ได้ทำความตกลงกับ ข้าหลวงเมืองหนองคาย ให้ต่างฝ่ายต่างรักษาสถานะเดิม คือให้ฝ่ายไทยอยู่ที่คำม่วน ฝรั่งเศสอยู่บ้านนาเป  

               ในปี พ.ศ.๒๔๓๒ ม.ปาวี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นไวซ์กงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ และได้เลื่อนฐานะเป็นราชฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๕ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๓๕ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสชื่อ ม.เดอลองดล์ ได้เสนอต่อรัฐสภาฝรั่งเศสให้รัฐบาลฝรั่งเศสใช้กำลังกับไทยในปัญหาดินแดน ซึ่งเคยเป็นของญวนและเขมร รัฐสภาฝรั่งเศสเห็นชอบ และให้รับดำเนินการต่อไป จากนั้นฝรั่งเศสได้ยกกำลังทหารเข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และส่งเรือปืนลูแตงเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการใช้กำลัง ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ใน ร.ศ.๑๑๒  

นี่ คือเรื่องราวของ สุสานมูโอต์ และชื่อผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนความสัมพันธ์กับสยามประเทศในยุคนั้น ทำให้ทราบพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยที่นำพาประเทศรอดพ้นการล่า อาณานิคมของฝรั่งเศสไปได้… 

ได้ความรู้สึกดีดีต่อประเทศชาติ มากมายทีเดียวครับ… 

———————— 

หมายเหตุ: ข้อมูลจาก จดหมายเหตุแดนสยาม oursiam.net 

บันทึกครั้งแรกที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang/161686


เห่อเฮ 10 หลวงพระบางในสมัยรัชกาลที่ 5

562 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 21 กรกฏาคม 2009 เวลา 22:11 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 10427

เพื่อนลานทราบไหมว่า เส้นทาง น่าน-เมืองเงิน-หงสา-หลวงพระบางคือ เส้นทางประวัติศาสตร์ที่รัชการที่ 5 ได้ว่าจ้าง มร.เจมส์ แมคคาร์ธี ให้ทำการสำรวจและทำแผนที่สยามอย่างละเอียดช่วงพ.ศ.นั้นหลวงพระบางเป็นบริเวณดินแดนสยาม อีตาเจมส์ ต่อมาเข้ารับราชการได้ราชทินนามเป็น “พระวิภาคภูวดล” ในตำแหน่ง “เจ้ากรมเซอร์เวทางและทำแผนที่” ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย 

หมายเหตุ: บันทึกนี้เคย post แล้ว เอามาแสดงใหม่เผื่อเพื่อนลานยังไม่ได้ผ่านตาครับ

————–

เมื่อ อังกฤษยึดครองอินเดีย พม่า ได้ก็พยายามทะลวงเข้าสู่จีนแผ่นดินใหญ่ทางประตูหลัง คือการเข้าทางแม่น้ำอิรวดี สาลวินไปยังยูนนาน ฝรั่งเศสมาทีหลังก็เร่งยึดเวียตนามกัมพูชา ลาว และเร่งสำรวจแม่น้ำโขงทันที ดังที่ ดูดาร์ท เดอ ลาเกร นายทหารเรือฝรั่งเศส และเรือโท ฟรานซิส การ์นิเยร์ เป็นผู้บุกเบิกทำหน้าที่สำรวจให้กับรัฐบาลเขา

ก่อน หน้านี้มีชุดสำรวจแล้วสองชุดคือ ของอองรี มูโอต์ที่เล่าให้คราวที่แล้ว ซึ่งมูโอต์ แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวก็จบชีวิตเพราะไข้ป่าที่หลวงพระบางด้วยวัยหนุ่มแน่นเพียง 35 ปีเท่านั้นเอง

มีการสำรวจแม่น้ำโขงชุดที่สองแต่ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เป็นคณะที่รัฐบาลสยามว่าจ้าง หัวหน้าคณะเป็นชาวฮอลันดาชื่อ ดุยส์ฮาต (Duyshart) ผู้ร่วมสำรวจเป็นชนพื้นเมืองทั้งหมดมีถึง 40 คน  ช่วง เวลาที่สำรวจของคณะนี้เป็นช่วงเดียวกันที่คณะของฝรั่งเศสกำลังเดินทางขึ้น แม่น้ำโขง แต่คณะสยามล่องเรือจากภาคเหนือ และทั้งสองคณะได้พบกันช่วงหนึ่งในแม่น้ำโขง งานสำรวจแม่น้ำโขงของดุยส์ฮาร์ตที่รับจ้างสยามไม่ได้รับการตีพิมพ์ แต่เจมส์ แมคคาร์ธี (James Fitzroy McCarthy) ได้ใช้ผลสำรวจของดุยส์ฮาร์ตในการเตรียมทำแผนที่สยามอย่างละเอียด (ดี.จี.ฮอล์ล 2549)


 Mr. James Fitzroy McCarthy หรือพระวิภาคภูวดล

อีตาแมคคาร์ธีนี้ เจ้าเป็นไผหรือครับ  ก็เป็นเจ้าหน้าที่กองแผนที่อังกฤษที่เข้ามาปฏิบัติงานที่ อินเดีย พม่า จนถึงเขตแดนไทย รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นความสำคัญ ในการทำแผนที่ เพราะช่วงนั้นกำลังต่อสู้แย่งชิงดินแดนกันในสมัยพระองค์ท่าน รัฐบาลสยามจึงจ้างนายแมคคาร์ธีเข้ามาเป็นข้าราชการเมื่อปี 2424 อีกสองปีต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระวิภาคภูวดล” ในตำแหน่ง “เจ้ากรมเซอร์เวทางและทำแผนที่” ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย 

20 ปีที่แมคคาร์ธีรับราชการ เขาเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อสำรวจพื้นที่ทำแผนที่ และก็สำเร็จตีพิมพ์ออกมาตามแบบสากลในปี 2440 ในการสำรวจพื้นที่นั้นดำเนินการโดยพระราชโองการรัชกาลที่ 5 มีพระราชโองการหนึ่งสรุปความได้ว่า

“เสนาบดี ผู้ว่าการมณฑลฝ่ายเหนือ ถึงข้าหลวงตรวจการ เจ้าเมืองและข้าราชการผู้น้อยในมณฑลนี้” มีพระบรมราชโองการตรัสสั่งให้พนักงานสำรวจเดินทางไปจนถึงชายแดน และทำการสำรวจในมณฑลต่อไปนี้ นครสวรรค์ พิศณุโลก พิชัย ตาก เชียงใหม่ เถิน นครลำปาง น่าน หลวงพระบาง หนองคาย พวน
นครจำปาศักดิ์
อุบลราชธานี พระตะบอง
นครราชสีมา สกลนคร นครพนม ท่าอุเทน และมณฑลเล็กๆตลอดแนวชายแดนในอำนาจการปกครองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อเจ้าพนักงานสำรวจมาถึงให้ข้าราชการทุกคนช่วยเหลือจัดพาหนะ คนงาน เสบียงให้…

พระวิภาคภูวดลเดินทางไปหลวงพระบางถึงสามครั้งเพื่อสำรวจ “งานสามเหลี่ยม” ซึ่ง คือ กระบวนวิธีการทำแผนที่โดยอ้างอิงหมุดมาตราฐาน กระบวนวิธีนี้เปลี่ยนมาใช้ระบบ GPS ในปัจจุบัน       

   

ซ้าย แผนที่แสดง”งานสามเหลี่ยม”ที่อ้างอิงหมุดมาตราฐานมาจากประเทศอินเดีย ขวา คือแผนที่ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จัดทำด้วยระบบ GPS เมื่อปี 2534 มีหมุดมาตราฐานที่ภูเขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี  

ต่อมากองแผนที่ไทยได้นายดี.เจ.คอลลินส์ (D.J.Collins) เพื่อนแมคคาร์ธี ซึ่งเป็นช่างแผนที่จากอินเดียเข้ามารับราชการไทย พระวิภาคภูวดลได้ยกกองออกเดินทางสำรวจพื้นที่มีนายคอลลินส์  และหน่วยทหารคุ้มกันซึ่งมีนายเรือโทรอสมุสเซน (Rosmussen) เป็นผู้บังคับบัญชาทหารเรือ ๓๐ คน เดินทางทางเรือผ่านชัยนาท นครสวรรค์ไปถึงอุตรดิตถ์แล้วเดินทางทางบกถึงน่าน 

          จาก น่านไปหลวงพระบาง ได้แยกกองออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งนำโดยนายคอลลินส์ และนายเรือโท รอสมุสเซน ไปทางบก อีกกลุ่มหนึ่งนำโดยพระวิภาคภูวดล ไปทางท่านุ่น  แล้วเดินทางทางน้ำไปบรรจบกันที่หลวงพระบาง

          กลุ่มพระวิภาคภูวดลได้ผ่านเมืองจุก (เอกสารที่คัดลอกมากล่าวว่าเมืองจุกคือเมืองหาสาวดี ผู้บันทึกคิดว่าน่าจะเป็นเมือง “หงสา” ในปัจจุบันมากกว่า) มีทุ่งพื้นราบยาวประมาณ ๖x๑๐ ไมล์ล้อมรอบด้วยภูเขา มีภูเขาไฟ ๒ ลูก โผล่ให้เห็น ชื่อ ภูไฟใหญ่ และภูไฟน้อย พระวิภาคภูวดลได้แวะไปดูภูไฟใหญ่ มีทางขึ้นไปถึงปากปล่องภูเขาไฟ ทรงวงรี ขนาด ๑๐๐x๕๐ หลา ปากปล่องภูเขาไฟข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้างหนึ่งประมาณ ๕๐ ฟุต เมื่อเอาเศษไม้แห้งใส่เข้าไปตามรอยแตกร้าวไม่ช้าได้ยินเสียงเหมือนไฟคุขึ้น มีควันออกมา และต่อมาเห็นไฟไหม้ขึ้นมาที่เศษไม้นั้น แต่ ที่รอยแตกร้าวอื่นจะเห็นมีแต่ควันขึ้นมา 

          เมื่อ เดินทางต่อไปถึงท่านุ่น ริมแม่น้ำโขงกลุ่มของพระวิภาคภูวดลได้เดินทางทางน้ำไปพบกันกับอีกกลุ่มหนึ่ง ที่หลวงพระบาง กองแผนที่ได้เดินทางต่อไปยังทุ่งเชียงคำซึ่งเป็นที่ตั้งกองทหารไทย กำลังทำการปราบพวกก่อการร้ายฮ่อ เมื่อเสร็จธุรกิจกับข้าหลวงที่กำลังทำการปราบฮ่อ  ได้ยกกองทำแผนที่ไปที่หลวงพระบาง และทำการบุกเบิกสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศบริเวณเหนือของแม่น้ำโขง และตะวันออกของหลวงพระบาง  เมื่อเสร็จก็ยกกองกลับกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗          
         

          พระวิภาคภูวดลได้ขึ้นไปภาคเหนืออีกสองครั้ง  เพื่อทำแผนที่ให้แก่กองทัพโดยไปที่เมืองเทิง อยู่ทางเหนือของหลวงพระบาง  และ เวลานั้นเป็นที่ตั้งกองทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี และได้กลับกรุงเทพฯ ปลาย พ.ศ. ๒๔๒๙ ครั้งที่สองที่พระวิภาคภูวดลเดินทางหลวงพระบางนั้นท่านเดินทางไปเชียงใหม่-เชียงราย แล้วนั่งเรือลงแม่น้ำโขงล่องไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง   

          การตายของมูโอต์ที่หลวงพระบางนั้น พระวิภาคภูวดล ได้บันทึกไว้เช่นกันว่า ”ทางทิศตะวันออกมีเขาชื่อ ภูสวง(Pu Suang) เป็นที่ที่ มูโอต์(Mouhot) นัก วิทยาศาสตร์ผู้ท่องเที่ยวมาสิ้นชีวิต…ชาวลาวเชื่อกันว่าเขาตายเพราะผีทำ เนื่องจากบนยอดเขานั้นมีขุมทรัพย์ ซึ่งมังกรเฝ้าอยู่….ผู้ที่พยายามไต่เขาจะต้องตายทุกคนไป มูโอติ์ ได้พยายามแล้วก็จับไข้และตาย…”

          เมื่อกราบถวายบังคมลารัชกาลที่ 5 เพื่อกลับบ้านเกิดเมืองแล้วได้เขียนหนังสือเผยแพร่ 2 เล่ม คือ Report of Survey in Siam และ Surveying and Exploring in Siam ท่านที่สนใจสามารถหาอ่านได้นะครับ ดีมากเลยครับ เส้นทางที่พระวิภาคภูวดลลงเรือสำรวจแม่น้ำโขงในสมัยนู้นนั้น

ในกลางเดือนนี้ ผู้บันทึกก็จะลงเรือไปสำรวจแม่น้ำโขงด้วยเหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ต่างกันครับ….

ข้อสังเกต: คณะสำรวจที่สยามจ้างไปนั้นไม่มีการวาดรูปกลับมาเหมือนคณะของทีมสำรวจ ฝรั่งเศสเลย คณะของฝรั่งเศสจะมีหมอ นักธรณีวิทยา นักธรรมชาติวิทยา ช่างวาดภาพ ถ่ายภาพ ทหารคุ้มกัน ชาวบ้านผู้ชำนาญทาง… 

แหล่งข้อมูล:
Report of Survey in Siam และ Surveying and Exploring in Siam

Post ครั้งแรกที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang/157989


เห่อเฮ 10 หลวงพระบาง และอองรี มูโอต์

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 21 กรกฏาคม 2009 เวลา 21:46 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1458

หมายเหตุ: ผมหยิบเอาเรื่องราวหลวงพระบางเก่าที่ผมเคยpost มาแล้วเอามาลงใหม่อีกครั้ง เผื่อเรียกน้ำย่อยเฮสิบครับ เหมือนเรียนประวัติศาสตร์ก่อนไปครับ

—————-

หลาย ครั้งผมเห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอ่านหนังสือท่องเที่ยว สถานที่นั้นๆก่อนไปเที่ยว บางคนก็เดินอ่านไปดูสถานที่นั้นๆไป เราก็ชมว่าเขาเที่ยวแบบศึกษาจริงๆ  แต่บ้านเรามีท่องเที่ยวแบบฉิ่งฉับทัวร์ กินเหล้าเมากันตั้งแต่บนรถแล้ว  พอลงรถได้ก็หิ้วขวดเหล้าลงไปด้วย เมื่อกินหมดขวดก็ปาเข้าป่าแถวนั้น ร้ายไปกว่านั้นก็ทุบให้แตกเล่น ..มีไรป่าวเพ่…  เดินไปหน่อยก็เอากล้องมาถ่ายรูปกันแล้วก็เดินกลับไปร้องเพลงลั่นรถอีก  สนุกซะไม่เมี๊ยะ.. ร้ายไปกว่านั้นก็จารึกอักษรลงบนแหล่งเที่ยวนั้นด้วย

แต่ที่ผมได้ยินมาว่า “นิ่งเป็นหลับ ขยับเป็นกิน ปล่อยเป็นหลง ลงเป็นซื้อ” นี่ก็อีกฉายาหนึ่งของนักเที่ยวไทย..อิอิ…

ผม ก็เลยเอาข้อมูลอีกส่วนหนึ่งมาให้เพื่อนๆได้ผ่านหูผ่านตากัน เห็นหลายๆคนเคยไป กำลังจะไป และฝันจะไปเมืองหลวงพระบางกันครับ ข้อมูลต่อไปนี้เป็นประวัติศาสตร์ครับที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง หลวงพระบางและเมืองไทยของเรา และ….


รัชการที่ 4 กับอองรีและหลุมศพเขาที่หลวงพระบาง

ในสมัยที่ลาวและกัมพูชายังเป็นประเทศราชของไทยอยู่ ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ากรุงเทพฯ ในรัชสมัยรัชการที่ 4 มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งเข้ามาสำรวจดินแดนสยาม ลาว กัมพูชา เมื่อปี 2401-2404 นายคนนี้ชื่อ อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) เขาเป็นนักธรรมชาติวิทยาที่ได้รับทุนจากอังกฤษ นายคนนี้ถูกขนานนามว่าเป็นผู้ค้นพบ นครวัด และเป็นเจ้าของวลีโด่งดังที่ว่า see Ankor and die

เขาสำรวจทั่วดินแดนลุ่มน้ำโขง  เขามากรุงเทพฯ จันทบุรี เพชรบุรี สระบุรี  ว่า กันว่าการเดินทางครั้งสำคัญคือเลาะลัดจากตราดไปเมืองกัมปอต เดินต่อไปยังอุดง เมืองหลวงกัมพูชาสมัยนั้น แล้วขึ้นตนเลธมจนถึงนครวัด แล้วกลับเข้ากรุงเทพฯ

ในปี 2404 เขาเดินทางเข้าสู่ที่ราบสูงโคราช ไปชัยภูมิ เข้าปากลายแล้วขึ้นไปหลวงพระบาง ได้ไปเฝ้าเจ้ามหาชีวิต “จันทราช” และในที่สุดมูโอต์ก็เป็นไข้ป่าและเสียชีวิตที่หลวงพระบาง เมื่อ 29 ตุลาคม 2404 อายุเพียง 35 ปี ศพของเขาฝังที่ริมน้ำคานไหลลงแม่น้ำโขงที่เหนือวัดเชียงทอง

บันทึกของมูโอต์ถูกส่งกลับไปอังกฤษให้น้องชายเขา ภริยาเขาตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสหลายครั้งหลายหน

ความ สำเร็จในการสำรวจครั้งนั้นและบันทึกเขาตีพิมพ์นั่นเองทำให้นครวัดนครธมกลาย เป็นสิ่งเลื่องลือถึงความมหัศจรรย์ของโลกตะวันออก และเป็นผลทำให้ฝรั่งเศสสนใจในดินแดนอินโดจีนอย่างมหาศาลจนในที่สุดก็เข้ามา ยึดครองเป็นอาณานิคม


การสำรวจแม่น้ำโขงไม่ได้สิ้นสุดที่ มูโอต์เท่านั้น ยังมีอีกชุดหนึ่งคือ ดู ดาร์ต เดอ ลาเกร (Dudart de Lagree) ในปี 2409 วัตถุประสงค์เพื่อเส้นทาง “ประตูหลัง” เข้าสู่เมืองจีน ลาเกรเป็นผู้แทนของฝรั่งเศสในเวียตนามใต้คุ้นเคยดินแดนแถบนี้ดี ทีมสำรวจชุดนี้มีนายทหารหนุ่มที่ “คลั่งแม่โขง”  ชื่อ ฟรานซีส การ์นิเยร์ มีแพทย์ทหารเรือสองคน มีนักพฤกษศาสตร์นักธรณีวิทยา และช่างภาพ


ความยากลำบากของคณะสำรวจเพราะเกาะแก่งมากมาย

คณะเดินทางชุดนี้ออกจากไซ่ง่อนตามลำน้ำโขงและนครวัด และเสียเวลาเพื่อขอใบอนุญาตผ่านแดนสยาม (ซึ่งเวลานั้นสยามมีอธิปไตยเหนือมณฑลบูรพา หรือมณฑลเขมรในรัชสมัยรัชการที่ 5 ) คณะสำรวจผ่านเวียงจัน ฝรั่งเศสบันทึกช่วงนี้ว่า เวียงจันยังเป็นเมืองร้าง มีป่าไม้ปกคลุมหนาทึบ นี่คือผลจากสงครามเสียกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจัน เมื่อปี 2371 ในสมัยสงครามกู้กรุงของ “เจ้าอนุวงศ์” ที่พ่ายแพ้ต่อกองทัพรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 3 และ “ท้าวสุรนารี”


ภาพบน เป็นภาพคอนพะเพ็งฝีมือวาดโดยนักสำรวจ

ชุดสำรวจนี้ถึงหลวงพระบางและได้เข้าเฝ้าเจ้ามหาชีวิต “จันทราช” เช่นเดียวกันกับ มูโอต์ แล้ว เดอ ลาเกร เดินทางขึ้นแม่น้ำโขงต่อไปอีก เมื่อเข้าเขตเมืองจีนเขาก็เสียชีวิต  การ์นิเยร์ เดินทางต่อจนถึงเมืองต้าลี่ (น่านเจ้า) แล้วก็ตัดสินใจสิ้นสุดการสำรวจที่นั่น สรุปเขาใช้เวลา 2 ปี และรู้ว่าแม่น้ำโขงไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางเข้าประตูหลังเมืองจีนได้ เพราะเกาะแก่งมากมายนั่นเอง ฝรั่งเศสตัดสินใจเลิกล้มที่จะใช้แม่น้ำโขงเข้าสู่จีน เช่นเดียวกับที่อังกฤษก็เลิกล้มใช้แม่น้ำอิรวดีและสาละวินเข้าเมืองจีน


ภาพพิมพ์เมืองหลวงพระบางและวัดพูสี ภาพล่างเป็นเรือยาวลงจากพระราชวังหลวงพระบาง(ตีพิมพ์ปี 2416)

ฝรั่ง เขาคิดอะไรกับดินแดนแถบนี้เล่า หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ เราก็จะเข้าใจสถานที่นั่นๆมากขึ้นถึงวัฒนธรรมประเพณี ศิลปะ อาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ…เราจะเข้าใจจิตใจเขาที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์เหมือนเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์เสียกรุงให้พม่า…

หาก ท่านไปหลวงพระบางก็อย่าลืมไปเยี่ยมดูหลุมศพ มูโอต์ที่ริมน้ำคานเหนือวัดเชียงทองนะครับ ท่านอาจารย์ชาญวิทย์กล่าวว่า …หลุมศพนี้..ช่างน่า “นอนตาย” และงดงามเสียนี่กระไร….

———-

ข้อมูล: The Mekong: From Dza Chu-Lancang-Tonle Thom to Cuu Long บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อัครพงษ์ ค่ำคูณ

ข้อมูลนี้เดิมอยู่ที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang/157488


แมลงสาบ..

41 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 21 กรกฏาคม 2009 เวลา 21:09 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3902

วันก่อนพบ ผอ.สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคอีสาน(จำชื่อใหม่ของสำนักงานนี้ไม่ได้แล้ว) ไปออกกำลังกายด้วยกัน ท่านกล่าวว่า

พี่..ปีนี้เตือนเกษตรกรหน่อยนะเพราะเมื่อต้นปีการเพาะปลูกข้าวฝนดี มาช่วงนี้ฝนเริ่มจะทิ้งช่วง หรือตกก็ไม่ได้น้ำ แถมอากาศร้อนอบอ้าว ธรรมชาติแบบนี้แมลงศัตรูพืชจะเจริญเติบโตเร็วมาก และจะเข้าทำลายพืชผักของเกษตรกร โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่ลงทุนสูงให้หมั่นตรวจตรา หากพบมากผิดปกติ ให้รีบรายงานให้เกษตรอำเภอทราบ จะได้รีบแก้ไขแต่ต้นมือ….


เมื่อคืน คนข้างกายลงไปชั้นล่าง เมื่อขึ้นมาจะเข้าประตูก็เอะอะ เสียงดังอยู่ที่ประตู

ออกไปดูพบว่า มีแมลงสาบนับสิบตัว บินชนมุ้งลวดหน้าต่าง พยายามจะเข้ามาในห้อง.. เป็นปรากฏการณ์ที่เราไม่เคยพบมาก่อน…



Main: 0.074903011322021 sec
Sidebar: 0.047209978103638 sec