เห่อเฮ 10 หลวงพระบางในสมัยรัชกาลที่ 5

โดย bangsai เมื่อ 21 กรกฏาคม 2009 เวลา 22:11 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 10425

เพื่อนลานทราบไหมว่า เส้นทาง น่าน-เมืองเงิน-หงสา-หลวงพระบางคือ เส้นทางประวัติศาสตร์ที่รัชการที่ 5 ได้ว่าจ้าง มร.เจมส์ แมคคาร์ธี ให้ทำการสำรวจและทำแผนที่สยามอย่างละเอียดช่วงพ.ศ.นั้นหลวงพระบางเป็นบริเวณดินแดนสยาม อีตาเจมส์ ต่อมาเข้ารับราชการได้ราชทินนามเป็น “พระวิภาคภูวดล” ในตำแหน่ง “เจ้ากรมเซอร์เวทางและทำแผนที่” ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย 

หมายเหตุ: บันทึกนี้เคย post แล้ว เอามาแสดงใหม่เผื่อเพื่อนลานยังไม่ได้ผ่านตาครับ

————–

เมื่อ อังกฤษยึดครองอินเดีย พม่า ได้ก็พยายามทะลวงเข้าสู่จีนแผ่นดินใหญ่ทางประตูหลัง คือการเข้าทางแม่น้ำอิรวดี สาลวินไปยังยูนนาน ฝรั่งเศสมาทีหลังก็เร่งยึดเวียตนามกัมพูชา ลาว และเร่งสำรวจแม่น้ำโขงทันที ดังที่ ดูดาร์ท เดอ ลาเกร นายทหารเรือฝรั่งเศส และเรือโท ฟรานซิส การ์นิเยร์ เป็นผู้บุกเบิกทำหน้าที่สำรวจให้กับรัฐบาลเขา

ก่อน หน้านี้มีชุดสำรวจแล้วสองชุดคือ ของอองรี มูโอต์ที่เล่าให้คราวที่แล้ว ซึ่งมูโอต์ แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวก็จบชีวิตเพราะไข้ป่าที่หลวงพระบางด้วยวัยหนุ่มแน่นเพียง 35 ปีเท่านั้นเอง

มีการสำรวจแม่น้ำโขงชุดที่สองแต่ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เป็นคณะที่รัฐบาลสยามว่าจ้าง หัวหน้าคณะเป็นชาวฮอลันดาชื่อ ดุยส์ฮาต (Duyshart) ผู้ร่วมสำรวจเป็นชนพื้นเมืองทั้งหมดมีถึง 40 คน  ช่วง เวลาที่สำรวจของคณะนี้เป็นช่วงเดียวกันที่คณะของฝรั่งเศสกำลังเดินทางขึ้น แม่น้ำโขง แต่คณะสยามล่องเรือจากภาคเหนือ และทั้งสองคณะได้พบกันช่วงหนึ่งในแม่น้ำโขง งานสำรวจแม่น้ำโขงของดุยส์ฮาร์ตที่รับจ้างสยามไม่ได้รับการตีพิมพ์ แต่เจมส์ แมคคาร์ธี (James Fitzroy McCarthy) ได้ใช้ผลสำรวจของดุยส์ฮาร์ตในการเตรียมทำแผนที่สยามอย่างละเอียด (ดี.จี.ฮอล์ล 2549)


 Mr. James Fitzroy McCarthy หรือพระวิภาคภูวดล

อีตาแมคคาร์ธีนี้ เจ้าเป็นไผหรือครับ  ก็เป็นเจ้าหน้าที่กองแผนที่อังกฤษที่เข้ามาปฏิบัติงานที่ อินเดีย พม่า จนถึงเขตแดนไทย รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นความสำคัญ ในการทำแผนที่ เพราะช่วงนั้นกำลังต่อสู้แย่งชิงดินแดนกันในสมัยพระองค์ท่าน รัฐบาลสยามจึงจ้างนายแมคคาร์ธีเข้ามาเป็นข้าราชการเมื่อปี 2424 อีกสองปีต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระวิภาคภูวดล” ในตำแหน่ง “เจ้ากรมเซอร์เวทางและทำแผนที่” ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย 

20 ปีที่แมคคาร์ธีรับราชการ เขาเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อสำรวจพื้นที่ทำแผนที่ และก็สำเร็จตีพิมพ์ออกมาตามแบบสากลในปี 2440 ในการสำรวจพื้นที่นั้นดำเนินการโดยพระราชโองการรัชกาลที่ 5 มีพระราชโองการหนึ่งสรุปความได้ว่า

“เสนาบดี ผู้ว่าการมณฑลฝ่ายเหนือ ถึงข้าหลวงตรวจการ เจ้าเมืองและข้าราชการผู้น้อยในมณฑลนี้” มีพระบรมราชโองการตรัสสั่งให้พนักงานสำรวจเดินทางไปจนถึงชายแดน และทำการสำรวจในมณฑลต่อไปนี้ นครสวรรค์ พิศณุโลก พิชัย ตาก เชียงใหม่ เถิน นครลำปาง น่าน หลวงพระบาง หนองคาย พวน
นครจำปาศักดิ์
อุบลราชธานี พระตะบอง
นครราชสีมา สกลนคร นครพนม ท่าอุเทน และมณฑลเล็กๆตลอดแนวชายแดนในอำนาจการปกครองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อเจ้าพนักงานสำรวจมาถึงให้ข้าราชการทุกคนช่วยเหลือจัดพาหนะ คนงาน เสบียงให้…

พระวิภาคภูวดลเดินทางไปหลวงพระบางถึงสามครั้งเพื่อสำรวจ “งานสามเหลี่ยม” ซึ่ง คือ กระบวนวิธีการทำแผนที่โดยอ้างอิงหมุดมาตราฐาน กระบวนวิธีนี้เปลี่ยนมาใช้ระบบ GPS ในปัจจุบัน       

   

ซ้าย แผนที่แสดง”งานสามเหลี่ยม”ที่อ้างอิงหมุดมาตราฐานมาจากประเทศอินเดีย ขวา คือแผนที่ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จัดทำด้วยระบบ GPS เมื่อปี 2534 มีหมุดมาตราฐานที่ภูเขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี  

ต่อมากองแผนที่ไทยได้นายดี.เจ.คอลลินส์ (D.J.Collins) เพื่อนแมคคาร์ธี ซึ่งเป็นช่างแผนที่จากอินเดียเข้ามารับราชการไทย พระวิภาคภูวดลได้ยกกองออกเดินทางสำรวจพื้นที่มีนายคอลลินส์  และหน่วยทหารคุ้มกันซึ่งมีนายเรือโทรอสมุสเซน (Rosmussen) เป็นผู้บังคับบัญชาทหารเรือ ๓๐ คน เดินทางทางเรือผ่านชัยนาท นครสวรรค์ไปถึงอุตรดิตถ์แล้วเดินทางทางบกถึงน่าน 

          จาก น่านไปหลวงพระบาง ได้แยกกองออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งนำโดยนายคอลลินส์ และนายเรือโท รอสมุสเซน ไปทางบก อีกกลุ่มหนึ่งนำโดยพระวิภาคภูวดล ไปทางท่านุ่น  แล้วเดินทางทางน้ำไปบรรจบกันที่หลวงพระบาง

          กลุ่มพระวิภาคภูวดลได้ผ่านเมืองจุก (เอกสารที่คัดลอกมากล่าวว่าเมืองจุกคือเมืองหาสาวดี ผู้บันทึกคิดว่าน่าจะเป็นเมือง “หงสา” ในปัจจุบันมากกว่า) มีทุ่งพื้นราบยาวประมาณ ๖x๑๐ ไมล์ล้อมรอบด้วยภูเขา มีภูเขาไฟ ๒ ลูก โผล่ให้เห็น ชื่อ ภูไฟใหญ่ และภูไฟน้อย พระวิภาคภูวดลได้แวะไปดูภูไฟใหญ่ มีทางขึ้นไปถึงปากปล่องภูเขาไฟ ทรงวงรี ขนาด ๑๐๐x๕๐ หลา ปากปล่องภูเขาไฟข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้างหนึ่งประมาณ ๕๐ ฟุต เมื่อเอาเศษไม้แห้งใส่เข้าไปตามรอยแตกร้าวไม่ช้าได้ยินเสียงเหมือนไฟคุขึ้น มีควันออกมา และต่อมาเห็นไฟไหม้ขึ้นมาที่เศษไม้นั้น แต่ ที่รอยแตกร้าวอื่นจะเห็นมีแต่ควันขึ้นมา 

          เมื่อ เดินทางต่อไปถึงท่านุ่น ริมแม่น้ำโขงกลุ่มของพระวิภาคภูวดลได้เดินทางทางน้ำไปพบกันกับอีกกลุ่มหนึ่ง ที่หลวงพระบาง กองแผนที่ได้เดินทางต่อไปยังทุ่งเชียงคำซึ่งเป็นที่ตั้งกองทหารไทย กำลังทำการปราบพวกก่อการร้ายฮ่อ เมื่อเสร็จธุรกิจกับข้าหลวงที่กำลังทำการปราบฮ่อ  ได้ยกกองทำแผนที่ไปที่หลวงพระบาง และทำการบุกเบิกสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศบริเวณเหนือของแม่น้ำโขง และตะวันออกของหลวงพระบาง  เมื่อเสร็จก็ยกกองกลับกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗          
         

          พระวิภาคภูวดลได้ขึ้นไปภาคเหนืออีกสองครั้ง  เพื่อทำแผนที่ให้แก่กองทัพโดยไปที่เมืองเทิง อยู่ทางเหนือของหลวงพระบาง  และ เวลานั้นเป็นที่ตั้งกองทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี และได้กลับกรุงเทพฯ ปลาย พ.ศ. ๒๔๒๙ ครั้งที่สองที่พระวิภาคภูวดลเดินทางหลวงพระบางนั้นท่านเดินทางไปเชียงใหม่-เชียงราย แล้วนั่งเรือลงแม่น้ำโขงล่องไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง   

          การตายของมูโอต์ที่หลวงพระบางนั้น พระวิภาคภูวดล ได้บันทึกไว้เช่นกันว่า ”ทางทิศตะวันออกมีเขาชื่อ ภูสวง(Pu Suang) เป็นที่ที่ มูโอต์(Mouhot) นัก วิทยาศาสตร์ผู้ท่องเที่ยวมาสิ้นชีวิต…ชาวลาวเชื่อกันว่าเขาตายเพราะผีทำ เนื่องจากบนยอดเขานั้นมีขุมทรัพย์ ซึ่งมังกรเฝ้าอยู่….ผู้ที่พยายามไต่เขาจะต้องตายทุกคนไป มูโอติ์ ได้พยายามแล้วก็จับไข้และตาย…”

          เมื่อกราบถวายบังคมลารัชกาลที่ 5 เพื่อกลับบ้านเกิดเมืองแล้วได้เขียนหนังสือเผยแพร่ 2 เล่ม คือ Report of Survey in Siam และ Surveying and Exploring in Siam ท่านที่สนใจสามารถหาอ่านได้นะครับ ดีมากเลยครับ เส้นทางที่พระวิภาคภูวดลลงเรือสำรวจแม่น้ำโขงในสมัยนู้นนั้น

ในกลางเดือนนี้ ผู้บันทึกก็จะลงเรือไปสำรวจแม่น้ำโขงด้วยเหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ต่างกันครับ….

ข้อสังเกต: คณะสำรวจที่สยามจ้างไปนั้นไม่มีการวาดรูปกลับมาเหมือนคณะของทีมสำรวจ ฝรั่งเศสเลย คณะของฝรั่งเศสจะมีหมอ นักธรณีวิทยา นักธรรมชาติวิทยา ช่างวาดภาพ ถ่ายภาพ ทหารคุ้มกัน ชาวบ้านผู้ชำนาญทาง… 

แหล่งข้อมูล:
Report of Survey in Siam และ Surveying and Exploring in Siam

Post ครั้งแรกที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang/157989

« « Prev : เห่อเฮ 10 หลวงพระบาง และอองรี มูโอต์

Next : เห่อเฮ 10 ไปดูสุสานมูโอต์ที่หลวงพระบาง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

562 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 8.5526220798492 sec
Sidebar: 0.085651874542236 sec