เห่อเฮ 10 หลวงพระบาง และอองรี มูโอต์
หมายเหตุ: ผมหยิบเอาเรื่องราวหลวงพระบางเก่าที่ผมเคยpost มาแล้วเอามาลงใหม่อีกครั้ง เผื่อเรียกน้ำย่อยเฮสิบครับ เหมือนเรียนประวัติศาสตร์ก่อนไปครับ
—————-
หลาย ครั้งผมเห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอ่านหนังสือท่องเที่ยว สถานที่นั้นๆก่อนไปเที่ยว บางคนก็เดินอ่านไปดูสถานที่นั้นๆไป เราก็ชมว่าเขาเที่ยวแบบศึกษาจริงๆ แต่บ้านเรามีท่องเที่ยวแบบฉิ่งฉับทัวร์ กินเหล้าเมากันตั้งแต่บนรถแล้ว พอลงรถได้ก็หิ้วขวดเหล้าลงไปด้วย เมื่อกินหมดขวดก็ปาเข้าป่าแถวนั้น ร้ายไปกว่านั้นก็ทุบให้แตกเล่น ..มีไรป่าวเพ่… เดินไปหน่อยก็เอากล้องมาถ่ายรูปกันแล้วก็เดินกลับไปร้องเพลงลั่นรถอีก สนุกซะไม่เมี๊ยะ.. ร้ายไปกว่านั้นก็จารึกอักษรลงบนแหล่งเที่ยวนั้นด้วย
แต่ที่ผมได้ยินมาว่า “นิ่งเป็นหลับ ขยับเป็นกิน ปล่อยเป็นหลง ลงเป็นซื้อ” นี่ก็อีกฉายาหนึ่งของนักเที่ยวไทย..อิอิ…
ผม ก็เลยเอาข้อมูลอีกส่วนหนึ่งมาให้เพื่อนๆได้ผ่านหูผ่านตากัน เห็นหลายๆคนเคยไป กำลังจะไป และฝันจะไปเมืองหลวงพระบางกันครับ ข้อมูลต่อไปนี้เป็นประวัติศาสตร์ครับที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง หลวงพระบางและเมืองไทยของเรา และ….
รัชการที่ 4 กับอองรีและหลุมศพเขาที่หลวงพระบาง
ในสมัยที่ลาวและกัมพูชายังเป็นประเทศราชของไทยอยู่ ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ากรุงเทพฯ ในรัชสมัยรัชการที่ 4 มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งเข้ามาสำรวจดินแดนสยาม ลาว กัมพูชา เมื่อปี 2401-2404 นายคนนี้ชื่อ อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) เขาเป็นนักธรรมชาติวิทยาที่ได้รับทุนจากอังกฤษ นายคนนี้ถูกขนานนามว่าเป็นผู้ค้นพบ นครวัด และเป็นเจ้าของวลีโด่งดังที่ว่า see Ankor and die
เขาสำรวจทั่วดินแดนลุ่มน้ำโขง เขามากรุงเทพฯ จันทบุรี เพชรบุรี สระบุรี ว่า กันว่าการเดินทางครั้งสำคัญคือเลาะลัดจากตราดไปเมืองกัมปอต เดินต่อไปยังอุดง เมืองหลวงกัมพูชาสมัยนั้น แล้วขึ้นตนเลธมจนถึงนครวัด แล้วกลับเข้ากรุงเทพฯ
ในปี 2404 เขาเดินทางเข้าสู่ที่ราบสูงโคราช ไปชัยภูมิ เข้าปากลายแล้วขึ้นไปหลวงพระบาง ได้ไปเฝ้าเจ้ามหาชีวิต “จันทราช” และในที่สุดมูโอต์ก็เป็นไข้ป่าและเสียชีวิตที่หลวงพระบาง เมื่อ 29 ตุลาคม 2404 อายุเพียง 35 ปี ศพของเขาฝังที่ริมน้ำคานไหลลงแม่น้ำโขงที่เหนือวัดเชียงทอง
บันทึกของมูโอต์ถูกส่งกลับไปอังกฤษให้น้องชายเขา ภริยาเขาตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสหลายครั้งหลายหน
ความ สำเร็จในการสำรวจครั้งนั้นและบันทึกเขาตีพิมพ์นั่นเองทำให้นครวัดนครธมกลาย เป็นสิ่งเลื่องลือถึงความมหัศจรรย์ของโลกตะวันออก และเป็นผลทำให้ฝรั่งเศสสนใจในดินแดนอินโดจีนอย่างมหาศาลจนในที่สุดก็เข้ามา ยึดครองเป็นอาณานิคม
การสำรวจแม่น้ำโขงไม่ได้สิ้นสุดที่ มูโอต์เท่านั้น ยังมีอีกชุดหนึ่งคือ ดู ดาร์ต เดอ ลาเกร (Dudart de Lagree) ในปี 2409 วัตถุประสงค์เพื่อเส้นทาง “ประตูหลัง” เข้าสู่เมืองจีน ลาเกรเป็นผู้แทนของฝรั่งเศสในเวียตนามใต้คุ้นเคยดินแดนแถบนี้ดี ทีมสำรวจชุดนี้มีนายทหารหนุ่มที่ “คลั่งแม่โขง” ชื่อ ฟรานซีส การ์นิเยร์ มีแพทย์ทหารเรือสองคน มีนักพฤกษศาสตร์นักธรณีวิทยา และช่างภาพ
ความยากลำบากของคณะสำรวจเพราะเกาะแก่งมากมาย
คณะเดินทางชุดนี้ออกจากไซ่ง่อนตามลำน้ำโขงและนครวัด และเสียเวลาเพื่อขอใบอนุญาตผ่านแดนสยาม (ซึ่งเวลานั้นสยามมีอธิปไตยเหนือมณฑลบูรพา หรือมณฑลเขมรในรัชสมัยรัชการที่ 5 ) คณะสำรวจผ่านเวียงจัน ฝรั่งเศสบันทึกช่วงนี้ว่า เวียงจันยังเป็นเมืองร้าง มีป่าไม้ปกคลุมหนาทึบ นี่คือผลจากสงครามเสียกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจัน เมื่อปี 2371 ในสมัยสงครามกู้กรุงของ “เจ้าอนุวงศ์” ที่พ่ายแพ้ต่อกองทัพรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 3 และ “ท้าวสุรนารี”
ภาพบน เป็นภาพคอนพะเพ็งฝีมือวาดโดยนักสำรวจ
ชุดสำรวจนี้ถึงหลวงพระบางและได้เข้าเฝ้าเจ้ามหาชีวิต “จันทราช” เช่นเดียวกันกับ มูโอต์ แล้ว เดอ ลาเกร เดินทางขึ้นแม่น้ำโขงต่อไปอีก เมื่อเข้าเขตเมืองจีนเขาก็เสียชีวิต การ์นิเยร์ เดินทางต่อจนถึงเมืองต้าลี่ (น่านเจ้า) แล้วก็ตัดสินใจสิ้นสุดการสำรวจที่นั่น สรุปเขาใช้เวลา 2 ปี และรู้ว่าแม่น้ำโขงไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางเข้าประตูหลังเมืองจีนได้ เพราะเกาะแก่งมากมายนั่นเอง ฝรั่งเศสตัดสินใจเลิกล้มที่จะใช้แม่น้ำโขงเข้าสู่จีน เช่นเดียวกับที่อังกฤษก็เลิกล้มใช้แม่น้ำอิรวดีและสาละวินเข้าเมืองจีน
ภาพพิมพ์เมืองหลวงพระบางและวัดพูสี ภาพล่างเป็นเรือยาวลงจากพระราชวังหลวงพระบาง(ตีพิมพ์ปี 2416)
ฝรั่ง เขาคิดอะไรกับดินแดนแถบนี้เล่า หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ เราก็จะเข้าใจสถานที่นั่นๆมากขึ้นถึงวัฒนธรรมประเพณี ศิลปะ อาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ…เราจะเข้าใจจิตใจเขาที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์เหมือนเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์เสียกรุงให้พม่า…
หาก ท่านไปหลวงพระบางก็อย่าลืมไปเยี่ยมดูหลุมศพ มูโอต์ที่ริมน้ำคานเหนือวัดเชียงทองนะครับ ท่านอาจารย์ชาญวิทย์กล่าวว่า …หลุมศพนี้..ช่างน่า “นอนตาย” และงดงามเสียนี่กระไร….
———-
ข้อมูล: The Mekong: From Dza Chu-Lancang-Tonle Thom to Cuu Long บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อัครพงษ์ ค่ำคูณ
ข้อมูลนี้เดิมอยู่ที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang/157488
« « Prev : แมลงสาบ..
Next : เห่อเฮ 10 หลวงพระบางในสมัยรัชกาลที่ 5 » »
ความคิดเห็นสำหรับ "เห่อเฮ 10 หลวงพระบาง และอองรี มูโอต์"