เห่อเฮ 10 ไปดูสุสานมูโอต์ที่หลวงพระบาง

โดย bangsai เมื่อ 21 กรกฏาคม 2009 เวลา 22:27 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2905

นี่ คือเรื่องราวของ สุสานมูโอต์ และชื่อผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนความสัมพันธ์กับสยามประเทศในยุคนั้น ทำให้ทราบพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยที่นำพาประเทศรอดพ้นการล่า อาณานิคมของฝรั่งเศสไปได้… ได้ความรู้สึกดีดีต่อประเทศชาติ มากมายทีเดียวครับ…

เพราะคำกล่าวของท่านอาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริที่ว่า  ...หลุมศพนี้..ช่างน่า “นอนตาย” และงดงามเสียนี่กระไร….
(ในหนังสือที่ชื่อ The Mekong: From Dza Chu-Lancang-Tonle Thom to Cuu Long) ทำให้ผมต้องหาทางไปดูสถานที่แห่งนี้ เมื่อคราวไปหลวงพระบางครั้งที่สองที่เพิ่งผ่านมา…   

ผมเอ่ยปากถามคนขับรถวันนั้น ก็เป็นชาวหลวงพระบางที่ “ออกรถตู้” มารับจ้างนักท่องเที่ยว น้องคนนี้ชื่อ “ต้น” เขาบอกว่าไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยิน เราไปถามคนขับรถรับจ้างคนอื่นๆแถวนั้น เขาบอกว่าอยู่ริมน้ำคานใกล้บ้านนุ่น ออกไปประมาณ 6 กิโลเมตร ต้น จึงรู้ทางแต่ก็สารภาพว่าไม่รู้เรื่องสุสานนี้จริงๆ ??  สะท้อนหรือเปล่าว่า น้อยคนนักที่จะมาดูสุสานนี้ ? 

ระหว่าง ทางเป็นลูกรังกับฝุ่นตลบ เหมือนวิ่งจากหลวงพระบางไปไชยบุรีไม่ผิด แต่ที่แย่กว่าเพราะต้องเลาะไปตามลำน้ำคานโค้งไปมาคนที่เมารถก็คงไม่ชอบ ส่วนผมเองนั้นชอบที่ได้ดูน้ำคานอันสวยงามเบื้องล่างนั่น ซึ่งน้ำใส สวย เบื้องล่างท้องน้ำเขียวขจี แน่นอนเป็นอะไรไปไม่ได้เลย นั่นคือ ไคน้ำ หรือไกบ้านเรา หรือสาหร่ายน้ำจืด ที่ขึ้นชื่อลือชานักในเรื่องคุณค่าทางอาหาร ผมและเพื่อนๆบอกให้จอดรถและถ่ายรูปแต่ก็ไม่สวยเท่าที่ต้องการเพราะอยู่สูง เกินไป   


วงกลมแดงนั่นคือที่ตั้งของสุสาน มูโอต์ 

พักเดียวเราก็มาถึงสถานที่สุสาน อองรี มูโอต์ (ระยะทางวัดโดย Google เท่ากับ 5.29 กม.)ขอทบทวนประวัติคนนี้สักนิดหนึ่งครับ 

………..ในสมัยที่ลาวและกัมพูชายังเป็นประเทศราชของไทยอยู่ ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ากรุงเทพฯ ในรัชสมัยรัชการที่ 4 มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งเข้ามาสำรวจดินแดนสยาม ลาว กัมพูชา เมื่อปี 2401-2404 นายคนนี้ชื่อ อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) เขาเป็นนักธรรมชาติวิทยาที่ได้รับทุนจากอังกฤษ….   


          เขาสำรวจทั่วดินแดนลุ่มน้ำโขง เขามากรุงเทพฯ จันทบุรี เพชรบุรี สระบุรี  ครั้ง สำคัญคือเลาะลัดจากตราดไปเมืองกัมปอต เดินต่อไปยังอุดง เมืองหลวงกัมพูชาสมัยนั้น แล้วขึ้นตนเลธมจนถึงนครวัด แล้วกลับเข้ากรุงเทพฯ          

            ในปี 2404 เขาเดินทางเข้าสู่ที่ราบสูงโคราช ไปชัยภูมิ เข้าปากลายแล้วขึ้นไปหลวงพระบาง ได้ไปเฝ้าเจ้ามหาชีวิต “จันทราช” และในที่สุดมูโอต์ก็เป็นไข้ป่าและเสียชีวิตที่หลวงพระบาง เมื่อ 29 ตุลาคม 2404 อายุเพียง 35 ปี ศพของเขาฝังที่ริมน้ำคานด้านเหนือหลวงพระบาง          

           บันทึก ของเขาที่น้องชายและภรรยาเขาตีพิมพ์ขึ้นภายหลังนั่นเองทำให้นครวัดนครธมกลาย เป็นสิ่งเลื่องลือถึงความมหัศจรรย์ของโลกตะวันออก และเป็นผลทำให้ฝรั่งเศสสนใจในดินแดนอินโดจีนอย่างมหาศาลจนในที่สุดก็เข้ามา ยึดครองเป็นอาณานิคม           

            การสำรวจแม่น้ำโขงไม่ได้สิ้นสุดที่ มูโอต์เท่านั้น ยังมีอีกชุดหนึ่งคือ ดู ดาร์ต เดอ ลาเกร (Dudart de Lagree) ในปี 2409 วัตถุประสงค์เพื่อเส้นทาง “ประตูหลัง” เข้าสู่เมืองจีน ทีมสำรวจชุดนี้มีนายทหารหนุ่มที่ “คลั่งแม่น้ำโขง” ชื่อ ฟรานซีส การ์นิเยร์ มาด้วย  ชื่อบุคคลเหล่านี้จะปรากฏบนสุสานของมูโอต์ด้วย….    


เส้น ทางเข้าถึงสุสานเหมือนถูกพัฒนามาเมื่อเร็วๆนี้เอง มีสะพานไม้ไผ่ข้ามลำห้วยปูพื้นด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ ทำราวจับและกันตกลงไปในห้วยพอใช้ได้ เส้นทางเดินไปถูกปรับให้เป็นทางชั่วคราวดูสะอาด เข้ากับบรรยากาศดี เบื้องล่างซ้ายมือคือแม่น้ำคาน ใส เขียวขจีด้วยไคเต็มท้องน้ำ ผมละตื่นเต้นที่จะเห็นตัวสุสาน….   


คุณครูสาวพาเด็กๆมาทำความสะอาดสุสานมูโอต์ทุกสัปดาห์ 

เราเดินมาสัก 50 เมตรก็มาถึงสถานที่ เราแปลกใจที่มีเด็กๆอยู่กันเต็ม(ประมาณ 30 คน) ต่างก็กวาดใบไม้ ทำความสะอาดบริเวณสุสานทั้งหมด มีสาวใหญ่สองท่านคุมการทำงานของเด็กๆ  ผม เข้าไปสอบถามทันที เป็นใคร มาทำอะไร มาจากไหน มากับใคร ทำไมถึงมา มาบ่อยไหม….คำตอบคือ เป็นคณะเด็กนักเรียนของโรงเรียนประจำหมู่บ้านนุ่นเหนือขึ้นไปไม่ไกลมากนัก คุณครูสองท่านเป็นคนพามาทุกต้นสัปดาห์ เป็นคำสั่งของท่านเจ้าแขวงหลวงพระบางให้มาทำความสะอาด… 

ผมถามเธอว่าเธอรู้จักประวัติคนที่นอนในสุสานนี้ไหม เธอรู้จักครับ..??   


เธอแสดงความยินดีที่เรามาเที่ยวสุสานแห่งนี้ ที่เธอเด็กนักเรียนและชาวบ้านใกล้ๆแห่งนี้มีส่วนมาดูแล… 

ผม นึกถึงการจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ว่าเขาทำได้ดี ที่เอานักเรียนมาช่วยกันทำความสะอาดบริเวณแห่งนี้และหากครูท่านนี้จะถือ โอกาสบรรยายประวัติศาสตร์นายคนนี้กับหลวงพระบาง กับประเทศลาว ต่อหน้าสุสาน และสถานที่ทางประวัติศาสตร์จริงแห่งนี้ ผมว่ามันน่าเรียนยิ่งนัก…   


เด็ก นักเรียนตั้งใจทำความสะอาดกันเต็มที่อย่างมีความสุข แบ่งกันรับผิดชอบพื้นที่ต่างๆจนทั่วบริเวณ แม้ว่าสถานที่จะยังไม่ได้ลงทุนมากนักในการปรับปรุงภูมิทัศน์ แต่ก็ดีมากสำหรับผมเห็นเช่นนั้น ร่มรื่น แต่ไม่น่านอนตาย อย่างท่านอาจารย์ชาญวิทย์กล่าว อิ..อิ..   


ถ้า ถามถึงความสมบูรณ์ของการให้ความรู้ที่เรียกว่า สังคมแห่งการเรียนรู้นั้น ผมว่า ยังขาดบางอย่างไป ซึ่งสำคัญมากๆ เหมือนกับ หลายๆแห่งในเมืองไทยก็ขาดสิ่งที่ผมจะกล่าวนี้ คือ…. ขาดอะไรสักอย่างที่อธิบายถึงสุสานแห่งนี้ เขาเป็นใคร มาจากไหน มาทำอะไร เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์หลวงพระบางและลาวอย่างไร  ทำไมถึงมาอยู่ในสุสานแห่งนี้..ฯลฯ ไม่มีแผ่นป้ายบรรยายข้อความดังกล่าว  มีผู้รู้ประวัติศาสตร์จากการอ่านหนังสือเท่านั้น  แต่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจริงๆคงจะน่าฟังน่าศึกษามากกว่า แต่ไม่มี.. คนมาดูที่ไม่ทราบประวัติศาสตร์ก็จะไม่สัมผัสพัฒนาการของสังคมแห่งนี้ไป …   


ชื่อ บุคคลและพ.ศ.มันบอกอะไรแก่คนทั่วไปบ้าง หากไม่มีการบรรยายก็ไม่ทราบว่ามันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคนี้ อย่างไร น่าเสียดายที่เมืองมรดกโลกหลวงพระบางไม่ได้ทำสิ่งนี้ไว้ ผมคงมีโอกาสสะท้อนเรื่องนี้ให้เจ้าเมืองบ้างในโอกาสข้างหน้า 

บันทึกผมน่าจะจบลงตรงนี้ แต่หากท่านสังเกตที่ตัวสุสานจะมีชื่อ  ”Pavie” อยู่ด้วย ผมคุ้นๆชื่อนี้จริงๆ อีตาหมอนี่เกี่ยวข้องกับไทยมากมายนัก  

ทำ ให้ผมต้องย้อนไปทบทวนประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อจะทราบประวัติ ซึ่งก็พบว่า คนชาติเดียวกับมูโอต์ คือเป็นฝรั่งเศสที่รัฐบาลเขาส่งมาปกครองญวนซึ่งฝรั่งเศสเอามาเป็นอาณานิคม และPavie ก็คิดขยายอาณานิคมไปทางตะวันตกคือ เขมรลาว ไทย ซึ่งสมัยนั้นลาว เขมรส่วนใหญ่เป็นประเทศราชของไทยในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และที่ 5 ขอนำบางส่วนมาลงไว้ดังนี้  

               ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ ฝรั่งเศสได้ส่งเมอซิเออร์ เดอมองติญี (Monsieur de Montigny) เป็นราชทูตเข้ามาเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้ากับไทย โดยยึดถือแนวทาง การทำสัญญาเช่นเดียวกับอังกฤษ ที่ได้ทำไว้กับไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ ได้เริ่มมีกงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ กงสุลฝรั่งเศสคนแรกคือ คองต์ เดอ คาสเตลโน (Conte de Castenau)  

               ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ไทยได้ส่งพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ไปทำสัญญากับฝรั่งเศสเรื่องเมืองเขมรกับฝรั่งเศสที่กรุงปารีส ตามสัญญาฉบับนี้ไทยยอมรับรู้ว่าเขมรอยู่ใต้ความคุ้มครอง ของฝรั่งเศส ส่วนเมืองพระตะบองและเสียมราฐนั้น ฝรั่งเศสยอมให้ไทยปกครองตามเดิม ต่อมาไทยกับฝรั่งเศสเริ่มแบ่งเขตแดนไทยกับเขมรบริเวณทะเลสาบกับแม่น้ำโขง ฝ่ายไทยต้องการเมืองจงกัล เมืองโซเตียน เมืองมโนไพร และเมืองท่าราชปริวัตรเป็นของไทย 

                    ในปี พ.ศ.๒๔๑๓ ไทยได้ส่งพระยาราชวรากูล (บุญรอด กัลยาณมิตร) ไปเจรจากับฝรั่งเศสที่ไซ่ง่อน เกี่ยวกับปัญหาเขตแดนและการภาษี จับปลาในทะเลสาบ การเจรจาปัญหาเขตแดนไม่คืบหน้านัก เนื่องจากฝรั่งเศสเริ่มทำสงครามกับเยอรมนี  

               ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ไทยยกกำลังไปปราบฮ่อ โดยมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นแม่ทัพ ฝรั่งเศสได้กล่าวหาไทยว่าถือโอกาสรุกล้ำเข้าไปในดินแดนลาว ซึ่งอยู่ในอำนาจของญวน ซึ่งฝรั่งเศสกำลังจัดการปกครอง เมืองญวนอยู่ ต่อมาไทยกับฝรั่งเศสได้ตกลงทำอนุสัญญาเมืองหลวงพระบาง โดยมี ม.ปาวี (Auguste Pavie) เป็นไวซ์กงสุล (Viee Consul) ประจำเมืองหลวงพระบาง เพื่อทำหน้าที่ดูแลความเคลื่อนไหวของไทยในดินแดน ลาว และสำรวจการสร้างทางระหว่างตังเกี๋ยกับแม่น้ำโขง  

                ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ ไทยกับฝรั่งเศสได้เจรจาเรื่องปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับญวน โดยตั้งกรรมการผสม โดยมี ม. ปาวี เป็นหัวหน้าคณะ
ออกทำการสำรวจแผนที่และภูมิประเทศชายแดน และในปีต่อมาไทยกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันว่า กองทหารไทยจะไม่เข้าไปในแคว้นสิบสองจุไทย ส่วนในแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหก และแคว้นพวน คงให้อยู่ใน สถานะเดิมคือ ทหารฝ่ายใดตั้งอยู่ที่ใดก็ให้คงอยู่อย่างนั้น ห้ามรุกล้ำเขตซึ่งกันและกัน จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันที่กรุงเทพ ฯ ส่วนทางด้านคำเกิด คำม่วน กองทหารไทยยกไปตั้งจนถึงเขตแดนญวน ม.ปาวี ก็ได้ทำความตกลงกับ ข้าหลวงเมืองหนองคาย ให้ต่างฝ่ายต่างรักษาสถานะเดิม คือให้ฝ่ายไทยอยู่ที่คำม่วน ฝรั่งเศสอยู่บ้านนาเป  

               ในปี พ.ศ.๒๔๓๒ ม.ปาวี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นไวซ์กงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ และได้เลื่อนฐานะเป็นราชฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๕ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๓๕ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสชื่อ ม.เดอลองดล์ ได้เสนอต่อรัฐสภาฝรั่งเศสให้รัฐบาลฝรั่งเศสใช้กำลังกับไทยในปัญหาดินแดน ซึ่งเคยเป็นของญวนและเขมร รัฐสภาฝรั่งเศสเห็นชอบ และให้รับดำเนินการต่อไป จากนั้นฝรั่งเศสได้ยกกำลังทหารเข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และส่งเรือปืนลูแตงเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการใช้กำลัง ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ใน ร.ศ.๑๑๒  

นี่ คือเรื่องราวของ สุสานมูโอต์ และชื่อผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนความสัมพันธ์กับสยามประเทศในยุคนั้น ทำให้ทราบพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยที่นำพาประเทศรอดพ้นการล่า อาณานิคมของฝรั่งเศสไปได้… 

ได้ความรู้สึกดีดีต่อประเทศชาติ มากมายทีเดียวครับ… 

———————— 

หมายเหตุ: ข้อมูลจาก จดหมายเหตุแดนสยาม oursiam.net 

บันทึกครั้งแรกที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang/161686

« « Prev : เห่อเฮ 10 หลวงพระบางในสมัยรัชกาลที่ 5

Next : Contrast of Light: Contrast of Life » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

295 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 2.1328649520874 sec
Sidebar: 0.067399978637695 sec