หมอเจ๊ถามผมเรื่องผงนัว จึงค้นมาเผยแพร่ต่อครับ
(ข้อความทั้งหมดนี้ ผมสำเนามาจากหลายแหล่ง ดูแหล่งที่มาท้ายบทความนี้)
“ผงชูรส” เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นตัวการทำให้เกิดอาการมือสั่น หัวใจเต้นแรง ยิ่งถ้าร่างกายได้รับปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลต่อระบบประสาท ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกรณีผงชูรสไหม้ไฟ ทำให้เกิดกระแสเลิกบริโภคผงชูรสไปชั่วขณะ วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันที่ต้องฝากท้องไว้กับอาหารถุง อาหารจานเดียว ทำให้โอกาสที่จะหลีกเลี่ยงจึงเป็นไปได้ยาก จะมีพ่อค้าแม่ค้าสักกี่รายที่ไม่ใช้ผงชูรส อีกทั้งอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้งหลาย หรือแม้แต่ขนมกรุบกรอบของเด็กก็ยังหนีไม่พ้น
กำเนิดแห่งผงนัว
นิภาพร อามัสสา แห่งสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร ได้สนใจที่จะวิจัยศึกษาเรื่องนี้ขึ้นมาเมื่อราว 4 ปีที่ผ่านมา กระทั่งปัจจุบันสามารถผลิตออกมาวางขายและถ่ายทอดงานวิจัยตัวนี้ลงสู่ชุมชน
นัก วิจัยผู้นี้ได้กล่าวถึงที่มาของการคิดค้นสูตรเครื่องชูรสนี้ว่า ในฐานะที่พื้นเพเดิมเป็นคนอีสานทำให้เห็นและรับรู้ถึงใช้พืชผักพื้นบ้าน เช่น หม่อนมาใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติที่อร่อย เช่น ต้มไก่ใส่ใบหม่อน นอกจากนี้ยังมี “สูตรข้าวเบือ” ที่ใช้ข้าวเหนียวมาแช่น้ำ แล้วป่นใส่ในอาหารเพิ่มรสชาติ
อย่างไรก็ตาม เฉพาะที่สกลนคร มีเครื่องปรุงรสที่แปลกออกไป โดยชาวบ้านใช้ใบของผักพื้นบ้านหลายชนิดตากแดดให้แห้ง แล้วตำให้ละเอียดแล้วผสมกัน เก็บไว้ใส่อาหารเวลาต้มแกง หรือที่เรียกว่า ผงนัว
สำหรับผักที่ใช้ทำผงนัวมี 12 ชนิด ได้แก่ ใบผักหวาน, ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบกระเทียม, ใบหอม, ใบมะขาม, ใบกระเจี๊ยบ, ผักโขมทั้งต้น, ใบส้มป่อย, ใบน้อยหน่า, ใบชะมวง, ใบกุยช่าย เลือกใบที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป โดยผสมผักพื้นบ้านในอัตราส่วนที่ต่างกันไป แต่ที่มีอัตราส่วนปริมาณมากคือผักหวานและใบหม่อน รองลงมาเป็นใบมะรุม และที่ใส่ลงไปน้อยสุดคือใบน้อยหน่า เนื่องจากมีการถ่ายทอดมาว่าใบน้อยหน่ามีพิษ ซึ่งคนสมัยโบราณนำใบน้อยหน้ามาฆ่าเหา แต่อะไรก็แล้วแต่ถ้ามีพิษ และมีรสขมหากใส่แต่น้อยถือว่าเป็นยา ขณะเดียวกันชาวบ้านยังใช้ใบน้อยหน่ามาแกงกินได้
ขณะ เดียวกันก็เพิ่มข้าวเหนียวแช่น้ำ ข้าวกล้องแช่น้ำ และข้าวเหนียวนึ่งสุก ข้าวกล้องหุงสุก และเติมเกลือไอโอดีนลงไป ผ่านการอบแห้งแล้วป่นรวมกัน ซึ่งงานวิจัยผงนัว ยังคงส่วนผสมที่ชาวบ้านเคยทำไว้แต่มาปรับปรุงด้านสัดส่วน และเพิ่มเกลือไอโอดีนลงไป พร้อมดัดแปลงเรื่องของรสชาติที่เหมาะกับอาหารแต่ละชนิด ผงนัวจากงานวิจัยได้มีการทดสอบรสชาติให้เป็นที่น่าพอใจจึงมีด้วยกัน 2 รส คือ รสมันหวาน ใช้สำหรับ ต้ม ผัด หมัก แกงและย่างและ รสเปรี้ยว ใช้กับต้มยำ ยำ ลาบ อ่อม แจ่ว รสนี้เพิ่มผักที่มีรสเปรี้ยว ส้มป่อย ใบมะขามเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รสชาติของผงนัวจะเพิ่มรสให้อาหารได้นั้นต้องใส่ในน้ำต้มแกงตอนร้อน แต่ถ้าชิมเปล่า ๆ จะไม่มีรสชาติ แต่รู้สึกได้ว่ามีรสปะแล่มๆ คล้ายกับผงชูรสที่ขายตามท้องตลาด
“การ ทำผงนัวต้องใช้เวลาทั้งปี เพื่อเก็บใบของผักพื้นบ้านให้ครบ เนื่องจากผักแต่ละชนิดมีฤดูกาล ใบหอม ใบกระเทียมจะมีตอนฤดูหนาว ผักหวานต้องรอให้ถึงหน้าฝนจึงจะมีใบ”อาจารย์นิภาพรอธิบาย
คุณสมบัติวิเศษของผงนัว
ผง นัวนอกจากมีคุณสมบัติเป็นเครื่องปรุงรสแล้ว ยังให้ประโยชน์ด้านสมุนไพร โดยเฉพาะตัวผักพื้นบ้านเองมีวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และจากการศึกษาของสถาบันการแพทย์แผนไทยพบว่า ใบมะขามอ่อน, ยอดส้มป่อย, ผักหวานป่า, ผักหวานบ้าน, ผักโขมและชะมวง อีกทั้งดอกมะรุม มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในระดับที่สูงมาก
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า กุยช่าย มีฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูก ใบหม่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ระงับประสาท กระเจี๊ยบแดง ช่วยขับเสลดทำให้โลหิตไหลเวียนดี ทั้งนี้ผักพื้นบ้านยังมีสารลดไขมันในเส้นเลือดป้องกันโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยฟอกโลหิตและบำรุงร่างกาย
“ขณะนี้วิธีการทำผงนัวมีการถ่ายทอดไปสู่ชุมชนมากขึ้น ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคกันเองในชุมชน บางที่ผงชูรสถึงกับขายไม่ออก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวานนิยมหันมาใช้ผงนัวเยอะขึ้น”อาจารย์นิภาพรเล่า
ด้าน ยงยุทธ ตรีนุชกร ครูภูมิปัญญาไทย ด้านการแพทย์แผนไทย คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นคนแรกที่สัมผัสชีวิตวิถีชุมชนชาวอีสานจนรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยน แปลงว่า ชาวบ้านเริ่มมีโรคภัยที่ใกล้เคียงกับคนเมืองทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยปรากฏ
“ผมเข้าไปทำงานกับลุ่มชาวบ้านที่ จ.สกลนคร ซึ่งเป็นชนชาวกะเริง (ชนผ่าภาคอีสาน) เราเข้าไปทำแผนแม่บทชุมชนโดยการวิจัยศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้านที่เปลี่ยนไปทำ ให้สุขภาพเริ่มแย่ลง ซึ่งพบว่าจากที่ชาวบ้านเคยบริโภคอาหารจากพื้นผักสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เมื่อระบบเกษตรฯ เริ่มเปลี่ยนเป็นเน้นส่งออก ทำให้ชาวบ้านเน้นผลิตเพื่อขาย และต้องพึ่งพิงอาหารถุง อาหารกระป๋อง ที่มีผงชูรสเป็นส่วนประกอบ ทำให้ชาวบ้านเป็นโรคเรื้อรังสารพัดโรค ทั้งโรคหัวใจ โรคเครียด โรคประสาท ความดันโลหิต ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคของคนเมือง”
ยงยุทธ บอกว่าจากเหตุผลหลายประการทำให้ต้องหาวิธีการพลิกฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น มาใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ชาวบ้านมีสุขภาวะที่ดี อายุยืนนับร้อยปี จึงได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนราชมงคลวิทยาเขตสกลนคร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหาสารคาม ร่วมกันผลิตผงนัวขึ้นมาทดแทนผงชูรส ซึ่งนอกจากรสชาติดีแล้วยังปลอดภัยไร้สารพิษอีกด้วย
“ผม อยากให้ทางนักวิจัยได้ไปวิเคราะห์วิจัยอย่างเป็นระบบ เพราะผมได้สอบถามผู้ที่กินผงนัวพบว่า โรคร้ายหลายโรคของเขาทุเลาลงในบางโรคหายได้อย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะเบาหวานสามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี อาการปวด เมื่อย อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นอาการของการได้รับสารพิษนั้นก็หายกันเป็นปลิดทิ้ง”
แหล่งข้อมูลนี้คือ http://wave.prohosting.com/biotik/food4.html
และที่ ผงนัวอินแปง
ที่ mukdahanbuddhism
ดูสูตรผงนัวต่างๆที่ ที่นี่
ดูวิธีการทำ ที่นี่
หมายเหตุ ยงยุทธ ตรีนุชกร คือ NGO รุ่นน้องที่ทำงานมาด้วยกัน ยงยุทธ ไปเรียนการแพทย์แผนไทยจนจบและเป็นอาจารย์ที่รามคำแหง ราชมงคลสกลนคร และอีกหลายที่ เสียชีวิตไปเมื่อต้นปีนี้เอง ผมเคยเขียนถึงเขาไว้แล้วครับ