อีเกิ้ง ที่ขอนแก่น..
อ่าน: 5239คุณเห็นพระจันทร์เหมือนผมไหมครับ
ผมถ่ายเขาตอน 5 โมงเศษๆวันนี้เอง แล้วเอามาแต่งเติมให้ดูดีครับ
อีสานเรียก อีเกิ้ง…
คุณเห็นพระจันทร์เหมือนผมไหมครับ
ผมถ่ายเขาตอน 5 โมงเศษๆวันนี้เอง แล้วเอามาแต่งเติมให้ดูดีครับ
อีสานเรียก อีเกิ้ง…
หม่อนตุ่น (หม่อนเป็นภาษาเหนือ หมายถึงชวด) ปีนี้ก็อายุ 77 แล้ว แต่ยังแข็งแรง ผมเรียก อุ้ย ตุ่นเพราะเรียกกันมานานแล้วตั้งแต่สามีอุ้ยยังมีชีวิตอยู่ ชื่อ เมือง สมัยนั้นลุงเมืองกินเหล้าหนัก เห็นผมขี่มอเตอร์ไซด์ไปมาระหว่างสะเมิง เชียงใหม่ และมักจะหยุดพักที่บ้านโป่งแยง ก็เลยรู้จักกัน ลุงเมืองบอกว่า อาจารย์ช่วยหน่อย มีหนี้สินอยู่จำนวนหนึ่ง อยากขายที่ดินเอาเงินมาใช้หนี้ ผมก็รับไว้โดยไม่ได้คิดทำธุรกิจอะไร
แล้วผมก็จ้างลุงเมืองเฝ้าสวนให้ ผมให้ค่าจ้างเดือนละ 600 บาทสมัยเมื่อสามสิบปีที่แล้ว ก็มากพอสมควร ปรากฏว่าลุงเมืองเอาไปซื้อเหล้าขาวกินจนแกตายไปเลย ผมยังได้ไปเผาศพลุงเมืองที่ ป่าเห้ว(ป่าช้า) บ้านโป่งแยงในสมัยนั้น
มาวันนี้ลูกหลานเติบโตกันหมดแล้ว มีครอบครัว มีลูกหลานกันเต็ม ต่างก็ดิ้นรนกันทำมาหากินตามเส้นทางของตัวเอง อุ้ยตุ่น หรือ หม่อนของหลาน เหลน ก็ยังอยู่ที่เดิม บอกว่า มันบ่ม่วน เพราะมี่รถราเข้ามาขวักไขว่ ไม่เงียบสงบเหมือนสมัยก่อน..แต่ทำอะไรไม่ได้ ต่างก็ว่านี้คือความเจริญ มีฝรั่งมังค่าเข้ามาท่องเที่ยวมากมายแต่ละวัน นายทุนก็มากว้านซื้อที่ดิน เปลี่ยนมือกันไปมากมาย ชาวบ้านไม่คิดว่าจะขายที่นาก็ไม่เหลือหรอเพราะราคามันยั่วยวนใจ หลังสุดนี่นายทุนจากไต้หวันมันมาซื้อบ้านและที่ดิน ตั้ง 25 ล้านบาท ที่ดินมีไม่ถึงสองไร่ เพียงแต่มันติดลำห้วยน้ำใสๆ เท่านั้นเอง คนบ้านป่าแต่เดิมมีหรือจะไม่คว้าเงินมากมายขนาดนั้น เกิดมาชาตินี้ได้จับเงินล้านก็บุญตาเป็นที่สุดแล้ว
อุ้ยตุ่นก็ได้แต่เล่าให้ฟังเท่านั้นว่า บ้านโป่งแยงปัจจุบันนี้เป็นอย่างไรบ้าง อุ้ยตุ่นมีหน้าที่ใหม่ คือเป็นผู้นำทางพิธีกรรมพื้นบ้าน เรียกว่า “จ้ำ” เหมือนทางอีสานก็ได้ เพราะ ทำหน้าที่ดำเนินพิธีไหว้ศาลเจ้าแม่จันทร์หอม ซึ่งเป็นผีเจ้านายฝ่ายเหนือที่ดูแลพื้นที่ โป่งแยงอยู่ เจ้าแม่มีอายุ 200 ปีแล้ว เป็นภรรยาของเจ้าอาจญาแสน ลูกเจ้าหลวงคำแดง พิธีกรรมก็ต้องเอาไก่ต้ม 8 ตัว ขันครู 3 ขัน ทำพิธีปีละ 3 ครั้ง คือช่วงเดือน 4 ได้ข้าวใหม่แล้ว ช่วงปีใหม่เมืองเหนือคือสงกรานต์ และช่วงเดือน 9 อุ้ยตุ่นเป็นผู้ทำพิธีคนเดียว ชาวบ้านก็จะแห่กันมาร่วมพิธีกันทั้งบ้าน
ปกติอุ้ยก็ใช้เวลาว่างสานเข่งขาย มีแรงพอทำได้ ก็ทำ ดีกว่าอยู่เฉยๆ เมื่อยเปล่าๆ ปลี้ๆ สานเข่งได้ก็ได้เงินใช้ รวมกับเบี้ยผู้สูงอายุก็พอใช้จ่ายส่วนตัวเดือนๆหนึ่ง “ตอก” ก็ซื้อเขามา 1000 เส้นละ 80 บาท สานได้ 33 ใบ ขายใบละ 8 บาท เขาเอาไปใส่ผักกาดหัว วันหนึ่งสานได้ประมาณ 15-20 ใบ
ชีวิตพอเพียงแบบชาวบ้านภาคเหนือ ดูแล้วก็มีความสุขตามเงื่อนไขแบบชนบทที่อิทธิพบเมืองเข้าไปมากมาย อุ้ย เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายก็ช่วง 30 ปีมานี่แหละ แต่ก่อนโป่งแยงเหมือนเป็นเมืองปิดด้วยซ้ำ ตั้งแต่ทำถนนหนทางและนายทุนมาลงทุน รีสอร์ท พัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว แบบ ไป-กลับจากเชียงใหม่วันเดียวจบ นักท่องเที่ยวก็มากันจนความสงบไม่เหลือหรอ
โป่งแยงวันนี้ ทุกไหล่เขามีแต่คนมีเงินต่างหน้ามาสร้างบ้านพักสวยๆ อยู่กัน ชาวบ้านก็แอบบุกรุกที่ป่าบนภูเขาเพื่อเอามาปลูกดอกไม้ ที่กลางคืนต้องให้แสงสว่างมันด้วย โป่งแยงจึงสว่างทั้งวันทั้งคืน มันจะสงบอย่างไรล่ะ..
คนเฒ่า แก่อย่างอุ้ย จะไปคัดค้านอะไรกับใครเขาล่ะ แค่รักษาชีวิตให้อยู่รอดไปวันวันตามแบบของเราก็พอมีสุขบ้าง…
ทุกครั้งที่ผมจากมาก็จะทิ้งเงินเล็กๆน้อยๆให้อุ้ยตุ่นไว้ใช้บ้าง ก็คบกันมามากกว่า สามสิบปีแล้ว…