A52S 3

2 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 เวลา 23:41 ในหมวดหมู่ ทุนสังคม, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 1411
  1. เรามาลองทบทวนความหลังจั๊กหน่อยนะขอรับคุณท่าน เมื่อตอนเฮสามที่ดงหลวง ผมได้สรุปลักษณะของเฮฮาศาสตร์ไว้สมัยนั้นว่าดังนี้นะเจ้าคุณ



ถือว่าเป็นบันทึกช่วงเวลาหนึ่งของการเคลื่อนตัวของเฮฮาศาสตร์ก็แล้วกันนะครับ สิ่งเหล่านี้สรุปจาการเฝ้ามองรถขบวนนี้ที่ชื่อเฮฮาศาสตร์ครับ

เมื่อสมัยที่ทำงานที่สะเมิง เชียงใหม่ อยู่ในหมู่บ้านคนเมือง วันหนึ่งมีงานศพในหมู่บ้าน พิธีกรรมของภาคเหนือก็คล้ายๆชนบททั่วไป แต่ที่ผมประทับใจมากๆคือ บ้านที่ผมไปพักช่วงนั้น ก็ไม่ได้เป็นญาติโกโหติกาอะไรกับครอบครัวที่มีงานศพนั้น เพียงเป็นเพื่อนบ้าน ร่วมหมู่บ้าน เขาก็ต้องลงจากบ้านหยิบเอาของติดมือไปร่วมงานศพ โดยเจ้าภาพไม่ต้องออกการ์ดเชิญ ไม่ต้องเดินมาออกปากเชิญ แต่ทุกคนต้องลงบันไดเรือนชานไปร่วมงานศพ แต่สังคมในเมือง ออกการ์ดเชิญยังไม่ไปเลย… ปรากฏการณ์นี้เราคงไม่ต้องอธิบาย

ผมเห็นหลายครั้งที่พ่อครูบาตีฆ้องงานนั่นงานนี่ ก็มีคนลงจากบ้านเดินไปร่วมงานโดยไม่ต้องออกปากเชิญ ป้าจุ๋มก็ดี รอกอดก็ดี อาจารย์แฮนดี้ ก็ดี จอมป่วน ก็ดี และใครต่อใครต่างลงบันไดเดินมาที่สวนป่า ยิ่งกรณีเจ้าเป็นใผ โน้นสุดใต้เมืองไทย(น้องแป๊ด) สุดเหนือเมืองล้านนา(น้องอึ่งอ๊อบ) ต่างก็ส่งเสียงอาสาช่วยอย่างเต็มหัวใจ ผมเห็น ผมรู้สึกได้ และทุกท่านก็เห็นและรู้สึกเหมือนผมเช่นกัน (อีกหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวถึงนะครับ)

นี่คือความสวยงามของเฮฮาศาสตร์ หากจะมองว่านี่คือกลุ่มยุ่งเหยิงหรือ Chaos ผมก็ว่าเป็น chaos ที่สวยงาม

  1. อย่างที่ผมเฝ้ามองกลุ่ม หรือองค์กรชาวบ้านมาหลายปีและพบเห็นการปรับตัวหลายๆแบบก่อนเดินเข้าสู่เป้าหมาย และผมเคยสร้างไดอะแกรมไว้เพื่อบอกให้ทราบว่า เส้นทางเดินของกลุ่มนั้นไม่ใช่ราบรื่น ไหล วิ่งไปสู่เป้าหมายอย่างไม่มีแรงเสียดทาน ไม่ใช่ครับลองดูนี่ซิ


ลองดูไดอะแกรมนี่นะครับ คนแซ่เฮรวมกลุ่มกันที่ A และต้องการเดินทางไปสู่เป้าหมายที่ X ตามเส้นทางสีแดงนั้นคือเส้นทางเดินโดยมีการทำกิจกรรมต่างๆแล้วแต่กลุ่มจะสร้างสรรค์ขึ้นมา เช่นเฮฮาศาสตร์ครั้งต่างๆ การทอดกฐิน การปลูกป่า ทำหนังสือเจ้าเป็นใผ ระพี…ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ยิ่งทำก็ยิ่งมีส่วนสำคัญที่ให้เฮฮาศาสตร์เข้าถึงกัน และปรับตัวเข้าหากันโดยอัตโนมัติด้วยปัจเจกเอง แต่ในทางตรงข้ามก็จะมีปัญหา อุปสรรค เข้ามา ทั้งเบาๆ และหนัก ถึงหนักหนา

ข้อสังเกตการปรับตัวขององค์กรชาวบ้านคือ การเดินทางจาก A ไปที่ X นั้นเมื่อพบปัญหา องค์กรก็จะปรับไปสมมุติปรับไปที b องค์กรเดินไปสักพักก็พบปัญหาอีก องค์กรก็ปรับ สมมุติปรับไปที่ c และจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

ข้อสังเกตคือ การปรับตัวนั้นก็ยึดเอาเป้าหมายเป็นหลัก การแกว่งขององค์กรอาจเกิดขึ้น แต่แล้วก็ปรับเข้ามาเส้นตรง ผมอาจะเรียกเส้นตรงนี้ว่า ความมีคุณธรรม หรือ norm ขององค์กรพึงประสงค์ที่จะเดินเข้าสู่เป้าหมายที่ดีที่สุด


ข้อสังเกตของผมต่อองค์กรชาวบ้านในกรณีที่พบอุปสรรคก็คือ

สมาชิกต่างมาหาข้อเท็จจริงว่ามันคืออะไร บกพร่องตรงไหนและหาทางออกแบบชาวบ้าน ซึ่งหลายๆครั้งเราคิดไม่ถึงหรอกครับ… เพราะเขามีความเชื่อ มีวัฒนธรรม มีวิถีปฏิบัติแบบของเขา แต่กลุ่มก็เดินต่อไปได้หลังการปรับตัว แล้วก็มักจะพบปัญหาอีก หนักบ้างเบาบ้าง บางกลุ่มแก้ไม่ไหวล้มไปต่อหน้าต่อตาก็มี ที่แก้ได้ ปรับตัวได้แต่แคระแกรน ล้มก็ไม่ล้ม โตก็ไม่โต ก็มี ที่เติบโตแบบหยุดไม่อยู่ก็มี เหล่านี้ผมมีข้อสังเกตว่า

  • กลุ่มผู้นำมีบทบาทที่สำคัญในการแก้ปัญหา หากฟังเสียงสมาชิกอย่างจริงใจ แสดงความจริงใจต่อกลุ่ม แสดงให้เห็นถึงเป็นคนมีคุณธรรม ไม่ถือประโยชน์ส่วนตน เสียสละจริงๆให้สมาชิกเห็น มีประวัติที่ดี สรุปว่าเป็นคนดี
  • กลุ่มผู้นำมีภาวะผู้นำสูง เมื่อนำก็นำ แต่นำอย่างมีส่วนร่วม กล้าตัดสินใจ มีประสบการณ์ฯ
  • สมาชิกก็จริงใจต่อการแสดงออกในการมีส่วนร่วม ให้ความร่วมมือในข้อตกลงของกลุ่ม หรือไม่ผิดแผกไปจากวัฒนธรรม ข้อปฏิบัติทางวิถีของชุมชนนั้นๆ
  • หากกลุ่มนั้นมีกฎ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับ ก็เอามาทบทวน ปรับให้เกิดความเหมาะสม
  • ข้อที่พบบ่อยมากทั้งองค์กรในชุมชน และองค์กรใหญ่ๆนอกชุมชน แม้ราชการ ธุรกิจ คือ “การสื่อสาร” ระบบการสื่อสาร เครื่องมือการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ ฯ
  • อีกประการที่พบบ่อยเช่นกันกันคือ “ความคาดหวัง” พ่อจอมป่วนคาดว่าลุงบางทรายจะเข้าใจเรื่องนั้นเรื่องนี้ ลุงบางทรายคาดหวังว่าตาออตจะเข้าใจเรื่องที่คุยกัน ประธานคาดว่าสมาชิกจะเข้าใจ สมาชิดคาดว่าสิ่งที่พูดนั้นประธานจะรู้เรื่อง เข้าใจตรงที่อยากสื่อสาร…. เปล่า…ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด มีเรื่องตลกมากมายเกี่ยวกับ การสื่อสาร เมื่อยี่สิบปีก่อน ผมนั่งรถราชการไปกับ ดร.ท่านหนึ่งที่เป็นรอง ผอ. สำนักงานเกษตรภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมประชุมประจำปี เราเชคอินที่โรงแรมเอากระเป๋าไว้ แล้วก็เดินทางเข้าที่ประชุมที่จังหวัดนครพนม เมื่อเราเดินทางถึง ดร.ท่านนั้นก็คิดว่า การประชุมคงนานให้พนักงานขับรถคอยเขาคงเบื่อ ให้เขากลับไปพักที่โรงแรมก่อนด้วยความหวังดี จึงบอกพนักงานขับรถว่า “กลับไปก่อนเถอะเดี๋ยวกลับไปกับเพื่อนที่เข้าร่วมประชุมนี้ก็ได้” (ในความหมายคือเมื่อเสร็จการประชุมจะกลับที่พักโรงแรมพร้อมกับท่านอื่นๆเอง) แต่แล้วพนักงานขับรถขับรถกลับขอนแก่นเฉยเลย..เพราะคิดว่านายบอกให้กลับบ้านแล้วนายจะเดินทางกลับกับเพื่อนๆที่มาร่วมประชุมนั้น….ฮา..(ไม่ออก)

(มีต่อ)



A52S 2

2658 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 เวลา 8:18 ในหมวดหมู่ ทุนสังคม, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 26673

 

  1. การเป็นเฮฮาศาสตร์แบบไม่มีโครงสร้างในรูปแบบองค์กรทั่วไปนั้น เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนในตัวของมันเอง

     


     

  • เราย้อนกลับไปพิจารณาพัฒนาการจากเริ่มต้นจนมาถึงปัจจุบันนั้น เฮฮาศาสตร์เกิดขึ้นและพัฒนามาอย่างไร ความไม่ติดยึดในกฎระเบียบ ข้อบังคับ การมา การไป การเข้าร่วม ไม่เข้าร่วม เป็นอิสระ มิได้อยู่ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ แต่เป็นใจสั่งมา เป็นสำนึก เป็นมารยาท เป็นวัฒนธรรม หรือเรียกได้ว่าเอาตัวตนมาสัมพันธ์กัน ทั้งหมดนี้คือต้นทุนทางสังคม ชนิดหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบที่เราคุ้นชินกับโครงสร้างที่มีชั้นของตำแหน่ง ส่วนใหญ่เราจึงประทับใจและโหยหา ความสัมพันธ์ระหว่างกันในเงื่อนไขแบบเฮฮาศาสตร์ ที่สลัดหลุด ยศ ตำแหน่งออกไป เหลือเพียงลักษณะทางวัฒนธรรม เช่น พี่ น้อง พ่อ แม่ ฯลฯ ไม่มีเกราะกำแพงขวางกั้น เปิด และเรียบง่าย
  • ลักษณะดังกล่าวนี้จะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า ซึ่งผมมองว่าน่าจะส่งผลให้มีการปรับตัวได้สูง หากต้องการการปรับตัว
    แต่สุมเสี่ยงต่อการทำกิจกรรมร่วมกันที่มีความซับซ้อนมาก

     


    เฮฮาศาสตร์ เหมือนเราขึ้นรถลงเรือลำเดียวกัน

     

  • กรณี A52S นั้นบ่งชี้มาให้เห็นชัดเจนว่าเมื่อกลุ่มมีภารกิจงานที่มีความซับซ้อนที่ต้องการความจัดเจนต่องานนั้นๆ ก็สุ่มเสี่ยงหากกิจกรรมนั้นๆอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดต่างๆ เช่นเวลาที่จำกัด ย้อนไปนึกถึงสังคมดั้งเดิมจะจัดงานใหญ่ เช่นงานศพ หรืองานโกนจุก บวชนาค ในหมู่บ้านนั้น จะมี “แม่งาน” เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งก็คือ เจ้าภาพนั่นเองหรือญาติสนิทของเจ้าภาพ ก็จะปรึกษาหารือกันว่างานมีอะไรบ้างที่ต้องทำ ขนาด จำนวน เวลา ฯ จะทำได้อย่างไร ก็ต้องไหว้วานญาติสนิท เพื่อนบ้านที่สนิท หรือ เพื่อนบ้านที่เป็นผู้ชำนาญการในเรื่องนั้นๆ เช่นจะทำขนมหม้อแกงต้องป้าจุ๋ม จะแกงเผ็ดเป็ดย่างต้องแม่สร้อย จะทำห่อหมกต้องแม่เบิร์ด จะจัดอาสนะสำหรับพระมาสวดมาเทศน์ ต้องพ่อเหลียง จะหุงข้าวกระทะใบบัวต้องตาจอมป่วน จะประดิษฐ์ประดอยดอกไม้ถวายพระต้องตาออต เหล่านี้เป็นต้น ก็ไปเชิญมา บอกกล่าวมา หรือบางทีไม่ต้องบอกเขาเหล่านั้นก็มาโดยอัตโนมัติ เพราะในหมู่บ้านไม่มีใครอีกแล้ว.. รู้งาน จิตอาสา เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ โอยรายละเอียดเรื่องนี้มีมากมาย เขียนได้เป็นเล่ม และน่าสนใจมาก…. ดูซิงานที่ซับซ้อนไม่มีองค์กรโครงสร้างก็จัดได้ ทำได้ สำเร็จลงได้ด้วยความเป็นชุมชนแบบหมู่บ้าน แต่เฮฮาศาสตร์เป็นชุมชนแบบไหน..จะจัดงานใหญ่ๆภายใต้รูปแบบกลุ่มเฮฮาศาสตร์ได้อย่างไร


ทุกครั้งที่เฮจัดงาน เราเห็นลูกหลานมาอยู่ร่วมกัน การถ่ายเททุนสังคมเกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว

  1. ผมคิดว่าทำได้เพราะเราไม่ได้อยู่ในยุคสังคมโบราณ เราก็ดัดแปลงความรู้ความสามารถสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ เฮฮาศาสตร์เป็นสังคมพิเศษของยุคสมัย เป็น Cyber community เป็นชุมชนเสมือน เราพบปะกันทุกวันบนตัวอักษร แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกันนี้ ไม่เหมือนชุมชนดั้งเดิมจริงที่สัมพันธ์กันที่เขาคลุกคลีกันแบบตัวถึงตัวกันทุกวัน ความสัมพันธ์ระหว่างกันจึงแนบแน่นกว่าหลายเท่าตัว เฮฮาศาสตร์ก็น่าจะพัฒนาไปในทิศทางนั้น

     


     

  2. แต่เฮฮาศาสตร์ยังอยู่ในขั้น Formulate ความเป็นองค์กรตามธรรมชาติ ที่คล้ายคลึงหมู่บ้านที่ค่อยๆปรับความกลมกลืนกันมากขึ้นตามเหตุการณ์ ตามกาลเวลาที่เคลื่อนไปพร้อมกับกิจกรรมที่ทำร่วมกัน สังเกตเวลามีกิจกรรมอะไร พ่อครูบาก็ตีฆ้อง ร้องป่าวทาง blog จะมีนั่นมีนี่เมื่อนั่นเมื่อนี่ ใครว่างก็ยกมือขึ้น ใครปลีกตัวได้ก็ลงชื่อมาร่วมงานกัน แล้วต่างๆก็ค่อยๆเข้ารูปเข้าร่วมมากขึ้น แต่กิจกรรมที่ซับซ้อนเช่นการทำหนังสือเจ้าเป็นใผนั้น เป็นกิจกรรมที่มีรายละเอียดมาก ต้องการความถูกต้อง แม่นยำ ต้องการคนที่มีประสบการณ์มาช่วยกัน ยิ่งมีเวลาที่จำกัดก็ต้องยิ่งต้องการจำนวนคนเป็นทวีคูณ เนื่องจาก เฮฮาศาสตร์ ไม่มีโครงสร้างชั้นตามลำดับทำดีที่สุดก็ประกาศลงใน Blog ดังที่แป๊ดและอึ่งอ๊อบได้ทำไปแล้ว แต่ความเป็นองค์กรหลวมๆ แบบ Cyber ที่ต่างจากชุมชนที่มีหอกระจายข่าว การเข้าถึงข่าวสารด่วนๆนั้นเรายังไม่ได้พิจารณากัน ปล่อยให้เป็นการเข้าถึงผ่านหน้าลานเจ๊าะแจ๊ะ ซึ่งหลายท่านอาจจะไม่ได้เข้ามาสำรวจทุกวันทุกเวลา เพราะภารกิจส่วนตัวนั่นเอง จึงกลายเป็นจุดอ่อนไปทันที และความรู้สึกของแป๊ด อึ่งอ๊อบต่องานที่รับมานั้นกับความรู้สึกของสมาชิกเฮทั่วไปนั้นก็ต่างกัน การ Pay attention จึงไม่ได้กระทำโดยทันทีทันใด หรือ serious กับข่าวสารนั้นเท่าที่ควร บทเรียนนี้จึงชี้มาที่กลุ่มว่า “ต้องทบทวนและหาทางรับมือกับงานในอนาคตนะ”

     

(มีต่อ)

    



Main: 0.0624098777771 sec
Sidebar: 0.060786008834839 sec