เลือกตั้ง

177 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 26 มิถุนายน 2011 เวลา 21:00 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 7108

วันที่ 3 ผมจะไปเลือกตั้ง

แม้ว่าสีตัวผมจะเป็นสีนี้

ก็ไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจของผมนะครับพี่น้อง


ขายความรู้สึก..

98 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 26 มิถุนายน 2011 เวลา 19:21 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2654

อิอิ วันนี้ชนบทบุกเมือง

มาธุระของลูกสาว เลยถือโอกาสพยายามปรับตัวและเรียนรู้สังคมเมืองที่ค่อนข้างจะห่างไกลกับผม เพราะไม่ค่อยได้เข้ามาใช้ชีวิต จะมาก็มาทำงานแล้วรีบกลับ เมื่อพอมีเวลาบ้างก็พยายามดูว่า เมืองเขาก้าวไปถึงไหนแล้ว


ที่หมู่บ้านใหม่แห่งหนึ่ง กำลังก่อสร้างก็มี ที่สร้างเสร็จแล้วก็มี คนกรุงเทพฯก็มองหาบ้านของตัวเอง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เริ่มทำงานและกำลังสร้างครอบครัว


ขอเอามุมเล็กๆมาคุย คือ การประชาสัมพันธ์ ผมเองคิดว่าแปลกตาไปกว่าที่ผมเคยเห็นในอดีต ดูกำแพงกันสายตาคนจากถนนสู่เขตก่อสร้างซิครับ เดิมนั้น ไม่มีสีสันอะไร แต่วันนี้ มีสีสันและลักษณะเป็น แปลกใหม่ ขออภัยคนกรุงนะครับที่ท่านคุ้นเคยแต่ผมรู้สึกแปลก ถามว่าคิดอย่างไรบ้างเมื่อเห็นสิ่งเหล่านี้ ตอบจากสามัญสำนึกคือ สวยดี ดูทันสมัย ทำนองนั้น


เมื่อเข้าไปในสำนักงาน ยิ่งแปลกตา เพราะฝาผังทุกด้านเป็นสีสันไปหมด แล้วเอาคำต่างๆมาเขียนติดไว้ เช่นความหมายดีดีของสีนั้นๆ ผมพยายามอ่านว่ามันเกี่ยวข้องกับการซื้อ ขายบ้านได้อย่างไร ก็ไม่เห็น และไม่เข้าใจ


แต่ยอมรับว่าสีนั้นที่เขาใช้สลับกับคำต่างๆนั้น ให้ความรู้สึกที่ เออ..ดูทันสมัย ใหม่ๆ เท่ห์ ผมสนใจก็นั่งพิจารณาไปพักใหญ่ว่าเขาพยายามสื่ออะไร

จนทนไม่ได้เมื่อพนักงานเขาว่างจึงถามว่า ต้องการสื่ออะไร คำตอบคือ โครงการนี้จับตลาดลูกค้าเป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีงานทำมีตำแหน่งหน้าที่การงาน กำลังเติบโต และต้องการมีบ้านหลังแรก จึงต้องการสร้างกรอบความคิดหมู่บ้านเพื่อคนรุ่นใหม่ที่ มีความทันสมัย ใช้เฟอร์นิเจอร์หรูหรา มีคุณภาพ ราคาอยู่ในระดับที่ คนรุ่นใหม่ผ่อนได้

ความเป็นนามธรรมของคำ ที่ให้ความหมายดีดี ให้ความรู้สึกดีดีนั้น มันมีส่วนการอยากมีบ้านที่นี่ การสร้างบรรยากาศที่ดูทันสมัย มีส่วนสำคัญกระตุ้นการตัดสินใจในการมทีบ้านหลังแรก….

เมื่อเราไปดูรายละเอียดของบ้านที่กำลังจะส่งมอบ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในเอกสารนั้น เนื่องจากมีญาติที่มีความรู้เรื่องบ้านมาด้วยจึงถล่มพนักงานขายซะหน้าจืดไปเลย เพราะมีงานที่ต้องแก้ไขมากมายทุกจุด….

ผมนั่งคิดในใจว่า นี่คือสังคมเมืองที่มีบางส่วนเคลือบไว้ด้วยสีสัน ความทันสมัย ดูเท่ห์ ดี แต่งานหลัก สินค้าหลักที่จะขายนั้น มันไม่เนี๊ยบเหมือนการประชาสัมพันธ์เลย เหมือนกับว่า ใครตาดีก็ติมา ใครตาไม่ดีเมื่อลงนามเป็นอันเสร็จ เพราะเอกสารได้มัดการยอมรับสภาพไปแล้ว

อันที่จริง เจ้าของหมู่บ้านที่จะขายอาจช่วยได้โดยการตั้งฝ่ายตรวจสอบความเรียบร้อย และทำการตรวจสอบอย่างละเอียดเสมือนเขาซื้อบ้านหลังนี้เองเลย แก้ไขก่อนเลย จึงค่อยเชิญผู้ซื้อมาตรวจรับบ้าน

ความจริงเขาอาจทำ เพราะมีฝ่าย โฟร์แมน แต่ยังหลุดมาขนาดนี้ จะให้คนบ้านนอกอย่างผมคิดอะไรล่ะ

ไอ้สีสันสวยๆน่ะ แค่เคลือบเท่านั้น คำหวานๆ ความหมายดีดีนั้น คือมนต์ที่ร่ายมาเป่าให้ผู้ซื้อติดกับการฉาบทา….

ผมมีอีกบทเรียนหนึ่งแล้ว…



แรงงานคน ผลประโยชน์ของใคร

26 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 26 มิถุนายน 2011 เวลา 18:06 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1753

แม้ว่าเธอและเขาจะเปิดหน้าเราก็ไม่ทราบว่ามาจากไหน

แต่ส่วนใหญ่ก็เดาเอาว่าเป็นแรงงานอีสาน


แต่ไม่ไกลจากกลุ่มแรงงานนี้เท่าใดนัก

ที่รั้วสังกะสีนั่น เราเห็นภาษาที่เราไม่คุ้น

ก็เดาต่อไปว่า นี่คือแรงงานต่างชาติ

เบื้องหลังของความทันสมัย ก้าวหน้าของเมือง คือธุรกิจงานก่อสร้าง

เบื้องหลังงานก่อสร้างคือ ธุรกิจแรงงานและเทคโนโลยีการก่อสร้างและ..ฯลฯ

เบื้องหลังของแรงงานคือการทำธุรกิจค้าแรงงาน ทุกด้านของเขตแดนประเทศ ธุรกิจนี้มีเงินหมุนเวียนนับพันล้านบาทต่อปี เบื้องหลังของเงินหมุนเวียนนี้ ใครเอี่ยวบ้างเอ่ย….ยกมือขึ้นสูงๆ


ฝน

141 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 25 มิถุนายน 2011 เวลา 7:44 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 4114

ขอนแก่นฟ้าปิดมาสองวันแล้ว กรมอุตุฯ(แหมเหมือนนอนอุตุเลย)

ว่าฝนกำลังมาจากเวียตนาม มาเถอะ ชาวนาจะได้น้ำ

เขื่อนหลายตัวจะได้เก็บกักน้ำ

พูดถึงเขื่อนแล้วก็สะท้อนบางอย่าง เขาใช้สถิติน้ำฝนที่บันทึกมาตลอดเพื่อบ่งชี้ว่าโอกาสฝนตกในเดือนนั้นๆเท่าไหร่ ความต้องการใช้น้ำเท่าไหร่ เพื่อคำนวณปล่อยน้ำออกจากเขื่อนและโอกาสน้ำฝนจะเติมลงมา พูดง่ายๆคือ พึ่งธรรมชาติเต็มๆ ทุกเขื่อนนั่นแหละ นี่คือความเสี่ยงของการเก็บกักน้ำ ปีไหนฝนดีก็รอดตัวไป ปีไหนฝนแล้งน้ำไม่เต็มเขื่อน ก็กระทบระบบการปล่อยน้ำเพื่อการเกษตรหรือกระทบระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าในกรณีที่เขื่อนตัวนั้นสร้างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า (เช่นเขื่อนอุบลรัตน์ หรือเขื่อนน้ำพอง หรือพองหนีบ) ในที่สุดชาวนาในเขตชลประทานก็ยังพึ่งธรรมชาติอยู่ดี เพียงมีการจัดการภายใต้โครงสร้างระบบชลประทานเข้ามาเท่านั้น

(เมฆในรูปนี้เป็นเมฆเมื่อปีที่แล้วเดือนนี้ที่มุกดาหารนะครับ)


ความสงบ

13 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 24 มิถุนายน 2011 เวลา 1:18 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1533

ขอมอบความสงบเล็กๆนี้ให้กับชาวลานทุกท่านนะครับ


ประเทศไทยกลาง พ.ศ. 2554

244 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 24 มิถุนายน 2011 เวลา 0:36 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 4712

คนเราต้องยังชีวิตด้วยปัจจัยสี่ แต่การได้มาของปัจจัยสี่นั้นแตกต่างกันไปตามวิถีของแต่ละคน ส่วนใหญ่สังคมนี้ก็มุ่งไปสู่การเรียนสูงๆเพื่อหางานดีดีทำเพื่อรายได้มากๆ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มียศถาบรรดาศักดิ์ ก็ไม่ผิดหรอกเป็นปกติของสังคมที่เป็นเช่นนั้น ผมว่า..อยู่ตรงไหนก็ได้ ทำงานอะไรก็ได้ ขอให้เป็นคนดี

มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ชอบทำงานอิสระ เร่ร่อนไปตามแหล่งงานที่ตัวเองสนใจ ทุ่มเทการทำงานที่ตนเองชอบแล้วก็ไปนั่งตกงาน เดินตะรอนๆไปหางานใหม่ทำต่อไป

อ้าว..ก็เลือกชีวิตแบบนี้แล้วมาสาธยายอะไร..

ไม่ได้มาร้องขออะไรหรอกครับ แต่มาเล่าให้ฟัง จะเก็บเอาไว้ตั้งคำถามกับสังคมคนเดียวก็ได้ แต่ลานนี้เปิดกว้างพอที่จะรับฟังน่ะซีครับ

น้องๆที่เคยทำงานมาด้วยกันคนหนึ่ง เธอมีสามีเป็นข้าราชการ มีลูกสาวน่ารักกำลังเรียนในชั้นมัธยม เธอเองก็มาทำงานเพื่อสังคมประเภทอิสระ เมื่อโครงการสิ้นสุดลงก็ไปหางานใหม่ทำ ก็พอมีงานอยู่ร๊อก..ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ก็ต้องยอมรับสภาพ เพราะเลือกชีวิตเอง จริงๆเธอจะเป็นแม่บ้านอยู่กับบ้านให้สามีเลี้ยงก็ย่อมได้ แต่เธอยังอายุไม่มากการทำงานที่ชอบ หารายได้ให้กับครอบครัวอีกทางก็เป็นการดี

ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลกำลังเนื้อหอม เพราะเป็นเป้าหมายของใครต่อใครมากมาย ทั้งนักการเมืองท้องถิ่น ระดับชาติ ต่างยึดกันให้ราบคาบ อาคารที่ทำงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดบางจังหวัด ยังกะพระราชวังแวร์ซาย ไม่เชื่อไปดูที่นครสวรรค์ซิ องค์การบริหารส่วนตำบลบางแห่ง ที่ว่าการอำเภอชิดซ้ายไปเลย

หลักการบริหารก็พูดกันมากว่าให้กระจายอำนาจส่วนกลางลงสู่ตำบล เอางบประมาณลงไป เพิ่มตำแหน่งต่างๆ อธิบายว่าเพื่อทำงานรับใช้ประชาชน ผมนั้นคลุกคลีกับตำบลเพราะอยู่ในชนบท หลายแห่งก็ดีดี๊ดี หลายแห่งก็ต้องส่ายหน้าเหมือนพัดลม..

แล้วน้องผมคนหนึ่งก็มาเล่าให้ฟังว่า

พี่…หนูไปสมัครงานเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรประจำ อบต.แห่งหนึ่งใกล้บ้าน ตั้งใจว่า เออ เงินเดือนไม่เท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร อยู่ใกล้บ้านก็ดีแล้ว จะได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หนูชอบทำสวนครัวจะได้มีเวลามากหน่อย… แต่เมื่อหนูไปสมัคร ปลัดอบต.มาบอกหนูว่า อยากได้ตำแหน่งนี้ไหม ขอ 1 แสน….???

เราทำงานเพื่อสังคมมา เราช่วยเหลือชาวบ้านมานับไม่ถ้วน เราเดินหน้าเพื่อดันชาวบ้านให้ลืมตาอ้าปากได้ แต่ระบบทรามที่กัดกินสังคมให้กร่อนลงไปก็ย้อนมากัดกินใจน้องคนนี้

เธอบอกว่า พี่…เงินแสนนั่นน่ะหนูเก็บเอาไว้เลี้ยงลูกดีกว่าที่จะเสียให้ท่านปลัดเพียงเพื่อเข้าทำงาน

คำอธิบายเพิ่มเติมแก่น้องคือ ….ท่านปลัดกล่าวอีกว่า เป็นอัตราที่เคยได้มาแล้ว…..!!??

เราทำงานเพื่อแก้ปัญหาสังคมมาพอสมควร แต่มีอีกมากมายที่เราไม่ได้เข้าไปแตะ ปล่อยให้ลอยนวนต่อไปก่อน..เถอะ..


อาจารย์องุ่น มาลิก

4124 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 23 มิถุนายน 2011 เวลา 22:49 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 85002

ผมนั้นกราบอาจารย์หลายท่านได้สนิทใจทั้งที่ท่านเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ และบางท่านได้สิ้นไปแล้ว ท่านที่ยังแข็งแรงยกตัวอย่างอาม่า แม้ท่านจะเดินทางมาถึงยามพักผ่อน แต่ท่านก็ยังเดินหน้าทำประโยชน์ให้สังคม ไม่ได้หยุด ได้หย่อน ผมหละแอบชื่นชมยกย่องท่านจริงๆ

อาจารย์ผมท่านหนึ่งที่เรียกได้ว่ามีส่วนสร้างผมให้มาเป็นเช่นปัจจุบัน ผมเป็นเด็กบ้านนอก เกิดฟลุ๊คสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ พ่อก็ส่งเงินให้เรียนเดือนละ 500 บาทไม่มีเกินมีแต่ขาด ยามปลายเดือนพวกเราวนเวียนอยู่แถวที่วางจดหมายประจำหอพักอาหาร 1 มช. เพราะลุ้นว่าพ่อจะส่งเงินค่าใช้จ่ายมาให้หรือยัง บางเดือนพ่อส่งช้า อดครับ อดข้าวก็มีบ่อยๆ ดีหน่อยมีเพื่อนที่รักใคร่กันก็เอื้อเฟื้อกันไปตามโอกาส เราจะพิงเขาไปตลอดก็เกรงใจ และไม่ค่อยชอบลักษณะเช่นนั้น เพราะถือคติที่อาเคยให้ไว้ว่า

ถึงจนทนอดกลั้น             กินเกลือ

อย่าเที่ยวแร่เนื้อเถือ         พวกพ้อง

อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ     สงวนศักดิ์

โซ ก็เสาะใส่ท้อง            จับเนื้อ กินเอง

เราเคยต้มข้าวกินเป็นอาทิตย์ เราเคยเอาปลาหมึกที่แม่ของเพื่อนส่งไปให้ลูกจากภาคใต้ แต่การเดินทางมันนานไป ขึ้นราหมด เขาทิ้งเราเก็บเอามาล้างน้ำใหม่ ผึ่งให้แห้ง แล้วก็กินย่างกินกับข้าวต้ม เจ๊หมอน คนเก็บเงินที่ห้องอาหารหอหนึ่ง รู้จักเราดี ช่วงไหนไม่มีเงินจริงๆแต่หิวข้าว เราก็กระมิดกระเมี้ยน ไปเอาถาดใส่อาหารเข้าคิวไปกับคนอื่นๆ พอถึงเคาเตอร์เก็บเงินที่เจ๊หมอนนั่งอยู่เราก็ส่งสายตา…เจ๊แกก็เข้าใจ เมื่อเงินมาก็แอบเอาไปให้เจ๊หมอน เราเป็นหนี้ทางใจเจ๊หมอนจริงๆ

เพื่อนผมเป็นนักเขียนตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย ที่โด่งดังก็คือ พนม นันทพฤกษ์ หรือ สถาพร ศรีสัจจัง อาจารย์ประจำทักษิณคดีศึกษา ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศิษย์ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน บรรยากาศในมหาวิทยาลัยช่วง 14 ตุลานั้น มันมีสองขั้วจริงๆ คือ พวกกลุ่มหนึ่งก็สนุกสุดๆกับการใช้ชีวิตนักศึกษา เรียน ดูหนัง เที่ยว จัดงานเต้นรำ ฯ อีกกลุ่ม เรียน คุยกัน ทำกิจกรรมเพื่อสังคม ออกชนบท จัดอภิปราย และรณรงค์ต่างๆ

กลุ่มหลังนี้ ไม่โดดเดี่ยวครับเพราะมีคณาจารย์หลายท่านสนับสนุนตามเงื่อนไขที่อาจารย์จะทำได้ ท่านอาจารย์องุ่น มาลิก แห่งภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ อาม่าก็รู้จักอาจารย์ท่านนี้ดี ท่านสนับสนุนนักศึกษาที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม ท่านเป็นคนออกหน้าในการทำกิจกรรมหลายเรื่อง เช่น ไปทำความสะอาดวัดฝายหิน ไปปลูกป่า ไปเสวนาธรรมที่สวนโมกข์กับท่านพุทธทาส แม้ออกชนบทท่านก็ไป ท่านมีที่ดินติดรั้วมหาวิทยาลัย ด้านหอชายอาคารหนึ่ง ติดกับหมู่บ้าน ติดลำธารและสุสานชนชาวคริสเตียน ท่านไปสร้างกระต๊อปให้เจ้านักศึกษาพวกทำกิจกรรมเหล่านี้พัก

ผมก็มาซุกหัวนอนที่นี่จนเรียนจบ ถูกตำรวจค้นที่พัก ถูกคนร้ายมาเผากระต๊อป ถูกระเบิด แต่เราก็ยังทำกิจกรรมกันต่อเนื่อง

อาจารย์องุ่น ท่านสนใจการทำหุ่นมือ ที่เล่าเรื่องราวสนุกๆให้แก่เด็กๆแต่มีคติซ่อนอยู่มากมาย ท่านตั้งกลุ่มหุ่นมือที่ตระเวนไปเล่นในชุมชน ในสลัม ในชนบทมากมาย ในช่วงนั้นท่านตั้งมูลนิธิไชวนา เพื่อให้เป็นสถาบันมาทำงานเพื่อสังคมต่อเนื่องไปแม้ท่านจะสิ้นแล้วก็ตาม

ท่านอาจารย์มีทรัพย์สินเป็นที่ดินกลางกรุงเทพฯ ซอยทองหล่อ ราคานับร้อยล้านพันล้าน เนื่องจากท่านไม่มีครอบครัวแต่มีบุตรบุญธรรม ท่านเอาที่ดินยกให้กับมูลนิธิไชวนาจนถึงปัจจุบันนี้ และที่ดินอีกจำนวนหนึ่งยกให้ตั้งสถาบันปรีดี พนมยงค์ อันเป็นสถาบันที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมและเหล่านักคิดเพื่อสังคมมานานหลายสิบปี

เจตนาอันยิ่งใหญ่ของอาจารย์องุ่น มาลิกนั้นลูกศิษย์ลูกหา รุ่นหลังๆได้สนองท่านมาตลอด ท่านที่อยู่ในวงการ ก็จะทราบกิจกรรมของสองสถาบันนี้มาตลอดทั้งที่สถาบันปรีดี พนมยงค์และที่มูลนิธิไชวนา

มาคราวนี้ มูลนิธิไชวนาได้ตั้งองค์ผ้าป่า เพื่อรวบรวมเงินบริจาคมาปรับปรุงอาคารที่ทรุดโทรมและถือโอกาสพัฒนาสถานที่ให้พร้อมใช้ประโยชน์เพื่อสังคมในอนาคตตลอดไป คุณสันติสุข โสภณศิริ ประธานกรรมการมูลนิธิไชวนาและคุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย กรรมการเลขานุการได้ทำหนังสือเชิญผมร่วมเป็นรองประธานกรรมการการจัดองค์ผ้าป่าครั้งนี้ ผมจึงรับมาเพื่อมาเกริ่นให้ทุกท่านได้ทราบและขอเชิญเรียนรู้มูลนิธิไชวนาและสถาบันปรีดี พนมยงค์ได้ที่ www.pridiinstitute.com

—————————————————————————–


มูลนิธิไชยวนา


เลขที่ ๖๗ ถนนสุขุมวิท ๕๕ ซอยทองหล่อ ๓ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐

ที่ พ.มช. /
๒๕๕๔

๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔

เรื่อง    ขอเรียนเชิญเป็นรองประธานกรรมการการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่มูลนิธิไชยวนา

เรียน    คุณไพศาล ช่วงฉ่ำ

สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. เอกสารผ้าป่าสามัคคีเพื่อปรับปรุงพัฒนาพื้นที่มูลนิธิไชยวนา

๒. แผนผังและแบบแปลนก่อสร้างอาคาร

ตามที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าพื้นที่และตัวอาคารเรือนไม้สำนักงานมูลนิธิไชยวนา เลขที่ ๖๗ ซ.ทองหล่อ ๓ ถนนสุขุมวิท ๕๕ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งแต่เดิมเป็นทรัพย์สินของครูองุ่น มาลิก ต่อมาท่านได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิไชยวนาตามพินัยกรรม และมูลนิธิไชยวนาได้โอนทรัพย์สินเป็นของมูลนิธิเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันสภาพของพื้นที่และเรือนไม้สำนักงานเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมากจำเป็นจะต้องรื้อถอนและปลูกสร้างตัวอาคารใหม่ บริษัทแปลนสตูดิโอได้ช่วยออกแบบ เฉพาะงบประมาณในการก่อสร้างตัวอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นอยู่ในวงเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สี่ล้านบาทถ้วน) มูลนิธิไชยวนาเป็นมูลนิธิเล็กๆ มีทุนทรัพย์น้อยได้พยายามระดมทุนด้วยวิธีการต่างๆ แต่ยังไม่สามารถจัดหาทุนเพื่อก่อสร้างได้ จึงเห็นควรให้มีการจัดทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่มูลนิธิไชยวนาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของครูองุ่น มาลิก ในการนี้จักต้องขอความอนุเคราะห์ผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรและศรัทธาในความคิด อุดมการณ์ ของครูองุ่น มาลิก

มูลนิธิไชยวนาขอกราบเรียนเชิญ คุณไพศาล ช่วงฉ่ำ เป็นรองประธานกรรมการการทอดผ้าป่าสามัคคีฯ เพื่อให้สำเร็จตามความมุ่งหมาย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและกราบขอบคุณมา ณ โอกาสนี้


ขอแสดงความเคารพและนับถืออย่างสูง


(นายสันติสุข โสภณสิริ)

ประธานกรรมการมูลนิธิไชยวนา

โทรศัพท์ ๐๘-๑๓๐๐-๓๓๐๐



(นายสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย)

กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไชยวนา

โทรศัพท์ ๐-๒๓๘๑-๓๘๖๐-๑

(ร่าง)

ขอเชิญร่วมอนุโมทนาเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่มูลนิธิไชยวนา

ทอด ณ มูลนิธิไชยวนา (บ้านครูองุ่น มาลิก)

วันอาทิตย์ ที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

*********************************************************

เจริญศรัทธามายังท่านสาธุชนผู้ใจบุญทั้งหลาย

ด้วยคณะกรรมการมูลนิธิไชยวนา พร้อมด้วยญาติโยมอุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไปที่มีความศรัทธาครูองุ่น มาลิก พร้อมใจกันจัดทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีขึ้น เพื่อรวบรวมทุนทรัพย์ในการปรับปรุงพัฒนาฟื้นฟูมูลนิธิไชยวนา เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของครูองุ่น มาลิก

จึงเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา สาธุชนผู้ใจบุญทั้งหลายได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีตามกำลังศรัทธาโดยพร้อมเพียงกัน

ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงบันดาลให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัย ๔ ประการ อันได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนาสารสมบัติทุกท่านทุกประการเทอญฯ

กำหนดการ

วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

เวลา ๐๙.๐๙ น.    พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ทอดผ้าป่าสามัคคี

เวลา ๑๑.๐๐ น.    ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ร่วมรับประทานอาหารพร้อมกัน

กรรมการอำนวยการและกรรมการที่ปรึกษา

อ.คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง คุณศักดิชัย บำรุงพงศ์ ประธานชมรม ต.ม.ธ.ก.สัมพันธ์ ประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม คุณจาตุรนต์ ฉายแสง สมณโพธิรักษ์ คุณชาญ บุญทัศนกุล คุณสุรพันธ์ สายประดิษฐ์ อ.ศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร คุณสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ คุณวิเชียร กลิ่นสุคนธ์ คุณสุโข สุวรรณศิริ รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต อ.ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศ.คนึง ฦาไชย อ.ลาวัณย์ อุปอินทร์ ดร.วรวิทย์ กนิษฐะเสน คุณวันจักร วรดิลก ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ศ.ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ รศ.เกศินี วิฑูรชาติ คุณตรี ภวภูตานนท์ คุณโสภาวดี เลิศมนัสชัย ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ดร.เลิศลักษณ์ ส.บุรุษพัฒน์ คุณเสรี จินตนเสรี คุณภุชงค์ กันทาธรรม คุณพรชัย กิตติปัญญางาม ดร.อัศวิน จินตกานนท์ ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร รศ.พล.ต.ดร. วิริยะ คชเสนี ดร.อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รศ.ดร. ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช รศ.ดร. อุดม รัฐอมฤต อ.สุชาติ –คุณวรรณ สวัสดิ์ศรี นพ.วิชัย โชควิวัฒน อ.โคทม อารียา คุณรสนา โตสิตระกูล คุณพิภพ ธงไชย ศ.เสน่ห์ จามริก คุณวลัยพร อดออมพานิช คุณศศิธร ตังคโณบล คุณยุทธศักดิ์ จุมพลเสถียร คุณปรานี มนูรัษฎาและครอบครัว คุณอมรา-อดิศร พวงชมภู คุณจิราภรณ์ รันจรูญ อ.พิทักษ์ ปิยะพงษ์ อ.โชคชัย ตักโพธิ์ อ.รักษา ปิยะพงษ์ รศ.อำนาจ เย็นสบาย คุณวิไล ตระกูลสิน คุณนิโรจน์ สังขสุวรรณ คุณปรีดา ข้าวบ่อ คุณวีรวงศ์ เงาธรรมทัศน์ รศ. สุรัสวดี หุ่นพยนต์ คุณสุรินทร์ ศรีบุญทรง คุณศุภวัลย์ ตันติธนวัฒน์ คุณชไมพร พัฒนา คุณสุกัญญา สุขกันต์ คุณนุภาพ สวันตรัสฉ์ คุณวิรพัฒน์ หนูวงศ์ คุณไพฑูรย์ ไหลสกุล คุณทวีศักดิ์ ใยเมือง คุณเดชา รินทพล คุณวีรพงษ์ และ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ คุณธวัชชัย –คุณสุชาติ โตสิตระกูล คุณทวิวรรณ โตสิตระกูลคุณสุมาลี โสภณสิริ คุณวิไล โตสิตระกูล คุณจินตนา โตสิตระกูล คุณชมชนก คงสุวรรณ คุณพวงทอง ด้วงพิมพ์ คุณสมศักดิ์ กานต์ภัทรพงศ์ คุณจุฑาพัทธิ์ งามเมืองปักษ์ คุณมนต์สยาม ลิปิวัฒน คุณสุวรรณา จิตประภัสสร

ประธานกิตติมศักดิ์

ฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆารวาส

พระไพศาล วิสาโล อ.สุดา พนมยงค์

พระครูสมุห์ สุเทพ ชินวโร (ลัคนาวิเชียร) อ.ดุษฎี พนมยงค์-บุญทัศนกุล

อ.วาณี พนมยงค์-สายประดิษฐ์

ประธานกรรมการ

คุณสันติสุข โสภณสิริ

รองประธานกรรมการ

อ.สถาพร ศรีสัจจัง

คุณจรีรัตน์ สินธุวราวรรณ

คุณไพศาล ช่วงฉ่ำ

คุณรุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน

คุณชญาณิฐ สุนทรพิธ

คุณเฉลิม หวังบริรักษ์กุล

คุณสมเกียรติ อภิญชน

คุณสุรชัย จันทิมาธร

คุณบัญชา เฉลิมชัยกิจ

คุณชมัยภร แสงกระจ่าง

อ.คำรณ คุณะดิลก

คุณสนธยา เสมทัพพะ

คุณชาญชัย สงวนวงศ์

อ.เรวดี ประเสริฐเจริญสุข

คุณรัษฎา มนูรัษฎา

คุณปุญชลา ประดับพงศ์

อ.มนัส จินตนะดิลกกุล

คณะกรรมการ

คุณชาตรี หุตานุวัตร

อ.ศศิธร สังข์ประสิทธิ์

คุณดารารัตน์ โพธิ์อยู่

คุณเทวินทร์ เอี้ยนมี

คุณผดุงศักดิ์ พื้นแสน

น.พ.ชัยยุทธ ธนไพศาล

คุณสิงห์ชัย ธรรมพิงค์

คุณกวีพันธ์ จงพิพัฒน์วณิชย์

คุณจิโรจน์ หริรักษาพิทักษ์

คุณดุษฎี มนูรัษฎา

คุณอานันท์ หาญพาณิชพันธุ์

คุณวิรุณ คำภิโล

คุณองอาจ ฤทธิ์ปรีชา

คุณนิยม-คุณประไพ พุทธสอน

คุณชุนห์พิมาน เชษฐเมทิณี

คุณมนตรี แก้วแสน

คุณสมนึก-คุณธีรัตน์ แพ่งนคร

คุณสว่าง วงศ์วิลาศ

คุณพิจิตชัย-คุณณัฐยา ศักดิ์สูง

คุณนิคม-คุณณัฎฐา เมธาวิตากุล

คุณสรเพชร-คุณกิติมา คิดอ่าน

คุณขวัญชีวัน-คุณวิฑูรย์ บัวแดง

คุณยศาทร รุจิกันหะ

คุณสุเมธ-คุณรสสุคนธ์ ทาริยะ

คุณวิรัตน์-คุณจารุวรรณ ภู่สว่าง

คุณนุชจรี –คุณทินกร ประอินทร์

คุณศุภฤกษ์-คุณปุณยวีร์ ฤกษ์วัฒนอำไพ

ไมตรี หอมทอง

คุณธีระวัฒน์ มุลวิไล

คุณทองเกลือ ทองแท้

คุณพิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย

คุณชัยวัฒน์ คำดี

คุณมงคล อุทก

คุณสุเทพ สุริยะมงคล

คุณดวงใจ แตระกูล

คุณอำนวย จริงจิตร

คุณสำรวย วิสดี

คุณเกรียงไกร วงศ์มาลีวัฒนา

…………………………..

ฯลฯ

ดร.กรวิภา บุญซื่อ

คุณเกียรติยศเกียรติวัชระอุดม

คุณสุภาวดี สุสันพูลทอง

คุณนิคม หาสาสน์ศรี

ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง

คุณเกิด พนากำเนิด

คุณทองคร้าม ทองขาว

คุณทองแถม นาถจำนง

คุณศิริพร ยอดกมลศาสตร์

คุณนุชอนงค์ ธิติศาสก์

คุณนราสิญจน์ ปัญญาศิลปวิทยา

คุณทยา กิจการุณ

คุณรอย รัถยาอนันต์

คุณพลลภ กันทะอินทร์

คุณเอนก บัวเขียว

คุณสืบศักดิ์ ปลื้มจิตต์

คุณประทวน-คุณผจงพร ธีระลักษณ์

คุณวัชรินทร์ ศรีสัตบุตร

คุณเพ็ญศรี มีแสง

คุณวสุรี ชาวกงจักร

คุณอรอนงค์ ครุทอง

คุณประพัฒน์ มณเฑียรทอง

คุณชมพล-คุณถนิมนันท์ การสุวรรณ

อ.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์

คุณสาทร สมพงศ์

คุณวัชรพันธ์ จันทรขจรพร้อมครอบครัว

อ.สมชาย วัชระสมบัติ

อ.สุรพล ปัญญาวชิระ

คุณจารุนันท์ พันธชาติ

คุณณัฐพล คุ้มเมธา

อ.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

คุณคานธี อนันตกาญจน์

คุณทองกราน ทานา

อ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

คุณประมวลศรี ยอดบางเตย

อ.มนตรี ยอดบางเตย

อ.อุไร สุทนต์

คุณสิมาลัย สังข์นุช

…………………………..

ฯลฯ

คุณพรพิมล โรจน์โพธิ์

คุณบุญเกียรติ กอสนาน

คุณปณิธาน ธรรมโสภิณฑ์กุล

คุณบุญชู โรหิตะสุข

คุณเกษตร ศิวะเกื้อ

น.พ.การุณ พูลพุทธพงษ์

คุณวีระพล วงค์โฆษวรรณ

น.พ.ศตวรรษ- คุณปลายอ้อ ทองสวัสดิ์

คุณชัชวาลย์-คุณอำไพรัตน์ นิลประยูร

คุณสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน

คุณวิเศษณ์ สุจินพรัม

คุณพัชรี ศรีมัธยกุล

คุณไพศาล ศรีจันทร์แดง

คุณปรารถนา หาญเมธี

คุณเกรียงไกร พานอ่อง

อ.รังสรรค์ จันต๊ะ

คุณวิรัช พรหมตัน

คุณบรรพต เมฆาไพศาล

คุณวีรวรรณ วงค์สิงห์ขันธุ์

คุณจีรวรรณ โสดาวัฒน์

คุณปรีดา ขนาบแก้ว

คุณกระแสสิน-คุณนิทัศน์ วงศ์บุญนาค

คุณประวินธ์ พฤฒินันท์

คุณจีระวัฒน์-คุณเมธาพร เขื่อนปัญญา

คุณสุณี จินตนะดิลกกุล

คุณสุชาดา ตั้งรพีพากร

คุณเมษา ชูสันตินิรันดร์

แสงดาว ศรัทธามั่น

อ.สิทธิธรรม โรหิตะสุข

คุณรัชชัย รุจิวิพัฒน์

คุณทวิทธ์ เกษประไพ

คุณสุวัฒน์ สุวรรณเดโชไชย

คุณศุภวัฒน์ หงษา

คุณวีระศักดิ์ สุนทรศรี

คุณกุลชีพ วรพงษ์

คุณเดือนเพ็ญ คำหริ่ม

คุณชวิน ถวัลย์ภิยโย

คุณญิบ พันจันทร์

…………………………..

ฯลฯ

กองเลขานุการ

คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย

คุณสมบัติ บุญงามอนงค์

คุณภาณุพงศ์ ไชยวรรณ์

คุณกัลยา ใหญ่ประสาน

คุณสินีนาฎ เกษประไพ

แม่จำปา แสนพรม

พจ.ภก.สุทธิศักดิ์ ปวราธิสันติ์


กระเป๋าเงินหาย..

803 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 22 มิถุนายน 2011 เวลา 22:22 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, ทุนสังคม #
อ่าน: 13985

ข้อมูลต่อไปนี้เคยเป็นข่าวทางทีวีมาแล้ว แต่ผมเอามาจากหนังสือเล่มหนึ่ง ความน่าสนใจจึงอยากจะเอามาเขียนถึงอีก

มีการศึกษาเรื่องคุณธรรม ศีลธรรมของคนในสังคม โดยการเอากระเป๋าเงินทิ้งวางไว้ในที่สาธารณะต่างๆ จำนวนเงินก็มากโขประมาณ 2000 บาท ในนั้นมีที่อยู่ มีรูปเจ้าของกระเป๋าและรูปเด็กเล็ก ใครๆดูก็เดาออกว่าเด็กนั้นคือลูกเจ้าของกระเป๋าเงินใบนั้น


(รูปนี้ไม่เกี่ยวกับสาระนะครับ เอามาให้ดูเฉยๆ)

เขาไปทดลองในหลายจังหวัดรวมทั้งที่กรุงเทพฯ ด้วย พบว่า ที่จังหวัดหนึ่งเหนือกรุงเทพฯขึ้นไป มีการเอากระเป๋ามาคืนร้อยละ 60 ที่กรุงเทพฯ ได้คืนร้อยละ 50

การทดสอบนี้ได้ทำในประเทศต่างๆทั่วโลก ที่ประเทศหนึ่งในยุโรป มีเด็กอายุ 8 ขวบพบกระเป๋าตกที่พื้นพร้อมกับแม่ และทั้งสองคนบอกกันว่าเราไม่ควรเก็บเพราะมันไม่ใช่ของเรา ผู้เป็นแม่อธิบายภายหลังว่า “ดิฉันเติบโตในช่วงที่ครอบครัวตกอับ เงินทุกสตางค์จึงมีค่ามาก” และพ่อกับแม่อบรมเรื่องซื่อสัตย์มาตลอด

ที่อีกประเทศหนึ่งผู้หญิงแต่งกายดีมากจูงมือลูกสาวเดินเล่นอยู่ ทันใดนั้น เธอก้มลงเก็บกระเป๋าที่ทีมงานศึกษาวิจัยนี้ทิ้งไว้ เธอคนนั้นเอาใส่กระเป๋าตัวเองขณะที่ลูกน้อยยืนมองไม่ปริปาก ทีมงานไม่เคยได้รับการติดต่อกลับมาอีกเลย

แม่ค้าขายผลไม้วัยยี่สิบปีในประเทศหนึ่งแถบเอเชียเธอไม่ได้ร่ำรวย เธอคืนกระเป๋าโดยไม่ลังเล เธอกล่าวว่า “ดิฉันเป็นมุสลิม จึงรู้จักวิธีควบคุมจิตใจอย่างดี เวลาเผชิญหน้ากับสิ่งยั่วยวน” เธอกล่าว

ชายคนหนึ่งอพยพสงครามและไปเป็นลูกจ้างในร้านอาหารแห่งหนึ่งเอากระเป๋ามาคืน เขากล่าวว่า “ผมทำงานหนักมานาน รู้ดีว่ากว่าจะได้เงินจำนวนนี้มันเหนื่อยแค่ไหน” นักศึกษาคนหนึ่งทำงานสามแห่งเพื่อแลกกับเงินค่าเล่าเรียนและที่พัก ค่าใช้จ่ายต่างๆ เธออธิบายว่า “เงินจำนวนนี้ช่วยค่าใช้จ่ายต่างๆได้แน่นอน แต่พอเห็นรูปเด็กในกระเป๋านั้นเปลี่ยนใจเพราะคิดว่ามีคนที่ต้องการใช้เงินก้อนนี้มากกว่าเธอ เธอจึงนำกระเป๋าไปคืน”…..


การศึกษาครั้งนี้สรุปว่า

  • การอบรมบ่มเพาะตั้งแต่ครอบครัวมีผลมากต่ออุปนิสัยของเด็กคนนั้นเมื่อเติบโตขึ้น
  • ความศรัทธาในศาสนา ความเชื่อมั่นในหลักการศาสนา มีพลังมากในการกำหนดความคิด สำนึกแห่งการทำความดี ซื่อสัตย์
  • การเผชิญความทุกข์ยากมาก่อน แล้วมีความตระหนัก “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ทำให้มีสติในการกระทำความดี ความเหมาะสม

ผมมีความเชื่อมั่นตามผลการศึกษาครั้งนั้น(ศึกษาเมื่อประมาณ 2544) แม้ว่าหลักการดังกล่าวมาทั้งหมดนั้นจะไม่ใช่เหตุผลร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นสาระหลักของการหลอมเด็ก คนให้เติบโตมาอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม เนื้อแท้ก็คือวัฒนธรรมของครอบครัว วัฒนธรรมความเชื่อความศรัทธา และการเห็นอกเห็นใจ มันเป็นทุนทางสังคมเดิมๆของเรา

ผมคิดว่าระบบการศึกษา หรือครูก็คงมีความเห็นสอดคล้องกับสิ่งดังกล่าวแต่การนำหลักการสู่หลักสูตรและการปฏิบัติในชีวิตจริงในห้องเรียนนั้น ถูกปรับ สอดแทรก ฯลฯ เข้ามาในการเรียนการสอนในทุกวิชามากน้อยแค่ไหน ครูก็บอกว่า ครอบครัวต้องช่วย พ่อแม่ก็บอกว่า โรงเรียนต้องสร้างเด็ก

ข่าวหลังๆมานี้เจ็บปวดกับที่ว่า งบประมาณการศึกษาไทยมากที่สุดในโลก แต่ผลสัมฤทธิ์ถดถอยอย่างหนัก

ใครมาเชิญผมเป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการผมก็ทำอะไรไม่ได้หรอกครับ สู้ผมสร้างในครอบครัวและสังคมเล็กๆของผมดีกว่า เริ่มจากที่นี่ก่อนดีกว่าผมว่านะ แต่ที่นักการเมืองมาพ่นออกอากาศกันโครมๆนั่นน่ะ ฟังแล้วเศร้าจริงๆ ล่องลอยอยู่บนฟองน้ำลายกันมากกว่า….

อ้าวไปจบลงตรงนี้ได้ไง ..หุหุ..


ยืนได้ไง

2 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 22 มิถุนายน 2011 เวลา 0:26 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1145

 

นกกระยางตัวนี้ยังไม่กลับรัง เย็นย่ำแล้วยังหาอาหาร ใช้ความนิ่งคอยจ้องว่ามีปลาว่ายมาใกล้ๆตรงนี้ไหม

ผมเป็นงงภาพซ้ายมือ

ยืนได้ไง เก่งจัง


ขี้ข้าหมา..

35 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 21 มิถุนายน 2011 เวลา 23:42 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1770

เจ้าคุกกี้ มันอ้วนเหมือนเจ้าของ พันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์

เขารู้ภาษาคนเยอะเพราะสอนเขา แต่ไม่มากเท่าบางครอบครัว

ขนปุย ยาว หลุดร่วงเยอะ เป็นภาระที่ต้องทำความสะอาด

กลางคืนเข้านอนในบ้าน ต้องปูผ้าให้เขานอน

เช้าก็ตื่นแต่เช้ามาเอาเขาออกนอกบ้าน

จะกินอะไรก็คาบไปกินบนผ้า

ถึงเวลาอาบน้ำให้ ไม่สบายต้องอุ้มไปหาหมอ ว่างก็พาไปเดินเล่น หวีขนยาวๆให้

ให้เวลากับเขา เล่นกับเขา มีหน้าที่เห่าเวลามีคนมาที่ประตูบ้าน

โอย เกิดเป็นหมานี่ไม่ต้องทำงาน มีคนดูแลชีวิตให้

เกิดเป็นหมาดีกว่าว่ะ….ห้า ห้า ห้า


เงาลานปัญญา

9 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 20 มิถุนายน 2011 เวลา 0:43 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1512

ต่อให้เดาก็คงไม่มีใครทราบว่า Lanpanya.com นี้อยู่ที่ไหน อย่างไร อิอิ

เป็น สติกเกอร์ท้ายรถผม

วันนั้นผมเอารถไปถ่ายรูป แล้วเปิดประตูหลังทำให้เป็นหลังคากันแดด

ปรากฏเงานี้ที่พื้นหลังรถ

ผมเลยเอาผ้าม่านเก่าที่ติดท้ายรถไว้มารอง

จึงได้ภาพอย่างที่เห็น

(ขออภัยที่ไม่มีสาระ)


สังคมขลุกขลิก

2 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 16 มิถุนายน 2011 เวลา 21:00 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1035

วันนี้ผมขับรถไปรับคุณตุ๊ที่ มข. ระหว่างทางตรงสามแยกทางรถไฟจะออกถนนมิตรภาพ มีรถเมล์ต่างอำเภอจอดนิ่งอยู่ ผมเห็นรถเก๋งแซงซ้ายขึ้นไป ยังนึกว่า เอ้ารถเมล์มาจอดทำไมกลางสามแยกนี่ ทำให้รถเริ่มติด นึกตำหนิในใจว่า “คนไทยเราทำอะไรตามใจคือไทยแท้” ทำไมไม่จอดแอบชิดถนน..

เมื่อผมขับรถไปใกล้ๆ ก็เห็นคุณยายแก่ๆ ผมขาว มีลูกสาวจูงมือวิ่งปุเลงๆ พยายามจะรีบไปขึ้นรถเมล์คันนั้น ผมเดาเรื่องราวออกว่า อ๋อ รถเมล์จอดคอยคุณยายและลูกสาวคุณยายนั่นเอง สภาพพื้นที่จะจอดริมถนนแบบเหมาะสมก็จะเสียเวลา จะไปเลยก็อยากรับคุณยาย เลยจอดมันอย่างนี้ คงไม่นานร๊อก ผมนึกถึงใจคนขับรถเมล์

แม้ระยะทางจะไม่ไกลมากนักคุณยายก็หอบทีเดียว เข้าใจได้ครับ ใครเห็นภาพนี้แล้วก็ให้อภัยรถเมล์คันนั้น ผมเดาเอาเองนะ …..

ความเหมาะสมถูกต้องตามระเบียบจราจร หรือสามัญสำนึกของสังคมเมือง สังคมบริหารจัดการ สังคมที่ต้องการความเป็นระเบียบมากกว่า ชุมชนอื่นๆ เหตุการณ์แบบนี้ ก็คงจะต้อง

  • ไม่หยุดรถ ไม่รับผู้โดยสารลักษณะนี้ เลยตามเลย ให้คุณยายหรือผู้โดยสารรอคันอื่นต่อไป
  • รับผู้โดยสารโดยพยายามจอดเข้าข้างทางอย่างถูกต้องแล้วกระเป๋ารถวิ่งลงมาจูงคุณยายไปขึ้นรถ

แต่นี่เขาจอดกลางสามแยก รอคุณยายไปขึ้นรถ…

ผมนึกไปถึงการจัดงานศพคุณแม่ผมที่เพิ่งผ่านมา เนื่องจากผมไม่ได้คลุกคลีชุมชนที่บ้านมานาน และไม่เคยเข้าไปอยู่วงในของการจัดงานศพ ที่เรียกว่า “แม่งาน” ก็มืดแปดด้าน แต่เราอาศัยเรามีกระบวนการ มีประสบการณ์จัดงานอื่นๆ และลักษณะการบริหารจัดการงาน สิ่งที่เราทำคือ ประชุมน้องๆ พี่ๆ ไล่เลียงว่าจะต้องทำอะไรบ้างตั้งแต่ต้นจนจบ พิมพ์ตารางละเอียด ประเด็นหลัก ประเด็นรอง เอาอะไรที่ไหน ติดต่อใคร ใครรับผิดชอบ หากไม่เป็นไปตามลำดับจะทำอย่างไร ..ฯลฯ

อาศัยน้องๆที่อยู่กับแม่ หรืออยู่ที่บ้าน เขาจึงรู้เรื่องราวแบบนี้มากกว่าผม เราก็ทำแผนการบริหารจัดการงานศพขึ้นมาแล้วมอบให้ทุกคนถือไว้ช่วยกันเติมเต็ม ทุกคืนจะมี AAR จนถึงเที่ยงคืนทุกคืน เพื่อสรุปปัญหา อุปสรรค และงานที่จะทำในวันต่อไป เรียกว่า เอาการจัดการแบบสมัยใหม่เข้ามาใช้..

แต่การเดินของงานมันมีรายละเอียดมากกว่าสิ่งที่เราคุยกันมากมายมหาศาล ทุกคนต้องพร้อมตัดสินใจทันที หรือรีบปรึกษาหารือกันเพื่อสรุปว่าจะเอาอย่างไร.. เพราะการจัดงานศพนั้นมีพิธีกรรมมากมาย แต่ละพิธีกรรมก็มีรายละเอียดเฉพาะ คนที่ดำเนินการพิธีกรรมนั้นๆเราก็ต้องประกบเพื่อขอทราบรายละเอียดเพื่อเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ มีพิธีสงฆ์ มีผู้ใหญ่มาร่วม รายละเอียดพิธีสงฆ์เป็นอย่างไร อะไรก่อน หลัง ใครจะเป็นคนทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ โอ้โฮ….มันมากมายมากกว่าที่เราคุยกันหลายเท่านัก

ผู้ดำเนินการพิธีต่างๆนั้นขาดอะไรก็กวักมือเรียกเราให้ไปหาสิ่งนั้นสิ่งนี้มา เดี๋ยวนี้…อ้าว..ทำไมไม่บอกตั้งแต่แรก…ขนาดเตรียมกันมาแล้วนะ..

เดี๋ยวแม่ครัวก็ตะโกนบอกว่าขาดนั่น ขาดนี่ให้ไปซื้อมาเดี๋ยวนี้.. จริงๆ สิ่งที่เตรียมไว้นั้นเมื่อถึงเวลาหลายเรื่องต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ทันทีตอนนั้น เดี๋ยวผู้ใหญ่มาทักว่าเรื่องนั้นควรจะเป็นแบบนี้ ท่านเจ้าอาวาสวัดจะเอาแบบนั้น พระผู้ใหญ่ของเราบอกว่าควรเป็นแบบนี้ ….ห้า ห้า ห้า หัวปั่นไปหมด

แต่แปลกนะครับ ทุกคนจริงจังในการจัดงานสุดฝีมือ ระหว่างดำเนินการอาจจะมีการกระแทกกระทั้นบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นเจ้าภาพ ก็พี่พี่น้องน้องนี่แหละที่หัวปั่นทีเดียว เพราะมันไม่เป็นไปตามลำดับการประชุมมาทั้งหมด … แต่เราก็เข้าใจว่าทำไมเป็นเช่นนั้น….

หลักของการจัดงานคือ ประหยัด ถูกต้องตามประเพณี กระชับไม่ยืดยาด แค่การตัดสินใจเรื่องการเชิญผู้ใหญ่มาทอดผ้าบังสกุลตอนเวลาเผา สามวันก็ตกลงกันไม่ได้ อิอิ น้องคนนั้นบอกต้องเชิญผู้ใหญ่เขา น้องคนนี้ต้องเชิญเจ้านายเขา หากเชิญคนนี้ คนนั้นก็ต้องเชิญ ไม่งั้นไม่ได้ และคาดการณ์กันว่านักการเมืองท้องถิ่นก็จะแห่มากันเพื่อเสนอหน้าเป็นปกติในงานแบบนี้ และส่วนใหญ่บีบบังคับเจ้าภาพให้เขาเป็นประธานในการทอดผ้า ไม่เช่นนั้น อาจได้รับผลกระทบในเรื่องอื่นๆ ผมเป็นงงกับไอ้นักการเมืองแบบนี้ บังเอิญ ผมรู้จักหมด และเขารู้ว่าบ้านผมซื้อเสียงไม่ได้ และมาบังคับไม่ได้ แม้ว่าจะมีความพยายามแหย่มาก็ตาม…

การรับฟังความเห็นจากผู้เฒ่าผู้แก่ของชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ การขอปรึกษาหารือญาติผู้ใหญ่ของเราเป็นเรื่องสำคัญ การไปกราบขอคำแนะนำพระผู้ใหญ่เป็นเรื่องสำคัญ ฯลฯ และคำแนะนำทั้งหมดบางเรื่องไม่ตรงกันเลย ห้า ห้า ห้า เราต้องมาตัดสินใจและกระทำมิให้ทุกฝ่ายน้อยใจ เสียน้ำใจ…

ผมสรุปเองว่า สังคมไทยชุมชนเป็น “สังคมขลุกขลิก” ไม่สามารถเอาแบบเป๊ะๆแบบสังคมเมือง สังคมการจัดการได้ จะมีขาด มีเกิน มีน้อย มีมาก แต่งานไปได้ ทุกอย่างไปได้ เพราะทุกคนพร้อมยื่นมือมาช่วย พร้อมยื่นมือมาแนะนำ บอกกล่าว นี่คือลักษณะแม่งานของชุมชน และหากจะมีอะไรขาดๆเกินๆไปบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องต้องตำหนิ ติเตียน ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง

ประสบการณ์ครั้งนี้ผมคุยกับน้องสาวที่เป็นข้าราชการที่บ้านว่า น่าทำ “คู่มือการจัดงานศพนะ” นี่คิดแบบคนที่ทำงานสมัยใหม่ หากแม่งานชาวบ้านจริงๆมาได้ยินก็คงหัวเราะก๊ากส์ จนน้ำหมากหกแน่ๆ เพราะเรื่องที่เรานึกไม่ถึงมีตั้งเยอะ และไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ต้องแก้ปัญหากันเฉพาะหน้าตรงนั้น

การจัดงานศพในมุมของผมที่ผ่านมานั้นมันขลุกขลิกๆ แต่ผ่านไปด้วยดี หลายคนแอบชมลับหลังว่ากระชับดี และแอบมาขอเอกสารบางอย่างไปเป็นตัวอย่างด้วย เช่น การเขียนประวัติผู้วายชนม์ ก็ไม่เหมือนงานอื่นๆ เขาชอบว่างั้น การให้ลูกหลานอ่านคำกลอนให้คุณยายด้วยตัวเขาเอง เน้นการตรงเวลา และผู้มาทอดผ้าหน้าเมรุนั้นเอาเพียง 1-2 คนเท่านั้น ฯ

ความขลุกขลิกนี้ผมว่าคล้ายๆรถเมล์คอยคุณยายกลางสามแยกนั่นแหละ เมื่อเห็นสาระของเหตุการณ์นั้นแล้วก็เข้าใจ และยืดหยุ่นได้ แต่สังคมที่วุ่นวายแบบสังคมเมืองนั้น ต้องการความแน่นอน ชัดเจน ต้องการระเบียบ กฎ กติกามากกว่า ต้องการกฎหมายบังคับมากกว่า

มุมมองนี้เองที่ผมนึกไปถึงเรื่องราวหลายเรื่องที่ผมทำงานในชนบท มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ..


ผมเกิดชอบเพลง ชิมิ ชิมิ นี้ขึ้นมา..

14 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 16 มิถุนายน 2011 เวลา 9:46 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1940

ผมชอบเพลงนี้มากเลยครับ ชิมิ ชิมิ

 

http://www.youtube.com/watch?v=v8UX-QdaJ6c


บทสนทนาในรถ

12 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 14 มิถุนายน 2011 เวลา 22:10 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1638

นั่งเครื่องบินซะชิน ลองมานั่งรถโดยสารบ้างก็ดีเหมือนกัน คนข้างกายเคยไปทำการประเมินผลบริษัทนครชัยแอร์ หรือ NCA คนเดินทางบ่อยๆรู้จักบริษัทนี้ดีว่าเป็นที่หนึ่งในเรื่องความมีมาตรฐาน ทั้งระดับความปลอดภัย ความสะดวกสบายของที่นั่ง การบริการ ตลอดเส้นทางขอนแก่นกรุงเทพฯนั้นมีพนักงานขับรถเปลี่ยนสองคน ความเร็วคงที่ไม่เร็วเกินไป ที่แอร์เย็นจนหนาว ทีวี ห้องน้ำ และที่พิเศษ ข้างๆรถจะมีค้อนติดไว้ เพราะนี่คือการเตรียมตัวหากรถเกิดสุดวิสัยตกน้ำจมลง ก็ใช้ค้อนนี้ทุบกระจกหน้าต่างให้แตกและออกมาได้ ที่นั่งมีนวดไฟฟ้า

แน่นอนราคาก็แพงกว่ารถทั่วไป แต่คนก็แน่นตลอด ยิ่งรถ First class ที่นั่งงี้กว้างมีแค่ 27 ที่นั่งเอง สบายมากกว่าที่นั่งเครื่องบินเสียอีก ของกินก็แจกจนเด็กอ๊วกเลยเพราะเธอกินหมดแจกอะไรมาก็ยัดใส่ปากหมด ดันกินน้ำโค๊กเข้าไปอีก จะเหลือรึ แม่นั่งข้างๆบอกก็ไม่ฟังจะกินลูกเดียว ห้า ห้า ห้า นี่ก็อ๊วกตลอดทางเหมือนกัน

ขาขึ้นขอนแก่นที่นั่ง first class เต็มผมก็นั่ง gold class ซึ่งราคาถูกลงมา ได้ที่นั่งหลังสุด ผมเลือกนั่งด้านในทางเดิน แถวเดียวกันอีกซีกหนึ่งเป็นเด็กหนุ่ม น่าจะยี่สิบต้นๆ ดูจะเฮ้ว เพราะเสือกใส่แว่นดำทั้งที่เป็นกลางคืน กางเกงเอวต่ำแทบหลุดตูด ยึกๆยักๆ แตะโน่น จับนี่ เดี๋ยวก็โทรศัพท์ โทรจังเลย ไม่รู้ว่ามีอะไรหนักหนา ทั้งที่โฮสเตท ประกาศว่า กรุณางดใช้มือถือเพราะรบกวนผู้โดยสารท่านอื่นๆ มันไม่ได้ยินรึไง..โทรหา…. ผมว่าผู้โดยสารท่านอื่นๆก็รู้สึกตะหงิดๆ แต่ไม่มีใครพูดจาอะไร รักษามารยาทเงียบไว้ รวมทั้งผมด้วย

รถออกเดินทางไปนานแล้ว เขาเปิด vcd หนังให้ดูจนหมดม้วนแล้ว ปิดไฟต่างคนก็พยายามนอนหลับ ส่วนใหญ่ก็เอาเก้าอี้เอนลงมากน้อยก็แล้วแต่ ไอ้หมอนี่เอาจนสุดๆ ข้างหน้าเขามีสาวร่างใหญ่กลางคนเอนลงมามากเหมือนกันหลายคนหลับไปแล้ว ผมแปลกที่ก็กึ่งหลับกึ่งตื่นทั้งที่พยายามหลับ

แล้วผมก็ได้ยินเสียงสตรีที่นั่งเก้าอี้หน้าเจ้าหนุ่มที่นั่งคู่แต่คนละข้างกับผมเอะอะขึ้นมาว่า

…เฮ้ยๆ เฮ้ยๆอะไรวะ ทำไมเอาเท้ามาดันเก้าอี้ฉัน ไอ้คนไม่มีสกุล พูดจาดีดีก็ได้ ทำไมทำอย่างนี้ ไอ้คนไม่มีสกุล…

เธอฮึดฮัดแล้วหันมามองไอ้เด็กหนุ่มที่นอนขยุกขยิกอยู่นั่น แล้วบ่นอุบอิบพยายามนอนลงไปอีก

ไอ้เด็กหนุ่มรู้ตัวว่าสตรีท่านนั้นด่าตัวเองจึงดึงเก้าอี้สูงขึ้นมาระดับหนึ่ง ดูจะมีปฏิกิริยาแต่ไม่แสดงอะไรออกไป สักพักหนึ่งเด็กหนุ่มก็โทรศัพท์ไปหาใครก็ไม่รู้แล้วพยายามพูดดังๆให้ได้ยินว่า

…เฮ้ยไอ้….เดี๋ยวถึง…มึงมารับกูหน่อยนะ เอามีดใหญ่ๆมาด้วย กูจะเอามาฟันปากคนว่ะ เก่งนักนี่….

ผมตาสว่างเลย ใจก็นึกว่า เดี๋ยวจะเกิดพายุทอร์นาโดหรือเปล่านี่…

ไม่มีอะไรต่างคนต่างพยายามนอนเงียบๆกันไปจนถึงปลายทาง….

เฮ่อ…ประสบการณ์บนรถโดยสารที่มีมาตรฐานที่สุด…


ผมไม่ต้องซื้อข้าวกิน

27 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 14 มิถุนายน 2011 เวลา 13:24 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, ทุนสังคม #
อ่าน: 2754

กินแกลบหรือไงถึงไม่ซื้อข้าวกิน หรือไปแอบทำนาที่ไหนมาเหมือนดาราในทีวี หรือคนดังๆหลายคนที่เป็นไฮโซ ลูกคนรวยลงไปทำนาจนหน้าขึ้นฝ้าแล้ว ก็ไม่ใช่

ไม่ใช่มาคุย แต่อยากเล่าให้ฟังว่านี่คือปรากฏการณ์ที่ผมได้รับจากการทำงานและการดำรงวิถีแบบวัฒนธรรมเดิมๆของไทย แล้วได้ผลตอบรับมาแบบไม่น่าเชื่อ..ซึ่งเราไม่ได้คาดหวังมาก่อน

เรื่องแรก เคยเล่าบางช่วงบางตอนมาบ้างแล้ว คือ ผมอยู่กินกับภรรยาผมมานานตั้งแต่ก่อนเธอไปเรียนที่เยอรมันและเนเทอร์แลนด์ พอกลับมาและทำงานเป็นอาจารย์ที่ มข. ผมก็ทำงานเป็น NGO และเข้าสังกัดบริษัทที่ปรึกษา ก็วนเวียนทำงานในอีสานมาตลอด เมื่อผมมีลูกสาวคุณแม่ภรรยาผมก็ขออาสามาเลี้ยงหลาน และประกาศว่าขอเลี้ยงเป็นคนสุดท้ายเพราะเลี้ยงมา 14 คนแล้ว อิอิ อิอิ แล้วอายุท่านก็มากแล้ว

ภรรยาผมเป็นคนสุดท้อง คุณแม่จึงหวังฝากผีฝากไข้ไว้ด้วย พอดีท่านเป็นหอบหืด การอยู่อีสานดีกว่าอยู่กรุงเทพและตรังบ้านเกิดท่าน ที่ขอนแก่นมีโรงพยาบาล ใกล้หมอ เราเองก็รู้จักคุณหมอหลายท่าน จึงให้คุณแม่เป็นคนไข้ประจำของคุณหมอรุ่นน้องผม ก็เป็นคนไข้มามากกว่า 20 ปี

ยามที่ท่านแก่หง่อม และเรี่ยวแรงไม่มี เราเองสองคนก็ออกไปทำงานและเป็นงานที่ตระเวนไปทั่ว จึงไปหาคนดูแลผู้สูงอายุ ที่ขอนแก่นมีสถาบันที่ฝึกคนบริการด้านนี้ โดยใครผ่านที่นี่ก็ประกันรายได้ไม่ต่ำกว่า 5000 บาทต่อเดือน เราก็ได้มาดูแลแม่ แต่แล้วก็เปลี่ยนคนใหม่เป็นคนที่ 6 ถ้าจำไม่ผิด เราได้เด็กนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งของขอนแก่น เธอเป็นเด็กชาวนาบ้านนอก อยากเรียนหนังสือ และหางานทำ แต่พ่อแม่ไม่มีเงินจึงมาหาเงินเอง จึงมารับจ้างดูแลผู้สูงอายุเก็บหอมรอมริบไปเป็นค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่าย แบบประหยัดสุดๆ ไม่เคยเที่ยวเตร่เหมือนวัยรุ่นคนอื่น ไม่เคยเดินทาออกจากจังหวัดขอนแก่น โลกเธอแคบมาก หน้าตาก็ล๊าวลาว แต่นิสัยดีมากๆ

เราก็ดูแลเธอเหมือนลูกหลาน กินพร้อมกัน เหมือนกัน ที่ห้องมีแอร์ให้แม่เธอก็นอนในห้องกับแม่ ขาดเกินเรื่องการเรียนอะไรเราก็ช่วยเหลือ ต่อมาเธอเรียนหนัก แม่ก็ต้องการคนดูแลมากขึ้นทั้งกลางวันกลางคืน เธอจึงชวนน้องสาวมาช่วยงานอีกแรง เราก็ยินดี แบ่งกันคนหนึ่งดูแลแม่กลางวันอีกคนดูแลกลางคืน ทำทุกอย่างให้คุณยาย ซึ่งเราก็ฝึกอบรมเธอ ยามบางครั้งคุณแม่ต้องไปนอนโรงพยาบาล เธอทั้งสองก็ไปนอนเป็นเพื่อน และถือโอกาสให้คุณพยาบาลช่วยแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยแบบนี้เพิ่มเติม ซึ่งก็ทำได้ดีมาก

คุณแม่ป่วยอยู่ 7 ปีนอนบนเตียงตลอด เธอสองคนก็ดูแลมาตลอดจนวาระสุดท้ายเธอก็นอนข้างเตียงคุณแม่ก่อนจะสิ้นลม คนพี่เรียนจบ และออกไปแต่งงานกับหนุ่มที่บ้านเราก็ฝากงานหนุ่มคนนั้นให้เข้าทำงานที่โรงงานผลิตกระดาษที่น้ำพอง เพราะผมมีเพื่อนรักเป็นกรรมการผู้จัดการที่นั่น ส่วนน้องสาวยังเรียนไม่จบเราก็ส่งเสียเรียนจนจบปริญญาตรีด้านกฎหมาย และกินนอนที่บ้านตลอด ก็อยู่ห้องคุณแม่นั้นตลอด เราดูแลเหมือนลูกสาวอีกคนหนึ่งเพราะอยากตอบแทนเธอที่ช่วยดูแลคุณแม่เป็นอย่างดีมาตลอด พี่สาวคนที่เรียนจบไปก่อนตัดสินในกลับบ้านไปทำไร่ทำสวนกับสามีที่ยังทำงานกินเงินเดือนบริษัทผลิตกระดาษ เพราะอยู่ติดบ้านจึงมีเวลาช่วยเหลือกัน

คนน้องสาวเรียนจบได้งานทำในขอนแก่นก็พักอยู่ที่บ้านฟรี ตลอด เพราะคิดว่าเธอคือลูกสาวเราอีกคน

แต่ทุกฤดูกาล พี่สาวของเธอจะเอาผลหมากรากไม้ที่เธอผลิตเองได้เอามาฝากเราตลอดทั้งปี จนบ่อยครั้งเรากินไม่หมด ก็แจกให้คนใช้บ้างเพื่อนบ้านข้างๆบ้างแบ่งไป หนึ่งในของฝากประจำที่บ้านผมได้ คือ ข้าว…

เรื่องที่สอง สมัยที่ผมทำงานกับอาว์เปลี่ยนที่ดงหลวง มุกดาหาร มีพนักงานขับรถคนหนึ่งทำงานมาด้วยกันตั้งแต่ต้นจนสุดท้าย เรารู้ใจกัน เพราะต่างก็ทำงานกันมานานเข้าใจ และเอื้ออาทร กันมาตลอด ช่วงทำนาก็ให้หยุดขับรถไปทำนาให้เต็มที่ เสร็จนาก็มาขับรถต่อ หรือวันไหน พ่อแม่ ลูกเต้าไม่สบายอยากจะกลับไปดูแลก็ไปได้เลย ไม่ว่ากัน

เรามีงานทดลองวิจัยเล็กๆเรื่องการใช้สารหรือวัสดุต่างๆทดสอบสระน้ำรั่วซึม เราก็ใช้สระน้ำในสวนของเขาเป็นสถานที่ทดลองศึกษา ความรู้ต่างๆที่เราเอาให้ชาวบ้าน คนขับรถคนนี้ก็นั่งฟังมาตลอด โดยเฉพาะ อาว์เปลี่ยนไปส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และฯลฯ คนขับรถคนนี้ก็แอบเอาความรู้ไปทดลองใช้ในแปลงนาแปลงสวนของตัวเองจนได้ผลกับตา

หลายปีผ่านมาพี่ชายเขาโดนยิงตายกลางสวน สาเหตุทราบว่ากลุ่มคนค้ายาเสพติดเป็นผู้ฆ่าโดยสมมติฐานว่าผู้ตายเป็นสายตำรวจ ซึ่งไม่ใช่ คดีท่าทางจะล้มเหลวเพราะมีอิทธิพลใหญ่ขวางคดี ผมทราบจึงไปหารุ่นน้อง มช.ที่เป็นนายตำรวจที่กองเมืองมุกดาหารเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง นายตำรวจใหญ่ท่านนั้นก็รับปากจะจัดการให้ และไม่นานก็สามารถจับคนร้ายได้และสาวไปถึงอีกหลายคน และต่อมากลุ่มค้ายาเสพติดเหล่านี้ก็เสียชีวิตหมด เราไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นเพราะวิสามัญ หรือคนของกลุ่มค้ายามาเก็บเองก็ไม่อาจทราบได้…

ยามที่ปิดโครงการสมบัติของสำนักงานก็แบ่งให้ลูกน้องทั้งหมด คนขับรถได้มากที่สุดเพราะอยู่มานานและกลุ่มลูกน้องตกลงกันเอง

แม้ว่าโครงการจะจบไปนานแล้วคนขับรถก็เอาข้าวที่เขาปลูกเองเป็นข้าวอินทรีย์มาให้ผมทุกฤดูกาลผลิต ให้เงินก็ไม่เอา บอกไม่ต้องเอามาก็ไม่ฟัง เขาบอกว่า ถ้าอาว์เปลี่ยนอยู่เมืองไทยมีครอบครัวก็จะเอาข้าวไปให้กินเช่นกัน…

ผมจึงไม่ได้ซื้อข้าวกินเลย…

หากว่าจะเป็นระบบอุปถัมภ์ ผมก็ว่าเป็นมุมของการเอื้ออาทรกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือสนับสนุนกันตามวาระ โอกาส เงื่อนไขที่มีอยู่ เราซาบซึ้งในน้ำใจของน้องๆเหล่านั้น แน่นอนความสัมพันธ์ของเรามีแต่ดีกับดี ตลอดไป บ้านผมเปิดกว้างสำหรับเธอเหล่านั้น หรืออดีตคนขับรถของผมจะมาพักนอนด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ ตลอดเวลา…


อวัยวะเทียม

15 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 13 มิถุนายน 2011 เวลา 10:38 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1622

ผมลงไปกรุงเทพฯได้มีโอกาสคุยกับหลานที่กลับมาจากอเมริกาชั่วคราว เขาจบวิศวอุตสาหการโดยได้ทุน กพ.ไปเรียนแล้วถือโอกาสทำงานในห้องแลบที่นั่นหาประสบการณ์ต่างๆก่อนจะกลับมารับราชการที่กระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป

สอบถามว่าเรียนปริญญาเอกด้านไหน เรื่องอะไร ทำไมเลือกเรียน เธอตอบว่า เรียนปริญญาเอกด้านเลเซอร์ จบแล้ว แต่มาสนใจเรื่องการสร้างอวัยวะเทียมของมนุษย์ เพราะการออกแบบเรื่องโลหะต่างๆตามโรงงานนั้นมันถึงที่สุดแล้ว แต่งานด้านออกแบบอวัยวะเทียมกำลังมาแรงมาก โดยทางมหาวิทยาลัยเชื่อมกับโรงพยาบาลต่างๆ เอาโจทย์มาศึกษาและทำอวัยวะต่างๆตามสั่งขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดสาขาต่างๆทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ไปอีกมากมาย เช่น Bio-engineer ที่ศึกษาคิดค้นโลหะ หรือธาตุสารต่างๆในโลกนี้มาที่สามารถให้เนื้อเยื่อมนุษย์เจริญเติบโตได้ หากสำเร็จก็ไปออกแบบสะโพกเทียม กระดูกตรงนั้นตรงนี้เทียมขึ้นมาแล้วเอามาทดแทนในร่างกายมนุษย์…

ตอนนี้หลานคนนี้กำลังศึกษาในห้องแลบทำกระดูกหู ก็เจ้า ค้อน ทั่ง โกลน นั่นแหละ เพื่อเอามาแทน เพราะทางโรงพยาบาลพบว่าผู้สูงอายุหูตึงมากขึ้น คนไข้กลุ่มนี้มีจำนวนมากมาย มีหลายวิธีที่รักษา วิธีการผ่าตัดเอาอะไหล่เทียมไปใส่แทนนั้นเป็นอีกวิธีหนึ่ง อยู่ในระหว่างการศึกษาและทดลองนี่แหละ ทดลองเอาวัสดุต่างๆมาทำเพื่อเลียนแบบธรรมชาติให้ได้มากที่สุด ซึ้งเขาว่ายากมากที่จะหาวัสดุธาตุอะไรจะมาแทนกระดูดมนุษย์ แต่ดูเหมือนความรู้นั้นกระชับลงมากขึ้นแล้ว

อีกอย่างคือ วิศวกรรมศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับ Stem cell มากขึ้น ผมเองฟังแล้วก็นึกจินตนาการไปว่าปัจจุบันนี้ศาสตร์ต่างๆเอามาบูรณาการกันสนิทแนบมากขึ้น…

ฟังหลานเล่าถึงวงการทางวิชาการในมหาวิทยาลัยที่อเมริกานั้นดูจะเอากลับมาใช้ประโยชน์ในชีวิตมนุษย์มาก โดยเฉพาะเชื่อมกับระบบธุรกิจที่เป็นเทคโนโลยี่ใหม่ๆขึ้นมา เพื่อนหลานเรียนเรื่องเลเซอร์มาด้วยกันตอนนี้ซัมซุงเอาตัวไปทำการผลิตจอทีวีรุ่นใหม่ที่จะออกมาในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว เขาเพิ่งกลับมาจากเกาหลีเยี่ยมเพื่อนคนนี้ บอกว่า โอย ห้องแลบของซัมซุงใหญ่กว่าห้องแลบของมหาวิทยาลัยหลายเท่านัก

กลับมาที่อวัยวะเทียมมนุษย์ ดูเหมือนว่าแนวทางนี้กว้างมากๆ เพราะหากเป็นธุรกิจก็เป็นตลาดที่ใหญ่มากๆเพราะในร่างกายคนนั้นมีอวัยวะมากมายที่ต้องชำรุดเสียหายแล้วล้มหายตายจากไป ไอ้ที่เสียหายเพราะอายุไขก็ไม่ว่ากัน แต่ยังหนุ่มยังสาวแต่อวัยวะบางอย่างไม่ทำงาน หรือทำงานไม่สมบูรณ์ขึ้นมาก็ต้องพึ่งการแพทย์ และหากการแพทย์เชื่อมกับวิศวกรรมด้านนี้ก็จะพัฒนาไปอีกไกลทีเดียว

อีกหน่อยเราจะไปเดินเซลทรัล ซื้อนิ้วเทียมมาใส่แทนนิ้วเดิม ซื้อข้อพับมาแทนอันเดิม อิอิ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเข้าไปสู่วงการความงามอีก สามารถผ่าตัดเอาสะโพกเก่าออก เอาสะโพกใหม่ใส่เข้าไปให้มันสะบึมมากขึ้น

เผลอๆนางงามที่ชนะประกวดบนเวทีอาจจะมีอวัยวะเทียมครึ่งตัวก็ได้ ใครจะไปรู้…. อิอิ เอ้กกกก เรื่องนี้ต้องไปถามท่านซือแป วิศวกร และท่านแพทย์ทั้งหลายนะครับ


พระยอดเมืองขวาง

11 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 12 มิถุนายน 2011 เวลา 22:05 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3173

เดือนนี้เมื่อ 117 ปีมาแล้ว (ค.ศ. 1894) “พระยอดเมืองขวาง” ของไทยถูกขึ้นศาลผสมระหว่างผู้พิพากษาไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งสัดส่วนผู้พิพากษาฝรั่งเศสมากกว่า ตัดสินให้ลงโทษพระยอดเมืองขวาง จำคุก 20 ปี เป็นที่เจ็บแค้น และโศกเศร้าของคนไทยยิ่งนัก แม้องค์พระปิยมหาราช


พระยอดเมืองขวางคือใคร..?

(ขออนุญาตสำเนาข้อมูลจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/พระยอดเมืองขวาง เพราะกระชับมากกว่าข้อมูลที่ผมมีอยู่)

พระยอดเมืองขวาง (พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2443) เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นข้าหลวง
เจ้าเมืองคำมวน เมืองคำเกิ สังกัดกองข้าหลวงเมืองลาวพวน ในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวง ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต่อสู้กับทหารฝรั่งเศส ในกรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)

พระยอดเมืองขวาง เดิมชื่อ ขำ เป็นต้นสกุล ยอดเพ็ชร์ เกิดเมื่อปีชวด ร.ศ. 71 (พ.ศ. 2395) ที่อำเภอบรรพตพิสัย
จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของพระยาไกรเพ็ชร์ (มิตร กฤษณมิตร) เริ่มรับราชการเป็นข้าหลวงผู้ช่วยในกองข้าหลวงใหญ่นครจำปาศักดิ์ รักษาราชการกองข้าหลวงลาวกาว ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นคุณพระ ซึ่งเป็นที่มาของฉายา “พระยอดเมืองขวาง” ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองคำมวน เมื่อประมาณ พ.ศ.2428 2328? รับผิดชอบบ้านนาเป คำเกิด คำมวน นากาย ปากพิบูลย์ และแก่งเจ๊ก มีอาณาเขตติดต่อกับเวียดนาม
[1]

ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างการปักปันเขตแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสต้องการเมืองคำมวน กองทหารนำโดยมองซิเออร์ลูซ (Luce) บังคับให้พระยอดเมืองขวางออกจากเมืองคำมวน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม
พ.ศ. 2436 แต่พระยอดเมืองขวางไม่ยินยอม จึงเกิดการสู้รบกันเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม
พ.ศ. 2436 เมื่อนายลูซ สั่งให้นายกรอสกุรัง พร้อมกับทหารญวน เข้ามาจับกุมหลวงอนุรักษ์ ผู้ช่วยของพระยอดเมืองขวาง ที่ตำบลนาหลักหิน ปลายด่านคำมวนต่อกับเมืองท่าอุเทนของฝั่งไทย และเกิดการต่อสู้กัน ทำให้นายกรอสกุรังเสียชีวิตพร้อมกับทหารญวน 11-12 คน บาดเจ็บ 3 คน ฝ่ายทหารไทยเสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บ 4 คน [2][3]

จากเหตุการณ์นี้ นายออกุสต์ ปาวีไม่ พอใจ กล่าวหาว่าพระยอดเมืองขวางเป็นฆาตกร บุกเข้าไปทำร้ายนายกรอสกุรังขณะนอนป่วยอยู่ในที่พัก และนำเรื่องขึ้นพิจารณาคดีในศาลรับสั่งพิเศษ รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร แม่ทัพใหญ่อีสานใต้เป็นประธานคณะผู้พิพากษา ซึ่งประกอบด้วย พระยาสีหราชเดโชชัย
พระยาอภัยรณฤทธิ์
พระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์
พระยาธรรมสารนิติ์
พระยาฤทธิรงค์
พระยาธรรมสารเนตติ์ มีหลวงสุนทรโกษา และนายหัสบำเรอ อัยการเป็นทนายฝ่ายโจทย์ มีนายตีเลกี (William Alfred Tilleke ต่อมารับราชการเป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์ ต้นสกุล คุณะดิลก) และนายเวอร์นอน เพจ (Vernon Page ชาวอังกฤษ) เป็นทนายจำเลย [2]

การพิจารณาคดีพระยอดเมืองขวาง ดำเนินเป็นเวลา 22 วัน ตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 16 มีนาคม
พ.ศ. 2437 ศาลมีคำพิพากษาว่า พระยอดเมืองขวางไม่มีความผิดตามฟ้อง และให้ปล่อยตัวเป็นอิสระ สร้างความไม่พอใจให้กับนายลาเนสซัง ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน และขอให้จัดตั้งศาลผสมไทย-ฝรั่งเศส ประกอบด้วยผู้พิพากษาฝรั่งเศส 3 คน เดินทางมาจากไซ่ง่อน สยาม 2 คน พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม
พ.ศ. 2437 และตัดสินให้จำคุกพระยอดเมืองขวาง 20 ปี ด้วยเสียงข้างมาก 3 เสียงของฝ่ายฝรั่งเศส

พระยอดเมืองขวางถูกจำคุกอยู่ 4 ปี ก็ได้รับอิสรภาพ จากคำร้องขอของรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2441
[4] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานบำนาญให้เป็นพิเศษเดือนละ 500 บาท ท่านได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษผู้รักชาติ ต่อมาได้ล้มป่วย และเสียชีวิตใน ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) อายุได้ 48 ปี เป็นต้นสกุล “ยอดเพ็ชร์” และ “กฤษณมิตร”

ผมอ่านเรื่องนี้ในปริญญานิพนธ์ ของท่านอาจารย์สุวิทย์ ธีรศาศวัติ แห่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านเขียนเรื่องนี้สมัยที่ท่านอยู่วิทยาลัยครูนครสวรรค์ ผมทำสำเนาเอกสารนี้ไว้เป็นสิบปีแล้ว ไม่ได้อ่านแบบจริงจังเสียที มาคราวที่จะต้องไปทำงานลาว ผมก็ค้นเอกสารที่บ้านที่เขียนเกี่ยวกับลาวไว้หลายเล่ม แล้วทยอยเอามาอ่าน แต่ก็จดๆจ้องๆ มีเรื่องอื่นมาแซงคิวไปหมด หนึ่งในจำนวนเอกสารเหล่านี้ ผมได้จากลุงเอกมา 1 เล่ม สุดยอดจริงๆ

ผมลงกรุงเทพฯโดยนั่งรถนครชัย ที่นั่งกว้างขวาง นั่งเก้าอี้เดี่ยว เลยแบกเอกสารเล่มใหญ่ไปอ่านตลอดเส้นทาง อ่านแล้วเกิดจินตนาการถึงสมัยนั้น ที่ฝรั่งเศส เข้ามารังเกประเทศเรา แล้วเราก็เสียดินแดนไปเรื่อยๆ เพราะความขี้โกงของประเทศมหาอำนาจ ทบทวนประวัติศาสตร์ไว้บ้างก็ดีนะ..

เพิ่มเติมข้อมูลได้ที่:

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87_%E0%B8%A3.%E0%B8%A8.112

http://www.formumandme.com/article.php?a=911

http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=221


บ่นกับตัวเอง..

70 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 12 มิถุนายน 2011 เวลา 11:14 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการประเทศ #
อ่าน: 2181

ของเล่นของผมหนึ่งอย่างคือการถ่ายรูปเมฆ จริงๆผมชอบถ่ายรูปวิถีชนบท มันเป็นการเก็บชีวิตของพี่น้องร่วมชาติ ร่วมโลก ที่สำหรับบางคนคุ้นชิน เหมือนผมที่บ่อยครั้ง เห็น แต่ไม่ได้คิดอะไร แต่ในฐานะที่เราทำงานพัฒนานั้น ผมมักเห็นแล้วเก็บเอามาวิเคราะห์ วิจารณ์ ทั้งในแง่ถกเกียงกับเพื่อนๆ คนข้างกาย และรวมไปถึงบันทึกเป็นบทความ

มันเป็นความสนใจเฉพาะตน ทุกท่านก็มีมุมของตนเอง มีวัตถุประสงค์ เป้าหมายของตนเอง อย่างที่ผมเคยเอามาแสดงในลานหลายครั้ง เช่นผมเห็นคนแก่ในสังคมชนบทลาวที่ไม่มีลูก ความสงสัยคือ เขาอยู่ได้อย่างไร เอาข้าวที่ไหนกินเพราะร่างกายเกินกว่าจะไปทำนาแล้ว เจ็บไข้ได้ป่วยใครจะดูแลเยียวยา เมื่อเราตั้งคำถามแก่ชาวบ้าน เขาก็ตอบว่า ก็คนในชุมชนนั่นแหละช่วยเหลือกัน คนโน้นเอาข้าวมาให้กิน คนนี้เอาเสื้อผ้ามาเผื่อแผ่ คนนั้นเอาหยูกยามาให้ ฯลฯ อือ..แค่นี้ก็นึกย้อนไปถึงชุมชนบ้านเกิดผมสมัยเด็กๆ ที่เห็นและผ่านสภาพสังคมแบบนี้มาแล้ว บางครอบครัวที่ยากจน วัดข้างบ้านยังเผื่อแผ่ เพราะข้าวที่ชาวบ้านตักบาตรใส่ทุกเช้านั้น พระท่านฉันท์ไม่หมด ก็เอาไปผึ่งแดดให้แห้ง “ข้าวสุกแห้ง” นี้สามารถกลับเอาไปหุงกินใหม่ได้ ครอบครัวยากจนหลังวัดก็ได้อานิสงส์นี้

ผมกลับมาขอนแก่น ไปธุระในเมือง แล้วก็มีคนแก่ ตายายเดินมาขอทาน ขอรับบริจาค ปากก็พล่ามบ่นถึงความไม่มี ขอเงินไปซื้ออาหารกิน นี่คือคนแก่ในสังคมเมือง เมืองที่มีความเจริญมากมายทุกด้าน แต่คนแก่ต้องมาขอทาน…. ผมคิดไปต่างๆนาๆ

ความเจริญคืออะไร

ชนบทคืออะไร

สังคมเราเดินไปทางไหนกัน

เทศบาลทุ่มเงินก้อนโตพัฒนาทีมฟุตบอลจังหวัด

นักการเมืองเสนอพัฒนาสนามบินเป็นนานาชาติ ที่ยิ่งใหญ่

นักบริหารบ้านเมืองเสนอสร้างสิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อคาดหวังให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

ความเจริญหล่อหลอมจิตใจคนไปในทิศทางใด..

การมีส่วนร่วม ที่เป็นประโยคให้ใครต่อใครกล่าวถึงกันนั้น เอาส่วนไหนมาร่วมบ้างเล่า..

ผมบ่นกับตัวเองน่ะ…


ดูญี่ปุ่นแก้ปัญหาพลังงานไฟฟ้า

3 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 6 มิถุนายน 2011 เวลา 21:04 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 705

 

คนข้างกายติดต่อกับศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ท่านสนใจจะร่วมมือในการจัดสัมมนาวิชาการเรื่องหนึ่ง แต่ศาสตราจารย์ท่านนั้นขอเวลาไปจัดการเรื่องเวลาที่ต้องรับผิดชอบการสอน

หลังจากที่เกิดสึนามิญี่ปุ่นร่ำไห้ โลกเศร้าสลด… ท่านศาสตราจารย์หายหน้าไป

คนข้างกายเล่าว่า ท่านศาสตราจารย์ติดต่อมาแล้วว่าจะมาไทยและปรึกษารายละเอียดเรื่องการจัดสัมมนาที่คุยกันไว้

ท่านเล่าต่อว่า ตอนนี้ ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาหนักคือเรื่องการ ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า หน่วยงานต่างๆ ทั้งเอกชน รัฐ ทั้งใหญ่ทั้งเล็ก ต้องหันมาปรึกษากันว่าจะร่วมมือแก้ไขกันอย่างไร

น่าสนใจนะครับว่าเขาแก้ปัญหานี้อย่างไร

มหาวิทยาลัยต้องเปิดเทอมเรียนหนังสือ เสนอให้ลดการใช้ไฟฟ้าทุกด้านให้เหลือที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น แล้วทดลองทำ

หลังจากทดลองทำแล้วพบว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าได้ มหาวิทยาลัยเสนอ “ปิดการเรียนไปหนึ่งเทอม…????!!!!”

นี่คือเหตุผลที่ท่านศาสตราจารย์มาเมืองไทยได้เพราะว่าง

หากบ้านเราเผชิญวิกฤติเช่นนั้นจริงๆ

เราจะทำอย่างไรหนอ… แผนงานชาติด้านนี้มีไหม เรียนรู้จากญี่ปุ่นแล้วทำแผนแก้ปัญหาซิท่านผู้บริหารประเทศ… เราต้องเผชิญแน่นอนในอนาคต

นิวเคลียร์ ก็ไม่เอา เขื่อนก็ต่อต้าน แล้วใช้ไฟกับโครมๆ

พลังงานทางเลือกก็ไม่จริงจังจะค้นคว้า วิจัย กัน..

เสนอชาวลานไว้ว่า มีชุมชนหนึ่งสามารถแก้ปัญหาพลังงานความร้อนได้โดยการนำขี้วัวทั้งชุมชนมาผลิตก๊าส เอาไปหุงต้มได้ทุกครัวเรือน น่าสนใจไปศึกษาดูงานกันไหมล่ะ หากมีเวลาจะเอาข้อมูลมาเผยแพร่สักหน่อย..


การส่งต่อทางวัฒนธรรม

781 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 6 มิถุนายน 2011 เวลา 20:36 ในหมวดหมู่ ทุนสังคม #
อ่าน: 18127

(บันทึกผมไม่เป็นชิ้นเป็นอัน พยายามจะทำ แต่เรื่องราวส่วนตัวยังไม่ลงตัวครับ. คอมเกิดมาติดไวรัส TROJAN SPM/LX เข้าอีก หุหุ..)

บันทึกนี้เขียนตอนทำศพแม่ ยังไม่ได้ post เลยเอามาขัดจังหวะไปก่อน

ผมนึกถึงพ่อครูบาที่กล่าวว่า เราต้องทำงานบนความไม่พร้อม..

ความจริงวัดช้างนั้นโอ่อ่ามาก เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ท่านเจ้าอาวาสท่านเป็นพระพัฒนาในแบบฉบับของท่าน บ้านศาลาดินนั้นเป็นหมู่บ้านใหญ่ จำนวนครัวเรือนมากกว่า 500 ครัวเรือน วัดพัฒนาตัวอย่างแห่งนี้มีส้วมตั้งหน้าวัด โอ่อ่าเสีย….พูดไม่ออก เพราะเป็นวัดที่ยังไม่มีห้องครัว แต่ส้วมสวยสะอาด โอ้อ่าซะ… (ไม่เชื่อถามพ่อครูบา จอมป่วน และน้องครูปู)

การทำครัวในงานศพจึงใช้ระเบียงศาลาที่ตั้งศพนั่นแหละ


ทั้งข้าวปลาอาหาร ขนม นม เนย ถูกผลิตจากตรงนี้ ใช้ “ฝีมือ” หรือชาวบ้านเรียก “สีมือ” ทั้งพระทั้งแขกอาศัยท้องจากมุมนี้ ชาวบ้านจะมีชุดแม่ครัวประจำ เป็นที่รู้กันในระแวกนี้ว่า งานศพ งานอะไรจะหาคนทำอาหารเลี้ยงพระเลี้ยงแขกละก็ ติดต่อได้ ไม่ผิดหวัง แม่ครัวที่หลายรุ่นผสมผสานกัน แน่นอนต้องมีมือเด็ดๆในอาหารชนิดนั้นๆ เช่นน้ำพริกต้องแม่จำเนียร ต้มมะระต้องแม่สวง ขนมทองหยิบทองหยอดฝอยทองต้องแม่สาหร่าย


ผมแอบเฝ้ามองทีมงานทำงาน ระหว่างทำต่างก็คุยกันในเรื่องสารพัด แต่ทุกช่วงก็จะวกมาที่ขนม หรืออาหารที่กำลังช่วยกันปรุงอยู่นี่ ต่างคุยกันว่า ต้องนั่นลงกระทะก่อน นี่ลงหลัง นั่นปิดฝาหม้อ นี่ปิดฝาหม้อไม่ได้ เอาไฟอ่อนๆ หรือเร่งไฟหน่อย..ฯลฯ.. เรื่องราวที่คุยกันนั้นก็จะมีการหยอกล้อ มีแหย่ พูดเล่นพูดจริงให้ครึกครื้น แม้จะเป็นงานศพ


ผมประทับใจมาก และแฝงความเป็นห่วง ที่ประทับใจเพราะเทคนิค เคล็ดลับ หรือจะเรียกกลเม็ดการทำขนมฝอยทอง ทองหยอดนั้นทำอย่างไร แม้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือจะไม่ครบถ้วนตามสูตรโบราณ ภายใต้ข้อจำกัดอย่างที่พ่อครูกล่าว แม่ครัวก็ทำผลิตผลงานติดปากแขกเหรื่อกันทั้งนั้น โดยเฉพาะผมเห็นคนต่างวัยเข้ามาช่วยทำ มาเสริม และเรียนรู้เทคนิคต่างๆไปโดยไม่ได้สอน เรียนโดยไม่เรียน สอนโดยไม่สอน แต่สาวรุ่นท่านนั้นได้ไปเต็มๆ

“นี่คือการส่งต่อทางวัฒนธรรม” ด้านอาหาร เคล็ดลับ หากจะพูดในภาษาสมัยใหม่ก็ว่า กระบวนการ ขั้นตอน เทคนิค ครบถ้วน ผมอยากเห็นเด็กสาวรุ่นใหม่เข้ามานั่งตรงนี้บ้าง

สายป่านทางวัฒนธรรมจะขาดหายไปเพราะยุคสมัยใหม่ เพราะมัวไปแข่งขันกันทำงานหาเงินไปซื้อกิน

งานวัดบ้านนอกก็มีคุณค่าซ่อนอยู่ให้เห็น



Main: 0.26418089866638 sec
Sidebar: 0.28414607048035 sec