ตอบครูมิม..
อ่าน: 1538เศรษฐกิจพอเพียง
จะสร้างครูอย่างไรให้ เขียนแผนการสอนแบบบูรณาการ ให้มีความรู้ความเข้าใจ ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรม และให้มีความสามารถในการจัดสื่อ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน
จากคำถามของครูมิมนั้น มาพิจารณาจากมุมมองของคนอยู่ในสนามแล้วเห็นว่า ต้องลำดับคำถามใหม่ให้สอดคล้องต่อการปฏิบัติจริง จาก ตัวเลข 1 ถึง 4 นั้นเป็นโจทย์ที่มิมตั้งคำถามไว้ หากจะตอบคำถามนี้ในมุมการปฏิบัติต้องลำดับใหม่เป็น A ถึง D ทั้งนี้เพราะว่า เราต้องมีความรู้ความเข้าใจจริงๆเสียก่อน แล้วสร้างความรู้ความเข้าใจนั้นให้มีความรู้ ความเข้าใจซ้ำๆก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ รู้รอบด้าน รู้ละเอียด รู้ที่มาที่ไป รู้ผลโดยตรงโดยอ้อม ฯลฯ แล้วเอาความเชี่ยวชาญนั้นไปสร้างสรรค์สื่อต่างๆสร้างอุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ แล้วจึงเอาองค์ความรู้ทั้งหมดนั้นไปเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการที่เป็นจริงๆได้ ดู diagram
เบื้องหลังโจทย์นี้มีรายละเอียดอะไรไม่ทราบ อาจจะมีเงื่อนไข ปัจจัยอีกหลายอย่าง แต่หากพิจารณาเฉพาะคำถามทั้ง 4 ข้อนั้น ขอแสดงความเห็นว่า
- สนับสนุนแนวคิดของเม้ง ว่าจะต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ ทำจริงๆ ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีเท่าไหร่ลงมือทำจริงๆ อาจพิจารณาทำกิจกรรมนี้ร่วมกับเด็กนักเรียนในพื้นที่โรงเรียนเอง หรือ ลงไปเลือกชาวบ้านสักคนแล้วทำร่วมกัน เพื่อศึกษารายละเอียด อย่างลึกซึ้ง ทุกขั้นตอนจริงๆ
- จากความรู้เชิงทฤษฎี ครูก็จะรู้ในเชิงปฏิบัติจริง ครูจะเข้าใจจริงๆ ละเอียด ลึกซึ้งเพราะทำมาด้วยมือจริงๆ
- การทำจริง อาจจะทำหลายๆคนร่วมกับชาวบ้าน หรือทั้งทำกับชาวบ้านและทำกันเองในโรงเรียนร่วมกับนักเรียน ร่วมกับครูท่านอื่นๆ ร่วมกับครูสาขาอื่นๆ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจะบูรณาการไปในตัวเสร็จ บางทีครูเกษตรมองไม่ออกว่าคณิตศาสตร์จะมาบูรณาการอย่างไร อาจรู้แต่ไม่ลึกซึ้งเท่า แต่ครูสายตรงจะรู้ว่า ขั้นตอนนี้เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์เรื่องนั้นเรื่องนี้ได้ ครูภาษาไทยเข้ามาก็รู้ว่า องค์ความรู้ทั้งหมดนั้นมันมีภาษาถิ่นปนอยู่ในการเรียกสิ่งของ ปัจจัยการผลิต ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ครูจะเกิดความชำนาญด้วย เชี่ยวชาญ เกิดบูรณาการ
- เมื่อถึงขั้นตอนนี้ครูเองก็สามารถเอาองค์ความรู้ทั้งหมดมาพิจารณาพัฒนาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนได้อย่างสอดคล้องกับเงื่อนไขจริง สอดคล้องกับท้องถิ่น และเป็นจริง
- แล้วองค์ความรู้ทั้งหมดก็สามารถเอาไปทำแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการได้จริงๆ จากประสบการณ์จริง
การทำเช่นนี้ เป็นแบบการต้องการหลักสูตรที่สมบูรณ์ที่สุด ทำได้จริง สอดคล้องกับพื้นที่จริง มิใช่แค่หลักการ ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับพื้นที่
เรื่องนี้ต้องย้ำกันว่า เศรษฐกิจพอเพียงที่สงขลานั้นไม่เหมือนกับที่บุรีรัมย์ ที่พิษณุโลกและที่มุกดาหาร หลักการเดียวกันแต่รายละเอียดต่างกัน รูปแบบต่างกัน ความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดแตกต่างกัน เชี่ยวชาญต่างกัน การจัดสื่อการเรียนการสอนต่างกัน แผนการเรียนการสอนก็ย่อมต่างกัน เพราะ สภาพพื้นที่ต่างกัน ระบบภูมินิเวศเกษตรต่างกัน ระบบวัฒนธรรมชุมชนต่างกัน วิถีชีวิตชุมชนต่างกัน วิถีวัฒนธรรมการบริโภคต่างกัน องค์ประกอบครอบครัวแตกต่างกัน เงื่อนไขรายละเอียดของปัจจัยต่างๆไม่เหมือนกัน การตัดสินใจของชาวบ้านต่างกัน ฯลฯ
นี่เองหลักการเดียวกัน แต่รายละเอียดต่างกัน ความจริงข้อนี้จะสะท้อนความแตกต่างของทุกขั้นตอนเลย
สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ทำจริงเราจะรู้ได้อย่างไร….
จะเอาความรู้ระดับไหนไปให้เด็กล่ะ เอาแค่หลักการ แนวทางการปฏิบัติ บทเรียนรู้จากกรณีศึกษา หรือประสบการณ์จากของจริง ความรู้ที่นำไปใช้ได้จริง ฯ
ข้อเสนอของพี่นี้ไปตรงกับ Diagram ที่เบิร์ดเอามาเสนอให้ดูนั่นแหละ
ความสำคัญคือ
- มีรายละเอียดเฉพาะมากมาย ล้วนแตกต่างกัน รูปแบบที่หนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้กับอีกสถานที่หนึ่ง เพราะความแตกต่างของระบบนิเวศเกษตรวัฒนธรรม เพราะความแตกต่างของคน ชนเผ่า ท้องถิ่น ภูมิภาค
ฯ
- องค์ความรู้จึงเป็นแค่เพียงหลักการ ทางปฏิบัติต้องนำไปดัดแปลงให้เหมาะสม สอดคล้องกับระบบนิเวศเกษตร วัฒนธรรม ชุมชน ฯ
ครูมิมเลือกเอาเองนะครับ อิอิ