อ่อน แต่ แข็ง..

69 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 23 มิถุนายน 2009 เวลา 21:42 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2439

ไปหาไม้ดอกประเภทเลื้อยมาปลูกที่รั้วบ้าน เพื่อสร้างสีสันให้กับที่พักอาศัย เฝ้ารดน้ำ ดูแลเขาพอประมาณตามโอกาส เช่นให้ปุ๋ยชีวภาพน้ำ ใส่ปุ๋ยโคนต้น รดน้ำให้ชุ่มชื้น ยามไม่อยู่ก็มีคนดูแล เมื่อช่วงวันหยุดก็มาดูแลเขาบ้าง


หากไม่สังเกต ก็เป็นปกติไม่เห็นอะไร เพราะเราก็เห็นไม้เลื้อยมามากมาย ใครๆก็เห็น สารพัดแบบ ทั้งไม้ป่าไม้บ้าน ทั้งเล็กใหญ่ เมื่อมีเวลาก็มานั่งชื่นชมเขาที่กำลังงอกงาม ช่วงฤดูฝน

แต่ดูนั่นซิ เจ้ายอดอ่อนที่พยายามเลื้อยไปยึดเกาะสิ่งต่างๆนั้น เขามีพัฒนาการที่น่าสนใจ เพราะยอดเขาอ่อน เมื่อพยายามเลื้อยยืดยาวออกไปเหมือนยื่นแขน ที่ไม่มีกระดูก ยอดอ่อนย่อมโน้มต่ำลงมาเพราะน้ำหนักตัวเขาเอง และความอ่อน

แต่แล้วเขาเองนั่นแหละกลับรวมตัวกัน ยอดอ่อนนั่นแหละรวมตัวกัน พันยอดอ่อนด้วยกันเองให้แน่น แล้วจะเกิดความแข็งแรงมากขึ้นกว่าจะมีเพียงยอดอ่อนยอดเดียวยื่นออกไป…?!?!

เขาให้สติแก่เรา..


ในพื้นที่ใกล้เคียงกันนั้น มีมันป่าที่เอามาจากดงหลวง มาปลูกทิ้งไว้ ยามได้ฝนก็แตกยอดอ่อนเลื้อยออกมาจากหัวใต้ดิน เขาเลื้อยไปหาต้นไม้ และพยายามเลื้อยขึ้นที่สูง

แต่เขาก็เป็นยอดอ่อน เหมือนยอดอ่อนไม้ดอกข้างบน

ยอดอ่อนต้นมันกลับมีวิธีสร้างความแข็งแรง หรือสร้างความแข็งในการยื่นยอดออกไปไกลๆเพื่อไปยึดสิ่งที่อยู่สูงขึ้นไปได้ โดยการบิดตัวเองเป็นเกลียว… บางยอดอ่อนนั้นสร้างเกลียวยื่นยาวกว่าสองเมตร..

ต้นไม้ไม่มีจิตวิญญาณ สัญชาติญาณ การเรียนรู้ หรือ…

ต้นไม้ใช้ความเป็นธรรมชาติที่เราหาคำอธิบายชัดๆไม่ได้หรือ..

เมื่อย้อนมามองสังคมมนุษย์เรา มันบอกอะไรๆเราบ้างกระมัง..

ท่านคิดว่าอย่างไรบ้างล่ะครับ..


ปรุงทฤษฎีให้ร้อน..

2041 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 23 มิถุนายน 2009 เวลา 14:03 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 81093

ครอบครัวผมเป็นพวกบริโภคนิยม คือ นิยมหาอาหารอร่อยทานกัน ถึงได้อ้วนไง.. คนข้างกายผมก็ทำอาหารอร่อย ถูกปาก เพียงแต่เธอไม่ค่อยมีเวลาทำเท่านั้น เดินทางร่อนไปทั่วประเทศ เหนือ ใต้ ออก ตก ไปหมด สิ้นสุดงบประมาณปีนี้เธอก็ออกจากราชการแน่นอนแล้ว ไปเป็นอิสระ Freelance ดีกว่า อิอิ

พูดถึงอาหาร แกงเหลืองภาคใต้ก็มีสูตรเฉพาะ มีทั้งคนชอบเผ็ดมากเผ็ดน้อย ใส่หน่อไม้ดองต้องคัดสรรมา น้ำต้องข้น ปลาต้องเป็นเฉพาะชนิดนี้เท่านั้นถึงจะเข้ากันดี และจะกินแกงเหลืองต้องมีผักท้องถิ่นมากๆ หากมีไข่เจียวมาคู่กัน…อูย…หิวหละซี… ในขอนแก่นเองมีร้านอาหารภาคใต้มากกว่า สามร้าน ล้วนแต่คนแน่นตลอด คืออร่อยทุกร้าน แม้ว่ารสชาติและส่วนประกอบจะแตกต่างไปบ้างก็ตาม

แรกๆผมไม่คิดว่าจะมาตกล่องปล่องชิ้นกับสาวใต้ ผมว่าสาวเหนืองาม กิริยามารยาทเรียบร้อย..ซะไม่เมี๊ยะ มาทำงานอีสานผมก็ว่าสาวเขมรแถบสุรินทร์ดำขำก็งามไปอีกแบบ ยิ่งสาวผู้ไท กะเลิง..งามก็มีมากมายชวนให้มองไปหมด ไปเที่ยวทางใต้ ทางตะวันออก ก็มีสาวงามถูกตาต้องใจไม่แพ้กัน

เป็นว่า ไม่ว่าอาหารชนิดเดียวกัน ก็ยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน องค์ประกอบแตกต่างกันไปบ้างตามเงื่อนไข และกระบวนการปรุงอาหารก็คงจะมีเคล็ดลับเฉพาะที่เป็นแบบฉบับของใครของมัน เป็นของเก่าต้นตระกูลก็เคยได้ยินบ่อยๆ ปัจจุบันสูตรอาหารเหล่านี้เมื่อเป็นธุรกิจไปแล้วราคาค่างวดซื้อขายกันแพงๆเชียวหละ

สาวที่ไหนก็สวยทั้งนั้น แม้สาวดอยบนที่สูงเมื่อจับมาแต่งตัวแล้วเธอก็เช้งวับไปหมด ที่เรามักเรียกกันว่า สวยไปคนละแบบ.. ไม่เชื่อไปถามอาเหลียง เฮียตึ๋งดูซี พูดทีไรเอาผ้าเช็ดหน้ามาเช็ดปากทุกที..อิอิ..

อาหารอร่อย สาวสวยนั้น มันขึ้นอยู่กับการปรุงแต่ง การปรับปรุง พัฒนา การทดลองปรุงแบบนั้นแบบนี้ นานเข้า ก็ลงตัวว่ารสชาดแบบนี้ ใช้ได้ ผู้คนชม ติดใจ เราก็ได้สูตรอาหารที่เป็นที่ยอมรับกัน

สาวท้องทุ่ง..ตัวดำเหนี่ยง สาวดวงตาไม่มีเล่าเต้ง หรือสาวไหนๆ ลองมาแต่งใส่เสื้อผ้า ทำผมทำเผ้า ผัดหน้าทาปาก ใส่น้ำปรุงน้ำหอม โอย..ขี้คร้านหนุ่มๆ แก่ๆ จะช๊อคตาย..

แม้ว่าปัจจุบันจะมีสูตรที่บอกกล่าวกันทั่วไปว่า แกงเหลืองนั้นต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง การแต่งตัวควรพิจารณาอะไรบ้าง หากไม่มีศิลปะการทำอาหารก็เทให้สุนัขรับประทานเถอะ.. แต่หากพัฒนาจนสุดยอดแล้ว น้ำแกงหยดสุดท้ายก็อร่อย..ไม่ยอมทิ้งเด็ดขาด สาวๆบางคนหน้าตาไปวัดไปวาได้ แต่แต่งตัวไม่เป็น โทษที คุณดำเหนี่ยงข้างวัดสวยกว่าเยอะเลย

การปรุงแต่งเป็นศิลปะ เป็นเรื่องฝีมือ เป็นทักษะ เป็นความชำนาญ เป็นศาสตร์เฉพาะตัวของใครของมัน เลียนแบบได้แต่อาจดีไม่เท่า

ผมเรียนรู้ทฤษฎีการพัฒนามากก็มาก หลักการต่างๆก็เยอะ แต่เมื่อเอาลงสู่ชุมชนจริงๆ บางทีมันไปไม่เป็นก็เกิดขึ้นบ่อยๆ ล้มกลางเวทีก็เคยหน้าแตกมาแล้ว ผมจึงมักแลกเปลี่ยนกับน้องๆว่า เราเป็นคนทำงานพัฒนาชุมชนนั้น คือคนที่ต้องเรียนรู้หลักการ หรือทฤษฎี แล้วเอามาปฏิบัติให้เกิดมรรคเกิดผล ซึ่งเป็นเรื่องยาก ไม่ง่ายอย่างที่พูดกันปาวๆในชั้นเรียน

หลักการเดียวกัน ทฤษฎีเดียวกัน ไปใช้ที่ภาคเหนือ ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างไปจากภาคใต้ ในภาคอีสานเดียวกัน เอาหลักการ หรือทฤษฎีไปปฏิบัติที่อีสานใต้ กับชุมชนเทือกเขาภูพานก็แตกต่างกัน ในภูมินิเวศวัฒนธรรม ภูมินิเวศเกษตร ภูมินิเวศสังคมที่แตกต่างกัน ก็มีรายละเอียดการปรุงแต่งที่แตกต่างกัน

ผู้บริหารมักมองไม่เห็น แม้นักปฏิบัติเองก็ไม่เข้าใจว่าหลักการเหมือนกัน แต่การนำไปใช้ต้องรู้จักดัดแปลง ปรับปรุงขั้นตอน รายละเอียดให้สอดคล้องกับท้องถิ่นนั้นๆ

ครูบาอาจารย์ หรือนักวิชาการ จำนวนมาก ก็มักสร้างทฤษฎี สร้างหลักการใหม่ๆขึ้นมา เป็นตัวย่อบ้าง เป็นคำคล้องจองกันบ้าง เป็นโค้ดต่างๆบ้าง แต่เมื่ออธิบายลงไปไม่เคยได้ยินการกล่าวถึงรายละเอียดการปรุงแต่งในระดับปฏิบัติการเลย หากจะบอกว่าเป็นเรื่องของนักปฏิบัติที่ต้องไปหาเอาเอง ผมก็ว่า เป็นการกล่าวที่ไม่สมบูรณ์

ผมสนับสนุนชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์แบบเครดิตยูเนี่ยน ขึ้นในระดับหมู่บ้านและชุมชนใหญ่ กว้างขึ้นไป หลักการของเครดิตยูเนี่นยนั้น มีเป็นต้นฉบับที่ใช้กันทั่วโลกคือ จิตตารมณ์ 5 ประการ คือ ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจ และไว้วางใจกัน แต่ที่สุรินทร์ ชาวบ้านซึ่งเป็นชนชาวเขมรนั้นบอกว่า “อาจารย์ พวกเราแค่ดื่มน้ำสาบานแบบท้องถิ่นเท่านั้น เจ้าจิตตารมณ์ ตาแรม อะไรนี่ผมไม่เข้าใจ ไม่ต้องพูดถึงเลย ดื่มน้ำสาบานเท่านั้นพอ…”…!!

เมื่อรายละเอียดในความเป็นจริงเป็นเช่นนี้ จะไปกำหนด KPI แบบเดียวกันใช้ทั่วประเทศ ผมว่านักประเมินผลท่านนั้นก็ล้าหลังไปแล้ว

หากนักปฏิบัติบ้าแต่ทฤษฎี ปรุงไม่เป็น ท่านผู้นั้นก็เป็นเพียงผู้หวังดีคนหนึ่งเท่านั้น

หากนักบริหาร นักวิชาการ นักพูด กล่าวแต่หลักการ ทฤษฎี แต่ไม่บ่งชี้ถึงการปรุงแต่งในภาคปฏิบัติ ศาสตร์นั้นก็แห้งแล้งเกินไป จืดชืด ใช้อะไรแทบไม่ได้..


AAR พระบาทห้วยต้ม

35 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 23 มิถุนายน 2009 เวลา 1:47 ในหมวดหมู่ เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 1401

ระหว่างเดินทางจากเชียงใหม่-พิษณุโลก เฮียตึ๋งคุยให้ฟังหลายเรื่อง โดยเฉพาะ จปผ.2 และอื่นๆ อยากแสดงความเห็นไว้ว่า



Main: 0.01795482635498 sec
Sidebar: 0.045428037643433 sec