ตอบครูมิม..

โดย bangsai เมื่อ 2 มิถุนายน 2009 เวลา 23:52 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1532

เศรษฐกิจพอเพียง

จะสร้างครูอย่างไรให้ เขียนแผนการสอนแบบบูรณาการ ให้มีความรู้ความเข้าใจ ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรม และให้มีความสามารถในการจัดสื่อ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน

จากคำถามของครูมิมนั้น มาพิจารณาจากมุมมองของคนอยู่ในสนามแล้วเห็นว่า ต้องลำดับคำถามใหม่ให้สอดคล้องต่อการปฏิบัติจริง จาก ตัวเลข 1 ถึง 4 นั้นเป็นโจทย์ที่มิมตั้งคำถามไว้ หากจะตอบคำถามนี้ในมุมการปฏิบัติต้องลำดับใหม่เป็น A ถึง D ทั้งนี้เพราะว่า เราต้องมีความรู้ความเข้าใจจริงๆเสียก่อน แล้วสร้างความรู้ความเข้าใจนั้นให้มีความรู้ ความเข้าใจซ้ำๆก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ รู้รอบด้าน รู้ละเอียด รู้ที่มาที่ไป รู้ผลโดยตรงโดยอ้อม ฯลฯ แล้วเอาความเชี่ยวชาญนั้นไปสร้างสรรค์สื่อต่างๆสร้างอุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ แล้วจึงเอาองค์ความรู้ทั้งหมดนั้นไปเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการที่เป็นจริงๆได้ ดู diagram


เบื้องหลังโจทย์นี้มีรายละเอียดอะไรไม่ทราบ อาจจะมีเงื่อนไข ปัจจัยอีกหลายอย่าง แต่หากพิจารณาเฉพาะคำถามทั้ง 4 ข้อนั้น ขอแสดงความเห็นว่า

  • สนับสนุนแนวคิดของเม้ง ว่าจะต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ ทำจริงๆ ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีเท่าไหร่ลงมือทำจริงๆ อาจพิจารณาทำกิจกรรมนี้ร่วมกับเด็กนักเรียนในพื้นที่โรงเรียนเอง หรือ ลงไปเลือกชาวบ้านสักคนแล้วทำร่วมกัน เพื่อศึกษารายละเอียด อย่างลึกซึ้ง ทุกขั้นตอนจริงๆ
  • จากความรู้เชิงทฤษฎี ครูก็จะรู้ในเชิงปฏิบัติจริง ครูจะเข้าใจจริงๆ ละเอียด ลึกซึ้งเพราะทำมาด้วยมือจริงๆ
  • การทำจริง อาจจะทำหลายๆคนร่วมกับชาวบ้าน หรือทั้งทำกับชาวบ้านและทำกันเองในโรงเรียนร่วมกับนักเรียน ร่วมกับครูท่านอื่นๆ ร่วมกับครูสาขาอื่นๆ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจะบูรณาการไปในตัวเสร็จ บางทีครูเกษตรมองไม่ออกว่าคณิตศาสตร์จะมาบูรณาการอย่างไร อาจรู้แต่ไม่ลึกซึ้งเท่า แต่ครูสายตรงจะรู้ว่า ขั้นตอนนี้เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์เรื่องนั้นเรื่องนี้ได้ ครูภาษาไทยเข้ามาก็รู้ว่า องค์ความรู้ทั้งหมดนั้นมันมีภาษาถิ่นปนอยู่ในการเรียกสิ่งของ ปัจจัยการผลิต ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ครูจะเกิดความชำนาญด้วย เชี่ยวชาญ เกิดบูรณาการ
  • เมื่อถึงขั้นตอนนี้ครูเองก็สามารถเอาองค์ความรู้ทั้งหมดมาพิจารณาพัฒนาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนได้อย่างสอดคล้องกับเงื่อนไขจริง สอดคล้องกับท้องถิ่น และเป็นจริง
  • แล้วองค์ความรู้ทั้งหมดก็สามารถเอาไปทำแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการได้จริงๆ จากประสบการณ์จริง

การทำเช่นนี้ เป็นแบบการต้องการหลักสูตรที่สมบูรณ์ที่สุด ทำได้จริง สอดคล้องกับพื้นที่จริง มิใช่แค่หลักการ  ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับพื้นที่

เรื่องนี้ต้องย้ำกันว่า เศรษฐกิจพอเพียงที่สงขลานั้นไม่เหมือนกับที่บุรีรัมย์ ที่พิษณุโลกและที่มุกดาหาร หลักการเดียวกันแต่รายละเอียดต่างกัน รูปแบบต่างกัน ความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดแตกต่างกัน เชี่ยวชาญต่างกัน การจัดสื่อการเรียนการสอนต่างกัน แผนการเรียนการสอนก็ย่อมต่างกัน เพราะ สภาพพื้นที่ต่างกัน ระบบภูมินิเวศเกษตรต่างกัน ระบบวัฒนธรรมชุมชนต่างกัน วิถีชีวิตชุมชนต่างกัน วิถีวัฒนธรรมการบริโภคต่างกัน องค์ประกอบครอบครัวแตกต่างกัน เงื่อนไขรายละเอียดของปัจจัยต่างๆไม่เหมือนกัน การตัดสินใจของชาวบ้านต่างกัน ฯลฯ

นี่เองหลักการเดียวกัน แต่รายละเอียดต่างกัน ความจริงข้อนี้จะสะท้อนความแตกต่างของทุกขั้นตอนเลย

สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ทำจริงเราจะรู้ได้อย่างไร….

จะเอาความรู้ระดับไหนไปให้เด็กล่ะ เอาแค่หลักการ แนวทางการปฏิบัติ บทเรียนรู้จากกรณีศึกษา หรือประสบการณ์จากของจริง ความรู้ที่นำไปใช้ได้จริง ฯ

ข้อเสนอของพี่นี้ไปตรงกับ Diagram ที่เบิร์ดเอามาเสนอให้ดูนั่นแหละ

ความสำคัญคือ

  • มีรายละเอียดเฉพาะมากมาย ล้วนแตกต่างกัน รูปแบบที่หนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้กับอีกสถานที่หนึ่ง เพราะความแตกต่างของระบบนิเวศเกษตรวัฒนธรรม เพราะความแตกต่างของคน ชนเผ่า ท้องถิ่น ภูมิภาค

  • องค์ความรู้จึงเป็นแค่เพียงหลักการ ทางปฏิบัติต้องนำไปดัดแปลงให้เหมาะสม สอดคล้องกับระบบนิเวศเกษตร วัฒนธรรม ชุมชน ฯ

ครูมิมเลือกเอาเองนะครับ อิอิ

« « Prev : รากเหง้า…2

Next : แรงกระทบใจ.. » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

13 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 0:11

    ครูมิมครับ ประการสำคัญที่สุดก่อนที่จะเริ่มเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปทำคือ ทำเพราะครูสั่งให้ทำ ทำเพราะราชการมาขอให้ทำ ทำเพราะเห็นเขาทำ หรือทำเพราะเกิดสำนึกอย่างสูงส่งว่านี่คือทางรอดของครอบครัวเรา หากการทำมิได้มาจากสำนึกแล้ว  ไม่มีทา่งสำเร็จ

    หากจะถามว่าจะสร้างสำนึกอย่างไร..อิอิ จอมป่วนเขียนได้อีก 10 บันทึกครับ

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 1:01

    ครูมิมครับ ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น อยู่บนฐานของ ครูทำเศรษฐกิจพอเพียงในฐานการเป็นชาวบ้านทั่วๆไปที่มีอาชีพทำนา ทำำไร่ ทำสวน ฯลฯ ความจริงแค่ชาวบ้านในหมู่บ้านก็มีความแตกต่างกัน ครอบครัวนี้มีที่นา 2 ไร่ มีแรงงาน 3 คน รายละเอียดก็เป็นแบบหนึ่ง  หากเป็นครอบครัวเกษตรกรที่มีที่นา 30 ไร่ มีแรงงาน 2 คน รายละเอียดก็อีกแบบหนึ่ง

    แต่หากเราตั้งโจทย์ใหม่ว่า เศรษฐกิจพอเพียงแก่ครู แก่ข้าราชการทั่วๆไป องค์ประกอบการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงก็อีกแบบหนึ่ง แต่หลักการกว้างๆอันเดียวกัน  หากตั้งโจทย์ เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักธุรกิจล่ะ…..ฯลฯ

    จะเอาโจทย์ไหนล่ะ จะเอาความรู้ระดับไหนล่ะ จะเอาประสบการณ์ระดับไหนล่ะ แตกต่างกันนะครับครูมิมครับ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 1:20

    ครูมิมครับ  หากครูไม่มีโอกาสจะลงไปทำจริงๆ

    สิ่งที่พอรับได้คือ การหากรณีตัวอย่างของชาวบ้านที่ปฏิบัติตนแบบเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ มีไหม หากมีก็ลงไปร่วมทำ หากไม่มีโอกาสมากขนาดนั้น ก็ลงไปคลุกคลี พักใหญ่ๆให้ครบกระบวนการผลิต อาจเป็นไปๆมาๆตลอดฤดูกาลผลิต แล้วก็คุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จับสาระ keyword การให้น้ำหนัก การแสดงความรู้สึกนึกคิดจริงๆ

    และที่สำคัญชาวบ้านจำนวนมากพูดไม่เก่ง พูดไม่เป็นขั้นตอน ฯ อย่างนักวิชาการ ท่วงทำนองการพูดก็เป็นลูกทุ่งแบบชาวบ้านๆ เราต้องเข้าใจภาษา ความหมาย ดังนั้นครูที่ไปร่วมศึกษาต้องเป็นคนเข้าใจวัฒนธรรม วิถี การดำรงของชาวบ้าน อย่าแปลความเองโดยไม่เข้าใจความเป็นลักษณะเฉพาะของภาษาท้องถิ่น เดี๋ยวจะเข้าใจผิด ซึ่งพบบ่อย

    ประการสำคัญที่เรามักใช้ประกอบการพูดคุยคือการเป็นนักสังเกตุของคนที่เข้าไปศึกษา เนื่องจากชาวบ้านไม่ใช่คนช่างพูด แต่เขาเป็นนักปฏิบัติ เราก็ต้องเป็นนักสังเกตุ

    พบบ่อยๆไปว่าชาวบ้านอธิบายไม่หมด แต่เมื่อเราเห็นจากการปฏิบัติจริงเราก็เข้าใจในภาษาของนักวิชาการแบบเราๆ เมื่อถามชาวบ้าน แกไม่ได้อธิบายหมดเท่าที่เราเห็นจากการสังเกตุ  และสิ่งที่ชาวบ้านทำ ปฏิบัตินั้นๆ ต้องแปลความในสถานะปัจจัย เงื่อนไขแแบบนั้นๆ  หากปัจจัย เงื่อนไขเปลี่ยนแปลงไป ชาวบ้านก็อาจจะทำอีกอย่างหนึ่งก็ได้   นี่ไงที่เราต้องทำซ้ำๆ

    โอยรายละเอียดมากไปไหมเนี๊ยะ มิมเอ้ย…

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 1:31

    สิ่งที่ดีที่สุด ครูต้องทำโรงเรียนให้เป็นแแบบอย่างของเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ครูประจำชั้นก็ต้องทำให้ห้องเรียนเป็นเศรษฐกิจพอเพียงด้วย 

    หลังจากที่เรียนรู้และเข้าใจกันดีแล้ว ครูมาตั้งคำถามกับเด็กว่า เราจะทำห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร ให้เด็กระดมความคิดเห็นกัน  ห้องนี้ได้ตัวชี้วัดออกมา 10 ข้อ อีกห้องอาจได้ตัวชี้วัดมา 15 ข้อ ก็ลองทำดู

    ครูใหญ่ที่ชื่อมิม อาจจะตั้งประเด็นทั้งโรงเรียนว่า เราจะทำโรงเรียนเราให้เป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไรบ้าง ให้เด็กทุกคนช่วยกันระดมความคิดเห็นมา สรุป แล้วทำกันจริงๆ ตลอดภาคการเรียน ตลอดปี อาจทำเป็น vision ของโรงเรียนก็ยิ่งดี ทำให้เป็นนิสัย ทำให้เป็นสิ่งปกติของการใช้ชีวิต

    โอยมิม เล่นได้เยอะแยะเลย  เอ…ต้องจ้างพี่ไปเป็นครูแล้วหละ
    ค่าจ้างพี่เป็นไอติมก็พอ…อิอิ

  • #5 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 6:13

    คิดด้วยภาพ -Think in Pictures  อิอิ

  • #6 sompornp ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 9:06

    แถมสามกอด
    พร้อมไอติม 1 ถ้วย

  • #7 mimography ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 9:49

    โอ๊ย  โอ๊ย….คิดถึงจัง  อิอิ

    วันนี้มิมตอบโจทย์จากความคิดเห็นของหลายๆ ท่านที่หลากหลายมากค่ะ
    ขอบคุณท่านบางทรายค่ะ 
    จะเอากี่กอด ไอติมกี่ถ้วย  ว่ามาเลยค่ะ อิอิ

  • #8 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 10:02

    ครูมิมครับ เวลาเอามาเขียน พวกเราที่มีลักษณะเชิงวิชาการนั้นก็ชอบอะไรที่เป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน

    แต่ในความเป็นจริง ในเงื่อนไขของชาวบ้าน หรือผู้ปฏิบัตินั้นมันไม่จำเป็นต้องเป็นขั้นตอนแยกกันเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อาจจะเอาขั้นตอน C และ  D ทำไปพร้อมๆกับขั้นตอน B ก็ได้ แบบทำไปปรับไป พัฒนาไป ยกระดับไป ระยะเวลาก็สั้นลง ทั้งนี้ก็แล้วแต่เงื่อนไข ปัจจัยของผู้ปฏิบัติและผู้ร่วมศึกษาครับครูมิม

  • #9 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 13:59

    เฮียตึ๋งครับ….

    เราคิดตรงกันหลายอย่างนะ
    จังซี่มันต้องถอน..อิอิ

  • #10 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 14:00

    น้าอึ่งจ๋า…..

    อบอุ่น อบอุ่นจัง

    จ๊ากสสส  เย็นไอติม

  • #11 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 เวลา 14:09

    ครูน้องมิม..

    พี่สาธยายมาพอรู้เรื่องอยู่นะ
    หากไม่รู้เรื่องเดี๋ยวจะส่งเฮียตึ๋งมาเลี้ยงไอติม 
    กินไปบ่นไป เอ้ย กินไปคุยไป อิอิ..

  • #12 dd_l ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 เวลา 21:49

    ระยะนี้มีโจทย์ให้คิดเยอะ  บางเรื่องก็ยังคิดไม่ลงตัว
    มาเจอคำถามน้องมิมที่โพสต์ไว้บนลาน พลอยทำให้ได้ความรู้จากหลายท่านค่ะ

    หลักการเดียวกัน แต่รายละเอียดต่างกัน

    เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ  แต่ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร  วงการศึกษาที่ประสบอยู่มักจะพยายามทำให้เป็น..หลักการเดียวกันและวิธีการเดียวกัน..
    บางทีก็หลักการยังไม่ชัด แต่ยัดเยียดให้ปฏิบัติตามๆ กัน
    ครอบงำกันมานานเสียจน ครูไม่กล้าคิดแตกต่าง หรือหากทำ ก็ไม่ค่อยมั่นใจอีก
    เอ๊ะ..วันนี้รู้สึกตัวเองว่า ดุเดือดไปไหมคะ..สงสัยเก็บกด..อิอิ

    รายละเอียดของการนำหลักการไปใช้ให้ได้ผลในแต่ละบริบทนั้น เป็นเรื่องที่เรียนไม่จบจริงๆ ค่ะ
    ขอบคุณที่เติมความคิดให้นะคะพี่

  • #13 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 มิถุนายน 2009 เวลา 0:41

    น้องอึ่งครับ   มีโจทย์เยอะก็ดีครับ สมองทำงานมากหน่อย ยิ่งใช้ยิ่งดีครับ  แต่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอนะครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.25208210945129 sec
Sidebar: 0.053688049316406 sec