ขุนรองปลัดชู..

356 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 8 กรกฏาคม 2011 เวลา 0:54 ในหมวดหมู่ ทุนสังคม #
อ่าน: 28602

ในฐานะเป็นลูกชาวนาคนวิเศษชัยชาญ ขอแสดงคารวะต่อบรรพบุรุษ ขุนรองปลัดชู (และผู้กล้าท่านอื่นๆอีก) ที่เป็นภาพยนต์กำลังจะฉายให้ผู้สนใจชม เริ่มวันจันทร์ที่ 11 นี้ เวลา 5 ทุ่ม Thai PBS ขออนุญาตนำข้อมูลที่เผยแพร่ตามสื่อต่างๆมาแล้ว บางท่านอาจจะยังไม่ทราบ เลยขอพื้นที่นี้เผยแพร่ แต่จะฉายภาพยนตร์พรีวิว ในรายการไทยเธียเตอร์ ช่อง Thai PBS วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2554 เวลา 22.00 น.

ข้อความต่อไปนี้ผมสำเนามาจาก การย่อความ จาก หนังสือ กองอาทมาท ประกาศศึก (การ์ตูน) โดย คุณพงษ์พัฒน์ เพชรรัตน์ สำนักพิมพ์อาทมาท, พิมพ์ครั้งแรก กันยายน ๒๕๕๐ ซึ่งปรากฏใน http://www.oknation.net/blog/print.php?id=138161


ใน พ.ศ. ๒๒๙๔ พระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองพม่า แล้วก็แผ่พระราชอำนาจ รวบหัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งมอญ ไว้ได้หมดสิ้น

ครอง ราชย์ 8 ปี ก็ เป็นเวลาที่ กรุงศรีอยุธยา ผลัดแผ่นดิน เป็นพระเจ้าเอกทัศน์ พม่าเห็นว่าไทย อยู่ในช่วงรอยต่อ มีความวุ่นวาย รวมทั้ง ต้องการลองกำลังหยั่งเชิง ซึ่งพอดีมีเหตุ เรือบรรทุกสินค้าของฝรั่ง ที่ค้าขายในเมืองอังวะ ถูกพายุซัดมาทางตะวันออก แวะมาซ่อมเรือที่มะริด ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของตะนาวศรี พม่าก็ขอให้เจ้าเมืองตะนาวศรี ส่งฝรั่ง และ มอญ ที่เป็นกบฏ หนีมา จับตัวส่งไป ทั้งคน และ เรือ ไทยตอบว่า ฝรั่งมาซ่อมเรือ ส่วนจะมีกบฏมอญมาหรือไม่นั้น หาทราบไม่

พม่าก็ถือเป็นโอกาส หาเหตุ ส่ง มังระ ราชบุตรองค์ที่สอง กับ มังฆ้องนรธา คุมกำลัง แปดพันคน มาตีทวาย ซึ่งตอนนั้นกำลังแข็งเมืองอยู่

เขา ว่า สมัยนั้น การข่าวของ อยุธยาผิดพลาด….เจ้าเมืองกาญจนบุรี แจ้งว่าพม่าจะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ พระเจ้าเอกทัศน์ ก็มีรับสั่งให้พระยาอภัยราชมนตรี ยกพลหนึ่งหมื่นไป ดักรอสกัด ที่นั่น และให้พระยาพระคลัง ยกพลอีกหนึ่งหมื่นไป เป็นทัพหนุนที่ ราชบุรี
ต่อมามีข่าวจากเจ้าเมืองกำแพงเพชรว่า พม่าจะส่งมาทางด่านแม่ละเมาอีกทางหนึ่ง ทางกรุงศรีฯ ก็ส่งทัพไปสกัดอีกเช่นกัน

ด้าน พม่านั้นเมื่อตีทะวายได้แล้ว ก็ต่อมายังมะริด และ ตะนาวศรี เจ้าเมืองจึงได้มีหนังสือมาแจ้งเมืองหลวง แต่ตอนนั้น กำลังพลส่วนใหญ่ได้ใช้ไปรักษาสองด่าน แรกหมดแล้ว จึงเหลือเพียงกำลังเล็กๆ ที่ยกไปรักษามะริด และ ตะนาวศรี
พระเจ้าเอกทัศน์ โปรดให้ พระยายมราช เป็นแม่ทัพคุมกำลัง สามพัน และ พระยารัตนาธิเบศร์คุมทัพหนุน สองพัน

ใน เวลานั้น มีครูฝึกเพลงอาวุธอยู่ในเมืองวิเศษไชยชาญอยู่ผู้หนึ่ง ชื่อ ครูดาบชู ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ให้เป็น ปลัดเมือง กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวบ้านจึงเรียนว่าขุนรองปลัดชู

เมื่อท่าน ทราบข่าว ว่าพม่ายกมาตีมะริด ตะนาวศรี ท่านก็สละตำแหน่ง ปลัดเมืองทันที แล้วนำชายฉกรรจ์ ที่เป็นลูกศิษย์ประมาณ ๔๐๐ คน เดินทางมายังพระนคร เพื่อทูลขออาสาออกศึกกับพม่า โดยไม่ต้องรอคำสั่งย้าย แต่ประการ

เรามักจะสงสัยกันว่าว่า ทำไมอยุธยาเสียกรุงสองครั้ง
…การข่าวพลาดมั้ง..?

แล้วก็ความเห็นแก่ตัว ของมนุษย์
สมัยนั้นก็มีคนแบบในภาพนี้แหละ ที่ บอกว่า แค่กำลังสี่ร้อยคน จะไปสู้สึก เรือนหมื่น ทัพพม่าแปดพันที่ยกมา มันฝันกลางวัน ในฝันอีกที คือ ไปตามหมู่มากกว่า

ความเห็นแก่ตัวระดับ เล็กๆ ก็ไม่น่ากลัวเท่ากับความเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ได้ ของคน
ความ รักชาติระหว่างการเกณฑ์ผู้คนให้ได้ครบนั้น ชาวบ้านต่างมาร่วมใจกันทั้งตำบล แม้กระทั่งคนตาบอด ที่มีวิทยายุทธก็พากันมาสมัคร แต่ระดับขุนพลในกรุงศรี ฯ กลับไปประจบสอพลอขันทีเฒ่า เช้า ตีกอล์ฟ เย็นเข้าผับ แถมแอบเบียดบังตั้งงบเป็นแสนล้านกว่าจะกินกันข้ามภพข้ามชาติ แผ่นดินจะพินาศไม่สนใจ

ทัพพม่ามาเต็มรูปแบบ ทั้งช้าง ม้า ปืนใหญ่ ของเราคนน้อยกว่า ก็ต้องอาศัย ยุทธวิธี หรือ กลยุทธ์บ้าง ไม่ได้จะสู้ตายอย่างเดียว

เช่น

.. ตัดต้นขวาก มีหนามแหลม มากีดขวางทัพข้าศึก ให้ทะลวงผ่านช่องเขาไม่ได้ง่าย

.. กลิ้งตะกร้อ ที่สานด้วยไม้ไผ่กรุด้วย ฟางแห้ง เผาไฟลงใส่ข้าศึก

.. ราดน้ำมันบริเวณช่องเขา พอทหารล่วงเข้ามาก็ใช้ธนูเพลิง ระดมยิงให้ไฟครอกตาย

แล้ววันแห่งการรุกรบก็มาถึง….ในคืนก่อนการศึกนั้น
ท่านขุนรองปลัดชู ปลุกใจ บรรดาเพื่อนร่วมรบว่า


.. ไม่คืนนี้ ก็อาจจะเป็นตอนย่ำรุ่ง ที่กองทัพพม่า จะเดินทางมาถึง
พวกเอ็งเตรียมใจแล้วหรือยัง

เจ้าแช่ม หนึ่งในกองทหาร ตอบว่า
.. เรื่องนั้น พี่ชู มิต้องวิตก คนวิเศษไชยชาญ ทุกคนในที่นี้ ล้วนแล้วแต่กำลังใจดีกันทั้งสิ้น แต่เมื่อช่วงพลบค่ำ ก็มีหลายเสียงที่ยังไม่กระจ่างใจ
ว่าเหตุใด ทับหลวงมิส่งกองหนุนมาสมทบให้เราบ้าง ส่งมาสักกองก็ยังดี หากทัพพม่ามันมาทางนี้ พวกเราสี่ร้อยคน จะรับมือไหวรึ ?

ท่านขุนรอง ตอบว่า
” เอ็งก็คงสงสัยมิใช่น้อยเหมือนกัน แต่ช่างหัวมันปะไร, ใครใคร่เห็นแก่ตัว ก็ปล่อยเขา, บ้านเมืองเรา ยามนี้ มีศึก, มัวหดหัว กลัวเสี่ยงภัย ไร้สำนึก, ต้องผนึก ผนวกใจ ไปต่อกร

ไอ้แช่ม เอ็งดูต้นไม้นี่สิ กว่ามันจะเติบโตขึ้นมาได้ มันก็ต้องอาศัยหลายอย่าง รอบต้นไม้มีทั้งก้อนหิน ก้อนดิน หากมีแต่ก้อนหิน มันคงตาย ต้องมีก้อนดิน เพื่อพยุงให้มันโต ให้รากยึดเกาะได้ แล้วเราไม่อยากเป็นก้อนดินเหล่านี้รึ เป็นก้อนดินที่ยังให้ต้นไม้ใหญ่ต้นนี้ ยึดเหนี่ยวต่อไป นานๆ เถิด

..เหมือนกับเป็นคนดี ที่ต้องปกป้องรักษาแผ่นดินเกิดของตัวเองไว้จนถึงที่สุด

กองทัพอาทมาท ต่อสู้กับพม่าอย่างถวายชีวิต จนแม่ทัพพม่า ถึงกับออกปากชม เชย
ศัตรูยังนับถือน้ำใจ …. แล้วคนในชาติเดียวกัน ?
รู้สึกอย่างไรล่ะ

ท่านขุนรองปลัดชู มิได้รบจนมุทะลุอย่างเดียว ในเมื่อไม่เป็นไปตามแผนการ กองหนุนก็ไม่มาสักทีกองทหารอ่อนแรงไปมากแล้ว

ก็มีช่วงที่ต้องข่มขู่กันด้วย การเจรจา ข่มขวัญบ้างละ….

แม้ไม่ได้ผลเต็มร้อย หยุดรบบ้างก็ยังมีเวลาหายใจ เพื่อ…จะไปลบจำนวนศัตรูลงให้มากที่สุด อันเป็นเป้าหมายในการศึกคราวนี้

“………แม้จะตายก็ขอตายในหน้าที่
ชีวีนี้ พลีเพื่อชาติ ที่ข้ารัก
แม้ศัตรู รุกเข้ามา จนหน่วงหนัก
ข้าพร้อมพรัก ประจัญบาน สังหารมัน …..”

ในที่สุด กองทัพอาทมาดทั้งสี่ร้อยก็พลีชีพดับดิ้นสิ้นใจด้วยหมดแรงล้า ตายทั้งที่สองมือยังถือดาบมั่น


แต่ปฎิธาน ของท่านขุนรอง ปลัดชู และ เพื่อนร่วมทัพของท่าน คงยังอยู่ ว่า

” ตราบใดที่ลมหายใจยังมี
ชีวิตนี้ กูขออุทิศ เพื่อปกป้อง ผืนแผ่นดิน สยาม

กูจะสู้  แม้ว่าพวกกูน้อย  สู้ไม่ถอย  ถึงแม้ว่าจะดับสลายขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

แผ่นดินนี้  พ่อกูอยู่  ปู่กูตาย  ยอมมลายมิยอมให้ไพรีครอง

…. ใครบ้างเหวยจะยืนสู้เช่นกูบ้าง   ใครบ้างเหวยจะเคียงข้างไทยใจหาญ

ใครบ้างเหวย  จะละสุขสนุกสำราญ  ใครบ้างเหวย  ยอมวายปราณ  เพื่อไทยคง…..

รูปนำมาจาก : http://www.soccersuck.com/soccer/viewtopic.php?t=301923

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลทั้งสองแห่ง

คนท้องถิ่นเรียนรู้เรื่องท้องถิ่นนี้มานาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้มีส่วนสร้างสมจิตวิญญาณลูกหลานมาบ้าง แม้จะปลายแถว ยังมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีกหลายแห่ง ที่บ่งบอกถึงสถานการณ์บ้านเมืองในสมัยรบกับพม่า อาจเป็นเพราะเมืองวิเศษชัยชาญเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดกับกรุงศรีอยุธยา จึงมีเรื่องเล่ามากมาย เสียดายที่หลักสูตรในโรงเรียนรุ่นหลังนั้นยกเลิกสิ่งเหล่านี้ไปหมด จิตวิญญาณเพื่อชาติจึงหดหายไปปกป้องอะไรก็ไม่รู้….



Main: 0.037082195281982 sec
Sidebar: 0.070995807647705 sec