การทำให้คนในองค์กรคิดถึงส่วนรวม
ตอบคำถามที่ 2 ของ อ.สุรีย์ ค่ะ
จะพูดยังไงดีให้คนได้รู้คิดบ้างว่า ต้องคิดถึงภาพรวมขององค์กร และคิดถึงส่วนรวมบ้าง การพูดตรง ๆ ด้วยความกรุณาพอจะได้ไหมคะ
โห คำถามคลาสสิกจริง ๆ ค่ะ ครูปูก็อยากได้ยินคำตอบจากท่านอื่น ๆ เหมือนกันนะคะเนี่ยะ
ว่าแต่เป้าหมายขององค์กรคืออะไรเหรอคะ สมาชิกรับทราบและเข้าใจวิธีการของการไปถึงเป้าหมายนี้โดยทั่วถึงและตรงกันแล้วหรือยัง เป้าหมายที่ว่านี้จะส่งผลดีอย่างไรต่อคนในองค์กรนั้น (หรือกลุ่มคนที่อาจารย์กำลังหาวิธีพูดด้วย) ตัวเองคงต้องได้ด้วยแหละเนอะ ถึงจะมีกำลังใจ จะทำให้องค์กรหน่ะ แล้วที่ผ่านมา ด้วยเหตุอันใดเขาถึงมองไม่เห็น ไม่เข้าใจ หรือไม่รู้คิด ตามที่อาจารย์ว่ามาล่ะคะ
ถ้าทุกอย่างชัดเจน เป็นที่เข้าใจกันดี ไม่ทราบว่ามีปัญหาโลกแตก คือเรื่องความบกพร่องของการสื่อสารหรือเปล่านะคะ ซึ่งก็เกิดขึ้นได้ ทั้งตัวผู้ส่งสาร ตัวสาร วิธีการสื่อสาร หรือความบกพร่องของผู้รับสารเอง
การพูดตรง ๆ ด้วยความกรุณาพอจะได้ไหม
ถ้้าเป็นครูปู จะดูก่อนค่ะว่าพูดกับใคร คน ๆ นั้น น่ากรุณาไหม ฮ่า…
ไอ้ “อะไร” ที่เรากำลังจะสื่อสารไป มันเหมาะกับวิธีการตรง ๆ หรือเปล่า
แล้วเขาเป็นประเภทรับ “อะไร” ตรง ๆ ได้แน่หรือ
แล้วไอ้เราที่จะไปตรง ๆ กับเขาเนี่ยะ มั่นใจไหมว่าจะคุมสถานการณ์การพูดคุยนั้นได้
เตรียมข้อมูลไว้ครบด้านพอที่จะตอบเขากลับไปตรง ๆ ได้ด้วย แล้วหรือยัง
หลายครั้ง”ความจริง” ที่ส่งผ่านไปโดยลืมการวิเคราะห์องค์ประกอบเหล่านี้ ก็อาจทำให้เสียเรื่องได้นะคะ
การออกแบบการสื่อสารให้เหมาะกับพื้นความรู้ ความคิด และทัศนคติที่เขามีต่อเรื่องที่ส่วนรวมกำลังร้องขอจึงจำเป็นมาก
ยิ่งเป็นเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวม คนที่ขาดสำนึกสาธารณะ เพราะขาดวิสัยทัศน์ในการที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ติดวิธีการคิดแบบแยกส่วน
นั่นของเอ็ง นี่ของข้า
หน้าบ้านเอ็ง หน้าบ้านข้า
งานของเอ็ง งานของข้า
คนของเอ็ง คนของข้า
เอ็งจะปลูกต้นไม้ก็เรื่องของเอ็ง ไม่เห็นเกี่ยวกับข้า
เอ็งอยากเหนื่อยทำเป็นคนดี ใจบุญ ก็เรื่องของเอ็ง ข้าไม่ขัดก็บุญโขแล้ว
เอ็งอยากจะแบ่งให้ใครก็ทำไป อย่ามาหยิบส่วนของข้าก็แล้วกัน
ข้าก็แค่อยู่เฉย ๆ ของข้า เอ็งไม่ต้องมายุ่ง ไม่ต้องมาชวนข้า จะทำอะไรก็เรื่องของเอ็ง
ข้าอยู่รอดไปวัน ๆ ก็พอแล้ว ใครทำอะไรก็ทำไป
แต่ถ้าสถานการณ์ย่ำแย่ ผู้รับผิดชอบ ที่มีอำนาจ ต้องลงมาขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตั้งกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพิ่มขึ้น การเสริมแรงทางบวก เช่น ตั้งเป้าหมายที่ไม่ไกลมาก เพื่อให้สามารถพิชิตร่วมกันได้เป็นขั้น ๆ ไป แล้วกำหนดรางวัลให้เห็นเป็นรูปธรรม หรือการเสริมแรงทางลบ เช่น การพูดคุยเป็นการส่วนตัว การกำหนดบทลงโทษ ให้ชัดเจน เป็นต้น
ยิ่งถ้าเป็นสถานการณ์เร่งด่วน จำเป็นต้องแก้ไข จะต้องยุติให้ได้ก่อน 3 โมงเย็น อันนี้ก็กรุณาใช้อำนาจที่มีอยู่ ดำเนินการตามหน้าที่ได้แล้วค่ะ ไม่ต้องร่ำไร ไม่ต้องมาเสียเวลาแถลงแล้ว บ้านเมืองอิ๊บอ๋าย ชาวบ้านชาวช่องเขาเดือดร้อน รำคาญ จนจะทนไม่ไหวกันอยู่แล้ว
จ๊ากกกกก… ออกนอกเรื่องอีกแล้วเรา
เจออย่างนี้ประจำเหมือนกันค่ะ เรื่องบางเรื่องขอความร่วมมือไปเห๊อะ เข้าหูซ้ายออกจมูกขวาไปซะงั๊น
ด้วยอำนาจตามหน้าที่ที่มี จะเลือกออกแแบบวิธีการให้เหมาะกับลักษณะอาการของความไม่ร่วมมือนั้น ๆ ค่ะ
เนื่องด้วยเป็นเรื่องของส่วนรวม ก็จะเน้นใช้กระบวนการผ่านส่วนรวมค่ะ
เช่น แจ้งให้ทราบพร้อมเชิญชวนในที่ประชุม
เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือก็จะนำข้อติดขัดนั้นมารายงานต่อส่วนรวม
แล้วขอความคิดเห็นโดยการระดมสมองหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน
ถ้้ายังไม่ได้รับความร่วมมืออีกก็ต้องเพิ่มมาตรการขึ้นไปอีก
เช่น ระบุรางวัลสำหรับหน่วยงานหรือแผนกที่ทำได้
สั่งการให้หัวหน้าแผนกส่งผลการดำเนินการโดยละเอียดแล้วรายงานต่อที่ประชุม
หรือกำหนดให้วนกันรับผิดชอบ มอบบทบาทเจ้าของเรื่องให้
จะได้เข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นของเรื่องดังกล่าว
ถ้ายังมีบ้างที่ยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือก็อาจติงผ่านไปยังหัวหน้าโดยตรงก่อน
เพื่อไม่ให้เสียความรู้สึกว่า ถูำกผู้ใหญ่ติง
ให้เขาคุยกันเองแบบเพื่อนคุยกันเอง ชักชวนกันเอง
ส่วนรายที่ซ่าส์มาก ๆ ก็คงเชิญมานั่งคุยกันเลย
เพราะหากเขาผ่านกระบวนการทั้งหมดมาแล้ว
คงจะพออนุมานได้แล้วว่าเขาคงไม่ได้ “คิด” ถึงส่วนรวมหรอกค่ะ
ในเมื่อไม่อยากคิด ก็ไม่ต้องคิดก็ได้
งั๊น ลงมือทำตามที่สั่งนี่เลยแล้วกัน
หม่ะ!
ถ้ายังทะลึ่งไม่ให้ความร่วมมืออีก การสื่อสารต่อไปนี้จะเป็นการสื่อสารที่ตรง กระชับ
แต่ไม่แน่ใจว่าผู้ที่ถูกติงจะรู้สึกถึงความกรุณาได้ตลอดการสนทนาหรือไม่นะคะ
เหอ เหอ เหอ …
« « Prev : เกณฑ์ตัดสินความเป็นผู้นำและจิตอาสา
Next : แจ๋วขี้เซา ณ สวนป่า 4 พ.ค.2553 » »
ความคิดเห็นสำหรับ "การทำให้คนในองค์กรคิดถึงส่วนรวม"