ความเค็มของอาหาร….เกี่ยวอะไรกับอากาศหายใจ
ระหว่างเขียนเล่าเรื่องรางจืด ก็มีเอ๊ะกับเรื่องเค็มที่ยังเล่าไม่หมด ในหัวก็มีอะไรแวบขึ้นมาเตือนให้ฉุกใจ ได้ยินเสียงเตือนว่า อย่าลืมดูแลตรงนี้ไปนะคุณหมอ เรื่องเดียวกับที่อุ๊ยสร้อยมาอุทานไว้อย่างนี้ี “รู้แต่รู้ไม่หมดนี่อันตรายจริงๆนะคะ”
แล้วก็ชั่งใจเหมือนกันว่าเล่าไปเล่าไปเรื่อยๆแบบสโลว์โมชั่นเพราะปั่นบันทึกไม่ทันอย่างนี้จะทำให้คนเข้ามาอ่านรู้สึกอย่างที่น้องฑูรเคยสะท้อนไว้หรือเปล่า “เนี่ยอ่านบันทึกของพี่หมอเจ๊แล้วไม่กล้ากินอะไรเลย”
เรื่องของอาหารมันมีอะไรของมันซ่อนลึกอยู่มากมาย ทั้งเรื่องที่รู้เผินๆ รู้แล้ววางไว้ รู้แล้วนำมาใช้ครึ่งๆกลางๆอยู่ แล้วยังมีว่าเมื่อผู้คนยิ่งรู้มาก ยิ่งทำให้ใช้ปฏิกิริยาป้องกันตัวเองที่หลากหลายเข้าไปอีกจนบานปลายเป็นโรคทำตัวเองก็มีมากมาย
วันนี้จึงมาขอให้ท่านที่เข้ามาอ่านวิเคราะห์ปฏิกิริยาป้องกันตัวเองพร้อมไปกับการรู้ไว้แต่ขอให้ยังไม่ว่าก่อนนะคะ ฟังหูไว้หู หน่วงตัวเองให้ช้าไว้ๆ เพื่อท่านจะได้ใช้ปฏิกิริยาป้องกันตัวเองให้เหมาะควรสร้างสุขภาพ ไม่สร้างโรคใหม่ให้เกิดขึ้นจากข้อมูลที่มีไม่พอ
กลไกป้องกันตัวที่รู้แล้วว่าเลยแล้วสร้างโรคใหม่ก็มีตัวอย่างดังที่น้องหนิงได้ผูกโยงให้ข้อสังเกตเรื่องอาการของคุณสามีเรื่องการกินผลไม้แลกเปลี่ยนไว้เตือนใจกันแล้ว
เคยเล่าเรื่องการกินเกลือเกินกับการกินผลไม้และผักและทีเผลอของการได้เกลือเกินจากเครื่องดื่มรูปแบบต่างๆเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว ในตอนนั้นไม่คาดว่าจะต้องนำเรื่องระดับนาโนมาบอกเล่าเก้าสิบกันอย่างเช่นวันนี้เลยค่ะ ไหนๆแล้วก็ว่ากันต่อเรื่องธาตุที่ให้รสเค็มอีกตัวคือเจ้าโปตัสเซียมบ้างก็แล้วกัน เพื่อใช้ในการปรับเรื่องการกินให้เหมาะควรลงตัว
เคยเล่าเรื่องอากาศหายใจกับกรดยูริกให้อ่านกันแล้ว วันนี้ขอเล่าเรื่องอากาศหายใจกับโปตัสเซียมกันหน่อย แปลกใจไหมที่เล่าว่ามันไปเกี่ยวอะไรกับอากาศหายใจอีกตัวแล้ว
ชวนให้นึกถึงเวลาเห็นการเผาต้นไม้ ใบหญ้ากันหน่อย เห็นแล้วบ่นเพราะรู้ว่ากระบวนการเผาไหม้ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นใช่ไหม บ่นเพราะห่วงว่าทำให้โลกร้อนขึ้นใช่ไหม เชื่อหรือไม่ว่าโปตัสเซียมเกี่ยวข้องกับอากาศหายใจอีตรงการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์นี่แหละ
เอ๊ะใช่ไหมว่าโปตัสเซียมไปเกี่ยวยังไงกับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เกี่ยวตรงที่มันซ่อนตัวอยู่ในรูปของขี้เถ้าที่เราเห็นกันค่ะ ขี้เถ้านี้จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากตัวเรื่อยๆเมื่อมีความร้อนรอบตัวของมันสูงขึ้น
พระธรรมชาติคงจะรู้จักฤทธิ์ของมันดีจึงควบคุมปรากฏการณ์นี้โดยจมมันไว้ใต้น้ำที่ก้นทะเลหรือก้นทะเลสาบซึ่งเป็นที่เย็นไปซะเลย
ในธรรมชาติโปตัสเซียมจะไม่ก่อโทษเมื่อจมมันไว้ที่ก้นทะเล ในร่างกายเราก็มีน้ำทะเลอยู่แล้วใช่ไหม งั้นในร่างกายที่จะเจอโปตัสเซียมก็น่าจะเป็นส่วนที่จมอยู่ในน้ำทะเลด้วยใช่ไหม ที่เล่าไว้ว่าน้ำเกลือแกงในร่างกายอยู่นอกเซลเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในเซลเป็นส่วนน้อย ช่วยให้เดาว่าแหล่งที่จมโปตัสเซียมไว้ในร่างกายอยู่ที่ไหนได้นะคะ ใช่แล้วค่ะ ฉันกำลังจะบอกว่าโปตัสเซียมในร่างกายถูกจมไว้่ในเซลค่ะ
ที่ผ่านมาเวลาพูดกันถึงเรื่องโปตัสเซียมในทางการแพทย์ มักจะเป็นแง่มุมของการเติมจากอาหารหรือยาเข้าไปซะมากกว่า บันทึกนี้ยังไม่ขอพูดไปถึงเรื่องราวเดิมๆเหล่านี้นะคะ แต่จะต่อในแง่มุมที่พ่อครูมาเล่าว่า “สังเกตตัวเอง ยังมีพลังความร้อนในร่างกายอยู่มาก จะพยายามพักผ่อน นอนมาก เดินรอบบ้าน” ว่าชวนให้นึกถึงเรื่องอะไรได้บ้างค่ะ
เคยเล่าแล้วว่ามีเรื่องของการเผาถ่าน 3 ชนิดในร่างกายเพื่อให้ได้พลังงานมาทำให้ร่างกายอบอุ่น ตรงนี้เองที่เกิดขี้เถ้าเป็นผลพวงค้างเติ่งอยู่ในร่างกายได้ไม่ว่าการเผาไหม้นั้นจะสมบูรณ์หรือไม่ มีขี้เถ้าและมีความร้อนอยู่ด้วยกันเห็นหรือยังว่าเกิดอะไรขึ้น นี่แหละคือกลไกที่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากตัวผู้คนและระบายออกมาทางลมหายใจสู่อากาศ
ในเมื่อความอบอุ่นที่เกิดขึ้นกับร่างกายกลายเป็นร้อนอย่างที่พ่อครูรู้สึก ก็แปลว่าขณะนี้มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ภายในร่างกายของพ่อครููสูงอยู่มากมาย และนี่คือเหตุที่ทำให้พ่อครูรู้สึกไม่สบายกับการหายใจอยู่นั่นแล้ว ส่วนสาเหตุที่เป็นที่มาของความร้อนที่รู้สึกอยู่นั้นให้กลับไปดูที่สัดส่วนของถ่านชนิดต่างๆที่อาหารให้มาค่ะ ขอฟันธงว่ายังกินอาหารมันหรือหวานที่เข้าเกลืออยู่เป็นประจำค่ะ
ตามๆดูสัดส่วนของอาหารที่พ่อครูกินอยู่ที่สวนป่านั้น ดูเหมือนจะหนักไปในเรื่องของความหวาน ความเค็มอยู่นะคะ อาหารนี้จะให้ขี้เถ้าออกมานะคะ การปรับลดสัดส่วนน้ำตาลทั้งในเครื่องดื่มและแหล่งอาหารที่ให้ถ่านกลูโคสได้ทั้งหมดลงโดยพลันทำอย่างไรได้บ้างนั้น ลองยืดหยุ่นจากหลักที่ธงโภชนาการแนะนำไว้้ค่ะ ปรับได้แล้วจะดีกับเรื่องว่าที่เบาหวานและช่วยเรื่องการปล่อยเกลือโซเดียมออกจากร่างกายได้ด้วยค่ะ
ที่ฟันธงว่ายังกินอาหารมันไปอยู่นั้นเพราะเหตุว่าการเผาถ่านกรดไขมัน(ได้จากไขมันพืช-สัตว์) นั้นให้ความร้อนเป็น 4 เท่าของถ่านน้ำตาลกลูโคส(่ได้จากแป้ง-น้ำตาล-ข้าว) และถ่านกรดอะมิโนที่ได้จากโปรตีน (เนื้อสัตว์-ถั่ว-นม)
ในวันไหนที่มีอาการร้อนอย่างที่บอกแล้วละก็ แนะนำให้พิเคราะห์ดูเมนูไข่ เมนูที่มีการใช้น้ำมัน และความเค็มของวัตถุดิบเป็นพิเศษหน่อยนะคะ แล้วปรับลดให้เหมาะกับอาการของตัวค่ะ
เพื่อให้ง่ายขอชี้ไปที่เมนูใส่เต้าเจี๊ยว เครื่องดื่มที่ทำจากผลไม้รสเปรี้ยวมากๆค่ะ ที่ขอให้ปรับลดเกลือ น้ำตาลด่วน!!!!!!!!!!!!!!!!
เรื่องใบย่านาง จะนำมาเขียนให้อ่านตามลำดับต่อๆไปก็แล้วกันค่ะ
บันทึกอื่น
1. หวานลมปากกับอ้อยตาลหวานลิ้น และเค็มปากใช้อย่างไรจึงรู้กินพอดีหรือเปล่า
3. มาต่ออีกหน่อยเรื่อง เปรี้ยว หวาน เค็ม
4. ไออุ่น ไอร้อน และการใช้เคล็ดลับ
5. ปรับน้ำตาลให้เป็นกัลยาณมิตร
« « Prev : อุ๊ยสร้อยชวนเรียนรู้….รางจืดแก้เค็ม
Next : อยู่ห้องแอร์ ใช้พัดลม…กับเรื่องกินเค็ม » »
2 ความคิดเห็น
ในเมื่อความอบอุ่นที่เกิดขึ้นกับ ร่างกายกลายเป็นร้อนอย่างที่พ่อครูรู้สึก ก็แปลว่าขณะนี้มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ภายในร่างกายของพ่อครููสูงอยู่ มากมาย และนี่คือเหตุที่ทำให้พ่อครูรู้สึกไม่สบายกับการหายใจอยู่นั่นแล้ว ส่วนสาเหตุที่เป็นที่มาของความร้อนที่รู้สึกอยู่นั้นให้กลับไปดูที่สัดส่วน ของถ่านชนิดต่างๆที่อาหารให้มาค่ะ ขอฟันธงว่ายังกินอาหารมันหรือหวานที่เข้าเกลืออยู่เป็นประจำค่ะ
เรื่องร้อนๆในตัวมีมานาน ช่วงก่อนไปใต้กินผัก-น้ำ-ผลไม้ก็ดีขึ้น แต่พอไปเปลี่ยนการกิรอาการเดิมก็กลับมาอีก หวานพยายามลดอยู่แล้ว จะได้จากผลไม้หวาน ชา-กาแฟก็งด มีน้ำตาลจากโอวัลตินบ้างเป็นบางมื้อ ส่วนน้ำมันรับจากการผัดผักต่างๆ ที่ยังปรับไปเป็นผัดด้วยน้ำยังไม่คุ้นชิน
เนื้อหาต่างๆรวบรวมไว้ พิมพ์เป็นเล่มน่าจะดี โดยเรียงเรื่องใหม่ให้สอดรับกัน
ถ้าเป็นเครื่องดื่ม ที่ฉีกซองใส่น้ำชงเลย ให้ดูที่ฉลากโภชนาการ ก็สามารถบอกได้ว่า ชา กาแฟ โอวัลติน เครื่องดื่มในมือที่มี อย่างไหนควรเลือกดื่มค่ะ
แต่ถ้าเป็นรูปของผงในขวดที่ชงแล้วต้องเติมน้ำตาลจึงดื่มได้ ชา กาแฟ อาจจะดีกว่าโอวัลตินก็ได้ ในแง่น้ำตาลและเกลือที่มีอยู่
อย่างไรแล้วก็ยังแนะนำให้ฝึกอ่านฉลากโภชนาการข้างซอง ข้างขวดเพื่อเลือกบริโภคเครื่องดื่มสำเร็จรูปนะคะพ่อครู
สำหรับคำแนะนำให้เรียบเรียงเรื่องทำเป็นเล่ม ณ เวลานี้ก็ทำใช้อยู่เป็นเล่มเล็กๆ ทะยอยทำออกมาใช้กับคนไข้ที่ดูแลอยู่ค่ะ