หวานลมปากกับอ้อยตาลหวานลิ้น และเค็มปากใช้อย่างไรจึงรู้กินพอดีหรือเปล่า

โดย สาวตา เมื่อ 17 สิงหาคม 2008 เวลา 20:35 (เย็น) ในหมวดหมู่ ชีวิต สุขภาพ, อาหารกับสุขภาพ #
อ่าน: 3673

ในบันทึกที่แล้ว เขียนไปแล้วเกี่ยวกับแหล่งอาหารจากพืชและเนื้อสัตว์ แล้วโยงไปสู่เรื่องไขมันเพื่อทำความเข้าใจวิธีใช้ธงโภชนาการให้ง่าย  บันทึกนี้จะมาแลกปลี่ยนต่อเรื่องน้ำตาลและเกลือค่ะ

ธงบอกให้กินน้ำตาล และเกลือให้น้อยที่สุดเช่นเดียวกับกินน้ำมันนะค่ะ ขอชวนย้อนมาที่แบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มภูมิกันหน่อยค่ะว่าจะกะน้ำตาลและเกลือกันอย่างไร จึงจะได้ข้อมูลกินน้อย กินมาก

หลายท่านคงคุ้นชินสำนวนนี้ “อ้อยตาลหวานลิ้น” “หวานลมปาก” 2 คำนี้มีความหมายในการกิน เพราะคนส่วนใหญ่จะใช้ลิ้นในการชิมรสต่างๆ ทั้งรสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว รสขม ล้วนแต่ต้องใช้ลิ้นในการตัดสินความ

“หวานลมปาก” มีความหมายที่การรับรส ซึ่งเป็นเรื่องลิ้นใครลิ้นมัน เมื่อฉันชิมว่าหวาน พี่หลินฮุ่ยอาจจะบอกว่า อ่อนหวาน จอมป่วนอาจจะบอกว่า หวานแจ่มแล้ว เรื่องนี้เป็นสัจจธรรมที่เจอกันอยู่แล้วค่ะ การบอกรสหวานด้วยลิ้นจึงไม่อาจบอกได้ถึงน้ำตาลที่มันมีอยู่จริงในอาหารนั้นๆค่ะ หากว่าคนๆนั้น ไม่ได้ทดสอบตัวเองไว้ก่อน  หวานลมปากจึงเชื่อไม่ได้ด้วยเหตุฉะนี้แล

อย่างไรก็ตาม “หวานลมปาก” มีประโยชน์ในการเอามาใช้ค่ะ  ให้เอามาใช้แค่สื่อว่า “อะไรหวาน แปลว่าสิ่งนั้นมีน้ำตาลอยู่ ยิ่งรู้สึกหวานมากๆๆเท่าไร  สิ่งนั้นยิ่งมีน้ำตาลมากเท่านั้น” เอาไว้ใช้แค่นี้ก็พอเอาตัวรอดจากหวานลมปากได้แล้วค่ะ 

“อ้อยตาลหวานลิ้น”  ที่ฉันเอามาเอ่ยด้วยนั้น จะเอามาบอกเล่าว่า น้ำอ้อย น้ำตาลมันหวาน ด้วยมีน้ำตาลแฝงอยู่ อะไรที่เข้าน้ำตาล เช่นเครื่องดื่ม ขนมทั้งหลาย อย่าลืมกันนะค่ะท่าน ว่านั่นคือ แหล่งให้น้ำตาล เมื่อมันอยู่ในเครื่องดื่ม ยิ่งดื่มเครื่องดื่มนั้นหลายแก้วก็ยิ่งได้น้ำตาลเยอะขึ้นๆ จริงไหมครับท่าน

ดูมื้ออาหารที่ยกตัวอย่างมาแล้ว ก็มีมื้ออาหารว่าง ที่น่าจะมาเรียนรู้ด้วยกัน 

 chakeaw 

ถ้าใช้ความรู้เรื่อง หวานลมปาก และอ้อยตาลหวานลิ้นละก็  กินอาหารว่างมื้อนี้ ก็เท่ากับกินน้ำตาลเกินแล้วแน่นอน จริงมั๊ยค่ะท่านขา 

มาดูต่อเรื่องของเกลือกันค่ะ  อาหารว่าง 2 ชนิดนี้ ใส่เกลือด้วยนะค่ะ  ในชาเขียวน่าจะใส่น้อยๆเพื่อให้รสชาดเข้มขึ้นหรืออาจจะไม่ใส่เลย แต่ในคุกกี๊นั้นมีอยู่แน่นอน อยู่ในเนยที่นำมาทำไงค่ะ ยิ่งมันอร่อย ยิ่งมีเกลือเยอะ แถมน้ำมันเยอะด้วย จริงไหม ก็มันอร่อย จากไขมันเนยไงค่ะ 

รวมอาหารคาวในมื้อเช้า เที่ยงและเย็น แม่นแล้ว น้ำตาล เกลือเกิน หลายกิโลขีด เหมือนน้ำมันเลยอ่ะ

สรุปว่ามาถึงตรงนี้  เนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำตาล เกลือ เกินกว่าที่ธงแนะนำซะแล้ว ยังคงเหลือแต่ส่วนของแหล่งอาหารพืชที่จะต้องแยกแยะต่อว่าข้าว แป้ง ผัก กินมาก-น้อยอย่างไร  ฉันขอยกเรื่องนี้ไปว่ากันต่อในบันทึกหน้าแล้วกันนะค่ะ  ก่อนไปเขียนบันทึกต่อ ขอชวนก่อนค่ะว่า ให้ท่องมนต์บทนี้กับตัวเองได้แล้วค่ะ ถ้าท่านมีอาชีพเป็นวิทยากร หรือกระบวนกรนะค่ะท่านขา  ท่องมันไว้เพื่อสะกดจิตตัวเองให้มันสะกดใจท่านไว้ค่ะ ก่อนลงมือกินอาหารที่เขาจัดมารับรองท่าน

 

« « Prev : มาดูผลการลองใช้ภูมิปัญญาระดับประถมกันหน่อยนะค่ะ

Next : กินอย่างนี้เบามั๊ย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

11 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 เวลา 20:59 (เย็น)

    สวัสดีค่ะพี่หมอเจ๊
    เอารายละเอียดมาส่วนมาฝากนะคะ ( ที่ว่าบางส่วนเพราะเยอะและจำไม่ได้ อิ อิ )

    ผงปรุงรสต่างๆเช่นคนอร์ 1 ก้อนหรือรสดี 1 ซอง (แบบที่ไม่บอกว่าไม่มีผงชูรสนะคะ ) จะเทียบกับเกลือเท่ากับ 3 ช้อนชาค่ะ

    รสดีแบบซองใหญ่ที่ใส่หม้อก๋วยเตี๋ยว เท่ากับเกลือ 12 ช้อนชาค่ะ

    ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา

    เต้าเจี้ยว 1 ช้อนโต๊ะเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา

    ขนมกรุบกรอบ 1 ถุง เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา

    บะหมี่ถ้วยต่างๆ /โจ๊กถ้วย 1 ถุง/ถ้วย เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา

    เหล่านี้เป็นเกลือแฝงที่มาในรูปของกินต่างๆ ที่ทำให้เราได้รับเกลือเกิน ( ผู้ป่วย HT )ถึงคุมความดันลำบากนะคะ เพราะปกติเราไม่ควรได้รับเกลือเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน เนาะคะ

    มาถึงน้ำตาลแฝงกันบ้างนะคะ
    ชาเขียว 1 ขวด เทียบเท่ากับน้ำตาล 12 ช้อนชาค่ะ
    น้ำอัดลม 1 กระป๋อง เทียบเท่ากับน้ำตาล 9 ช้อนชาค่ะ อิ อิ เริ่มงงแล้วใช่มั้ยคะว่าทำไมน้ำอัดลมถึงมีน้ำตาลน้อยกว่าชาเขียวได้ พี่เพ็ญโภชนาการบอกว่าการเทียบน้ำตาลนั้นเค้าดูทั้งปริมาณน้ำตาลที่ใช้และคาร์โบไฮเดรตด้วยค่ะ

    ปกติเราไม่ควรได้น้ำตาลเกินวันละกี่ช้อนนี่จำไม่ได้แล้วค่ะ
    ไว้จะเอารายละเอียดเท่าที่มีมาฝากใหม่นะคะ เพราะเก็บไว้ที่ทำงานค่า

  • #2 หมอเจ๊ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 เวลา 21:18 (เย็น)

    #1 ขอบใจจ๊ะน้องจ๋า หลักที่พี่จะเขียน พี่คิดว่าให้หลักที่ใช้ตัวเลขน้อยๆ สอนให้กะได้เองอย่างหยาบๆ แต่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันอย่างง่ายๆค่ะ เพราะอย่างไรก็ตาม ตามข้อเท็จจริงนั้น กินเกินโดยหลีกเลี่ยงได้ยากอยู่แล้ว คนจึงควรจะมีหลักคิดในการคัดกรองเพื่อจะกินด้วยตัวเอง

    การกินเป็นความสุขอย่างหนึ่งนะค่ะ เรารักใครก็ควรให้เขามีความสุขที่จะเลือกกินเป็น กินอย่างมีอิสระ ภายใต้กรอบหลวมๆที่เกิดจากความเข้าใจค่ะน้องขา ไปให้เขาจำตัวเลข เขาก็ติดกรอบกัน ไอ้นั้นก็กินไม่ได้ ไอ้นี่ก็กินไม่ได้ ไม่ปลอดภัยไปหมด พี่สงสารเขาค่ะน้องขา

    คนเรานี่นะ เกิดมาต้องกินอาหารกันทุกคน พอรู้ว่าไม่ปลอดภัยความกลัวก็ทำให้เขาอดไปทั้งหมดเลยค่ะ แล้วชีวิตนี้เขาจะมีความสุขอย่างไรละน้องเอ๋ย ความเครียดมันก็มาเยือน ไม่หยุดไม่หย่อนนะซิน้อง พี่รู้สึกอย่างนี้แหละ เลยไม่ตึงกับคนไข้ ให้เขาจำอะไรไปมากมาย แต่จะสอนให้รู้จักหลักแล้วสะท้อนวิเคราะห์เอาเองค่ะ

  • #3 หมอเจ๊ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 เวลา 21:23 (เย็น)

    #1 ความรู้อย่างที่น้องว่ามานั้น พี่ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและพยาบาลจำค่ะ จำไว้เพื่อวินิจฉัยให้ออกว่า แหล่งที่ชาวบ้านที่เขากินเกิน มันมาจากอะไร จะได้ให้คำแนะนำ ชี้ช่องให้เขาแก้ได้ตรงตัว ตรงประเด็นค่ะน้องขา

    อย่างไรก็ขอบคุณนะค่ะน้อง ที่มาช่วยกันเติมให้คนอื่นๆเขารู้กัน

    มั๊ยละเราก็ยังลืมเองเลย คนจบระดับประถม เขาจะไม่ลืมได้ก่อ เอาเป็นว่า พี่กำลังจะทำเรื่องยากๆอย่างข้างบนที่น้องบอกนี้ให้ง่ายขึ้นไปอีก เพื่อให้เขาหยิบความรู้มาใช้ได้อย่างอัติโนมัติแบบกดเงิน ATM มาใช้กันเลยค่ะ

    เรื่องที่น้องว่ามา พี่ลองให้ใช้กันแล้วในหมู่เจ้าหน้าที่ของพี่ ปรากฎว่าจำผิดจำถูก ไปบอกคนไข้ซะอีก เฮ้อ เวรกรรมค่ะ ก็เรายังพลาดการจำได้ แล้วคนทั่วไปจะจำไม่พลาดเรอะค่ะ แล้วเวลาจะกิน ต้องไปเปิดตำรานะ ไม่เป็นธรรมชาติเลยอ่ะค่ะ สู้ไม่ต้องจำแต่เข้าใจ น่าจะได้ผลดีกว่า จำมากๆแล้วเครียดนะ คนเขาฟังไปแล้วเขาก็เลยไม่จำ แล้วก็เลยไม่ทำด้วยจนเกิดเหตุการณ์สายเกินแก้ไง

    เรื่องที่พี่จะเขียน พี่ลองทำมาแล้วในหมู่คนที่พี่ดูแล ปรากฎว่ามันเวิร์ก กว่าการจำอะไรเยอะแยะ แบบนักวิชาการจำค่ะ

    สรุปว่าพูดภาษาของเขาให้เป็น แล้วพูดให้เขาฟังเพื่อให้เขานำไปใช้ได้ผลกว่าพูดภาษาของเราให้เขาฟังค่ะ

    เป็นเรื่องคิดใหม่ทำใหม่ที่พี่ถอดบทเรียนออกมาจากหลักการเลือกกินอาหารของตัวพี่เองเลยค่ะ ไปหาอ่านตำราที่ไหนก็ไม่มีค่ะน้อง

    พี่จึงบอกตั้งแต่ต้นเรื่องบันทึกแรกค่ะว่า ว่าจะใช้ความรู้แค่ระดับประถม ไม่ใช้ภาษาของนักโภชนาการซึ่งเป็นภาษาระดับมหาวิทยาลัยในบันทึกที่พี่เขียนนี้ค่ะ

  • #4 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 เวลา 22:03 (เย็น)

    เห็นด้วยเลยค่ะว่าเจ้าตัวเลขมหัศจรรย์ทั้งหลายนั้นจำยากเย็นและทำให้คนไม่มีความสุขในการกิน

    เคยนั่งฟังเวลาที่เค้าให้ความรู้เกี่ยวกับการกินต่างๆในกลุ่มผู้ป่วยแล้วก็ยิ้ม เพราะ”มึน” ยิ่งเจออาหารแลกเปลี่ยน ยิ่งหัวเราะเลยล่ะค่ะ เพราะคำนวณกันเป็นแคลอรี่และทัพพีกันเลย

    เคยลองคำนวณของตัวเองเล่นๆในมื้อเดียวยังยิ้มขำ เพราะละเอียดยิบและไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตัวเอง นี่ขนาดเป็นบุคลากรสาธารณสุขก็ยังติด แล้วคนทั่วไปก็คงวุ่นวายมากมายหลายเท่าเลยเนาะคะ ที่สนุกกับเรื่องนี้เพราะมีหน้าที่ต้องประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนไข้ในกลุ่มโรคหลักน่ะค่ะว่าสุขศึกษาหรือหลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆที่เราระดมให้กับคนไข้และบุคคลทั่วไปนั้นประสบผลเพียงไรหรือว่ามีแนวทางอื่นที่น่าจะได้ผลดีกว่าและทุ่นแรงได้มากกว่านี้เพราะโหลดคนไข้ที่มาก็หนักหนากันขึ้นเรื่อยๆ

    ว่าจะแว้บมาอ่านก็ติดลมชวนคุยอีกซะแล้ว

  • #5 หมอเจ๊ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 เวลา 22:31 (เย็น)

    #4 พี่ว่านะน้องนะ สุขศึกษาที่เราทำๆกัน มันไม่ได้ย่อยเอาแก่นมาให้เขาใช้กันแบบผู้เชียวชาญจริง เราเอาเนื้อที่เราเรียนมาแบบผู้เชี่ยวชาญมาปนให้เขาซะเยอะจนเขาหาแก่นไม่เจอ งานนี้เราจึงเจอข้อตันในงานของเรา ก็งานเรามันเยอะขึ้น เยอะขึ้น จนเราเอามันไว้ในมือไม่อยู่ ล้นออกมาจนกั้นไม่ได้ นักสุขศึกษาก็มีน้อย ขืนหากินด้วยรายละเอียด วันหนึ่งก็กระอักเลือดตาย แบบจอมยุทธแห่งบู๊ลิ้มทั้งหลายแหละน้อง

    เราไปสอนเขาให้เรียนเป็นนักสุขศึกษา (นักให้ความรู้เรื่องที่ให้ความสุข) ไม่ได้สอนเขาให้เป็นคนที่ได้ศึกษาเพื่อทำให้เกิดสุขแก่ตัวเอง มันเลยมีเรื่องให้จนใจเราเยอะไง

    เรียนแบบเรานะคือเรียนเพื่อสอบการจำความรู้ จบแล้วครูก็ปล่อยให้มาหาประสบการณ์การใช้ความรู้เอาเอง เราเอาสิ่งที่ครูสอนเรามาสอนคนไข้เขาทั้งดุ้น เราจึงไม่ประสบความสำเร็จ เพราะใช้กับชีวิตจริงไม่ได้ ชีวิตจริงสอบไม่ผ่าน มันหมายถึงการสูญเสีย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนะน้องเอ๋ย พี่จึงว่าที่เราทำกันอยู่ไม่ใช่การให้สุขศึกษานะค่ะ ควรคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อทำให้ได้ผล คือ ทำให้คนไข้สอบผ่านการใช้ชีวิตจริง ซึ่งในชีวิตจริง มันมีอะไรต้องพลิกแพลงมากมาย ไม่ตรงๆแบบตอบสอบในกระดาษเลยจริงมั๊ยน้อง

    มาคุยกันเถิดน้อง เพื่อแตกประเด็นความคิด ให้เกิดการปิ๊งแว๊บที่เป็นเรื่องใหม่ๆ

    ไอ้เจ้าอาหารแลกเปลี่ยน มันควรจะใช้โดยนักโภชนาการนะค่ะ มันถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้ช่วยสั่งอาหารให้คนไข้กินให้เหมาะ เพื่อที่จะปรับให้โรคสงบเร็วพลัน คนไข้จะได้ไม่ต้องนอนนานในร.พ.ค่ะ ด้วยเหตุนี้แหละ จึงต้องมีนักโภชนาการไว้ให้ในร.พ.ค่ะ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมสั่งยากับแพทย์ หากว่าต้องใช้อาหารเป็นยาให้กับคนไข้ด้วย

    พี่ว่านักโภชนาการส่วนใหญ่ยังหลงประเด็นเรื่องนี้ และยังไม่ได้มีบทบาทร่วมในแผนดูแลผู้ป่วยในของร.พ.เท่าที่ควรเลยค่ะ มีแห่งเดียวที่พี่เคยเห็นว่ามีส่วนร่วมอยู่มาก คือ นักโภชนาการที่ ร.พ.เทพธารินทร์ค่ะ ที่อื่นไม่ใคร่เห็นค่ะ

  • #6 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 เวลา 23:36 (เย็น)

    โอยโย ฟังแล้วต้องไชโยโห่หิ้ว พ่อแม่เราเลี้ยงดูพวกเรามาอย่างธรรมชาติที่สุด สอนให้เรารู้จักกินให้ถูกต้องตั้งแต่แรกเกิด รู้ได้ไงก็เรากินมแม่ทุกคน ป๋าบอกว่าลูกคนต้องกินนมคน เรื่องอาหารเป็นอะไรี่เราได้รับจากการเลี้ยงดูจากครอบครัว ป๋าให้ความสำคัญกับอาหารที่สุด ต้องมีคุณภาพสอสะอาดคุณแม่สุดยอดฝีมือทำอาหารเลยค่ะ อาหารจีนไทยฝรั่งแขกแม่ทำได้หมดอร่อยที่สุดหาทานที่ไหนไม่ได้เลย เกืดมาโชคดี ไม่มีใครในครอบครัวเจ็บป่วยด้วยอาหารการกิน ต้องกินให้เป็นชีวิตจะมีสุขค่ะ สิ่งที่มีชีวิตจะปรับตัวได้ ไม่เท่ากันตัวที่แข็งแรงที่สุดจึงจะมีชีวิตรอดได้555555

  • #7 หมอเจ๊ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 เวลา 8:48 (เช้า)

    #6 ดีจังค่ะพี่ ที่ครอบครัววางพื้นฐานให้ตั้งแต่เด็กแล้วอ่ะ ว่าแล้วมั๊ยละ ธรรมชาติที่สุด ง่ายที่สุดสำหรับคนทุกคน และสิ่งมีชีวิตทุกชีวิต

  • #8 KL ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 เวลา 9:39 (เช้า)

    แวะมารับความรู้ค่ะ ^ ^

  • #9 sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 เวลา 18:21 (เย็น)

    มาเรียนรู้ด้วยค่ะ ปกติเป็นคนไม่ทานหวาน ไม่ทานเค็มค่ะ ชอบจืดๆ ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการกิน เพราะจะกินเท่าที่ต้องการ ไม่กินมากเกินค่ะ

  • #10 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 สิงหาคม 2008 เวลา 7:48 (เช้า)

    เนี่ยอ่านบันทึกพี่หมอเจ๊แล้วไม่กล้ากินอะไรเลย อิอิ
    ตอนนี้พยายามงดมื่อเย็นอยู่ เมื่อเย็นวานก็นมผสมงาดำ ๑ กล่อง ส้ม ๑ ลูก เพราะรู้สึกแก้มอูมๆ อิอิ

  • #11 หมอเจ๊ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 สิงหาคม 2008 เวลา 8:23 (เช้า)

    #10 กำลังจะเขียนให้อ่านต่อ เพื่อเลือกกินโดยไม่ต้องอด แต่สมองและมือมันปั่น ไม่ทันใจโก๋เลยอ่ะค่ะ

    อย่างไรก็ดีนะค่ะ ที่เขียนเพราะอยากให้กล้ากิน “แบบว่ากินเป็น” ก็แล้วกัน ไม่โม้นะจะบอกให้ คนไข้ที่มาเป็นนักเรียนด้วย น้ำตาลในเลือดดีแท้ ปรับตัวจนคงที่แล้วหลายคน เขามีความสุขในการกินด้วย คนเป็นเบาหวานอ่ะนะ ถ้าคุมน้ำตาลดีสม่ำเสมอเท่าไรยิ่งง่ายที่จะใช้ยาน้อยๆค่ะ

    พวกเรามันคนมีกรรม ต้องเข้าสังคมกับคนเยอะและบ่อยมื้อ มื้ออาหารจึงกลายเป็นเรื่องเชื้อที่ก่อโรคให้กับตัวเอง เรื่องนี้จึงต้องให้กินเป็น เพื่อให้สุขภาพดีๆยังอยู่คู่ตัวนานๆ พี่จึงตัดสินใจเลือกเรื่องนี้มาเขียนบันทึกในลานแห่งนี้ ด้วยเป็นประโยชน์กับทุกคน


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.73998403549194 sec
Sidebar: 0.18085098266602 sec