กลัวไตไม่่ดี กินผักก็ให้ระวังด้วย

อ่าน: 35830

วันที่อ้ายเปลี่ยนไปถึงกระบี่นั้น ดูหุ่นแล้วงามขึ้นนะค่ะ เสียแต่ว่าไม่สมยอมกับพี่ที่จะขอให้ตรวจอะไรเพิ่มสักหน่อย ด้วยข้อมูลที่บอกว่าเพิ่งตรวจมาจะตรวจอะไรอีก และเห็นว่าเหนื่อยกันมาแล้วกับการเดินทางใกล้ไกลและการนอนดึกที่ีมีแน่นอนในกลุ่มเฮก็เลยไม่คะยั้นคะยอ  จึงไม่จับตัวใครตรวจเพิ่มเติมอย่างที่เคยบอกเอาไว้ มิใช่จะไม่ห่วงใยนะค่ะ หากแต่ข้อมูลที่เคยให้ไว้และสิ่งที่ตาเห็นพอจะเดาทางออกว่า ควรจะทำอย่่างไรได้อีกที่เป็นประโยชน์

คราวนี้ที่ไปเจอกันทั้งหมด หุ่นผู้ชายทั้งหมดแทบจะไม่ต้องวัดตัวเลย ตามันเห็นชัดๆตั้งตะก่อนจัดว่าต้องจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพให้ซะแล้ว โปรแกรมที่จัดให้ก็เลยมีรายการพาเดิน หลอกให้เดินเยอะมากๆ เพื่อให้เอาออกซะบ้างกับสิ่งที่กินเหลือใช้  แล้วใ้ห้ได้เพิ่มออกซิเจนเข้าร่างกายไปซะบ้างเพื่อจัดการเขม่าอนุมูลอิสระที่ค้างอยู่ในตัว มาใต้ไม่ได้กินผักมากเท่าไร เพราะใจคนมานะอยากลิ้มลองอาหารทะเลซะมากกว่า  จึงหาวิธีให้ได้เพิ่มฮอร์โมนความสุข ปลดทิ้งฮอร์โมนความเครียดผ่านวิวสวยๆ อากาศดีๆ บรรยากาศดีๆ อาหารอร่อยไว้ให้  เพียงเท่านี้เจ้าภาพก็ว่าคุ้มแล้วสำหรับการจัดเฮฮาศาสตร์ 8

เมื่อไม่ได้ตรวจก็ไม่ต้องไปตรวจมันหรอกนะ ป้องกันมันซะเลยง่ายกว่า ก็รู้ผลมันกลัวและเพิ่มความเครียดเข้าไปอีก จึงทำให้เจ้าตัวแต่ละคนรู้สึกว่าจะตรวจมันไปไย  ความคิดนะปฏิเสธแต่ใจเรียกร้องค้านกันอยู่ ก็รู้ๆตัวอยู่ใช่ไหม

วันนี้ไม่ได้มาชวนไปตรวจอะไรหรอกนะ ปล่อยให้สู้ตัวเองต่อไปละกัน อะไรชนะอะไรพ่ายเป็นเรื่องของตนเองทั้งสิ้น ก็แค่จะมาบอกเรื่องอาหารการกินไว้เสียหน่อยสำหรับคนที่กลัวไตพังค่ะ เคยได้ยินคำนี้มั๊ยค่ะ “safety first”

วันก่อนนี้เคยแนะนำอ้ายเปลี่ยนว่าให้กินผักเยอะ และอ้ายบอกว่าปลูกผักกินอยู่แล้ว ก็เลยไปค้นข้อมูลมาบอกนะค่ะเผื่อการเลือกกินผัก เพื่อถนอมไตนะค่ะ

สำหรับคนโรคไตวายนะ เขาจะเน้นงดอาหารที่ให้ฟอสฟอรัสสูงนะ แปลว่าหากว่าจะถนอมไตไม่ให้พังเร็วก็ต้องสนใจเจ้าเกลือแร่ตัวนี้ในอาหารเนอะ แปลว่ากินมันเข้าไปเยอะไตทำงานหนักน่าดูเชียวแหละ

จำได้อ้ายเปลี่ยนบอกว่ามีผักพวกนี้ใกล้ตัวเนอะ ผักโขม ผักกาด ผักบุ้ง ยอดฟัก ยอดบวบ ยอดพริก ผักสลัด ผักน้ำ วันนี้จึงจะมาบอกข้อมูลผักไว้ให้เลือกกินละกันนะ

ถ้าไปค้นข้อมูลอาหารคนไข้เบาหวานก็จะไปเจอคำแนะนำอย่างนี้บอกไว้เรื่องของผักที่เลือกกินได้ว่ามีเยอะแยะไปหมดหลายอย่างเชียว จึงยกมาให้คำอธิบายเพิ่มให้เข้าใจว่าคำอธิบายต่อไปนี้ี้ที่ยกมาให้นะเป็นเรื่องในมุมมองของการกินแล้วช่วยเรื่องน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักไม่เพิ่มค่ะ

หมวดก. ให้พลังงานต่ำรับประทานไม่จำกัด ผักบุ้ง ใบตั้งโอ มะเขือชนิดต่างๆ ผักคะน้า ใบขื่นช่าย มะเขือเทศสีดา ผักกวางตุ้ง แตงกวา แตงร้าน ผักกาดขาว ฟักเขียว เห็ดฟาง ผักกาดหอม บวบ ผักตำลึง ผักโขม น้ำเต้า ยอดฟักทอง สายบัว ผักชี แตงโมอ่อน ใบกระเพรา ใบโหระพา พริกหนุ่ม ต้นหอม คูน ขิงอ่อน ใบสาระแหน่ หยวกกล้วยอ่อน

หมวด ข. ให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักอาหาร 100 กรัมหรือผักสดหนึ่งถ้วยตวง ผักสุกครึ่งถ้วยตวง ได้แก่ผักกะเฉด บวบ ผักบุ้ง ดอกกุ๋ยช่าย เห็ดเป๋าฮื้อ มะเขือเทศ ผักโขม ใบชะพลู ดอกมะขาม แครอท ใบขี้เหล็ก มะระ แขนงกะหล่ำ ต้นกระเทียม รากบัว ขิงแก่ ใบยอ ถั่วพลู ฟักทอง หอมหัวใหญ่ แห้ว ต้นกระเทียม มะละกอดิบ กะหล่ำปม ปล็อกเคอรี่ สะเดา หน่อไม้ เห็ดหูหนู ผักหว่าน ใบชะมวง ยอดแค มันแกว พริกหยวก ผักคะน้า ผักป่วยเล้ง ถั่วงอก กะหล่ำปลี ยอดชะอม ถั่วฝักยาว สะตอ ดอกโสน พริกหวาน มะรุม หัวผักกาด ใบกระเทียมจีน ยอดมะขามอ่อน ข้าวโพดอ่อน ใบมะขามอ่อน ยอดกระถิน ยอดและใบตำลึง

บันทึกนี้จะขอเพิ่มอีกมุมเพื่อคนที่พึงระวังไม่ให้ไตพังเร็วได้ใช้เลือกผักที่แนะนำไว้ข้างบนกินให้เหมาะกับความเสี่ยงของสุขภาพของตัวเองนะค่ะ กลุ่มผักต่อไปนี้รวบรวมมาให้้ตามปริมาณเกลือฟอสฟอรัสที่มันมีอยู่กันค่ะ เลือกเรียนรู้เอาไปใช้เองนะค่ะ

กลุ่มที่ 1 ผักกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสต่ำมาก ( ไม่เกิน 11 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของเนื้อผัก) :

ขิงอ่อน หน่อไม้หวานหน่อใหญ่ มะระขี้นก จำปานา ตะละปัดใบพาย ดอกขี้เหล็ก แตงไทยอ่อน แตงโมอ่อน แตงร้าน แตงกวา ถั่วปี ถั่วฝักยาวแดง ไส้น้ำเต้า้ บวบงู บวบหอม ลูกตะลิงปลิง มะดัน สายบัว ใบยอ ใบย่านาง ผักกะสัง ผักกะเฉด ผักขาเขียด ผักขี้ขวง ผักแว่นน้ำ ผักหนาม เนื้อฟักข้าว เนื้อฟักเขียว ยอดฟักทอง ยอดกระถิน  ยอดจิก มะเขือเจ้าพระยา  มะเขือเสวย  ฝักกระเจี๊ยบมอญ ใบกระเจี๊ยบเปรี้ยว เห็ดหูหนู  พริกเหลือง ขนุนอ่อน หน่อเหรียง หยวกกล้วยอ่อน(ที่ไม่ใช่หยวกกล้วยน้ำว้า)

กลุ่มที่ 2 ผักกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสต่ำปานกลาง ( ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของเนื้อผัก) :

ใบชะมวง ใบเปราะ ผักกะโดน ผักติ้ว ผักบุ้งแดง ผักกาดขาว ฟักทองส่วนเนื้อและเปลือก ดอกต้นหอม สมอไทย มะขามสด มะละกอดิบ พริกขี้หนูเม็ดเล็ก พริกชี้ฟ้าแดง  มะเขือเครือ เห็ดฟาง  เห็ดขมิ้น  เห็ดลม

ทั้ง 2 กลุ่มหากต้องการรู้จักหน้าตาก็ตามไปดูภาพได้บันทึกเรื่องราวนี้ค่ะ

ส่วนคนเบาหวานที่มีไตวายหรือไตไม่ดีแล้ว มีมุมที่พึงระวังในเรื่องเบาหวานขึ้นเมื่อกินผักใน 2 กลุ่มนี้บางตัว จึงชวนให้ไปอ่านเพิ่มเติมที่บันทึกนี้ละกันนะค่ะ หาภาพมาไว้ให้จะได้จำติดตาติดใจค่ะ

กลุ่มที่ 3 ผักกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสต่ำ ( ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของผัก) :

หน่อไม้หวานหน่อเล็ก  หน่อข่าอ่อน หัวข่าอ่อน ขิงแก่ ใบเตย ใบชะพลู ใบตั้งโอ๋ ใบบัวบก ผักกาดขาว ผักบุ้งขาว ผักชีฝรั่ง ผักผำ ผักแพว ผักแม็ก ผักติ้ว ผักกุ่ม ผักลิ้น ตำลึง ยอดสะเดา มะระหวาน บวบเหลี่ยม ฝักมะรุม ดอกกะหล่ำ ดอกกุยช่าย ดอกผักกวางตุ้ง มะเขือขื่น มะเขือม่วง พริกหนุ่ม พริกชี้ฟ้าเขียว พริกไทยอ่อน พริกหนุ่ม ข้าวโพดอ่อน คูน

กลุ่มที่ 4 ผักกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสสูง ( ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของผัก) :

คึ่นช่าย ยอดแค ต้นกระเทียม ต้นหอม ถั่วแขก ถั่วงอกหัวโต  ถั่วฝักยาวเขียว ถั่วพู  บร็อคโคลี่  ใบทองหลาง ใบแมงลัก ใบยอ ผักกวางตุ้ง  ผักกาดนกเขา  ผักกาดหอม ผักกูด ผักขี้หูด ผักเตา ผักปลัง พริกหยวก มะกอกไทย ยอดมะขามอ่อน มะเขือเทศ  มะระจีน มะอึก  หน่อไม้ไผ่ป่า หยวกกล้วยน้ำว้า หัวปลี

กลุ่มที่ 5 ผักกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสสูงปานกลาง (ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของผัก) :

แครอท กะหล่ำปลี กระชาย ยอดชะอม ดอกแค ดอกขจร ดอกต้างป่า ดอกผักอ้วน ดอกโสน  ตะเกียงกะหล่ำ ถั่วงอก ผลน้ำเต้า  ใบ แพชชั่นฟรุช ใบมันเทศ ผักกาดเขียว  ผักแขยง ผักคะน้า ผักจุมปลา ผักเจียงคา ผักปวยเล้ง ผักหวาน พรกขี้หนูอุบล  พริกหวาน พริกยักษ์ ยอดมะกอกอ่อน มะเขือกรอบ ยอดมะระอ่อน มะแว้ง ยอดผักแส้ว ยอดผักฮ้วน ยอดผักฮี้ ยอดผักเฮือด ยอดมะพร้าวอ่อน ลูกเนียง สะตอ  หน่อไม้ไผ่ตง เห็ดนางรม เห็ดเผาะ เห็ดเป๋าฮื้อ

กลุ่มที่ 6 ผักกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสสูงมาก (เกิน 100 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของผัก) :

ขมิ้นขาว  ใบขี้เหล็ก ดอกงิ้วแดงแห้ง ถั่วลันเตา ใบกระเพรา ผักเหมียง ผักชีลาว ผักไผ่ ผักแพงพวย  มะเขือพวง ยอดฟักข้าว

โดยทั่วไปการนำผักไปปรุงเป็นอาหารจะมี 3 รูปแบบ คือ ใช้สดๆ ดองและปรุงผ่านความร้อน การปรุงตรงนี้สำคัญนะค่ะ

หลักการของการเตรียมผักเพื่อลดปริมาณฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟตจากผักทำได้โดยให้ปรุงผ่านความร้อน ต้ม นึ่ง ก่อนเสมอ

การดองช่วยลดปริมาณฟอสเฟอรัสหรือฟอสฟตได้นะค่ะ แต่มีข้อเสียคือ แถมเกลือ และ/หรือ น้ำตาลด้วย ซึ่งไม่ดีกับคนที่เสี่ยงกับโรคไต เป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคอยู่แล้วค่ะ

« « Prev : ชวนมาอ่านกันหน่อย

Next : สมุนไพรปรุงกลิ่น-รสที่มีผลต่อไต » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.13668417930603 sec
Sidebar: 0.070104837417603 sec