สมุนไพรปรุงกลิ่น-รสที่มีผลต่อไต
บันทึกก่อนได้รวบรวมเรื่องราวของผักมาไว้ให้อ่านกันแล้วว่ามีมุมอะไรที่พึงเรียนรู้เพื่อเลือกกินให้เหมาะกับความเสี่ยงด้านสุขภาพของตัวเองเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักไป
บันทึกนี้ก็เป็นเรื่องของเครื่องปรุงอาหารสมุนไพรที่มีฟอสฟอรัสนะค่ะ
กลุ่มที่ 1 เครื่องปรุงรสที่มีฟอสฟอรัสต่ำมาก (ไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม ) :
ข่า รากผักชี ใบสะระแหน่ ใบโหระพา
กลุ่มที่ 2 เครื่องปรุงรสที่มีฟอสฟอรัสต่ำปานกลาง (ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม ) :
ใบมะกรูด
กลุ่มที่ 3 เครื่องปรุงรสที่มีฟอสฟอรัสต่ำ (ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม ) :
ตะไคร้ ใบกระวาน หัวหอมใหญ่
กลุ่มที่ 4 เครื่องปรุงรสที่มีฟอสฟอรัสสูง (ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม ) :
ขมิ้นชัน อบเชย
กลุ่มที่ 5 เครื่องปรุงรสที่มีฟอสฟอรัสสูงปานกลาง (ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม ) :
ผงกะหรี่ ผิวมะกรูด หัวหอมเล็ก
กลุ่มที่ 6 เครื่องปรุงรสที่มีฟอสฟอรัสสูงมาก (่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม ) :
เครื่องแกงเผ็ด เครื่องแกงมัสหมั่น ดอกจันทร์ กระเทียม พริกไทยขาว ยี่หร่า
กลุ่มที่ 7 เครื่องปรุงรสที่มีฟอสฟอรัสสูงมากๆ (่เกิน 300 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม ) :
กะปิี ลูกผักชี ผงพะโล้ พริกขี้หนูแห้ง พริกขี้ฟ้าแห้ง
ดูข้อมูลแล้วมันบอกความท้าทายแม่ครัวจังเลยเมื่อโดนสั่งให้ทำเมนูสำหรับคนเป็นโรคไต จำไว้นะค่ะ 5 ภาพข้างบนนะคือชนิดที่กินแล้วไม่สร้างปัญหาให้ทั้งคนเป็นเบาหวานและคนเป็นโรคไตวายค่ะ
« « Prev : กลัวไตไม่่ดี กินผักก็ให้ระวังด้วย
Next : เคล็ดลับสำหรับคนเบาหวาน » »
ความคิดเห็นสำหรับ "สมุนไพรปรุงกลิ่น-รสที่มีผลต่อไต"