ขอชวนมารู้จักคำว่า “ดัชนีน้ำตาล” ค่ะ
อ่าน: 15753พ่อครูบาถามมาว่า “ตอนนี้มีอินทผาลัมหลายกล่อง หวานเจี๊ยบ ต้องกินเอาเมล็ดไว้ปลูก จะหวานมากๆระยะหนึ่งจะเป็นอะไรมากไหมหมอ” ฉันเลยต้องเล่าลึกไปอีกหน่อยเกี่ยวกับการพิจารณาคุณสมบัติของอาหารที่เกี่ยวกับการให้ถ่านกลูโคสค่ะ ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปทำความเข้าใจในการเลือกกินอาหารที่ให้น้ำตาลถ่านกลูโคสได้ค่ะ
เมื่อไปอ่านหนังสือที่สอนเรื่องของสุขภาพเอาไว้ จะมีคำแปลกหูอยู่คำหนึ่งที่ควรทำความรู้จัก ที่ฉันใช้คำว่าแปลกหู หลายคนอย่าแปลกใจไปเลย ก็แม้แต่พยาบาลบางคนในร.พ.ของฉันก็ไม่รู้จักกับคำนี้ค่ะ มีแต่คนที่ทำงานดูแลคนไข้เบาหวานและนักโภชนาการที่รู้จักคำนี้ดีกว่าใคร คำที่ว่านี้ คือ “ดัชนีน้ำตาล” ค่ะ
“ดัชนี” นั้นมีความหมายว่า “เครื่องบ่งชี้” เมื่อผสมคำนี้กับน้ำตาล จึงมีความหมายถึง เครื่องบ่งชี้เรื่องน้ำตาล เรื่องที่มันชี้บ่ง คือ บอกคุณสมบัติของอาหารที่ให้ถ่านกลูโคสว่ามีความเร็วมากน้อยเพียงไรในการเพิ่มปริมาณถ่านกลูโคสในร่างกายหลังจากกินมันเข้าปากไปแล้ว มันมีค่าเป็นตัวเลขค่ะ อาหารที่มีค่าของดัชนีน้ำตาลยิ่งต่ำ ยิ่งเป็นอาหารที่ให้ถ่านกลูโคสออกมาได้น้อย หรือ ได้ช้า ค่ะ
ฝรั่ง สตรอเบอรี่ มีดัชนีน้ำตาลที่ต่ำที่สุดในกลุ่มนี้ รองลงมาเป็นมะม่วงดิบ
ในแง่มุมของการกินเพื่อสุขภาพดีนั้น จะไม่ใช้เพียงแค่ใช้คุณสมบัติข้อนี้พิจารณาเลือกอาหารที่ให้ถ่านกลูโคสนะค่ะ ยังจะต้องใช้จำนวนที่กินและความถี่ที่กินมาพิจารณาด้วย เพื่อประเมินผลรวมของการได้รับน้ำตาลถ่านกลูโคสเข้าไปใช้งานค่ะ
ขอยกตัวอย่างแบบการใช้เงินมาเปรียบเทียบ น่าจะทำให้เข้าใจง่ายกว่านะค่ะ สมมติว่า ภารกิจในการยังชีพของคนเราหนึ่งวัน ต้องการน้ำตาลถ่านกลูโคสไปใช้ทั้งหมด 1,200 บาท เดิมเรากินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง 120 บาท 10 ชิ้น แล้วเราก็เปลี่ยนไปกินน้ำตาลที่มีดัชนีน้ำตาล 10 บาท ครั้งละ 20 ชิ้น ทุก 4 ชั่วโมงแทน เพราะไปรู้มาว่า กินอาหารที่ให้ดัชนีน้ำตาลต่ำดีกว่า ลองมาคำนวณดูว่าเดิมกินน้ำตาลที่มีดัชนีน้ำตาลสูงได้ถ่านกลูโคสเท่าไร ได้ 1,200 บาทพอดิบพอดีเลยค่ะ ส่วนที่กินน้ำตาลที่มีดัชนีน้ำตาลสูงนั้นได้ถ่านกลูโคสเข้าไปตั้ง 1,600 บาทแน่ะ
ตัวอย่างที่ยกมานั้น ขอใช้เป็นอุทาหรณ์ว่า การเลือกกินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ต้องอยู่ในกรอบของการใช้งานอยู่ดีค่ะ เรื่องนี้ทำนอกกรอบก็จะให้โทษให้ภัยแก่ตัวในเรื่องสุขภาพค่ะ
ลูกอินทผาลัมสดที่ตลาดกระบี่และต้นอินทผาลัมที่สวนพ่อครูบา
ที่เอาเรื่องนี้มาเล่าก็เพื่อจะบอกพ่อครูบาว่า อินทผาลัมเป็นผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาลสูง ถ้าจะกินเข้าไปให้ได้เมล็ดมาเยอะในเวลาสั้นๆละก็ พ่อครูกำลังเสี่ยงกับการมีสุขภาพแย่ลงค่ะ แย่อีตรงที่จะมีภาวะน้ำตาลไหลล้นแบบน้ำในฝายล้นเรื่อยๆ แล้วระดับที่เอ่อล้นก็มีความแรงเพิ่มขึ้นบ่อยๆ แล้วร่างกายของพ่อครูนั้น กลไกประตูเขื่อนที่มีก็ไม่ดีเท่าคนอื่นเขา กลอนหนึ่งที่ไม่ดีคือ ตับของพ่อครูเองค่ะ กลอนที่สอง คือ อายุค่ะ ทั้งสองกลอนนี้ ถ้ามีเรื่องน้ำตาลล้นฝายบ่อยๆ จะเสริมกันทำให้ เกิดโรคเบาหวานได้ค่ะ พ่อครูจึงพึงระวังในการจัดการอินทผาลัมค่ะ
ฉันก็เสียดายแทนนะค่ะ พ่อครูซื้อมันไปตั้งเยอะเพราะอยากจะได้ปลูกมันด้วยเมล็ดที่ได้ไปพร้อมเนื้อ แล้วจะมีทางเลือกอะไรไหมที่จะกินมันได้แล้วสุขภาพพ่อครูปลอดภัยไม่แย่ลงๆ ขอเวลาคิดก่อนแล้วจะมาแนะนำทางเลือกให้ในบันทึกต่อไปค่ะ
« « Prev : ปรับน้ำตาลให้เป็นกัลยาณมิตร
Next : ตอบคำปรึกษาจากพ่อครูสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ขอชวนมารู้จักคำว่า “ดัชนีน้ำตาล” ค่ะ"