อากาศหายใจ…เกี่ยวอะไรมั๊ยกับกรดยูริก

อ่าน: 2644

บันทึกก่อนหน้าได้เล่าไว้ว่า เมื่อตรวจพบว่ากรดยูริกสูง บอกแนวโน้มจะเป็นโรคอะไร นอกจากเก๊าท์ นิ่ว แล้วก็ยังหลุดปากเรื่องของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในเลือดไว้ด้วย

ก็เลยแวบนึกถึงพ่อครูบา ที่เคยเล่าว่าเหลือปอดข้างเดียว แล้วนึกโยงไปต่อกับประเด็นมีเกี่ยวกับกรดยูริกสูง  ทวนๆดูสาเหตุของการมีกรดยูริกสูงของพ่อครูบามาจากหลายเรื่องราวแล้วละคะ

เรื่องหนึ่งที่แน่ๆก็คือเรื่องของปอดที่เหลือไว้ฟอกอากาศให้เพียงข้างเดียว  ด้วยอายุที่กำลังดำเนินอยู่ ปอดข้างเดียวนี้ทำงานหนักเชียวนะคะและมันฟ้องด้วยกรดยูริกที่พบด้วย

ในเมื่อมีส่วนเกี่ยวกับการรับออกซิเจนของร่างกาย อากาศรอบตัวก็มีผลด้วยนะคะ  แก้ด้วยน้ำอย่างเดียวคงไม่พอ  เพราะว่าในช่วงที่มีการขาดออกซิเจนนั้น กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นนะคะ ถ้าไตทำงานขับทิ้งได้ดี กรดตัวนี้ในเลือดก็ลดลง

ดังนั้นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย จากการอยู่เมืองกรุงนานๆบ่อยๆ มาอยู่สวนป่านั้นยังมีหลักให้ยึดเป็นหลักไว้ด้วย แต่ที่ดีแน่ๆคือ ลดการทำงานของปอดลงได้มากมาย และได้แถมลดการเพิ่มกรดยูริกในเลือดไปด้วยจากการได้อากาศหายใจที่มีออกซิเจนมากมายที่สวนป่า

ต่อไปที่แนะนำให้ปรับเพิ่มก็คือ ถอดบทเรียนรู้ ต้นไม้ประเภทไหนคายคาร์บอนไดออกไซด์เยอะ เวลาไหน เพื่อที่จะได้จัดกิจกรรมของตัวเองไปอยู่ใกล้มันในบางเวลาบ้างเพื่อช่วยผ่อนงานให้ไต ใช้ตารางนาฬิกาชีวิตเข้ามาปรับร่วมกับการจัดเวลาดื่มน้ำไปด้วยกันดูนะคะ

อันว่าภาวะที่เลือดมีออกซิเจนน้อยได้นั้น เกิดได้จากอากาศที่หายใจเข้าไปมีออกซิเจนน้อย

ด้วยหลักมีมากเติมได้มาก มีน้อยเติมได้น้อย การรับออกซิเจนเข้าไปจากอากาศในภาวะเหล่านี้จึงอยู่ในกรณีของมีน้อยเติมได้น้อย : สูบบุหรี่ ควันบุหรี่ ควันไฟ ใต้ร่มไม้กลางคืน สถานที่ที่การระบายอากาศไม่ดี การอยู่ในที่เป็นหลุมบ่อ  ใต้น้ำ  สถานที่ที่มีไอระเหยของสารเคมี สถานที่แออัด  ห้องปรับอากาศที่มีคนเข้าไปอัดกันอยู่เยอะๆี  โรงหนัง โรงละคร ฯลฯ

การคลุกคลีกับสถานที่ลักษณะนี้จึงพึงระวังและสังเกตช่วงเวลาที่คลุกคลีเอาไว้ซะหน่อยนะคะพ่อครู  เพื่อเลือกปรับการดูแลตนให้เหมาะกับวิถีเพื่อให้ความดูแลอวัยวะสำคัญทั้ง 2 อวัยวะลงตัวและให้ผลดีค่ะ

คนที่มีกรดยูริกสูงด้วยนะคะ ดูแลตัวเองด้วยหากมีการไปสิงสู่อยู่ในสถานที่เหล่านี้นานๆ  เตือนตัวเองให้ปรับเวลาของการอยู่คลุกคลีให้ตัวเองด้วย  อาการเตือนที่สำคัญว่าเริ่มเป็นไรก็คือ ความรู้สึกอึดอัด  เมื่อไรรู้สึกอึดอัดหาทางปรับเรื่องแหล่งอากาศหายใจของตัวเองซะนะคะและอย่าลืมดื่มน้ำเพิ่มมากๆค่ะ  ปอดจะได้ทำงานเบาลงๆ ไตจะได้ทำงานเบาๆด้วยค่ะ

เตือนคนสูบบหรี่ด้วยนะคะ การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ชักนำให้กรดยูริกสูงในเลือดด้วยเหตุผลที่มีภาวะขาดออกซิเจนจากควันที่สูดเข้าไปนี่แหละ แล้วส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น ฉะนั้นควันบุหรี่จึงมิใช่แค่ทำให้ปอดทำงานหนัก แต่ไตทำงานหนักไปด้วย โรคยังไม่เกิดหรอกนะคะ แต่นี่คือการวางยาพิษให้กับตัวเองและคนที่สุดควันบุหรี่ไปสู่่การเป็นโรคเก๊าท์ โรคนิ่วค่ะ

เพิ่งนึกได้ว่าเล่าเรื่องกรดยูริกแล้ว ยังไม่ได้เล่าเลยว่า ปกติของกรดยูริก หมายถึงอย่างไร

เวลาหมอๆอย่างฉันบอกผู้คนว่า กรดยูริกปกติ เราหมายถึง ระดับที่ตรวจพบในเลือดอยู่ระหว่าง 3.6-7 มก./ดล.(ใช้กับคนไทย) ค่ะ  เป็นระดับที่ตกลงกันไว้ในวงการว่า เมื่อไรจะจัดให้คนๆหนึ่งกลายเป็นคนใกล้ป่วยเท่านั้นค่ะ

ความหมายของคนใกล้ป่วยนั้นหมายถึง คนที่มีระดับกรดยูริกเกินจากระดับที่ระบุไว้ เจอเมื่อไรคนเป็นหมอต้องเริ่มทำงานอะไรบางอย่างให้แล้วค่ะ เริ่มตั้งแต่การชวนให้มาดูแลประเมินต่อเนื่องหลังให้คำแนะนำ การติดตามดูการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ซึ่งภาษาหมอๆด้านงานป้องกันโรคเรียกว่า “เฝ้าระวังโรค” ค่ะ

เวลาใช้ภาษาเรียกอย่างนี้มีเป้าหมายอยู่ที่คนประเภทที่ต้องเฝ้าระวังโรค คือ “ว่าที่คนป่วย หรือ คนใกล้ป่วย” นั่นแหละค่ะ

เฝ้าระวังไปแล้วดูท่าไม่ดี เป็นโรคแน่แล้ว ก็เริ่มให้ยาเพื่อชะลอความเสื่อมที่จะเกิดจากโรค คนที่เริ่มให้ยาแล้ว หมายถึงถูกปลดระวางให้เป็น “คนป่วย” ไปแล้วนะคะ

ความหมายตามปัจจัย 4 ของฉันเมื่อเชื่อมโยงมาถึงความจำเป็นของการใช้ของคนก็เป็นอย่างนี้แหละค่ะ ในเรื่องของ “ยา”

เดี๋ยวนี้มีความซับซ้อนอันเนื่องมาจากพฤติกรรมบริโภคที่ตามหลังความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้ธรรมชาติของการเกิดโรคซับซ้อนขึ้นมากมาย การทำอย่างเดิมๆคือ เฝ้าระวังโรค พร้อมทั้งดูแลไปถึงคนป่วย ช้าไปแล้วต๋อยสำหรับการดูแลผู้คน  เดี๋ยวนี้จึงมีคำใหม่ที่นำมาใช้กันในการจัดกลุ่มคนอีกคำ คำๆนั้นคือ “กลุ่มเสี่ยง” เพื่อให้การดูแลครอบคลุมทุกกลุ่ม

“กลุ่มเสี่ยง” ที่กำหนดใหม่นี้จึงหมายถึง ผู้คนที่มีโอกาสถอยห่างจากโรคได้อย่างถาวร ถ้ารู้ตัวและปรับตัวซะกับสิ่งที่ยังมีโอกาสปรับให้ดีได้ ไม่ได้ใช้ผลของเลือดเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มเสี่ยงแต่ใช้พฤติกรรมบริโภคเป็นเกณฑ์แทนค่ะ

กลุ่มเสี่ยงจึงสามารถปลดระวางตัวเองออกจากกลุ่มได้อย่างถาวร และมีโอกาสถอยห่างจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม “คนใกล้ป่วย และคนป่วย” มากมาย  เพียงแต่ปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างให้ตัวเองเ่ท่านั้นเอง

3 เรื่องของบันทึกที่นำมาเ่ล่าเรื่องกรดยูริคสูง น่าจะช่วยให้ท่านทำนายอนาคตของตัวเองได้้มากขึ้นแล้วนะ้ค่ะ

กรณีตรวจและใชู้้ค่าของกรดยูริกดูแลตัวเอง ณ เวลาบัดนี้ ใครเป็นสมาชิกกลุ่มไหนอยู่บ้าง ใน 3 กลุ่ม กลุ่มเสี่ยง กลุ่มใกล้ป่วยหรือว่าที่คนป่วย และ กลุ่มคนป่วยของโรคเก๊าท์ โรคนิ่วคงพอจะรู้แล้วเช่นกันนะคะ

ชวนคนสูบบุหรี่ให้ทบทวนการดูแลตนด้วยค่ะ อยากจะอยู่กลุ่มไหน ถามใจ ถามตัวเองให้บ่อยๆนะคะ คนกล้าคือคนที่กล้าตัดสินใจทำความดีค่ะ

อย่างที่เล่าว่าการเกิดโรคซับซ้อน นอกจากเก๊าท์ นิ่วแล้ว การเกิดกรดยูริกสูงยังมีส่วนบอกถึงสถานะสมาชิกของโรคอื่นๆได้อีก ซึ่งจะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปค่ะ

« « Prev : แล้วยังไงอีก…กับกรดยูริกสูง

Next : งานเลี้ยง…กับกรดยูริก » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 ธันวาคม 2009 เวลา 15:42 (เย็น)

    ขอบพระคุณพี่หมอเจ๊อย่างยิ่งค่ะ ติดตามอ่านเสมอค่ะ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 เวลา 19:49 (เย็น)

    ป้าหวาน เราควรขอบคุณพ่อครูที่มีใจกุศล มีอุเบกขากับการที่พี่นำเรื่องราวส่วนตัวของพ่อครูมาใช้เป็นโจทย์ถอดความรู้  และถ่ายทอดบนลานปัญญาแห่งนี้นะคะ

    ขอบคุณพ่อครูที่มีเมตตาเอื้อประวัติให้ใช้เป็นโจทย์ ขอบคุณในความกรุณาที่เพิ่มข้อมูลให้เป็นระยะ ขอบคุณในมุทิตาจิตที่มีต่อผู้คน ปรารถนาให้ผู้คนมีสุขภาพดีค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.026298999786377 sec
Sidebar: 0.086841106414795 sec