ภาพเชิงซ้อน
ความโยงใยของแต่ละชีวิต หากเอาเส้นมาลากถึงกัน
และให้สีสันแสดงความหมายของลักษณะการโยงใย
หรือความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน
โฮ…รูปร่าง ภาพ หน้าตาจะเป็นอย่างไร
คงพิลึกพิลั่น หรือวิจิตรพิสดาร
ในทางสังคมวิทยาก็มีการศึกษาเรื่องนี้อยู่
ที่เรียกว่า Sociogram หรือ Mobility mapping ซึ่งเป็น PAR Tool ขนิดหนึ่ง
นักสังคมชุมชน หรือนักอะไรก็ได้ลองทำดูก็น่าสนใจนะ
เช่น เวลาเข้าสู่ชุมชนอยากทราบว่าใครคือที่พึ่งแท้จริงก็ลองทำ village mapping
แล้วเอาชื่อคนใส่เข้าไปตรงจุดที่เป็นที่ตั้งบ้าน
อาจใส่รายละเอียดมากกว่านี้ก็ได้..
แล้วไปพูดคุยใครต่อใครในหมู่บ้านว่า
หากเจ็บป่วยไม่ทราบสาเหตุ ไปหาใคร
เวลาขาดแคลนเงิน แต่จำเป็นต้องใช้ ไปพึ่งใคร
เวลา เด็กทะเลาะกัน ตีกัน ไปหาใคร
หากตั้งคำถามนี้กับหลายๆคนก็จะได้คำตอบ
ที่เป็นชื่อคนในชุมชนที่มีคนระบุมากน้อยแตกต่างกันไป
แค่นี้ก็ทราบเบื้องต้น แล้วว่าใครเป็นใครในชุมชนนั้นๆ
แม้ว่าสังคมใหม่จะจัดบทบาทหน้าที่ชัดเจนไปแล้วก็ตาม
บทบาทที่ซ้อนบทบาทก็มีอยู่มากมาย
นี่คือภาพซ้อนในสังคม ที่น่าสนใจ
เราใช้บ่อยในงานชุมชน เพราะเราเป็น “คนนอก” ที่อยากเข้าใจ “คนใน”
ใช้ได้ดีครับ
ยิ่งมีแผนที่หลายแผ่นแสดงการเข้ามา อพยพ เกี่ยวดอง ฯลฯ
ของครอบครัว คนในชุมชนในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ทราบรายละเอียดพัฒนาการ เรื่องราวสำคัญๆของชุมชน
เราจะยิ่งเข้าใจ ชุมชนมากกว่ารายงานปกติ
เราเข้าไปศึกษาสังคมชุมชนลาวว่า
ทำไมจึงมาตั้งโรงงานสูบน้ำที่บ้านนี้
หากไม่ถามโดยทั่วไปก็ต้องนึกถึงความเหมาะสมทางกายภาพ
ตามหลักวิศวกรรมชลประทาน
นั่นอาจจะใช่ส่วนหนึ่ง แต่เมื่อศึกษาลึกๆ ทราบว่า
เพราะรัฐ “ต้องการตอบแทนชุมชนนี้ที่เป็นกำลังหลักในการปลดปล่อยประเทศ”
….?….