Old Comrades

1911 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 30 มกราคม 2012 เวลา 0:37 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 69523

เมื่อสิ้นปีผมไปร่วมงานพบเพื่อนเก่าที่ทำงานพัฒนาชนบทกันที่สะเมิง เชียงใหม่ โดยมี Mr. Klaus Bettenhausen ชาวเยอรมันที่นำมูลนิธิ ฟริดริช เนามัน เข้ามาเมืองไทยและทำงานพัฒนาชนบทในสะเมิงและที่อื่นๆในภาคเหนือ เขามาร่วมงานด้วยเพราะเขาใช้ชีวิตที่เชียงใหม่ มีครอบครัวเป็นคนไทย..หลังจากที่ผมกลับขอนแก่นแล้ว เขาก็เขียนจดหมายมาให้เพื่อนร่วมงานทุกคน รวมทั้งผมด้วย จึงอยากเอามาขยายเพื่อให้เพื่อนเห็นภาพการทำงานในสมัยนั้นครับ พ.ศ. 2518-2522 ครับ

Dear old ‘Comrades’,

I thought of sharing with you some ideas and memories from the ‘good old times’. When, on our meeting in Samoeng Dec 30, I was asked to address you, the honorable guests, I misunderstood. Also, my mind was with my darling wife who was  in hospital at that time. Later on, most of our ex-staff reflected on the devt. Work we had done, in the 70ies, in Amphoe Samoeng, THC, Prao and Mae Taeng.

When we started our project, end of 1975, Thailand - and Samoeng - was a different place. All the houses in Samoeng were simple, made from wood. Electricity only in T.Samoeng Tai, in a few villages, from 5 - 10 p.m. The district administration, the police station all very humble, built from solid wood, with simple desks and chairs - and fortified by a protective barrier of wooden poles (against communists).

Our own office, the project office, was of course as simple as the other official places. I can’t recall where exactly we worked before we moved to our own office, on our own strip of land. I only remember that we  washed using water from a well which was ice-cold, as it was Nov/Dec when we began the project, 1975.

We started with a questionnaire campaign (forgot details) among farmers, in Wat Huay Kork temple. It was cold - but the response was encouraging. Anyway, at 10 p.m. everybody went to bed. In those years we didn’t drink beer but mostly Mekong. Beer Chang didn’t exist yet, it was just Singh and Amarit.

The staff were driving Honda CT 125 (?) and I had a Land rover 88. There were asphalt roads just up to Chaisit, the Chinese middle man, maybe even less. Any other roads were ‘lug lang’. I remember the difficult stretches from Ban Bong Kwao up to Ban Mae Pae and the hill down in Ban Angkai (T. Yang Myyn). Even the road from Kongkarg Noi to Ban Maesarp was hellish difficult during the rainy season. To drive from CNX to A. Samoeng took 2 hours; sometimes a tree had fallen over and blocked the road.

There were no telephones in Samoeng. Messages were sent by motorcycles; a message from Samoeng Tai to Yang Myyn + a response took one full day. There were only two restaurants, one of them belonging to the local policeman. A post office didn’t exist, there was no bank, there was no hospital.

During the rainy season work was particularly difficult, particularly for professional staff on motorcycles. Clothes were immediately dirtied, splashed with red spots from the laterite roads. Sometimes some staff got stuck somewhere and could not return because the roads were too muddy and impassable; they then had to ‘kin kao ling’. If I remember right, our main food, during the initial years, was rice with yum bei chaa, bla kapong and bla too kemm.

I remember all the site offices we had: Mom in Yang Myyn, Wallop in Samoeng Neua, Kwanchai in Mae Sarp, Ngo in Hard Sompoy and P’Sawat in Samoeng Tai, supported by Sinee and Paisal. In Samoeng Neua I used to sleep at the temple of Ban Balaan, in Yang Myyn at the temple as well.

Our project work, the election of ‘farmer foremen’, their training at the NADC, staying for three days and two nights in Chiangmai, at Wat Sri Gyyd near Wat Phra Singh, the evening classes in the villages, the organizing of training courses, the excursions to other parts of Thailand (Chainat)……..yes, our project seems to have acted as an ‘eye opener’ for our farmers from Samoeng.

Then the politics. The suspicions about what we  were doing. It was after all 1975/76. Wallop returning one day from the field with a sickish face; he had been accused of being a communist ! Then October 6, Paisal arrested and ‘invited’, to spend the next 6 weeks (?) in suan garunathep, for indoctrination. One day the then Dy PM, Khun Pramarn Adireksarn, visited the project, landing next to the school of Ban Balaan with two helicopters ! I preesented a statement, in Thai language, arguing against the suspicions of the Thai local authorities who were suspecting us of being communists. - Later Pa Prem took over in BKK and things cooled down.

The Foundation in Germany left our project design mostly untouched but controlled our project activities very closely and there were official  visitors to CNX and Samoeng a few times. I remember vividly only one in Yang Myyn when one of our honorable Thai friends tried to communicate with the farang guests explaining them a new approach to frog breeding (offspring twice per year), thereby creating the famous statement ‘one frog tow eggs’ !! The farang guests were most surprised.

All those memories cover the period 1975 - 1988 and deal mostly with our project in Samoeng; I have mucg weaker memories of our work in THC, Prao and Mae Taeng. But those memories are wonderful and so much in contrast to what Thailand is today. Still, if you enter deeper into T. Samoeng Neua, Mae Sap and Yang Myyn - there still some trace, some ’smell’ can be felt when passing through those villages.

One could go on and reflect on the uniqueness of Thailand, it’s friendly and welcoming people, the behavioral pattern of their social relations, the avoidance of conflict, also the political development in the country which, to my understanding, are all the result of the fact that Thailand has never been a colony, never had farang ‘masters’ to ‘civilize and tame’ the Thais. One could even ask whether there is reason to deplore this….

I send my best regards to all of you ! Stay healthy and in good spirits !


….ตามหาส่วนที่ขาดหายไป

2567 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 18 มกราคม 2012 เวลา 23:01 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 62207

ยอมรับว่าผมนั้นหลงเสน่ห์ชนบทในหลายด้าน

หนึ่งในนั้นคือ ความเป็นชนบท

แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ทำตัวเป็นคนชนบทก็ตาม

ภูเขา ทุ่งนา กระต๊อบ ลำห้วย วัว ควาย ชาวบ้าน ฯลฯ

ในสายตาทั่วไปบอกว่านั่นมันล้าหลัง ยังไม่พัฒนา สกปรก ไร้สาระ ฯ

แต่ในเนื้อในก็มีความเอื้ออาทร จริงใจ ตรงไปตรงมา ที่ต่างไปจากสภาพเมือง

ผมไม่รังเกียจเมืองหรอก เพราะผมก็ใช้ชีวิตในเมือง

แต่ผมก็อยากใช้ชีวิตในชนบทด้วย

หลายคนบอกว่าชีวิตในเมืองเป็นชีวิตที่ใช้ความเร็ว

แต่ชนบทเป็นชีวิตที่ช้ากว่า

ผมเคยได้ยินศิลปินใหญ่ พี่เทพศิริ สุขโสภา กล่าวว่า

ความเร็วนั้นทำให้เราไม่เห็นความงามของดอกไม้ ใบไม้สองข้างทาง

ท่านตั้งชื่อเรื่องนั้นว่า “ฉันตามหาส่วนที่ขาดหายไป”

จริงๆชีวิตในเมืองก็ตามหาจริงๆ

จริงๆผมก็คิดว่า ผมตามหาส่วนที่ขาดหายไปเหมือนกัน….


ต้นไม้

2206 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 17 มกราคม 2012 เวลา 21:11 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 55156

ทดสอบครับ post ไม่ได้มานานแล้ว


ทราย..

2573 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 22:25 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 57042

หากเราอยู่ที่หลวงพระบางจะเดินทางไปเมืองหงสา แม้ว่าจะมีถนนสายตรง แต่คนจะนิยมไปเส้นทางหลวงพระบาง-ไชยบุรี-หงสา แม้ว่าจะอ้อม ก็ยังปลอดภัยกว่า ถนนจากไชยบุรีไปหงสานั้นลาดยางแล้ว แต่มีสภาพแคบและเป็นเส้นทางบนภูเขา ท่านที่ไม่คุ้นเคยต้องขับรถอย่างระมัดระวัง ส่วนเส้นทางหลวงพระบาง-ไชยบุรีนั้น ร้อยละเก้าสิบเป็นถนนลูกรัง มีแต่ฝุ่นหนาทึบ


บนเส้นทางหลวงพระบาง-ไชยบุรีนั้นจะต้องผ่านแม่น้ำโขงที่บ้านท่าเดื่อ ขณะนี้กำลังเริ่มก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงตรงนี้ ปัจจุบันใช้เรือเฟอรี่ข้าม ใครจะข้ามก็ไปเข้าคิว บางครั้งรอนานเป็นชั่วโมงกว่าจะได้ข้ามเพราะรถแน่นมาก หรือ ไม่มีรถเรือเฟอรรี่ก็จะไม่ข้ามจนกว่าจะมีรถมากเพียงพอ


ที่สองฝั่งจะมีสาวๆมาสร้างเพิงขายสินค้า ส่วนมากก็เป็นอาหาร เช่นข้าวเหนียว ไก่ย่าง ส้มตำ และเครื่องดื่มประเภทน้ำดื่มและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งหลาย ซึ่งเป็นสินค้าที่มาจากฝั่งไทยทั้งหมด


สังเกตเห็นกองทรายมหึมาที่น้ำโขงพัดพามากองริมฝั่ง ทรายล้วนๆ บริสุทธิ์ เด็กชาวบ้านมาเล่นกันบนนั้น แต่ ข้างล่างนั่นมีคนทำกิจกรรมอะไรอยู่ตรงนั้น


ผมซูมภาพเข้าไปก็เห็นชัดเจนว่านั่นคือชาวบ้านกำลังตักทรายใส่ลงในเรือที่มีลักษณะยาวๆที่จอดติดกับกองทรายใหญ่นั่น มันง่ายมากเพราะกองทรายใหญ่ สูง เรือต่ำกว่าก็ตักใส่ได้โดยตรง ชาวบ้านขุดทราย หรือตักทรายใส่เรือ ไปทรายข้างบนก็พังลงมา เพราะมีทราบมากมาย ขนหรือบรรทุกกันเป็นหมื่นๆเที่ยวก็คงไม่หมด



ไกลออกไปทางทิศเหนือ ก็มีกองทราย และมีชาวบ้านหนึ่งคนทำการตักทรายลงเรือเหมือนกัน เมื่อทรายเต็มเรือ เขาก็ติดเครื่องเรือแล่นไปอีกฝั่งตรงข้าม ที่นั่นผมเห็นรถและเรือทรายที่เข้าไปจอดและตักทรายจากเรือเอาไปใส่รถ ภาพนี้ทำให้เราเข้าใจว่า นี่คือระบบธุรกิจขนทราย ค้าทราย คงเป็นงานก่อสร้างที่กำลังเติบโตเต็มที่ที่เมืองไชยบุรี ทั้งถนนหนทางและอาคารตึกรามต่างๆ ล้วนต้องการทราย และก็ง่ายมากๆที่จะหาทรายป้อนให้งานก่อสร้าง ชาวบ้านก็มารับจ้างขนทราย


นี่เป็นภาพลูกโซ่ของวงจรธุรกิจ ชาวบ้านเป็นเพียงโซ่ข้อหนึ่งขององค์ประกอบธุรกิจทั้งครบ และการสร้างบ้านสร้างเมือง ชาวบ้านผู้รับจ้างขนทรายอาจรู้ว่าทรายนั้นไปที่ไหน แต่ไม่รู้ว่า สิ่งก่อสร้างนั้นจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเขาหรือไม่ เกี่ยวข้องส่วนไหน อย่างไร เพราะสังคมนี้ใหญ่เกินระดับหมู่บ้าน ชุมชนของเขาเสียแล้ว..


วัดสีมุงคุน เมืองหงสา

2550 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 16:28 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 42697

..

สมเด็จพระเทพฯท่านเสด็จมาที่นี่ถึงสองครั้ง อยากรู้เรื่องราวไปหมด โดยเฉพาะพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของพี่น้องชาวบ้านที่นั่น

สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นที่ดีที่สุดคือวัด เพราะวัดเป็นที่รวมของประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม ความเชื่อ พิธีกรรม วิถีชีวิต และการบ่งบอกถึงความเป็นมาเป็นไปของอดีตสู่ปัจจุบัน มิใช่เพียงที่อยู่อาศัยของสงฆ์เท่านั้น


เมืองหงสา ติดต่อกับชายแดนไทยปัจจุบันที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เมืองหงสาขึ้นกับแขวงไชยบุรีซึ่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ของ สปป. ลาว ผมสนใจความเป็นท้องถิ่นและวิถีชีวิตของชุมชนที่เป็นแบบจำลองอดีตของชุมชนไทยในสมัยโบราณ ที่เราไม่เห็นอีกแล้วในบ้านเรา ความจริงสภาพที่เป็นในประสบการณ์ของผมมันก็คือ “ชุมชน” เท่านั้น ทำไมเรียก “เมือง” เช่นเมือง “หงสา” “เมืองเงิน”

เนื่องจากมีเวลาน้อยจึงไม่ได้เจาะลึกลงไปในสิ่งดังกล่าวข้างต้น แต่เดินชมสัมผัส จิตวิญญาณของพื้นที่และสิ่งที่พบเห็น ก็รูปสึกเคารพผู้คน ชุมชนแห่งหงสานี้แล้ว สิมหลังเก่านี้ เรียบๆง่ายๆเสียจนคนสมัยใหม่ยุคดิจิตอลอาจคิดว่ามันเป็นแค่อาคารเก่าหลังหนึ่งที่หลงเหลืออยู่เท่านั้น ไม่มีลายปูนปั้นอันวิจิตร ไม่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องทรงอลังการ


แต่ผมสัมผัสถึงความศรัทธา ความเชื่อมั่น และการน้อมนำหลักพุทธมาเป็นครรลองชีวิต ความวิจิตรเป็นเพียงสิ่งประกอบภายนอก ความเป็นสถานที่เพื่อให้คบองค์ประกอบทางพิธีกรรม และการถือปฏิบัติที่เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธาต่างหากที่มีล้นเหลือ มากกว่าสิ่งภายนอกแม้จะสร้างความหรูหราแต่หากไม่มีจิตข้างในทุ่มเทให้ ความวิจิตรนั้นก็เป็นแค่ศิลปกรรมที่ซื้อขายกันในตลาดเท่านั้น


อาคาร สิม หลังนี้มีอายุมากกว่าร้อยปี ชาวบ้านบอกมากกว่าสองร้อยปี ก่อสร้างด้วยดินเผาและโคลน หุ้มโครงสร้างหลักคือเสาและเครื่องบนไม้ ที่เป็นนวัตกรรมท้องถิ่นโบราณ ที่ชุมชนห้อมล้อมด้วยป่าไม้นานาพรรณ หลังคาเป็นแผ่นไม้ที่หาได้ทั่วไปในล้านนา ล้านช้าง แม้ปัจจุบัน


ผมถือวิสาสะลองผลักประตูเก่าโดยออกแรงนิดหน่อยก็ถูกเปิดออก ทำให้เห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายใน ผมกราบแสดงคารวะต่อพระพุทธองค์จำลอง เรียบ ง่ายเท่านั้น โครงไม้ หลังคาที่มีรูโหว่ทั่วไป


ผมหลับตามองเห็นผู้คนชาวชุมชนหงสาทั้งจากบ้านสีมุงคุน(ศรีมงคล)และบ้านอื่นๆในบริเวณนี้ต่างพากันมานั่งในอาคารหลังนี้เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา ในบริเวณนี้จึงเต็มไปด้วยจิตอันบริสุทธิ์ที่หลอมรวมกันเพื่อแสดงถึงความศรัทธาอันเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ของการสืบทอดศาสนา ผมสัมผัสสิ่งนั้น ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่ไปกว่าสิ่งนี้


นี่คือสิมหลังใหม่ที่อยู่ไม่ไกลจากกัน ศิลปกรรมถูกพัฒนาขึ้นมาอีกยุคหนึ่ง มีความพยายามที่จะใส่ความศรัทธานั้นไปบนฝาผนัง แม้จะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่น แต่ก็สื่อความหมายได้ แต่ละแผ่นภาพคือศรัทธา มีการยกฐาน หลังคาสองชั้นมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ที่เชิงชายมีศิลปกรรมเพิ่มเติม


ใบหน้าพระประธานอิ่มเอิบ หน้าบันพัฒนาขึ้นมามาก แต่ผมพบรูรั่วของหลังคมและร่องรอยของปลวกที่กำลังเกาะกินโครงสร้างไม้ของหลังคมสิมหลังใหม่นี้…


พ่อเฒ่าแม่เฒ่าแห่งบ้านสีมุงคุนบอกว่า สมเด็จพระเทพฯท่านเสด็จมาถึงสองครั้ง วัดบ้านนอกคอกนามีอะไรดีหรือ พระองค์ท่านจึงเสด็จมาถึงสองครั้ง ข้าน้อยมิบังอาจประเมินได้ แต่การสัมผัสเพียงผิวเผินของบ้านสีมุงคุน สิมเก่า สิมใหม่ แต่อายุเกินร้อยปีทั้งนั้น มันบ่งบอกความเป็นชุมชน วิถีแห่งการอยู่ร่วมกัน และครรลองการดำเนินชีวิต
ศิลปกรรม ความเชื่อ ความศรัทธา ฯ

สิ่งเหล่านี้คือเสน่ห์ของชุมชน ท้องถิ่นที่ผมและใครอีกหลายคนหลงใหล ติดหนึบ มันตรงข้ามกับสังคมเมืองที่ก้าวเดินไปไกลมากแล้ว….



Main: 0.83815789222717 sec
Sidebar: 0.19397306442261 sec