แมงน้ำฝน..

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 20, 2012 เวลา 19:57 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3399

 

ให้ชาวบ้านมาตัดต้นไม้ พบตั๊กแตนใหญ่มาก ไม่เคยเห็นมาก่อน ถ่ายรูปไว้ แล้วมาหาข้อมูลในเนท ได้ข้อมูลดังนี้…..

ด้านนายเผด็จ กระจ่างยุทธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ให้รายละเอียดว่า น่าจะเป็น แมงน้ำฝน แมงง่วง หรือตั๊กแตนใบโศก  ตั๊กแตนหมู  ตั๊กแตนใบไม้เทียมยักษ์ เป็นตั๊กแตนหนวดยาว มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในตั๊กแตนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย เพศผู้สามารถทำเสียงได้ดังโหยหวนมากในเวลากลางคืน หรือพลบค่ำโดยมีอวัยวะในการสร้างเสียง ที่โคนปีกคู่หน้าซึ่งใช้ในการเสียดสีกันจนเกิดเป็น เสียงดัง รูปร่างของปีกคล้ายใบไม้เขียว เพื่อการพรางตัวจากศัตรูตามธรรมชาติ  ขาหลังมีขนาดยาว อาหารของมันคือ ใบอ่อน และเปลือกอ่อนของพืช ในตระกูล ต้นไทร ตั๊กแตนชนิดนี้ ถือเป็นแมลงที่หายาก เพราะในปัจจุบันป่าไม้เหลือน้อย

(ข้อมูลจาก ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2555  ) 


จากแม่กำปองถึงรัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 20, 2012 เวลา 14:49 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1952

หลายท่านไม่รู้จักบ้านแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ เพราะเป็นหมู่บ้านที่โด่งดังเรื่องหมู่บ้านในป่าที่ทำโฮมสเตย์อย่างมีชื่อเสียง และมีกิจกรรมอื่นๆที่เป็นเป้าหมายทางธุรกิจของบริษัทนำเที่ยวระดับโลกไปเลยทีเดียว


บางท่านอาจจะไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินชื่อด้วยซ้ำไป แนะนำนิดเดียวว่า บ้านแม่กำปองอยู่บนเทือกเขาด้านตะวันออกของตัวจังหวัดเชียงใหม่ รอยต่อกับ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง อยู่ที่ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน ซึ่งแยกตัวมาจาก อำเภอดอยสะเก็ด เมื่อหลายปีก่อน

ยาหยีผมมีโครงการศึกษาและพัฒนาเรื่องพลังงานทดแทนที่นั่นจึงทำให้ผมมีโอกาสไปเที่ยวมาครั้งหนึ่ง แต่ยาหยีผมไปหลายครั้ง นี่ก็เพิ่งกลับมา มาเล่าเรื่องราวเปลี่ยนแปลงให้ฟังจนผมต้องหยิบมาเขียน


เธอไปพักโฮมสเตย์ร่วมกับคณะอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. แล้วให้ชุมชนดำเนินรายการไปเสมือนนักท่องเที่ยวทั่วไป ก่อนที่จะไปทำงานตามเป้าหมาย เธอชมว่าผุ้ใหญ่บ้านเก่งมาก เพราะได้รับการพัฒนามานานหลายปีให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ กิจกรรมที่โดดเด่นที่เป็นเป้าหมายของคณะอาจารย์ มข.คือ การผลิตกระแสไฟฟ้าเองโดยอาศัยพลังน้ำตก

ผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า แนวคิดนี้ไม่ได้เกิดมาจากชุมชน แต่เกิดจากในหลวง ที่ท่านเคยเสด็จมาที่นี่เมื่อหลายสิบปีมาแล้วเมื่อมาเห็นน้ำตกก็บอกกับผู้นำชาวบ้านว่า ไม่ต้องไปนำกระแสไฟฟ้าจากข้างนอกเข้ามา ผลิตเองได้จากพลังน้ำตกนี่แหละ ผู้นำสมัยนั้นไม่มีความรู้เลยแต่น้อมนำพระราชดำรินั้นมาใส่ใจและแสวงหาความรู้มาตลอด และมีโอกาสไปดูงานโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำของโครงการหลวง แล้วก็นำมาปรึกษากับเพื่อนบ้าน แล้วตัดสินใจจะดำเนินการตามพระราชดำริ

การก่อสร้างสมัยโน้น ซึ่งไม่มีเครื่องมือสมัยใหม่ ทีมงานอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.ยังกล่าวว่า นี่คือพลังใจมหาศาลและความร่วมมือของชาวบ้านโดยแท้ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้โดยใช้ความรู้พื้นๆบ้าน แม้อาจารย์ยังส่ายหน้าว่า ทำมาได้อย่างไร เก่งมากๆ เพราะแค่การเจาะหินเพื่อติดตั้งเครื่องมือผลิตกระแสไฟฟ้านั้น ใช้เวลาเจาะ 1 ปี หากไม่มีใจจริงๆแล้ว ไม่มีทางที่จะทำสำเร็จ เพราะไม่มีการใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ ใช้มือและเครื่องมือพื้นบ้านเท่านั้น…สุดยอดจริงๆ

ทีมอาจารย์ได้ใช้ความรู้สมัยใหม่มาเสริมเติมเต็มการดูแลรักษา ปรับปรุงพัฒนา ต่อยอดการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ยั่งยืนต่อไป ซึ่งผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันกล่าวว่า แม้ไฟฟ้าสมัยใหม่จะเข้ามาแล้ว แต่ชาวบ้านจะเอากระแสไฟฟ้าสมัยใหม่เป็นไฟสำรองเท่านั้น ยังใช้ไฟฟ้าที่ชุมชนผลิตเองเป็นหลัก… และจะใช้แบบนี้ตลอดไป

มีรายละเอียดมากมายที่ไม่ขอกล่าวถึง


เนื่องจากที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในป่า บนภูเขาสูงขึ้นไป วัฒนธรรมทุนนิยมภายนอกยังเข้าไปน้อย จึงมีสภาพเดิมๆที่การท่องเที่ยวใช้เป็นจุดขาย และมีบริษัทท่องเที่ยวเข้ามาส่งเสริมร่วมกับทางราชการและองค์กรพัฒนาเอกชนพัฒนาโฮมสเตย์ และส่งเสริมหัตถกรรมพื้นบ้าน และพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวอื่นๆให้ดึงดูดกลุ่มที่ชอบป่าไม้


แม่กำปองดังเป็นพลุแตก เมื่อฝรั่งมังค่าเล่าปากต่อปาก ต่างซื้อทัวร์มากับตลอดปี โฮมสเตย์จึงเติบโต กิจกรรมต่างๆในชุมชนเพื่อตอบสนองธุรกิจท่องเที่ยวก็ตามมา เช่นร้านอาหาร ร้านกาแฟ มัคคุเทศก์ น้ำตก เดินป่า Gibbon และ ฯลฯ

ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การกำกับของผู้ใหญ่บ้านที่ถูกพัฒนาความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จากหน่วยงานราชการและองค์กรพัฒนาเอกชนดังกล่าว

เมื่อสังคมเปลี่ยน ปัญหาก็ตามมา ชุมชนปรับตัวมาตลอด แต่ก็อยู่ภายใต้การถกเถียงกันภายในชุมชนเองว่าความเหมาะสมคืออะไร… ปัญหาที่ตามมาและปรากฏชัดเจนมากขึ้นคือนโยบาย ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศในช่วงปีใหม่นี้เป็นต้นไปนี่แหละ….

บ้านแม่กำปองแม้จะอยู่ในป่าห่างไกลจากเมือง แต่ก็หนีไม่พ้นที่เด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ออกจากหมู่บ้านไป เหลือแต่คนวัยกลางคนขึ้นไปถึงผู้เฒ่า ซึ่งคนวัยนี้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตลอดอายุ แต่เมื่อสังคมเปลี่ยน หลายอย่างก็ค่อยๆเปลี่ยนไป โฮมสเตย์จำนวน 20 กว่าหลังนั้นต้องใช้แรงงานตระเตรียมที่พักอาศัย การบริการต่างๆ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นเจ้าของโฮมสเตย์ก็ต้องว่าจ้างแรงงานในชุมชนด้วยกันเอง และจากชุมชนใกล้เคียง

เมื่อรัฐบาลประกาศ 300 บาทค่าแรงทั่วประเทศเท่านั้น ผู้เฒ่าต่างคิดไม่ตกว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรเพราะแรงงานเรียกค่าแรงเท่าที่รัฐบาลประกาศ แม้จะยังไม่ถึงเวลาก็ตาม

ผู้เฒ่า เจ้าของโฮมสเตย์แห่งหนึ่งกล่าวว่า รัฐไม่ได้แยกแยะประเภทแรงงานเลย งานบางชนิดใช้เวลาไม่เต็มวัน และเคยพึ่งพาอาศัยกัน ค่าตอบแทนก็ใช้ความพึงพอใจแบบพื้นบ้าน เดี๋ยวนี้ไม่ได้แล้ว ค่าเช่าก็ไม่ได้แพงเหมือนในเมือง อาหารก็ทำให้กิน ฯ ราคาที่เก็บนั้นยังถูกเทศบาลเรียกเก็บไปบำรุงอีก ชุมชนก็เรียกเก็บบำรุง เรายินดีให้ แต่หากค่าแรงมาขึ้นแบบนี้ เราผู้เฒ่าจะอยู่อย่างไร การจะไปขึ้นราคาที่พักเราไม่อยากทำ

เงินที่ชุมชนเก็บไปนั้นไปตั้งเป็นกองทุนดูแลชุมชนทั่วไปหมด ครัวเรือนใดที่ไม่สามารถทำโฮมสเตย์ได้ ก็ได้รับสวัสดิการต่างๆจากกองทุนนี้ด้วยในหลายๆรูปแบบ เราพึงพอใจที่โฮมสเตย์มีส่วนสำคัญในการพัฒนาชุมชน แต่แรงงานที่ประกาศขึ้นราคาแบบนี้ รัฐบาลไม่ได้พิจารณารายละเอียดของธุรกิจและพื้นที่ บางครอบครัวบอกว่าเมื่อไม่สามารถแบกรับค่าจ้างได้อาจจะต้องปิดโฮมสเตย์ลงไป

นี่คือเสียงสะท้อนจากชุมชนในป่า…ถึงรัฐบาล


น่ารัก

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 20, 2012 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1051

ทดสอบ



Main: 0.5216600894928 sec
Sidebar: 0.2752149105072 sec