โดย bangsai เมื่อ มีนาคม 31, 2013 เวลา 14:45 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4968

ชาผักหวานป่าอีกที

 

ผมเขียนเรื่องผักหวานป่ามาพอสมควร ในเรื่องเล่าจากดงหลวงก็มีหลายตอน การแปรรูปผักหวานป่ามาเป็นชานั้น ต้องให้อ่าวเปลี่ยนบรรยาย เพราะเป็นผู้ริเริ่มในดงหลวง แล้วก็พัฒนามาจนปัจจุบัน

เมื่อชาวดงหลวงที่ชื่อกลุ่มเกษตรกรทายาทสืบต่อการทำชาผักหวานป่ามาจากกลุ่มแม่บ้านเครือข่ายไทร และเอามาให้ผมชิมหลายครั้ง ผมก็ติชมไป แต่ไม่ง่ายนักที่จะพัฒนาฝีมือการคั่วชา และการทำ Packaging รวมไปถึงการตลาด ทั้งนี้เพราะ

  • พี่น้องชาวไทโซ่ดงหลวงไม่มีความถนัดในเรื่องที่ต้องใช้ความรู้และความประณีต แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ ทำได้ครับแต่ต้องมีพี่เลี้ยงคอยดูแลใกล้ชิดพักใหญ่ๆนั่นแหละ
  • การคั่วชานั้นเป็นเทคนิคขั้นสูงเหมือนการคั่วกาแฟ เป็นเคล็ดลับตระกูลก็ว่าได้ เรายังไม่มีเทคนิคนั้น เพียงใช้ความรู้และองค์ประกอบพื้นฐานมาทำเท่านั้น
  • ผักหวานป่ามีหลายชนิด น่าจะมีการศึกษา ทดลอง วิจัยกันว่าชนิดใดทำเป็นชาดีที่สุด
  • ความอ่อน ความแก่ของใบชาแต่ละชนิดน่าที่จะมีผลต่อคุณสมบัติชา
  • การเก็บชาที่คั่วแล้วต้องเก็บในที่แห้ง แต่ชาวบ้านยังไม่มีสถานที่ที่เหมาะสมเช่นนั้น

ใบผักหวานป่ามีกลิ่นหอม ชาวบ้านบอกว่าจากประสบการณ์เขานั้น เด็ดใบชามาจากต้นหากจะเอาไปทำอาหาร โดยทั่วไปเราก็จะเอาใบผักหวานที่เด็ดมาแล้วนั้นล้างน้ำเสียก่อนเพื่อขจัดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกอื่นๆออกจากใบ แต่ชาวบ้านบอกว่าหากทำเช่นนั้น จะไม่กรอบ มัน หรือความกรอบ ความมัน หวาน หอมจะลดลงไปมาก ..?….

ผมรับปากกับชาวบ้านว่าจะไปติดต่อสถาบันการศึกษาเพื่อขอคำแนะนำการศึกษาวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของใบผักหวานป่า และชาผักหวานป่า ผมไปพบสองแห่งคือคณะเภสัช ม้า ท่านแนะนำว่าน่าจะไปคณะเทคโนโลยีเพราะที่นั่นมีภาควิชา Food Science เมื่อผมไป ก็พบว่าท่านอาจารย์หัวหน้าภาควิชาติดงานกับนักศึกษาปริญญาโท ต้องคอยเกือบชั่วโมง


ท่านพูดเก่งมาก เหมือนนักวิชาการที่ Active มากๆ เบรกแทบไม่อยู่ ท่านแนะนำว่าในอินเตอร์เน้อมีความรู้มากสมควร ลองไป search หาดู ท่านมีความรู้แต่เป็นผักหวานบ้าน จึงแนะนำให้ไปพบท่านอาจารย์อีกท่านหนึ่งภาควิชาเคมีที่คณะวิทยาศาสตร์ ม้า ท่านทำเรื่องนี้โดยตรง แต่ติดเสาร์ อาทิตย์ก่อน

ไปค้น อินเตอร์เน้อได้ความรู้มากพอสมควร ที่อ้างอิงได้จึงขอนำมาเผยแพร่อีกทางหนึ่ง


ในทัศนะของผมคิดว่า การแปรรูปผักหวานป่านั้นทำได้มากกว่าการทำชา เนื่องจากใบผักหวานป่านั้นใครๆที่รับประทานแล้วก็ติดใจ และเขามีช่วงเวลาออกมาคือ ประมาณ ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ เท่านั้นไม่มีทั้งปี ยกเว้นผักหวานบ้านที่มีการทำสวนบังคับให้ออกใบอ่อนทั้งปีได้ ความนิยมนี้เป็นโอกาสในการทำตลาด การแปรรูปนั้นผมนึกถึงหารทำใบสดให้แห้งลงในระดับหนึ่ง ที่เรียก Dehydration หรือกระบวนการที่เอาน้ำออกมาจากใบ เพื่อให้แห้ง เป็นการทำ Preservation แบบหนึ่ง และเมื่อหมดฤดูกาลผักหวานสด หากอยากรับประทานใบผักหวานป่าก็เอามาแช่น้ำร้อน ก็จะได้ใบผักหวานสีเขียวกลับคืนมา แม้ว่าคุณค่าอาหารจะลดลงไปบ้างก็ตาม แต่ก็สนองความต้องการผักหวานป่าได้ระดับหนึ่ง

ชาวบ้านดงหลวงยังฝากผมมาอีกว่า สนใจเรื่องการจดลิขสิทธิ์ การขอ อ้อ ผมก็รับปากว่าจะหาข้อมูลให้ มากกว่านั้นผมคิดถึง การจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ Ggeographical Indication หรือ GI และ การทำ Packaging ดีดี การหาตลาด และกระบวนการต่างๆ เช่น วัตถุดิบ การบริหารจัดการ ฯลฯ ยังมีเรื่องราวอีกหลายอย่างหากจะพัฒนาผักหวานป่าให้ขึ้นมาเป็นธุรกิจ


แม้ว่าจะมีหน่วยงานราชการท้องถิ่นเริ่มเข้ามา แต่ผมก็ยังมองไม่ออกว่าท่านเหล่านั้นจะผลักดันไปสักแค่ไหน หรือเพียงมาเด็ดยอดไปเท่านั้น ยิ่งสมัยนี้ในวงราชการใครๆก็วิ่งหาตัวสนับสนุน KPI
กันทั้งนั้น ส่วนจะสนับสนุนอย่างจริงใจนั้น ตั้งคำถามไว้อยู่

แต่ก็ดีกว่าทิ้งให้ชาวบ้านค้างเติ่งอยู่ลอยๆเท่านั้น ทั้งๆที่เขาพร้อมจะก้าวเดินต่อไป แต่ผู้สนับสนุนกลับมีเงื่อนไขมากมายภายใต้ระเบียบต่างๆ แบบนี้แหละท่านพัฒนาโดยระบบจึงมีอุปสรรคมากมายนัก ไม่เชื่อถามพ่อครูบา ดิ….

« « Prev : ยางพาราที่ห้วยบางทราย

Next : คิดถึง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ ""

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.40209317207336 sec
Sidebar: 0.32533097267151 sec