จดหมายน้อยถึงคุณป้า

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ พฤษภาคม 21, 2012 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1347

คุณป้ายิ่งลักษณ์ครับ

ขอแท๊ปเล็ต เครื่องหนึ่งซีครับ


85 บาท..

2 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ พฤษภาคม 14, 2012 เวลา 22:15 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1610

เราไม่ใช่เกิดมาบนกองเงินกองทอง เราจึงต้องทำงานหนัก

เราพอใจที่จะทำงานในสิ่งที่เราชอบ หลายครั้งลืมหันกลับมาดูแลสุขภาพตัวเอง แม้ว่าเขาจะส่งสัญญาณมาบ้างเป็นครั้งคราว

งานมาก.. งานล้นมือ… ถึงกำหนดส่งรายงานเรื่องนั้นเนื่องนี้…. หมดเขตส่งรายงานแล้ว… ดูจะเป็นเรื่องประจำที่ผมได้ยินออกมาจากปากยาหยี..

ที่นั่งโต๊ะทำงานที่ห้องนอน ซึ่งแต่ก่อนก็เป็นห้องนอนจริงๆ ห้องทำงานอยู่ข้างล่าง แต่ทำไปทำมาห้องนอนทำเป็นห้องทำงานไปด้วย ส่วนห้องทำงานจริงๆนั้นเป็นห้องเก็บเอกสารไป ล้นจากห้องทำงานที่เป็นห้องนอนก็ถูกขยับลงไปห้องทำงานจริงข้างล่าง อิอิ..

โต๊ะนั่งเล่น กลางห้องนอน+ห้องทำงาน กลายเป็นโต๊ะกินกาแฟมื้อกลางคืน หรือของว่างช่วงที่หิว (ตามใจปากซะมากกว่า อิอิ) เปิดแอร์เย็นๆ หลังดูทีวีรายการโปรดแล้ว ก็ลุยงานบนโต๊ะนั่น คืนแล้วคืนเล่า จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน เป็นปี …เก้าอี้ตัวโปรดไม่เคยเปลี่ยน เป็นเก้าอี้ไม้ ทรงคลาสสิกที่ซื้อมานานมากกว่า 25 ปี แต่ก่อนเห็นมีในโรงน้ำชาคนจีน หรือโต๊ะกาแฟของร้านคนจีน เธอก็ชอบนั่งตัวนั้นแหละ ตรงข้ามกับที่ทำงาน ที่น้องๆแอบไปสั่งชุดหรูมาให้นั่ง ราคาต่างกันลิบลับ

บางครั้งนั่งสัปหงกที่เก้าอี้ไม้นั่น ผมก็แกล้งเคาะโคมไฟดังๆ เธอก็ตกใจตื่นขึ้นมา แล้วก็หัวเราะกันใหญ่ หลังจากตาสว่างสักพัก ก็เหมือนเดิมอีก ผมก็ลากเธอไปนอนซะ แต่ส่วนมากผมจะลงไปนอนที่เตียงก่อน ปล่อยให้เธอลุยงานต่อไป

สายวันนั้น เธอตะโกนเรียกผมว่า พลิกตัวไม่ได้ และเวียนหัวมาก โลกหมุน จะอาเจียน เอาหละซี ผมทำอะไรไม่ถูก อุ้มเธอให้ขยับก็ไม่ได้ บอกเวียนหัวจะอาเจียน ขอนอนนิ่งๆ แต่เหงื่อออกเต็มตัวไปหมด ในที่สุดเราตัดสินใจเรียกรถพยาบาลมา เอาเปลมาแบกเธอส่งโรงพยาบาลประจำที่เคยรักษาพยาบาลคุณแม่ หมอฉีดยาให้เข็มเดียว พักอีกหน่อย ก็หัวเราลั่นห้องได้แล้ว เดินปลิวไปเลย

เรื่องนี้เกิดมาหลายปีก่อนโน้นที่บ้านขอนแก่น

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเธอไปกระบี่ สตูลเพื่อประชุมงานที่รับผิดชอบกับทีมงานภาคใต้ สายวันที่ 9 ผมปิดมือถือ ซึ่งมักทำบ่อยๆ เพราะรำคาญพวกบริษัทอะไรต่อมิอะไรที่โทรมาชักชวนทำประกันภัย แบบนั้นแบบนี้ สายมากแล้วผมก็เปิดเครื่องเผื่อมีทีมงานที่บริษัทติดต่อมา แต่เห็นเบอร์ยาหยี พยายามโทรมา 4-5 ครั้ง ผมก็รีบโทรกลับไปทันที

เสียงอ่อยๆดังมาทางมือถือ …ไม่สบาย เป็นเวียนหัวโลกหมุนอีกแล้ว ตอนนี้อยู่โรงพยาบาลสตูล เพื่ออาจารย์และโรงแรมที่พักจัดการเรียกรถพยาบาลมาให้ หมอฉีดยาให้แล้ว กำลังนอนพัก…..

เพื่อนอาจารย์รีบติดต่อกลับมาที่ขอนแก่นถึงที่ทำงานจัดการเรื่องเงินทองที่อาจจะต้องใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาล และอื่นๆ ผมนั้นนั่งอยู่กรุงเทพฯ แค่คอยติดตามข่าวว่าเป็นไงบ้าง คืบหน้าไปอย่างไรบ้าง.. อีกสองชั่วโมง เธอเสียงแจ๋วๆมาว่า ดีแล้ว กำลังจะเดินทางไปหาดใหญ่ขึ้นเครื่องกลับกรุงเทพฯ และต่อไปขอนแก่น

เธอเล่าว่า กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ทางโรงพยาบาลจังหวัดสตูล ว่ามันมากน้อยแค่ไหน เงินในกระเป๋าเธอมีไม่มาก บัตรเครดิตเธอก็ไม่มีสักใบ เพราะเป็นคนไม่ชอบบัตรเครดิตใดๆทั้งสิ้น แม้ธนาคารร้อยแปดไปยื่นเงื่อนไขให้ถึงห้องทำงานก็ถูกปฏิเสธทุกรายหมด

เธอเล่าว่า เมื่อลูกน้องจัดการโอนเงินไปให้แล้ว เพื่ออาจารย์ที่เป็นทีมงานในภาคใต้ก็กรุณาช่วยเป็นภาระให้ เอาบัตรประจำตัวประชาชนของยาหยีไปยื่นให้ที่โรงพยาบาลจังหวัดสตูลเพื่อต้องการทราบว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าใด…

ระบบออนไลน์ เนื่องจากเป็นข้าราชการ มีระบบการรักษาพยาบาลตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและของรัฐ ตรวจสอบให้โดยเร็วเพียงไม่นานเท่าไหร่ พนักงานพยาบาลมาแจ้งว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมค่ารถพยาบาลที่ไปรับ ค่ายา ค่าห้อง ค่าคุณหมอ และอื่นๆ เป็นเงิน 85 บาท..!!!!!!!

ขอบคุณโรงพยาบาลจังหวัดสตูล โดยเฉพาะแพทย์และนางพยาบาลทุกท่าน เธอชื่นชอบว่า พูดจาดีมากๆ ดูแลดีมากๆ ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณเพื่อนอาจารย์ทีมงานภาคใต้ของเธอที่ดูแลเป็นอย่างดียิ่ง

ขอบคุณระบบรักษาสุขภาพของรัฐ ที่มีประสิทธิภาพมากๆ

ขอบคุณการบินไทย

ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนดูแลในครั้งนี้


เรื่องเล่าจากดงหลวงจะตีพิมพ์

3 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ พฤษภาคม 3, 2012 เวลา 1:16 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1751

ผมจำได้ว่าผมก้าวมาเขียนบันทึกจากงานในหน้าที่รับผิดชอบอยู่ ก่อนหน้านั้นผมเป็นคนชอบอ่าน และบังเอิญผมมีโอกาสทำงานกับโครงการที่เป็นชาวต่างประเทศ ทั้งที่เด็กบ้านนอกอย่างผมนั้นสอบตกภาษาอังกฤษมาตลอด แต่ก็พยายามถูไถไปได้ มาช่วงที่ผมรับผิดชอบด้านสังคมที่โครงการพัฒนาชลประทานในระดับไร่นา ที่เขื่อนลำปาว โดยรัฐบาลเนเทอร์แลนด์ ผมมีหน้าที่ส่งเสริมกลุ่มผู้ใช้น้ำและกิจกรรมการใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยมีเจ้าหน้าที่สนามเป็นนักศึกษาที่เพิ่งจบมาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ

เราจัดฝึกอบรม และจัดทำระบบเรียนรู้ระหว่างการทำงาน ตรงนี้เองที่ผมมองเห็นว่า หลังการฝึกอบรมแล้วนั้น น้องๆได้เรียนรู้ในห้องฝึกอบรมแล้วเอาหลักการไปใช้ในสนาม มันเละตุ้มเปะไปหมดในหลายคน บางคนก็พัฒนาได้เร็ว ผมคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะเติมเต็มสิ่งที่น้องๆไม่ได้ทำ หรือทำผิดพลาด หรือทำไม่เต็มที่ในสิ่งที่ควรทำ เพราะเธอเหล่านั้นขาดประสบการณ์นั่นเอง ผมนึกถึงระบบโรงเรียนแพทย์ที่มีช่วงเป็น แพทย์ฝึกหัด เพราะชีวิตคนไข้ไม่ใช่ของที่ลองผิดลองถูก อาจารย์หมอจะกำกับแพทย์ฝึกหัด

ในระบบการทำงานพัฒนาชนบทก็มีระบบการประชุมในสนาม การทำ Mini workshop ผมคิดว่าไม่พอจึงคิดอ่านเพิ่มเติมโดยการสรุปประเด็นที่น้องๆยังขาดความเข้าใจในทางปฏิบัติ แล้วเอามาเขียนเป็น Memo เป็นประเด็นๆไป แล้วทำสำเนาแจกให้ทุกคน สัปดาห์ละ 2-3 ฉบับ


ผมรู้สึกสนุกกับการทำหน้าที่นี้ และประเมินว่าน้องๆก็ชอบเพราะเราได้เติมเต็มให้น้องๆเหล่านั้น ผมจึงเดินรุกหน้าในเรื่องนี้มากขึ้นโดยการแนะนำให้น้องๆเหล่านั้นฝึกเขียน ประสบการณ์งานในสนามของเขา ในเรื่องที่เขาถนัด และหรือในเรื่องที่เราแนะนำ น้องบางคนได้รวมเล่มผลงานของเขาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทก็หลายคน

ผมย้ายงานไปตามวาระ ตามวิถี และนำประสบการณ์นี้ไปใช้ แต่ไม่สำเร็จ ไม่ว่าที่โครงการพัฒนาระบบชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับกลุ่ม EURO Consult หรือที่ Save the Children (USA) ที่นครสวรรค์ หรือแม้แต่ที่ บริษัทที่ปรึกษาที่ผมสังกัดในปัจจุบัน

ตรงข้ามผมต้องรับผิดชอบเขียน Report มากขึ้น ทั้งรายเดือน รายไตรมาศ ฉบับ Final หรือ รายงานพิเศษเฉพาะเรื่อง มากมาย ซึ่งผมพบว่าในรายงานเหล่านั้นมี Format เฉพาะอยู่แล้ว สาระและทิศทางการเขียนจึงถูกจำกัด ในฐานะที่ทำมากับมือ คลุกคลีกับงามปฏิบัติ พบว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายที่ไม่สามารถใส่ไปในรายงานนั้นๆได้

เมื่อผมไปรับผิดชอบสนามที่มุกดาหาร พื้นที่ดงหลวง มีเจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่คนที่ร่วมงานกัน แต่มีโครงการเดียวกันที่อยู่ในอีก 3 จังหวัด เราทำงานเหมือนกันแต่คนละพื้นที่ ภายใต้ สปก.ที่ได้งบประมาณมาตั้งแต่สมัยเศรษฐกิจประเทศพังต้องไปกู้เงินจากญี่ปุ่น เรียกว่าเงิน มิยาซาวา สปก.ได้งบประมาณมาพัฒนาพื้นที่ชนบทที่เป็นพื้นที่ สปก.เพื่อฟื้นฟูสังคมส่วนนั้น

ผมเริ่มกลับมาเขียนความคิดเห็นของผมอีกครั้ง แต่เป็นแนวว่า ลงไปทำงานในพื้นที่ดงหลวง เห็นประเด็นอะไรก็เอามาเขียนผนวกความคิดเห็นของตัวเอง ในแง่มุมต่างๆ แล้วส่งเมล์ไปให้เพื่อนร่วมงานทุกคน ทุกจังหวัด ทุกระดับของโครงสร้างโครงการ แล้วชักชวนให้เพื่อนๆเขียนบ้าง ไม่มีใครเขียนครับ ยกเว้นบันทึกของเราไปกระทบอะไรเขาเข้า ท่านผู้นั้นก็จะเขียนอธิบายหรือตอบโต้ทันที

วันหนึ่ง “น้องกาเหว่า”ที่กำลังเรียนปริญญาเอกที่ มข.ในช่วงนั้นมาบอกผมว่า หนูอ่านบันทึกของพี่ทุกฉบับจากเพื่อนสนิทหนูที่ทำงานในโครงการนี้ หนูเป็นสมาชิก Go To Know (G2K) อยากแนะนำให้พี่ไปเขียนลงในนั้นด้วย… ผมไม่รู้จัก G2K ไม่รู้จัก Blog จึงเข้าไปดู เลยสนใจและเข้าไปเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า Blog และตระเวนไปทั่วในโลกสังคม Cyber แต่ก็มาสนใจ G2K จึงสมัคร และเขียนไปลงโดยใช้แนว ประสบการณ์งานในสนามที่ทำอยู่ ในลักษณะเรื่องเล่า จึงตั้งชื่อว่า “เรื่องเล่าจากดงหลวง”

เขียนได้พักหนึ่งก็ชวน “คุณเปลี่ยน” เพื่อนร่วมงานไปเขียนด้วย ซึ่งเข้าตาเปลี่ยนทันที ผมสนุกมาก เพราะชีวิตที่ไม่ได้อยู่กับครอบครัว เพราะต้องไปทำงานที่มุกดาหาร เย็นวันศุกร์ถึงกลับบ้านขอนแก่น เช้าวันจันทร์ไปมุกดาหาร หลังเลิกงานผมไม่เที่ยว ไม่ดื่ม จึงมีเวลากับ Blog เขียนทุกวัน บางวันหลายบันทึกจนได้รับรางวัลสุดคะนึง ได้เสื้อมาตัวหนึ่ง ยังใส่หล่อจนทุกวันนี้ครับ

แนวการเขียนหลักคือ ประสบการณ์ แนวคิดในงานพัฒนาชุมชน รวมไปถึงหลักการหรือทฤษฎีในเรื่องนี้ด้วย อีกประการหนึ่งคือ ใช้บันทึกเป็นเวทีชาวบ้าน ดึงชาวบ้านที่มีผลงาน มีแนวคิดดีดี เอาออกมาให้สังคมรู้จัก… และ ฯลฯ ที่เกี่ยวกับชนบท

ช่วงสิ้นสุดโครงการระยะที่หนึ่งนั้น มีการทำประเมินผลโดยชาวญี่ปุ่น ซึ่งผู้ประเมินผลครั้งนั้นทราบว่าผมเอาประสบการณ์งานสนามไปเขียนใน G2K จึงขอตัวอย่างไปศึกษา เมื่อโครงการมีการดำเนินงานระยะที่ 2 ผมได้รับการเสนอให้รับผิดชอบ KM expert ในโครงการอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งผมก็วางแผนจัดทำ web Portal ของโครงการขึ้น โดนผมขอคำแนะนำจากดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ และทีมงานของท่านใน G2K ผมอบรมเจ้าหน้าที่โครงการ และดันเต็มที่ให้โครงการยกระดับการทำงานโดยใช้ portal.in.th เป็นอีกเวทีหนึ่งในการแลกเปลี่ยนความเห็น ติดตามงาน เรียนรู้งานของกันและกัน…ฯลฯ

ผมล้มเหลวครับ มีแต่ผมทำคนเดียว เพื่อนๆในจังหวัดอื่นๆอีกสามแห่งไม่สนใจจะทำ งานชิ้นนี้ยังจอด เกยตื้นอยู่ใน portal.in.th ครับ และโครงการจบสิ้นไปแล้ว

ผมย้ายตามหมู่มาที่ Lanpanya ก็มาเปิด “ลานดงหลวง” และมาเขียนที่นี่อีกจำนวนไม่น้อย

เมื่อใกล้ปิดโครงการท่านผู้บริหารสูงสุดของโครงการคือ ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน ท่านสนใจเรื่องการสรุปบทเรียน และการจัดพิมพ์ประสบการณ์งานของโครงการ ท่านเรียกผมไปพบและสอบถามงานเขียนบันทึกของผม ว่าท่านสนใจจะพิจารณาจัดพิมพ์.. ผมจึงรวบรวมบันทึกทั้งหมดมาคัดเลือก และจัดหมวดหมู่ ตรวจสอบทั้งหมด แล้วจัดทำรูปเล่มให้ท่าน ตั้งแต่กลางปี 2554 แล้วก็ลืมไปแล้ว เพราะไม่ได้ข่าวอีกเลย ผมเดาว่าท่านงานยุ่งและหรือท่านลืมไปแล้ว..

เมื่อเช้านี้ขณะที่ผมปฏิบัติงานที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ท่านโทรไปหาผมแล้วกล่าวว่าให้ส่งไฟล์เอกสารเรื่องเล่าจากดงหลวงให้ท่านด่วน ท่านจะจัดพิมพ์ให้…..

เรื่องเล่าจากดงหลวงนั้นเป็นเรื่องยาวผมแยกเป็นสองฉบับ โดยจัดระบบเรื่องและหมวดหมู่บันทึกไว้ ขณะเดียวกันท่านเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินยังกล่าวว่า สมัยที่จะสิ้นสุดโครงการนั้นผมได้เขียนรายงายพิเศษขึ้นมาหลายฉบับ ท่านสนใจจะจัดพิมพ์ฉบับเรื่อง “ระบบนิเวศเกษตรวัฒนธรรมเชิงเขาแบบดงหลวง” ด้วยจึงให้ผมจัดส่งให้ด้วย….

ขอบคุณท่านเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน ท่าน ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ที่ให้ความสำคัญต่อบันทึกประสบการณ์ เรื่องเล่าจากดงหลวง และ เรื่อง “ระบบนิเวศเกษตรวัฒนธรรมเชิงเขาแบบดงหลวง”

ขอขอบคุณทุกท่านที่ G2K ที่เปิดเวทีให้ผมได้เขียนบันทึกไว้ที่นี่ และทุกท่านที่ portal.in.th

ขอขอบคุณ Lanpanya.com ที่ทำให้ผมมีเวทีต่อเนื่อง

ขอบคุณเพื่อนฝูงทุกท่านที่มีส่วนช่วยในการแลกเปลี่ยนกันตลอดมา


ฤษีในเมียนมาร์

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ เมษายน 21, 2012 เวลา 7:43 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2158

ฤษี ในความรู้สึกของผมนั้น เราไม่เคยเห็น หรือใกล้ชิดฤษีจริงๆในวิถีปกติของเราในปัจจุบัน มีแต่ได้ยินในเรื่องเล่า ในลิเก โขน การเล่นต่างๆ หรือนานๆ มีคนกล่าวถึง ฤษีที่นั่นที่นี่ แต่ไม่เคยสัมผัสจริงๆเลยครับ แต่หากจะพูดถึงว่า คนนั้น คนนี้ มีปกติปฏิบัติเป็นฤษี ก็เคยได้ยินบ้าง

ความที่เรามีภาพฤษีมาจาก โขน ลิเก หากจะพูดถึงฤษี ก็นึกถึงผู้สูงอายุ ผมยาว มีหนวดมีเครา มีผ้าห่มรุงรัง มีย่ามที่ใส่ของขลัง ของวิเศษ มีไม้เท้าที่มีลักษณะแปลกๆ …..

แต่ฤษีในเมียนมาร์นั้น หากไกด์โจไม่แนะนำเราก็อาจจะเข้าใจผิดว่านั่นคือพระก็ได้ เพราะห่มสีกลัก และประพฤติคล้ายๆพระ คือออกภิกขาจาร ไปตามสถานที่ต่างๆ แต่จะปลีกวิเวกโดดเดี่ยว ไม่รวมกลุ่มเป็นคณะ เป็นหมู่

ไกด์ โจกล่าวว่าในป่าบนภูเขารอบๆพระธาตุอินแขวนนั้น มีฤษีมากมาย กระจายอยู่ตามมุมป่าต่างๆ โจ บรรยายต่อว่า สมัยก่อนที่เขายังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งนั้น เคยมาเดินขึ้นไปกราบพระธาตุอินแขวนมาแล้ว มาพร้อมๆกับเพื่อนเป็นคณะหลายคน เนื่องจากเขาเป็นคนตัวเล็ก การเดินขึ้นภูเขาสมัยนั้นไม่มีถนนจึงเดินไปตามทางเดินป่า เขาเดินไม่ทันเพื่อน จึงหลุดออกจากกลุ่มอยู่ด้านหลัง

ช่วงหนึ่งเขานั่งพักเหนื่อยอยู่ ดีดีก็มีฤษีตนหนึ่งเดินสวนทางลงมา พักเหนื่อยด้วย จึงคุยกัน โจ ถามฤษีว่า เห็นเพื่อนเขาไหมที่เดินไปข้างหน้าก่อนแล้ว ฤษีบอกว่า เห็นมีเท่านั้นเท่านี้คน จากนั้นฤษีก็สอนให้ประพฤติดีปฏิบัติดี เมื่อหายเหนื่อยก็แยกกันเดินทางต่อไปโยสวนทางกัน เมื่อโจ เดินทันเพื่อน ก็มีการสอบถามกันว่า เพื่อนสวนทางกับฤษีหรือเปล่า เพื่อนๆปฏิเสธ … เหมือนกับโจกำลังอธิบายว่า เขาเคยพบความอัศจรรย์กับฤษีผู้ประพฤติในธรรมมาแล้ว….

ฤษีในรูปนั้นนั่งอยู่ใน “มหาเจดีย์มุเตา” ที่มีความสำคัญมากๆกับประวัติศาสตร์เมียนมาร์ ท่านจะแจกบัตรคล้ายๆคำอวยพร แล้วก็รับบริจาค โดยท่านไม่ได้ร้องขอ ใครจะบริจาคหรือไม่ก็นิ่งเฉย

นี่คือเสี้ยวส่วนที่ผมสัมผัสฤษีในเมียนมาร์


เอกมหาชัยที่หงสาวดี..

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ เมษายน 20, 2012 เวลา 23:34 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1698

 

สิ่งที่ผมแปลกใจที่มาเห็นต้นไม้นี้ที่เมืองหงสาวดี เมียนมาร์

ตลอดทางขึ้นพระธาตุอินแขวน

ต้นยังไม่สูงเท่าไหร่ ต้นนี้สูงที่สุดมั๊งครับ

เพราะอยู่ติดกับสำนักงานเล็กๆ

ของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลการจราจรบนภูเขานี้

นี่คือต้น “เอกมหาชัย”


ตระกูล ออง ซาน

1 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ เมษายน 20, 2012 เวลา 22:21 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2343

 


รูปนี้ติดอยู่กระจกหน้ารถทัวร์ที่เรานั่งประจำ หันหน้าเข้าด้านภายในรถ หากเดินขึ้นรถแล้วนั่งลงที่เบาะทุกตำแหน่ง มองไปหน้ารถก็จะเห็นรูปนี้ ขวามือนั่นเป็นสตรีที่โด่งดัง เป็นหญิงเหล็ก เป็นคู่กัดของรัฐบาลทหารมานานแสนนาน เธอเป็นเหมือนขวากหนามชิ้นใหญ่ของรัฐบาลทหาร แต่เธอมาจากตระกูลรัฐบุรุษของประเทศ และเธอกล้าหาญมากเหนือสตรีทั่วไป นานาชาติจึงปกป้องเธอ

นาง ออง ซาน ซู จี ชีวิตเธอน่าสนใจยิ่งนัก มีคุณพ่อเป็นนายทหารใหญ่และมีบทบาทที่สำคัญต่อประเทศพม่า คือนายพล อองซาน (รูปซ้ายมือนั่น)



อนุสาวรีย์ ท่านนายพล ออง ซาน

ไกด์ โจเล่าให้ฟังถึงประวัติท่านนายพล อองซาน และตัวนาง ออง ซาน ซู จี เดิมเธอนั้นไม่ได้สนใจการเมืองเลย เป็นสตรีทั่วไปที่สนใจการทำงาน และดูแลครอบครัว แต่เหตุการณ์ทางการเมืองของขบวนนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ดึงเธอเข้าไป โยที่เธอรับรู้ความไม่ถูกต้อง และคสามโหดร้ายของรัฐบาลทหารที่ยิงทิ้งประชาชน นักศึกษาต่อหน้าเธอ เหมือนผลักเธอเข้าสู่เวทีการต่อสู้ และเธอไม่เคยถอย แม้จะต้องโดยเผด็จการทหารจับเธอเข้าคุก กักบริเวณ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เธอก็สู้ตลอดมา

สายเลือดท่านนายพลอองซาน ผู้นี้ไม่ทำให้ประชาชนที่รักประชาธิปไตยผิดหวัง เชิดชูเธอเป็นหัวแถวของการต่อสู้มาตลอด


ประตูหน้าบ้านของนาง ออง ซาน ประตูบ้านที่เธอถูกกักบริเวณมานานมากมายนัก หากเป็นคนอื่น คงมีปรากฎการณ์อะไรออกมา แต่เธอยืนหยัดต่อสู้แบบอหิงสา และสากลก็กดดันรัฐบาลมาตลอด หนักที่สุดคือการไม่คบค้าด้วย บอยคอท (ทั้งๆที่ใต้ดินนั้นอยากเข้าประเทศนี้ใจจะขาด) จนมาสมัยนี้ที่อาเซียน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นต่อการเมืองในประเทศนี้ เช่นถึงคราวที่เมียนมาร์ต้องเป็นประธานอาเซียนหลังจากถูกต่อต้านมาหลายครั้ง แต่คราวนี้ยินยอม แต่เมียนมาร์ต้องเป็นประชาธิปไตย นั่นคือการเลือกตั้งทั่วประเทศ รัฐบาลพม่าก็ยอม แต่ทุกครั้งที่พูดถึงตรงนี้ แบบนี้ สาระทำนองนี้ ไกด์ โจ มักจะเหน็บรัฐบาลเสมอว่า “ไม่รู้มีอะไรหมกเม็ดบ้างไหม”


ดูรูปนกหงส์นี่ซิครับ โจ เขาถามพวกเราว่า หงส์ที่ยืนขี่กันในรูปนั้น ทายสิว่าตัวบน หรือตัวที่ยืนขี่หลังหงส์ตัวล่างนั้น เป็นหงส์ตัวผู้หรือตัวเมีย ผมเดาไม่ถูกและไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อน รู้เพียงว่าหงส์นั้นคือสัญลักษณ์ของเมืองหงสาวดี หรือพม่าในสมัยก่อนที่รับรู้มา แต่หงส์ขี่กันนี้เพิ่งเห็น และไม่มีคามรู้จริงๆ

มีสมาชิกทัวร์ตอบถูกว่า หงส์ตัวเล็กที่อยู่ด้านบนนั้นเป็นหงส์ตัวเมีย…??!!

ทำไม เพราะอะไร ความเป็นมาอย่างไร…. หมายถึงอะไร… พวกเรายิงคำถาม โจ สรุปสั้นๆว่า หงส์เป็นสัตว์ในวรรณคดีคู่กับศาสนามานาน เป็นสัตว์ชั้นสูง และการที่ตัวเมียขี่หลังตัวผู้นั้น หมายถึงว่า “ในสังคมเมียนมาร์นั้น ผู้หญิงเป็นใหญ่” คตินี้ปรากฏหลักฐานถึงในพระราชวัง ที่พระแท่นของพระเจ้าบุเรนอง ก็มีที่นั่งพระมเหษีอยู่ทางขวามือ…คตินี้ยังมีปรากฏในวัฒนธรรม ประเพณีอีกหลายอย่างในสังคมเมียนมาร์

น่าสนใจขึ้นหละซีครับ เมื่อมาถึงตรงนี้ ที่สังคมเมียนมาร์ถือคติสตรีเป็นใหญ่ แล้วนางออง ซาย ซู จี ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด เรียกว่าเธอชนะการเลือกตั้ง สังคมเมียนมาร์กำลังมีการปกครองโดยสตรี หรือ.. และหากเป็นเช่นนั้นคงน่าดูชมเมื่อประเทศไทยก็มีสตรีเป็นนายกรัญมนตรี

เอ..ของเราจะเทียบกับของเขาในมุมไหนดีหนา

อิอิ อิอิ อิอิ


เสียงกังสดาลเช้ามืดวันนั้น

3 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ เมษายน 20, 2012 เวลา 20:44 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1998


เช้ามืดวันนั้น ผมตื่นขึ้นมาเพราะเสียงคนเดินคุยกันบนถนน บังเอิญห้องนอนผมใกล้กับถนนที่จะไปสู่พระธาตุ อินแขวน สักพักเล็กๆก็มีเสียงรถใหญ่ดังลั่นพร้อมกับเสียงคนจอกแจกบนรถนั้น ผมแหวกม่านผ่านหน้าต่างกระจก มองไม่เห็นอะไรเพราะหมอกลงเต็มหมด

รีบจัดการตัวเองแล้วคว้ากล้องออกไปนอกถนนเพื่อสังเกตวิถีชีวิต ชาวเมียนมาร์ยามเช้าบนยอดดอยที่ติดกับพระธาตุอันศักดิสิทธิ์นี้ หลายคนชวนเดินไปที่ลานวัดเพื่อดูชาวบ้านที่มานอนและคอยดูพระอาทิตย์ขึ้นและอื่นๆ ผมว่าหมอกลงมากขนาดนี้ไปก็ไม่เห็นอะไร

พักใหญ่ๆ ก็ได้ยินเสียงกังสดาลและมีเสียงเด็กร้องดังลั่น เหมือนบอกอะไรสักอย่าง ไม่รู้เรื่องเพราะเป็นภาษาเมียนมาร์ มีเสียงใกล้เข้ามา เห็นเงาแถวพระที่ออกมาบิณฑบาต พ้นหมอกมา มีญาติโยมออกมาถวายดอกไม้ เงิน อาหาร


เสียงเด็กนั่นคือเณรน้อยที่เดินหน้าแถว ร้องลั่นแล้วก็ตีกังสดาล ผมมาทราบทีหลังว่า สิ่งที่เณรร้องนั้นคือตะโกนสุดเสียงบอกว่า “พระมาแล้ว” หากมองในแง่ทางโลกก็ว่าน่ารักจริงๆ มองทางธรรมก็เป็นการฝึกวิถีผู้ปฏิบัติธรรม ผมนึกถึงสมัยที่ผมบวช ยามเช้าออกบิณทบาตรนั้น พระเข้าแถวเดินทางพระอาจารย์นั้นยาวเหยียด ห่มจีวรสีกลักแบบนี้ และสำรวมสุดๆ สายตามองตรงไปข้างหน้าเท่านั้นเอียงลงมาเท่าแอกเทียมเกวียน มองจากภายนอกแล้วงดงามน่าเคารพศรัทธายิ่งนัก….

แต่ในเมืองไทยไม่มีเณรน้อยน่ารักมาเดินนำหน้าตีกังสดาลแบบนี้ครับ…


ประกาศยึดลาน..

8 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ เมษายน 19, 2012 เวลา 22:00 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1783

ไม่มีใครโพสต์

เราประกาศยึดลานแล้ว อิอิ

 

 


ทรมานทัวร์..

6 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ เมษายน 19, 2012 เวลา 1:58 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1716

วันก่อนไปซื้อตั๋วรถเข้ากรุงเทพฯ

เต็มหมดทุกเที่ยว ทุกบริษัทในวันที่ต้องการ

ตัดสินใจลองลุ้นบริษัทสุดท้าย ชาญทัวร์

เหลือที่เดียวเป็นที่นอน ฟังดังนั้นก็เอา

ไม่ได้คิดว่า ที่ว่านอนนั้นเป็นอย่างไร คิดเอาว่า เก้าอี้ทุกตัวก็นอนทั้งนั้นแหละ

มีตั๋วในกระเป๋าอุ่นใจแม้ว่าไม่ได้บริษัทที่เรานั่งประจำ และเป็นสมาชิกก็ตาม เพราะงานรออยู่…

 

วันนี้เราไปที่รถแต่ไก่โห่ เพราะมีของพะรุงพะรัง ยังกะแรงงานกลับไปทำงานช่วงสงกรานต์งั้นแหละ

กระเป๋าเสื้อผ้า 1 ใบใหญ่ กระเป๋าเอกสารอย่างเดียว 1 ใบใหญ่ เป้คอมที่ใส่หนังสือไว้อ่านและที่เขียนหนังสือเผื่อจะเขียนอะไร 1 ใบ กระเป๋าใส่มะม่วง 1 ใบ กระเป๋าใส่ข้าวโพด 1 ใบ น้ำพริกขอนแก่นแสนอร่อย 1 กล่อง โฮย…..นี่แบกคนเดียวนะเนี่ย…..

ข้าวโพดน่ะ น้องๆเอามาฝากจากเชียงรายเชียว ทิ้งไว้บ้านขอนแก่นก็ไม่มีใครกิน

มะม่วงก็เหมือนกันต้นที่บ้าน ทิ้งไว้เดี๋ยวแมลงวันทองผูกขาดกินหมด ผู้ช่วยแม่บ้านก็สอยกินหมด เราเจ้าของบ้านตะรอนๆไปทั่วไม่ได้กิน ก็เลยให้สอยขนลงกรุงเทพฯดีกว่า

ส่วนน้ำพริกนั้น คนใต้มาอยู่อีสาน เอาสูตรน้ำพริกปลาทูมาผลิตขายดีจนออกจากราชการมาตั้งร้านผลิตน้ำพริกขายอย่างเดียว ขายมานับสิบปีแล้ว ของเขาดีจริงๆ ใครอยากชิมก็บอกมา อิอิ

ของมากมายเราก็รีบไปก่อนเวลาเผื่อจะได้เอาของใส่ที่เก็บไว้ก่อนคนอื่นๆ และเราจะได้ขึ้นไปนั่งสบายๆ สมใจครับ เราเป็นเจ้าแรก รถสองชั้น เขาบอกเป็น S class ดีที่สุดของชาญทัวร์ เรายื่นตั๋วให้พนักงาน แหม เธอก็คะ ขา ไพเราะเชียว แต่เป็นแต๋ว…. เธอชี้ว่า ที่นอนของป๋าพิเศษอยู่ตรงนั้น….ชั้นล่าง ส่วนหน้า…..

ผมเห็นแล้วจะเป็นลม กูซวยละหวาคราวนี้… ก็พิเศษจริงๆมันไม่ใช่ที่นั่งหย่อนเท้าได้สบายๆจะนอนก็เอนพนักพิงลงไป เหมือนที่เราเห็นน่ะซี มันเป็นที่นอนจริงๆ ไม่สามารถห้อยขาได้ ขึ้นไปนั่งแล้วต้องยกขาเหยียดตรง…ตายละกู นี่จะกึ่งนั่งกึ่งนอนแบบนี้ไปถึง 6-7 ชั่วโมงหรือนี่

ป๋า…ที่นั่งเต็มหมดค่ะ ไม่มีที่นั่งเหลือเลยค่ะ…พนักงานแต๋วคนนั้นยืนยัน….. สามวันมาแล้วต้องวิ่งอ้อมไปทางชัยภูมิ เพราะถนนสายปกติ ขอนแก่น โคราช สระบุรีนั้นแน่นเอียดยาวเป็นร้อยกิโล…แต่วันนี้คงเบาลงแล้ว จะใช้เส้นทางปกติ ไม่ไปทางชัยภูมิแล้ว แต่ก็เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้อีก 1 ชั่วโมงค่ะ… พนักงานแต๋ว อธิบายชัดเจน

แล้วก็เชิญเราขึ้นแท่นบรรทม…

โฮ…. เป็นการนั่งรถชั้นหนึ่งที่ทรมานที่สุด เพราะไม่ทราบมาก่อนว่ามีที่นั่งแบบนี้

ทราบภายหลังว่าเป็นที่นอนสำหรับพนักงานขับรถที่เขาเปลี่ยนกลางทาง เมื่อเปลี่ยนแล้วก็มานอนพัก ช่วงนี้ทำเงิน เอามาขายซะเลย เราไม่รู้เรื่องดันซื้อมาได้…..

พ่อเจ้าประคุณเอ้ย ไม่ได้นอนซักกะนิด กึ่งนั่งกึ่งนอนบิดไปมาอยู่บนนั้นแหละ…จนถึงกรุงเทพฯ… นี่คิดว่าหากใช้เวลาอีกชั่วโมง ผมคงอาละวาดแน่ เพราะบิดไปบิดมามันก็ไม่ลงตัวซักทีน่ะซี ปวดแข้งขาไปหมด…อิอิ โสน้าน่า….

เข็ดจริงๆให้มดแดงกัดซิเอ้า…

(รูปน่ะ ไม่เกี่ยวกับเรื่องนะ เอามาใส่เฉยๆ เดี๋ยวจอมป่วยแซวอีก.. อิอิ)


ตะเกียบ

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ เมษายน 16, 2012 เวลา 13:36 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3662

การท่องไปในโลกกว้างทำให้อยู่ในเงื่อนไขที่เห็นอะไรต่อมิอะไรมากกว่าปกติ แต่มากกว่าร้อยละ 90 ผมว่าได้เห็น แต่ไม่รู้เรื่องรายละเอียด หรือเมื่อผ่านไปก็จบสิ้นความทรงจำนั้นๆไปแล้ว ภาพที่ท่านเห็นนี้ก็เช่นกัน ผมไปทำเรื่องอื่น บังเอิญตรงนั้น บริเวณนั้นเขาทำกิจกรรมเกี่ยวกับไม้นี้เข้า จึงได้แต่ถ่ายรูปมาไม่มีเวลาที่จะซักไซ้รายละเอียด ซึ่งสามารถทำเป็นกรณีศึกษา หรือทำเป็นงานวิจัยน้อยๆเลยก็ได้นะครับ


บางคนเดาไม่ออกว่ารูปนี้มันคืออะไร “ตะเกียบ” ครับ

บางช่วงคนที่บ้านเหนื่อยไม่อยากทำอาหารก็บอกว่าไปซื้อทานเอาบ้างก็ได้ ถือโอกาสพักผ่อนไปด้วย และไปกินอาหารที่แตกต่างไปจากปกติบ้างก็ดีเหมือนกัน ถามว่าไปกินอะไร ผมสารภาพว่าชอบสลัดผักที่ร้าน Green leaf และสลัดเต้าหู้ของร้านฟูจิ ผมว่าเขาทำน้ำสลัดถูกปากผม และใส่งา ใส่เห็ด ผัก กำลังพอดี สิ่งที่มาคู่กันกับสลัดที่ร้านฟูจิ คือ ตะเกียบที่ใส่ในซองกระดาษดูสะอาด ปลอดภัย หากจะใช้ก็เอามาฉีกแยกออกจากกัน และมันไม่มีรอยให้เห็นความไม่สวยงามเลย ผมนั่งชมนวัตกรรมการทำตะเกียบของญี่ปุ่นนี้ ออกแบบเก่ง ไม้ที่มาทำดี และทำได้อย่างไรขณะที่ยังเป็นคู่นั้นแต่ละข้างกลมเท่ากัน แสดงว่าเขามีเครื่องมือทำตะเกียบที่ดีมากๆ เราไม่มีคำถามใดๆเกี่ยวกับความสะอาด ปลอดภัย และความน่าใช้

หลายครั้งผมถามซ้ำๆพนักงานว่าตะเกียบที่ใช้แล้วนี่เอาไปไหนหมด เธอบอกว่าทิ้งหมด…? หนึ่งคนต่อหนึ่งคู่ หนึ่งวันมีการใช้กี่คู่ เฉพาะที่ร้านนี้ ทั่วประเทศไทยมีร้านฟูจิกี่ร้าน ทั่วโลกมีกี่ร้าน จำนวนตะเกียบที่ใช้แต่ละวันนั้นเท่าไหร่…? ที่ใช้แล้วทิ้งไปด้วย…???? จำนวนตะเกียบที่ใช้แล้วทิ้งนี้ 1 วันทำมาจากต้นไม้กี่ต้น เดือนละกี่ต้น ปีละกี่ต้น ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ในกระบวนการผลิต จนพร้อมใช้ แค่มาเขี่ยอาหารเข้าปากแล้วก็ทิ้งไปนี่นะ มันเป็นการกระทำเพื่อสุขภาพที่มีต้นทุนมากมายหรือเปล่า มันเป็นค่านิยมระบบทุนที่แข่งขันกันทำสิ่งที่เหนือกว่า แต่…..


ผมนึกเล่นๆว่า เอ..หากเรามาขอตะเกียบใช้แล้ว ไปทำอะไรต่อดีไหม เช่น ล้างให้สะอาดแล้วให้เด็กต่อเป็นรูปต่างๆ สร้างบ้านเล็กๆ หรือ….. ดัดแปลงเป็นเฟอร์นิเจอร์อะไรได้ไหม หรือ เอาไปทำฟืน ..เปล่าหรอก ก็แค่คิดเท่านั้นเมื่ออิ่มผมก็เดินออกไปกลับบ้าน มื้อต่อไปก็กินข้าวกับน้ำพริกเช่นเดิม….

แต่รูปข้างบนนั้นเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนหนึ่งที่ทำตะเกียบจากไม้ไผ่ กระบวนการทำก็ง่ายๆแบบบ้านเรา ไม่มี ISO ไม่มี อย. ไม่มีการประกันความสะอาดปลอดภัย เครื่องมือทำก็ง่ายๆ วางบนพื้นที่ฝุ่นเต็มไปหมด ไม่มีมาตรฐานความสะอาดใดๆเลย และตะเกียบที่ออกมาจากเครื่องก็กองลงกับพื้นที่มีถุงปุ๋ยกางรับอยู่ แม้ว่าจะรู้ว่าเขาไม่ได้เอาไปใช้ทันที น่าที่จะเอาไปต้ม ลวก ตากแดด หริอบให้แห้งกันเชื้อรา แล้วแพ๊คใส่ถุงพลาสติดส่งขาย แต่ที่บ้านนี้เป็นแหล่งผลิตขั้นต้น

ผมถามว่าไม้ไผ่เอามาจากไหน เขาตอบว่าเอามาจากหมู่บ้านแถวนี้ หรือป่าแถวนี้ หรือห่างออกไป แล้วมันไม่หมดป่าหรือ ผมถามต่อ เขาตอบว่า ต้นไผ่โตเร็ว ปีเดียวก็ขึ้นมาใหม่เต็มไปหมด ก็อาจจะจริง แต่ไม่มีการศึกษาปริมาณที่ตัดเอามาใช้กับอัตราการเกิดขึ้นนั้นพอดีกันไหม หรือเกิดมากกว่า หรือเกิดน้อยกว่า อันจะส่งผลขาดแคลนในอนาคต… ไม่มีการศึกษา

ผมไม่ได้ต่อต้านการทำตะเกียบของชาวบ้าน แต่น่าที่จะมีการพัฒนากระบวนการให้ดีกว่านี้ สะอาดและเป็นมืออาชีพมากกว่านี้ และควรจะมีสถาบันการศึกษาท้องถิ่นลงมาเก็บข้อมูลศึกษาผลกระทบต่างๆด้วย หากทางวิชาการเข้ามาก็น่าที่จะพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนที่ดีได้ ส่งเสริมการปลูกไผ่มากขึ้น ไผ่อะไรที่ทำตะเกียบดีที่สุด วิธีใช้แบบไหนที่ประหยัดไม้ไผ่ หากจะทิ้งตะเกียบ เอาไปทำต่ออะไรได้บ้าง…ฯลฯ

คนทำงานพัฒนาก็เพ้อฝันไปเรื่อยแหละครับ…



Main: 0.066970825195312 sec
Sidebar: 0.030783176422119 sec