สวนป่าพ่อแสน..

6 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ กุมภาพันธ 13, 2010 เวลา 9:21 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2832

จากที่ตั้งอำเภอดงหลวงไปทางทิศตะวันตก จะเป็นเทือกเขาภูพาน ห่างไปประมาณ 3 กม.เศษ พ่อแสนในฐานะเขยของครอบครัวนี้ได้ใช้ชีวิตบนที่ดิน 6 ไร่เศษที่เตียนโล่งเพราะถูกคนรุ่นก่อนหักร้างถางพงปลูกพืชไร่


พ่อแสนผู้มีลักษณะแตกต่างจากไทโซ่คนอื่นๆ นั่งพิจารณาว่า ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านใครต่อใครมุ่งหน้าปลูกมันสำปะหลัง กันเป็นล่ำเป็นสัน แต่ก็ล้มลุกคลุกคลาน เพราะไปพึ่งระบบตลาดที่เกษตรกรชายป่าชายเขาอย่างไทโซ่ไม่มีอำนาจใดๆไปต่อรองราคาเขาได้เลย

พ่อแสนกล่าวว่า …. เอาละสมมุติว่าเขาได้ราคามันสำปะหลังดีทุกปี ก็มีเงินมาก แต่สิ่งที่เห็นคือ ดินมันเสื่อมไปทุกวัน และครอบครัวนั้นก็ไม่มีอะไรกิน ก็เอาเงินจากการขายมันสำปะหลังนั้นไปซื้ออาหาร ผักหญ้ามากิน แล้วมันเรื่องอะไรที่ชาวบ้านอย่างเราต้องไปซื้อพืชผักกิน….


พ่อแสนตัดสินใจคนเดียวเงียบๆชวนภรรยาไปปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่มันสำปะหลังบนที่ดินของพ่อตาที่ได้มา 6 ไร่ จากที่เตียนโล่ง พ่อแสนปลูก ปลูก ปลูก ปลูก ปลูก ปลูก เริ่มจากมะขาม และทุกอย่างที่กินได้ทั้งพืชใหญ่ เล็ก พืชป่า พืชบ้าน ยี่สิบปีผ่านไป จากที่เตียนโล่ง ที่ 6 ไร่ กลายเป็นป่าครอบครัว จะเรียก วนเกษตร หรืออะไรพ่อแสนก็ไม่ว่า แต่ความหมายของมันคือเอาไว้กิน เหลือก็ขายไป ได้เท่าไหร่ ก็เท่านั้น ประหยัดเอา พ่อแสนบอกว่าไม่เคยนับว่ามีต้นไม้กี่ชนิด หากเดาๆเอาก็น่าจะ 90 กว่าชนิด ไม่มีมอเตอร์ไซด์ ไม่มีทีวี ตู้เย็น ไม่มี..ไม่มี…ไม่มี..ที่ใครๆอยากมีครอบครอง..พ่อแสนมีแต่จักรยานเก่าๆคันเดียว…


พ่อแสนคนยิ้มง่าย พูดน้อย แต่ทำเยอะ บอกว่า …. ทำไมคนเราต้องกินอะไรมากมายหลายอย่าง ทำไมไม่กินอาหารอย่างเดียว ตำหรับยาโบราณทำไมต้องเอานี่ผสมนั่น เอานั่นผสมโน่นเป็นยาหม้อใหญ่รักษาโรคนั่นโรคนี่ พืชก็คงเหมือนกันต้องการอาหารหลายๆชนิด ต้องการปุ๋ยที่มีส่วนผสมหลายๆชนิด …ดังนั้นผมพบว่าการปลูกต้นไม้หลายชนิดผสมผสานปนเปกันไปนั้น ใบไม้ที่มันหล่นลงดิน ต่างเป็นปุ๋ยซึ่งกันและกัน ดังนั้นสวนป่าครอบครัวจึงถูกต้องแล้ว ….. ผมสังเกต เมื่อเราปลูกต้นไม้หลายชนิดไประยะหนึ่ง พืชหลายชนิดมันขึ้นมาเอง ไม่ว่านกมันคาบเมล็ดมา สัตว์อื่นๆมันเข้ามาอาศัยมันเอาเมล็ดพืชป่ามาด้วย หรือเมล็ดพืชที่อยู่ในดินเดิมอยู่แล้ว


การค้นพบของพ่อแสนนั้นที่ว่า ….ใบไม้ของพืชนั้นต่างชนิดกันมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ซึ่งต่างก็เป็นอาหารแก่กัน เกื้อกูลกัน… พืชเชิงเดี่ยวจึงไม่อยู่ในความคิดของพ่อแสนเลย…พ่อแสนมีสวนอยู่ 3 แปลง ล้วนเป็นสวนป่าทั้งนั้น ไม่เผาใบไม้…

พ่อแสนพอมีรายได้แก่ครอบครัวจากผลผลิตจากสวนป่าเล็กๆ 6 ไร่นี่เอง เลี้ยงลูก 4 คนมาจนโต แรกๆลูกก็ไม่สนใจงานของพ่อ เหมือนวัยรุ่นทั่วไป ที่ต่างหันหน้าไปในเมือง แต่พ่อแสนได้รับรางวัลโน่นนี่เกือบทุกปี โดยพ่อแสนไม่เคยเสนอตัวไปประกวด มีแต่หน่วยงานเอามาให้

ใครต่อใครเดินทางมาสวนของพ่อ มาสอบถาม มาเรียน…..

ลูกๆเริ่มหันกลับมาช่วยพ่อแล้ว..


แดงทั้งดง(หลวง)..

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ กุมภาพันธ 12, 2010 เวลา 20:43 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2483


ที่ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอดงหลวง ตรงข้ามเป๊ะเลยจริงๆ


เราเพิ่งเห็นภาพนี้ ชัดเจน เปิดกว้าง บริการ ถึงที่


มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งคอยรับผิดชอบขายเสื้อเหล่านี้

ป้ายหาเสียงการแข่งขันลงสมัครเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล ล้วนมาจากพรรคเดียวกันทั้งนั้น

ผมสอบถามชาวบ้าน มีคนหนึ่งเป็นโซ่ เป็นสมาชิกไทบรู แต่ไม่เคยมาประชุมหรือยุ่งเกี่ยวใดๆเลย พอมาลงสมัครเท่านั้นนับญาติขึ้นมาทันที อ้างเป็นสมาชิกไทบรู สารพัดจะอ้าง แต่พี่น้องบอกว่า แม้จะเป็นบรู แต่อย่าหวังว่ากลุ่มไทบรูจะเลือกเพราะ……

ส่วนอีกคนแม้จะไม่ใช่บรู แต่แสดงการปวารณาตัวเพื่อชาวบ้าน และทำให้ดูแล้ว แม้ว่าจะไม่รู้ว่าอนาคตจะเปลี่ยนสีสันไปอีกหรือไม่ แต่วันที่ผ่านๆมาและวันนี้ เขาชนะใจไทบรูไปแล้ว

ทั้งหมด 5 คนมาจากพรรคการเมืองเดียวกันที่เป็นสีเดียวกับเสื้อนี้..

วันที่ 7 มีนาคมรู้ผล การเมืองท้องถิ่นที่บ่งบอกอะไรมากมาย


ความพอเพียงของสังคมดงหลวงโบราณ

7 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ มกราคม 8, 2010 เวลา 11:36 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 11906

สังคมชนเผ่าไทโซ่ หรือบรู ดงหลวงนั้นแบ่งคร่าวๆเป็นสามยุค คือยุคก่อน พ.ศ. 2500 ยุคระหว่าง พ.ศ. 2500-2527 และยุคหลัง 2527 จนถึงปัจจุบัน ที่แบ่งยุคแบบนี้ ก็เพราะว่า ช่วง 2500-2527 นั้น เป็นช่วงที่ดงหลวงร้อนเป็นไฟ เป็นที่ตั้งของฐานปลดปล่อยของพรรคคอมมิวนิสต์ พี่น้องไทยโซ่ นับร้อยนับพันขึ้นไปอยู่บนภูเขากับ พคท. และพากันเดินพาเหรดออกจากป่าเมื่อ พ.ศ. 2527

มีโอกาสศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของไทโซ่ดงหลวงก่อน พ.ศ. 2500 ว่าเป็นอย่างไรบ้าง น่าสนใจครับ น่าจะเป็นตัวแทนสังคมไทยโบราณได้ กรณีหนึ่ง เพราะเราไม่มีโอกาสได้เห็นสิ่งเหล่านี้อีก และเด็กรุ่นใหม่ก็ไม่มีทางนึกออกว่าบรรพบุรุษของเราเคยมีความเป็นอยู่อย่างไรกันมาบ้าง

เนื่องจากสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด และภูมิปัญญาของการสร้างสรรค์พัฒนาการมีชีวิตอยู่รอดนั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามระดับของความฉลาดของมนุษย์ แต่น่าจะมีสัญชาติญาณขั้นพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน และสังคมไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา รวมทั้งไทโซ่ ที่นับถือผีกับพุทธไปพร้อมๆกัน หลักการของพุทธย่อมมีส่วนไม่มากก็น้อยในการนำมาเป็นแนวทางการดำรงชีวิต

หลักการหนึ่งของการดำรงชีวิตของศาสนาพุทธคือการยังชีวิตด้วยปัจจัย 4 อย่างพอดี ไม่เบียดเบียนโลกและตัวเอง ตีความง่ายๆคือหลักปัจจัย 4 แบบพอเพียง


เมื่อศึกษาสังคมโบราณของไทโซ่ดงหลวง(และผมเชื่อว่าที่อื่นๆก็คงคล้ายคลึงกัน)แล้วมันสอดคล้องกับหลักปัจจัย 4 แบบพอเพียง แต่หลักปัจจัย 4 แบบพอเพียงนั้นจะให้สมบูรณ์ต้องมีอีกปัจจัยหนึ่งเข้ามาเชื่อมด้วยคือ วัฒนธรรมชุมชนแบบพึ่งพาอาศัยกัน เป็นทุนทางสังคม เป็นตัวเชื่อมที่สำคัญ และความจริงเป็นปัจจัยที่ 5 ของความพอเพียงด้วยซ้ำไป


หลักการนี้ยังสะท้อนไปถึง หลักความพอเพียงที่ในหลวงท่านพระราชทานลงมาด้วยว่า ทั้งหมดนั้นจะต้องอยู่บนฐานของวัฒนธรรมการพึ่งพาอาศัยกันของคนในชุมชน ของสังคมด้วย มิเช่นนั้นจะเป็นปัจเจกชน ซึ่งสังคมไม่ได้เป็นเช่นนั้น และในชีวิตจริงๆก็ไม่มีใครที่จะพึ่งตัวเองได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ย่อมพึ่งพาอาศัยกันด้วยเพราะเราไม่สามารถมีความสมบูรณ์ตลอดเวลาด้วยปัจจัย 4

ท่านที่นำหลักความพอเพียงไปใช้ได้โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญนี้ด้วย

ความจริงการพึ่งพาอาศัยกันนั้นรวมอยู่ในหลักความพอเพียง แต่มักไม่ได้พูดถึง หรือไม่ได้เน้นกัน หลายท่านไม่ได้พูดถึง เพราะเห็นเป็นประเด็นย่อย แต่จากการเฝ้าสังเกตสังคมชนบทนั้น วัฒนธรรมชุมชนเป็นโครงสร้างหลักด้วยซ้ำไป

ผมจำได้ว่าสมัยเด็กๆ เมื่อพ่อไปทอดแหได้ปลามามาก พ่อก็แบ่งให้เพื่อนบ้านโดยให้เด็กชายบางทรายเดินไปให้ คุณยายนั่น คุณตาคนนี้ เพราะแก่เฒ่าหากินไม่สะดวก

ที่ดงหลวง เมื่อชาวบ้านเดินผ่านแปลงผัก ก็ตะโกนขอผักไปกินกับลาบหน่อยนะ เจ้าของแปลงก็ตะโกนตอบอนุญาตให้เอาไปเถอะ สังคมภาคเหนือจะมีคนโท หรือหม้อดินใส่น้ำตั้งไว้หน้าบ้าน ใครที่เดินผ่านไปมาหิวน้ำก็ตักดื่มกินเอาได้เลย มันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเรา สวยงาม เอื้ออาทรกัน พึ่งพากัน เพราะไม่มีใครที่มีปัจจัยสมบูรณ์ไปตลอดเวลา ยามมีก็มี ยามขาดก็ขาด ก็ได้อาศัยญาติพี่น้องเพื่อนบ้านในชุมชนนั่นแหละช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจ ไม่ได้คิดค่าเป็นเงินเป็นทองแต่อย่างใด

ชาวบ้านจะสร้างบ้าน ก็บอกกล่าวกัน ชายอกสามศอกสี่ศอกก็มาช่วยเหลือกัน ตามความถนัด ไม่ได้รับเหมาเอาเงินทองแต่อย่างใด ความมีน้ำใจ ความมีบุญคุณ ความกตัญญู ช่วยเหลือเอื้ออาทร ทั้งหมดนี้แสดงออกโดย “การให้” ให้วัตถุ ให้แรงงาน ให้อภัย ให้ปัจจัยต่างๆ และให้ใจ คือรากเหง้าของสังคม คือทุนทางสังคม คือแรงเกาะเกี่ยวทางสังคม ที่ทำให้เราสงบ สันติ มานานแสนนาน และเป็นฐานของหลักความพอเพียง เป็นฐานของการสร้างความพอดีของปัจจัย 4 อันมีฐานรากสำคัญมาจากหลักการทางพุทธศาสนา…

ผมเห็นอย่างนี้น่ะครับพี่น้อง..

(ต่อตอน 2)


สวัสดีปีใหม่ลาน..อีก

2 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 30, 2009 เวลา 0:22 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1833

 

สวัสดีปีใหม่ลานปัญญา

ผมชอบรูปนี้..ก็มันชอบอ่ะ..

ให้ความรู้สึก ให้อารมณ์ ให้ความหมาย

ให้สำนึกดีดีครับ..

ภาพนี้อยู่ที่เส้นทางคำชะอี กับบัวขาวครับ


กาแฟ

3 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 29, 2009 เวลา 10:09 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2433


เพื่อนที่ทำงานคนหนึ่งติดกาแฟเย็นจากร้านขายกาแฟพวกนี้มาก ทุกวันหลังมื้อกลางวันแล้วเขาจะต้องหาเครื่องดื่มแบบนี้มาดูด

ผมรึครับ นานๆที ผมติดกาแฟสดที่บ้านมากกว่า อิอิ


ความงามของชนบท

4 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 29, 2009 เวลา 9:09 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2464

คนทำงานกับชนบทย่อมทราบดีว่า หลายเรื่องนั้นไม่ง่ายที่จะไปปรับแก้ให้ได้มาตรฐานแบบคนข้างนอกที่ปฏิบัติกัน เช่น ความสะอาด เวลาเราขึ้นบ้านชาวบ้าน เขาเอาแก้วน้ำมาให้เราดื่มน้ำ หรือเขาเทน้ำใส่แก้วให้เรา หลายคนต้องปฏิเสธพร้อมขอบอกขอบใจยกใหญ่ เบื้องหลังคือดื่มไม่ลง

รวมไปถึง จาน ชาม ช้อน เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ใช้แล้วก็แขวน ห้อยตามราวข้างบ้านเต็มไปหมด ดำปี๋ ยังไม่ได้ซัก ใครที่ไม่คุ้นเคยก็จะหลีกหนี ดีไม่ดีเลิกราไปเลยงานการแบบนี้ แบบรับไม่ได้..

โธ่..สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันทั้งที่อยู่อาศัย งานการ อาชีพ ความเคยชิน โอกาส และการลำดับความสำคัญของงานที่จะทำ..ฯลฯ

ผมจึงคิดเสมอว่า ใน “บางเรื่อง” นั้น อย่าเอามาตรฐานคนนอกไปวัดชนบท แต่เอามาตรฐานชนบทวัดด้วยกันเอง แล้วค่อยๆยกระดับขึ้นมาเถอะ แต่เรื่องนี้ถกเถียงกันได้มากมาย….

อย่างไรก็ตามชนบทหลายแห่งสามารถพัฒนายกระดับให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงเมือง เช่น สังคมชุมชนที่เป็นคริสต์เตียน บาทหลวงท่านไปใช้ชีวิตที่นั่นเป็นสิบๆปีกว่าจะพัฒนาขึ้นมาได้ ท่านเอาชีวิตไปอยู่ด้วย เดินไปหาทุกวัน ปรับไปทีละนิดละหน่อย นานวันก็ได้ แต่พวกผม เข้าๆ ออกๆ ชนบทกับเมือง แค่ลมปากพูดสวยๆงามๆนั้น ชาวบ้านเขาฟังอยู่ แต่ลำดับงานของเขามีสิ่งอื่นสำคัญกว่า…

อย่างไรก็ตาม ทุกที่มีความสวยงามแฝงอยู่เสมอ

โดยเฉพาะน้ำใจ ความเอื้ออาทร การผ่อนผัน ยืดหยุ่น รักษาน้ำใจ ฯลฯที่เราเรียกทุนทางสังคมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเป็นแรงเกาะเกี่ยวให้ชุมชนเป็นชุมชน

ความจริงสังคมเมืองก็เคยมีเหล่านี้มาก่อน แต่มันหดหายไปพร้อมๆกับเทพเจ้าเงินตราเดินทางเข้ามาแทนที่การแลกเปลี่ยนกัน..

ดูค่อนข้างสกปรกข้างนอก แต่น้ำใจงามแบบชนบท อย่างรูปที่เห็นนั่น คือความสวยงามที่ได้จากพื้นที่ที่มีแต่กลิ่นเหงื่อไคล และฝุ่นละออง..ฯลฯ


Tsunami..

1 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 26, 2009 เวลา 1:09 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2518

วันนั้นเป็นวันสุดท้ายของการสัมมนาเรื่องตลาดชุมชน ที่ RDI จัดขึ้นที่โรงแรมกิมเจ็กซิน มุกดาหาร เราจึงเชิญกรรมการตลาดชุมชนทุกคน และข้าราชการจาก 4 จังหวัด ข้ามไปเยี่ยมท่านกงสุลใหญ่ประเทศไทยประจำแขวงสะหวันนะเขต


หลังจากรับฟังท่านกงสุลใหญ่กล่าวถึงระบบการค้าของไทยในแขวงนี้แล้ว ก็มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน หลังจากที่รับประทานอาหารกลางวันเสร็จ ก็พาทีมงานทั้งหมดไปชมตลาดสิงค์โปร์ แล้วก็นั่งเรือข้ามกลับมาฝั่งมุกดาหาร

บ่ายมากแล้วเราส่งทุกคนเดินทางกลับแต่ละจังหวัด แล้วเราก็เข้าสำนักงาน ทันใดนั้นข่าวทางวิทยุก็ประกาศว่า คลื่นยักษ์ถล่มพังงา ภูเก็ต มีคนเสียชีวิตมากมาย….

วันนั้นเป็นวันที่ 26 ธันวาคม 2547 …..

ระลึกถึง Tsunami ด้วยความอาลัยโศกนาถกรรมอันยิ่งใหญ่ครั้งนั้น….

ขอดวงวิญญาณทุกท่านผู้ล่วงลับสู่สุคติเถิด….


ธงไตรรงค์ที่ดงหลวง..

1 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 24, 2009 เวลา 15:43 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2191

ที่กระต๊อบของนรินทร์ ชายหนุ่มชาวโซ่ ที่มีความคิดดีดีมากมายแม้เขาจบเพียง ป 4 อยู่แต่ในป่าเขาอย่างดงหลวง แต่สำนึกของเราต่อความเป็นชาตินั้น ผมเคารพเขายิ่งนัก เขาไปซื้อธงไตรงค์มาแล้วเอามาปักไว้บนหลังคากระต๊อบของเขา..ไม่มีเสียงตะโกนเรียกร้องความเป็นธรรมจากปากของเขา ไม่มีเสียงก่นด่าผู้ปกครอง ไม่มีเสียงโจมตีพี่น้องร่วมชาติ เขาก็แค่ยกธงชาติขึ้นอยู่เหนือหัวของเขา…..


เราพบใครแบบปัจจุบันนั้น บางทีเราก็ต้องชะตาเลย แต่บางคนก็ หมั่นไส้เสียจริงๆ แต่แล้วอีตาคนที่เราหมั่นไส้นั้น เมื่อเรามีเวลาไปเรียนรู้พัฒนาการชีวิตของเขามาจนถึงปัจจุบัน ก็ อ๋อ…. และยอมรับเขามากขึ้น จนมากที่สุด และให้อภัยต่อพฤติกรรมที่เขาเป็นเช่นปัจจุบัน หรือ เข้าใจเหตุผล ที่มาที่ไปของเขามากขึ้น เกิดการยอมรับ อาจเลยไปถึงศรัทธา ทึ่ง

เหมือนพ่อแม่เรา หากเรานั่งลงฟังท่านเล่าพัฒนาการชีวิตให้เราฟังอย่างละเอียด เราก็น้ำตาตกเหมือนกันว่า ท่านฝ่าฟันอุปสรรคมาได้อย่างไร ผ่านขวากหนามมาไม่รู้กว่ากี่ครั้ง รอดภัยพิบัติมาได้อย่างไร ใครบ้างที่พร้อมอุ้มชูพ่อแม่มา ใครที่เอื้ออาทร ผ่อนสั้นยาวให้กับวิกฤติต่างมา …..

การศึกษาพัฒนาการของสิ่งใดๆจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในงานพัฒนาชนบทก็เช่นกัน การทำ PRA เราก็มี Session นี้ ศึกษาเขาให้เข้าใจที่มาที่ไปแล้วเราก็จะเข้าใจความเป็นชุมชนแห่งนั้นๆ ไม่เฉพาะชุมชนนั้นๆ ยังมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ในมุมต่างๆกับชุมชนอื่นๆ ตัวบุคคล สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ สารพัดสิ่งที่ได้เข้าใจ ก็จากการศึกษาพัฒนาการสังคมชุมชนที่เราเรียกว่า Historical profile ส่วนมากก็เอาช่วงเวลา เช่น ปี พ.ศ. เป็นแกนกลาง บันทึกสิ่งสำคัญๆที่เกิดขึ้นมาให้เราเข้าใจ เมื่อเข้าใจก็วิเคราะห์อะไรต่อมิอะไรได้ มากมาย ในฐานะคนนอกก็ย่อมใช้กระบวนการเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเข้าใจชุมชน

สังคมประเทศก็เช่นกัน หากเราไม่ศึกษาพัฒนาการของประเทศ มองแต่ปัจจุบัน เห็นแต่วัตถุ และสิ่งที่สังคมวิ่งตามหา เราก็พลาดพลั้งต่อสำนึกที่มีต่อสังคมประเทศ

กว่าจะมาเป็นชาติได้นั้น บรรพบุรุษของเราสละชีวิตไปมากมาย มหาศาล จนเราสามารถเดินบนแผ่นดินนี้ด้วยความสุข เดินบนความเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษ หลายต่อหลายครั้ง บทเรียนเหล่านั้นเราจดจำแค่เอาไปตอบข้อสอบครูเท่านั้นหรือ

คำถามใหญ่วันนี้คือ ทำไมเราจึงหันมาทำร้ายกันเอง


โซ่..

7 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 23, 2009 เวลา 21:11 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1825

งานสูบน้ำเพื่อการชลประทานห้วยบางทรายที่ผมแบกภาระอยู่นั้นเป็นน้ำหนักที่อยู่บนบ่ามาตลอด เพราะไม่สามารถสร้างการบรรลุผลให้เกษตรกรมาใช้ประโยชน์ได้มากเท่าที่คาดการณ์ เราพยายามมาหลายปี จนอาว์เปลี่ยน(ปาลียน)เปลืองเนื้อเปลืองตัวไปก็มาก

การก้าวออกจากหลักการเดิมจึงเกิดขึ้น จาก contract farming เป็นการทดลองพืชพื้นๆที่ชาวบ้านคุ้นเคยมาก่อนแล้วนั่นคือ มันสำปะหลัง การวางแผนงานจึงเกิดขึ้นกับพี่น้องชาวบรู หรือไทโซ่ 3 คนหนุ่ม และอีก 1 คนสูงอายุ 16 การทดลอง ทั้งชนิดของมันสำปะหลังและ experiment (ไม่ขอลงรายละเอียด)

เมื่อการทดลองสิ้นสุด เราก็เชิญผู้ร่วมการทดลอง และชาวบ้านเป้าหมายมาพูดคุยกันเพื่อเรียนรู้ ซักถามถึงผลที่เกิดขึ้นของการทดลองเป็นอย่างไร เพื่อให้ชาวบ้านที่สนใจเอาไปขยายการผลิตที่ลดต้นทุนแต่เพิ่มผลผลิตมากขึ้น

เราทำงานกับพี่น้องบรูมานานพอสมควร ทราบดีว่า อุปนิสัยของไทโซ่นั้นแตกต่างจากเกษตรกรอื่นๆต่างกรรมต่างวาระแตกต่างกัน

นายต๊อก อายุเป็นเยาวชนตอนปลาย มีครอบครัวแล้ว จบการศึกษา ป 4 เข้าร่วมการทดลองด้วยความสมัครใจ วันที่เราจัดเวทีสรุปบทเรียนนั้นเราเชิญท่านนายอำเภอดงหลวง เจ้าพนักงานพัฒนาที่ดิน และเจ้าพนักงานการเกษตรอำเภอ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นมารับทราบและให้คำแนะนำ และนำผลไปเผยแพร่ต่อไปด้วยเราวางแผนไว้ว่าจะเชิญเกษตรกรทั้ง 4 คนมาเป็นวิทยากร

“เวลาของเรากับชาวบ้านนั้นต่างกัน” เมื่อถึงเวลาต่างทยอยมาแต่ไม่มีทางที่จะตรงกับเวลาตามกำหนดการ พอดีข้าราชการที่เราเชิญมานั้นท่านเข้าใจก็ไม่ได้ตำหนิ แต่อย่างใด

เมื่อถึงเวลาอันสมควร ปรากฏว่า นายต๊อก เชื้อคำฮดเกษตรกรที่เข้าร่วมการทดลองไม่มาปรากฏตัว ยุ่งละหว่า น้องเรารีบขับรถวิ่งหาตัวกันใหญ่ นายต๊อกไปไหนนนนนนน…..

สักพักน้องเอาตัวนายต๊อกมาจนได้ แกยิ้มแหยๆ….

ผม : ถามว่าหายไปไหน ทำไมไม่มาร่วมสรุปบทเรียน

ต๊อก: ผมกลัวขึ้นเวที ผมไม่อยากขึ้นเวที ผมพูดไม่เก่ง..

ผม: ……?!?!?!……

การจัดเวทีสนทนาจึงดัดแปลงให้เรียบง่ายที่สุด เป็นการนั่งล้อมวง มีผมเป็นผู้กระตุ้น ซักถามประเด็นต่างๆ….

ข้าราชการที่มาร่วมงานต่างชื่นชมว่าเป็นการสรุปบทเรียนที่น่าสนใจ แม้เขาเองก็ได้เรียนรู้อีกหลายอย่างครับ…

หลังสิ้นสุดงานผมถามน้องว่า ไปหานายต๊อกได้ที่ไหน เขาตอบว่า โน้น…ชี้ไปที่ตีนภูเขา นายต๊อกแอบไปขุดมันสำปะหลังที่ตีนเขานั้น…

การทำงานกับชาวบ้านนั้น จะเอามาตรฐานข้างนอกไปใช้..ในบางพื้นที่นั้นจงใตร่ตรองให้หนัก


เมืองไทยใน AM

10 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 23, 2009 เวลา 13:55 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1713

เมื่อวานไปประสานงานกับ รพ.ดงหลวง เรื่องการขอคำแนะนำเอาผักปลอดสารพิษที่ชาวบ้านปลูกมาส่งที่ รพ. (รายละเอียดจะเขียนบันทึก)

ระหว่างทางกลับมุกดาหาร เปิดวิทยุ am พบคลื่นจากประเทศจีน พูดด้วยภาษาลาว กล่าวถึงเรื่องราวในเมืองไทยกรณีอดีตนายกกับท่านนายกปัจจุบัน สรุปว่า หากจะมีการเจรจาก็ต่อเมื่ออดีตนายกต้องยอมรับกติกาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้ว คือมาติดคุกก่อนแล้วค่อยเจรจากัน..



Main: 0.060914039611816 sec
Sidebar: 0.096893072128296 sec