ความงามของชนบท

โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 29, 2009 เวลา 9:09 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2458

คนทำงานกับชนบทย่อมทราบดีว่า หลายเรื่องนั้นไม่ง่ายที่จะไปปรับแก้ให้ได้มาตรฐานแบบคนข้างนอกที่ปฏิบัติกัน เช่น ความสะอาด เวลาเราขึ้นบ้านชาวบ้าน เขาเอาแก้วน้ำมาให้เราดื่มน้ำ หรือเขาเทน้ำใส่แก้วให้เรา หลายคนต้องปฏิเสธพร้อมขอบอกขอบใจยกใหญ่ เบื้องหลังคือดื่มไม่ลง

รวมไปถึง จาน ชาม ช้อน เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ใช้แล้วก็แขวน ห้อยตามราวข้างบ้านเต็มไปหมด ดำปี๋ ยังไม่ได้ซัก ใครที่ไม่คุ้นเคยก็จะหลีกหนี ดีไม่ดีเลิกราไปเลยงานการแบบนี้ แบบรับไม่ได้..

โธ่..สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันทั้งที่อยู่อาศัย งานการ อาชีพ ความเคยชิน โอกาส และการลำดับความสำคัญของงานที่จะทำ..ฯลฯ

ผมจึงคิดเสมอว่า ใน “บางเรื่อง” นั้น อย่าเอามาตรฐานคนนอกไปวัดชนบท แต่เอามาตรฐานชนบทวัดด้วยกันเอง แล้วค่อยๆยกระดับขึ้นมาเถอะ แต่เรื่องนี้ถกเถียงกันได้มากมาย….

อย่างไรก็ตามชนบทหลายแห่งสามารถพัฒนายกระดับให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงเมือง เช่น สังคมชุมชนที่เป็นคริสต์เตียน บาทหลวงท่านไปใช้ชีวิตที่นั่นเป็นสิบๆปีกว่าจะพัฒนาขึ้นมาได้ ท่านเอาชีวิตไปอยู่ด้วย เดินไปหาทุกวัน ปรับไปทีละนิดละหน่อย นานวันก็ได้ แต่พวกผม เข้าๆ ออกๆ ชนบทกับเมือง แค่ลมปากพูดสวยๆงามๆนั้น ชาวบ้านเขาฟังอยู่ แต่ลำดับงานของเขามีสิ่งอื่นสำคัญกว่า…

อย่างไรก็ตาม ทุกที่มีความสวยงามแฝงอยู่เสมอ

โดยเฉพาะน้ำใจ ความเอื้ออาทร การผ่อนผัน ยืดหยุ่น รักษาน้ำใจ ฯลฯที่เราเรียกทุนทางสังคมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเป็นแรงเกาะเกี่ยวให้ชุมชนเป็นชุมชน

ความจริงสังคมเมืองก็เคยมีเหล่านี้มาก่อน แต่มันหดหายไปพร้อมๆกับเทพเจ้าเงินตราเดินทางเข้ามาแทนที่การแลกเปลี่ยนกัน..

ดูค่อนข้างสกปรกข้างนอก แต่น้ำใจงามแบบชนบท อย่างรูปที่เห็นนั่น คือความสวยงามที่ได้จากพื้นที่ที่มีแต่กลิ่นเหงื่อไคล และฝุ่นละออง..ฯลฯ

« « Prev : ช่วงเวลาที่ดำมืดของดงหลวง….

Next : กาแฟ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 เวลา 9:29

    “เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ใช้แล้วแขวน ห้อยตามราวข้างบ้านเต็มไปหมด ดำปี๋ยังไม่ได้ซัก” ถ้าเข้าใจความคิดเกี่ยวกับยุงได้ ก็อาจผูกโยงให้ไปสู่การปรับปรุงให้ดูดีได้นะคะพี่ 

    มีความรู้บอกมาว่า เสื้อผ้าใช้แล้วที่มีกลิ่นมีคาร์บอนไดออกไซด์สูง เป็นที่อยู่ของยุงค่ะ

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 เวลา 9:40

    โอ้….ดีมาก ครับ จะเอาไปบอกชาวบ้านครับ

    ขอบคุณมาก

  • #3 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 เวลา 11:41

    มาเสริมหมอเจ้ค่ะ ถุงเท้ากลิ่นเน่าๆ เขามีไว้ดักยุงค่ะ เรียกยุงให้เข้ากล่องดักยุงได้ง่ายดาย ใช้ซุกซ่อนในที่มืดๆ เช้ามาเอากล่องดักยุงไปผึ่งแดดยุงก็เดสมอเล่ย์แล้วค่ะ เป็นโครงงานเด็กๆที่กำจัดยุงด้วยองค์ความรู้ที่จัดได้ลงตัว ไม่ต้องเสียเงินซื้อยากำกัดยุงที่มีอะไแถมมาเยอะแยะไปค่ะ

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 เวลา 13:54

    จริงด้วยครับพี่หลิน ผมเคยใช้ประโยชน์ตามที่พี่หลินกล่าวครับ ลืมไปได้อย่างไรนี่ แก่แล้ว..อิอิ

    จริงๆ ผมพยายามจะหมายถึงว่า อะไรที่จำเป็นแก่ชีวิตนั้นหากฝืนชนบทก็ต้องทำเพื่อปรับเขา เช่นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ไข้หวัดนก โรคซาร์ ไข้หวัดใหญ่สองพันเก้า อน่างนี้ไม่ได้ต้องเคร่งครัดเพราะเป็นเรื่องเป็นเรื่องตาย แต่เรื่องอื่นๆยั้ยคงต้องค่อยเป็นค่อยไปครับ ชาวบ้านชอบที่จะเรียนรู้ด้วยของจริง ที่เรามักเรียกว่า เขาเป็นพวก practical ซึ่งเราพบบ่อย การส่งเสริมต่างๆจึงต้องสร้างผู้สำเร็จกิจกรรมนั้นๆขึ้นมาในชุมชนที่ปัจจุบันมักเรียก ศูนย์เรียนรู้ แปลงเรียนรู้ แล้วแต่หน่วยงานจะตั้งชื่อขึ้นมา  แต่ขนาดนั้น เกษตรกรยังไม่สนใจเวลาจัดหลักสูตรเรียนรู้กึ่งทางการขึ้นมา แต่แอบไปเรียนรู้เอง เราก็พบบ่อยๆครับ  หากเราเข้าใจเขา โดยเข้าถึงก่อน แล้วมาิออกแบบหลักสูตรก็ย่อมหวังผมได้มากกว่าจะเอาหลักสูตรแบบที่เคยจัดกัน แล้วรายงานว่าทำแล้ว  อิอิ มันแค่ได้ทำน่ะครับ ไม่ใช่ใครที่ไหน สปก.นี่แหละครับ

    คงรู้ๆกันอยู่น่ะครับพี่ครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.040403127670288 sec
Sidebar: 0.042681932449341 sec