เมืองไทยใน AM

โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 23, 2009 เวลา 13:55 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1697

เมื่อวานไปประสานงานกับ รพ.ดงหลวง เรื่องการขอคำแนะนำเอาผักปลอดสารพิษที่ชาวบ้านปลูกมาส่งที่ รพ. (รายละเอียดจะเขียนบันทึก)

ระหว่างทางกลับมุกดาหาร เปิดวิทยุ am พบคลื่นจากประเทศจีน พูดด้วยภาษาลาว กล่าวถึงเรื่องราวในเมืองไทยกรณีอดีตนายกกับท่านนายกปัจจุบัน สรุปว่า หากจะมีการเจรจาก็ต่อเมื่ออดีตนายกต้องยอมรับกติกาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้ว คือมาติดคุกก่อนแล้วค่อยเจรจากัน..

« « Prev : น้ำคลอง สารส้ม คลอรีน

Next : โซ่.. » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 เวลา 18:10

    สนใจรายละเอียดของผักที่ใช้ของรพ.ดงหลวงค่ะ เพราะรพ.ชุมชนกำลังซื้ออาจจะไม่มากเท่ารพ.ศูนย์ และสนใจว่าชาวบ้านดงหลวงปลูกอะไรกันบ้าง มีปริมาณเท่าไร สามารถผลิตได้สม่ำเสมอหรือไม่ 

    ปริมาณและชนิดที่ตลาดต้องการเป็นเรื่องสำคัญมากเลยค่ะพี่บู๊ด อย่างสำรวจตลาดดงหลวงดูว่าแม่ค้าเอาผักชนิดไหนมาขายบ้าง รับมาจากไหน  ราคาเท่าไร ใช้วันละเท่าไร ถ้ามีร้านค้า / รร.ด้วยก็เรี่ยมค่ะ แล้วสุดท้ายค่อยเจรจาเมื่อเราประมาณราคากลางที่เราอยู่ได้เค้าอยู่ได้แล้ว เช่นสมมุติว่าถ้าเราส่งถั่วงอกปลอดสารให้ในราคาเท่านี้ ๆ เค้ามีความเห็นอย่างไร (ถั่วงอกร้านก๋วยเตี๋ยวใช้เยอะ อิอิอิ)

    เมื่อได้ผลการสำรวจแล้วนำมาวางแผนการผลิตอีกทีเพื่อให้ต่อเนื่องตามปริมาณที่ต้องการ  อาจไม่ต้องปลูกทั้งหมดก็ได้น่ะค่ะพี่บู๊ด แต่ปลูกที่ขายได้ ตลาดต้องการ โดยมีผลผลิตป้อนตลาดได้สม่ำเสมอในคุณภาพที่คงที่ อย่างคนดงหลวงกินเผ็ด แล้วต้องเอาพรริกมาจากจังหวัดอื่น ถ้าเราปลูกพริกสดส่งให้ล่ะจะดีมั้ยอะไรทำนองนี้น่ะค่ะ ร้านส้มตำ ร้านทำแจ่วบอง ก็อยู่ในลิสต์เราอย่างเงี้ยะถึงจะคุ้ม

    พรุ่งนี้จะส่งซีดีอาหารปลอดภัยของรพ.ไปให้นะคะ

  • #2 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 เวลา 19:18

    วนเข้ามาเพื่อบอกว่าเกษตรกรไทย ไม่่ได้ขาดเทคนิคมากมายหรอกเนาะคะพี่บู๊ด แต่ขาดการวางแผนต่างหาก

  • #3 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 เวลา 19:20

    ขอมั่งๆซิซีดีนะ

    ที่จริงที่พี่บู๊ดไปคุยกับร.พ.ดงหลวงก็ดีนะคะ จะได้ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปในระดับปฏิบัติเพื่อให้ชาวบ้านเขาปรับวิถีของเขาให้เข้ากัน  แล้วค่อยขยายตามความเป็นไปได้ว่าเจาะตลาดของผักอะไรที่ไหนต่อไปจึงลงตัวกับพื้นที่ผลิตอย่างที่น้องเบิร์ดให้ความเห็น  ถือซะว่าเป็นการสอนวิีชาวางแผนและบริหารจัดการให้ชาวบ้านทีละขั้นๆ เมื่อเขาเข้มแข็งแล้วเขาจะมองออกเองว่าเขาควรทำอย่างไรจึงลงตัว

    ส่วนเรื่องของตลาดที่รองรับกับความถนัดของการผลิตถ้ามันไปด้วยกันได้จะดีมากๆ การเดินตลาดสำรวจอย่างที่น้องเบิร์ดว่านั้นก็ดีค่ะ เพราะจะได้มองเห็นความเป็นไปได้ที่ลงตัวของชาวบ้านในฐานะผู้ผลิตได้มากมุมขึ้น

    ไม่รู้พี่บู๊ดไปคุยกับโรงครัวร.พ. หรือประเมินขนาดกำลังซื้อของเจ้าหน้าที่ร.พ. เนอะค่ะ  ไหนๆก็เข้าไปในร.พ.แล้ว พี่บู๊ดอย่าลืมค้นหากลุ่มผู้ซื้อใน  ร.พ.ด้วยค่ะพี่  ถ้าสินค้าพี่ติดตลาด ผู้ซื้อหลักกลุ่มนี้จะเป็นฐานสร้างรายได้ประจำขั้นต่ำให้ได้นะคะ  ที่ร.พ.ของน้อง เจ้าหน้าที่เขาปลูกผักมาแลกขายกัน ไม่เคยมีสินค้าเหลือเลยค่ะ  เขาใช้ระบบขายตรงค่ะ

    อย่างที่น้องโสทรเขาทำเขาก็ใช้ตลาดผู้ซื้อขาประจำในร.พ.รองรับไปด้วย แล้วเติมส่วนขยายตลาดของตัวเองอีกตามความสามารถที่จะผลิตเพิ่มได้ น้องโสทรเขาขายไปเรียนไป ตลาดไหนต้องการอะไร แล้วกลับมาดูตัวเองอยากปลูกอะไรและปลูกอะไรได้บ้าง แล้วก็เริ่มเลย  ทำไปเรียนรู้ไปค่ะ

    สาธารณสุขอำเภอเขามีผู้ดูแลงานอาหารปลอดภัยนะพี่บู๊ด ชวนให้เข้าไปคุยหาข้อมูลเรื่องเส้นทางของผักที่เขาสุ่มมาตรวจสารเคมีตามระบบกระทรวงฯค่ะ เขาน่าจะพอรู้ว่าผักไหนมีปัญหาบ้าง นั่นก็เป็นช่องทางอีกทางหนึ่งที่จะได้ข้อมูลมาชั่งใจ จะเดินไปสู่เส้นทางไหนดี ตลาดเล็ก ตลาดใหญ่ ตลาดข้ามจังหวัด

    ที่แน่นอนนะพี่ ผงนัวนะเดินหน้าระยะยาวได้เลยค่ะ มีตลาดข้ามจังหวัดแน่ๆ ถ้าจะทำตลาดใหญ่น้องมองว่าก้าวไปถึงระดับโอท็อปได้นะคะ

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 เวลา 21:00

    ขอบคุณมากทั้งสองท่าน น้องเบิร์ด ผู้เป็นเจ้าแม่เรื่องนี้  อิอิ ที่ รพ.ดงหลวง นางพยาบาลเวชปฏิบัติ (ตัวกลมมากกว่าพี่อีก แต่น่ารักมาก) ยังรู้จักเรื่องนี้ว่าที่ รพ.เชียงรายเขาทำมานานแล้ว

    ความจริงเรื่องนี้คิดมานานแล้ว เพราะเคยมีประสบการณ์ตอนทำงานที่ขอนแก่น ร่วมกับ NGO และ PDA ของท่านมีชัย วีรไวทยะ ทำการผลิตพืชผัก แล้วไปเปิดตลาดขายทุกวันศุกร์ที่ รพ.ศูนย์ขอนแก่น ทำมาหลายปี  ตอนหลังพี่บ้ายไปทำงานที่อื่น ไม่ทราบว่ากิจกรรมนี้หายไปอย่างไร หรือปรับไปอย่างไร ข้าราชการก็โยกย้ายไปจนหมด มี ผอ.ท่านใหม่ น่าสนใจเพราะเป็นนักกิจกรรมเก่า

    ที่ผ่านมาเราทุ่มเวลาไปที่ตลาดชุมชน เรื่องเป็นอย่างนี้ โครงการที่พี่ทำทีกิจกรรมหลักหลายด้าน แต่ละด้านก็มีกิจกรรมย่อยๆมากมาย งานจึงล้นมือ แต่มีงานหนึ่งคื อการขุดสระน้ำประจำไร่นาให้แก่เกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก  เมื่อขุดสระแล้วก็มีกิจกรรมส่งเสริมให้ปลูกพืชผัก  ลุงเปลี่ยนน่ะแหละวิ่งส่งเสริมกันจนเบาหวานขึ้น อิอิ  พี่ก็มาคิดว่า เอ  หากชาวบ้านทำหารผลิตมากๆ เกินความต้องการในครัวเรือน ก็น่าจะขาย และเป้าหมายแรกก็คือขายกันเองในหมู่บ้านเพราะเราสำรวจง่ายๆพบว่าชาวบ้านสั่งผักเข้ามาจากต่างถิ่น…?

    พอดี Team Leader คนใหม่เข้ามาก็ปรึกษา ท่านก็รับลูกทันที จึงว่าจ้าง RDI มาทำงานด้านนี้โดยตั้งทีมงานมาศึกษา marketing flow ว่าที่ดงหลวงนั้น อาหารทุกชนิดในชุมชนเป้าหมายนั้นมาจากไหน เท่าไหร่ อย่างไร ราคาเท่าไหร่ อะไรเป็นสินค้าออก สินค้า้เข้า..ฯลฯ หากจะส่งเสริมให้มีตลาดเกิดขึ้นในชุมชนเป็นไปได้ไหม 

    เอาผู้นำชาวบ้านไปดูงานตลาดชุมชนที่ขอนแก่นที่ NGO ทำไว้ดีแล้ว เลยไปดูงานตลาดอิ่มบุญที่เชียงใหม่ เท่านั้นเอง แต่ละจังหวัดก็เกิดตลาดชุมชนขึ้น จนถึงปัจจุบัน เป็นการส่งเสริมให้เงินหมุนเวียนในชุมชน และสร้างหลักการว่า อย่าเอาสินค้าไม่มีประโยชน์จากข้างนอกเข้ามาในชุมชน เช่นผงชูรส และอื่นๆ ตลาดก็ล้มลุกคลุกคลานตามเงื่อนไขแต่ละชุมชน จนมาถึงวันนี้ 5 ปีแล้ว ตลาดปรับตัวดีมากแล้ว เราก็ขยับไปอีกขั้นคือ ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย ผักปลอดสารพิษ โดยเอามาตรฐาน GAP เข้ามา เพิ่มเริ่มก้าวมาจุดนี้ครับ และมีเกษตรกรรับลูก (เมื่อคืนพี่ก็ไปประชุมจนถึง 4 ทุ่ม แล้วขับรถกลับมุกดาหารอีกเกือบร้อยกิโลเมตร)

    เราคิดต่อว่า หากเกษตรกรผลิตพืชผักตามมาตรฐาน GAP ได้แล้ว ตลาดชุมใชนนั้นคงไม่สามารถรองรับการผลิตเพียงพอ หากเราขยายไปถึง รพ.ล่ะ  ว่าแล้วก็ใช้ประสบการณ์เก่า เดินไปที่สาธารณสุขจังหวัด น้องๆจาก มช.ก็มาเป็นใหญ่เป็นโตที่นี่ ขอปรึกษาหารือ เรื่องนี้ก็ได้รับคำแนะนำเบื้องต้นว่าสนใจ และน่าจะคุยกันในรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่โดยตรง และกำลังจะก้าวไปคุยกับ รพ.ศูนย์มุกดาหาร เพราะ ผอ.เป็นรุ่นพี่ แต่ท่านยุ่งยังไม่ได้พบ  จึงไปหา รพ.ดงหลวง

    แค่ก้าวเข้าไป นางพยาบาลเวชปฏิบัติทำหน้าที่รับแขกก็ถามมาทำอะไรคะ คุยไปคุยมา เขาก็สนใจและบอกดีจังเลย เลยจูงมือเราไปพบ ผอ. โอย…เด้กกกกเด็ก เหมือนกำลังเรียนอยู่ และออกจะตุ้งติ้งนิดๆ (ขออภัยนะครับ) ท่านผอ.ให้การต้อนรับดี และแนะนำว่า เอางี้ ลองผลิตออกมาก่อน แล้วเอามาวางขายใน รพ. เชื่อว่าจะขายได้หมด แล้วค่อยๆขยับ และทำแผนร่วมกันในรายละเอียดต่อไป ซึ่งก็เข้าใจ ….

    ยังเป็นการ สำรวจตลาด และความสนใจครับ ดูท่าทางเป็นไปได้ แต่คงค่อยทำค่อยไปอย่างที่หมอเจ๊กล่าว  ความจริงพี่มีแผนในใจแล้วว่า อยากจะเอาเมนูของฝ่ายโภชนาการมาว่า แต่ละเดือนต้องการพืชผักอะไรบ้าง และมีอะไรบ้างที่เราส่งเสริมชาวบ้านทำได้ บ้าง อะไรทำไม่ได้ เรื่องการผลิตนั้นไม่มีปัญหาว่าเราสามารถวางแผนการผลิตได้ ให้สามารถเก็บเกี่ยวตามต้องการ ไม่น่าจะมีปัญหามากนัก  แต่อย่าเพิ่งมั่นใจเพราะเรารู้ว่าชาวบ้านยังไม่มีประสบการณ์การผลิต เรามีวิชาการความรู้ เรามีประสบการณ์ที่อื่น แต่ีค่อยทำค่อยไปดีกว่า

    อย่างไรก็ตามเราเอาตลาดชุมชนเป็นตัวเริ่มต้น เพราะมีกลุ่มผู้ผลิตอยู่แล้ว และเอามาตรฐาน GAP เข้ามาแล้ว หาก อีก สามสี่เดือนต่อไปนี้ไม่มีปัญหา แล้วประเมินว่าไปได้ ก็จะขยายการผลิตออกไป และจะก้าวไปที่ รพ.แน่นอนครับ

    พี่ต้องออกตัวว่าต้องขอปรึกษาหารือทั้งสองท่านนะครับ  ดงหลวงตอนนี้มีโอกาส เพราะนายอำเภอเป็นรุ่นน้องที่เป็นนักพัฒนามาก่อน ผู้ว่าก็เป็นรุ่นน้องที่เอาเต็มที่ เหลือแต่ว่า เรากับชาวบ้านจะก้าวไปได้สักแค่ไหน ราชการเปิดกว้างให้แล้วครับ….น้องเบิร์ด น้องหมอเจ๊ครับ

  • #5 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 เวลา 21:04

    เรื่อง ผงนัว กำลังคุยกันมากขึ้น เพราะต้องมีการเตรียมตัวค่อนข้างมาก เพราะใบไม้ที่เอามาประกอบหลายชนิดเป็นเฉพาะฤดูกาล เช่น ผักหวานป่า มีเฉพาะหน้าแล้งเท่านั้นเป็นต้น ขอบคุณครับที่สนับสนุน

    อ้อ น้องพยาบาลตัวกลมๆที่ รพ.ดงหลวงนั้นเป็นแฟน G2K ด้วย เลยแนะนำให้เข้ามาที่ ลานเพิ่มขึ้นอีก แต่เธอไม่ได้เขียน แค่เข้าไปอ่านครับ

  • #6 ป้าจุ๋ม ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 เวลา 21:13
    เห็นด้วยกับน้องเบิร์ดค่ะ เกษตรกรไทยเก่ง ทำได้ เทคนิคพอมี จะให้ปลูกอะไรทำได้หมดแต่ทำแล้วหาตลาดไม่ได้ก็แย่เลย… แต่มีอย่างคือต้องทำจริงจังสม่ำเสมอให้ได้…ถ้าทำๆหยุดๆผู้บริโภคก็แย่ เช่นร้านอาหารหรือโรงพยาบาลเป็นต้นที่ต้องใช้ปริมาณมากทุกวัน…ความจริงเรื่องนี้องค์กรของรัฐควรเข้าไปให้ความช่วยเหลือในการวางแผนการผลิต การจำหน่ายคือการตลาดด้วยน่าจะไปรอด ความจริงเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ถูกทางด้วย ช่วยให้เขาสู้…สู้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่งอมืองอเท้ารอรับแต่ความช่วยเหลือหรือคอยรับแต่ของแจกของฟรี เลยจะเป็นง่อยกันหมดโดยเฉพาะง่อยทางความคิดแล้วประเทศเราจะพัฒนาอย่างไรได้…
  • #7 ป้าจุ๋ม ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 เวลา 21:22

    -มัวแต่ห่วงเกษตรกรเลยลืมโหวดว่าคนทำผิดก็ต้องติดคุกก่อนซิค่ะ
    -ส่วนเรื่องผงนัวหากใช้ผักปลอดสารที่ปลูกเองหรือผักจากธรรมชาติก็น่าจะปลอดภัยและมีประโยชน์ดีค่ะเพราะใช้ผักหลายชนิดมากน่าจะมีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลายและครบถ้วน  แต่หากใช้ผักนำเข้าหลายชนิดที่อาจมีสารพิษติดมาหรือแอบใส่ผงชูรสเข้าไป(คนต่างจังหวัดชอบใช้ค่ะ)ก็ไม่แน่ใจว่าผงนัวนั้นจะเป็นอย่างไร? ก็เพียงให้ข้อควรระวังไว้นิดนึงค่ะ

  • #8 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 เวลา 22:09

    ขอบคุณป้าจุ๋มที่คิดถึงครับ ความจริงมีตัวอย่างเรื่องการผลิตพืชผักกับโรงพยาบาลหลายแห่ง ที่มหาสารคามซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งของโครงการที่ผมทำอยู่มีโครงการตลาดสีเขียว จัด โซนพืชผักปลอดสารพิษ กับพืชผักที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ ฯลฯ เพียงแต่ว่าเกษตรกรแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน บางแห่งทำกิจกรรมนี้ไปโลดเลย แต่กิจกรรมเดียวกันไปทำอีกแห่งหนึ่ง ฝืดจริงๆครับ นี่แหละที่ผมว่า ทำงานพัฒนานี่เหมือนเข็นครกขึ้นภูเขาครับป้าจุ๋ม

    ผงนัวนั้น การทำขึ้นมาก็เพื่อหลีกเลี่ยงผงชูรสของกลุ่มอินแปง  แล้วขยายเข้ามาที่ดงหลวง ซึ่งเป็นแหล่งผักหวานป่าและพืชผักธรรมชาติอีกหลายชนิด ครับป้าจุ๋ม

  • #9 ป้าจุ๋ม ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 เวลา 0:55

    -ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้นักพัฒนาทั้งหลายค่ะ ติดตามงานคุณบางทรายมาเรื่อยๆค่ะ ยอมรับจริงๆว่าเป็นผู้มีอุดมการณ์สูงและสู้ๆ ป้าจุ๋มเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะกับการใช้คำพูดว่าเหมือนเข็ญครกขึ้นภูเขา เห็นภาพเลยค่ะ ต้องยอมรับว่าคนบางกลุ่ม(หรืออาจจะหลายๆกลุ่ม…อิอิ)ไม่ยอมพัฒนาค่ะ ที่ครูบาฯเรียกว่าพวกตาใส ไม่ยอมเรียนรู้ ไม่ยอมรับรู้ รอรับแจกเมื่อยามเดือดร้อน รัฐก็แจกๆ อุ้มๆ(กลัวเสียคะแนน) จนง่อยไปหมด…บ่นอีกแล้ว
    -เรื่องผงนัวนี่ก็เข้าใจค่ะ ถ้าขนานแท้คือเพื่อหลีกเลี่ยงผงชูรส และยอมรับว่าหากใช้ผักพื้นบ้านดังที่กล่าวมานั้นจะมีคุณค่าทางโภชนาการด้วย แล้วก็อร่อยและปลอดภัย อยากจะลองทำเองบ้างเหมือนกันค่ะ(แต่ต้องไปเรียนวิธีทำก่อนค่ะ)  ส่วนที่cautionมานิดนึงนั้นคือเกรงว่ามีกลุ่มที่นำมาทำในเชิงการค้า(ที่งกๆและขาดคุณธรรม) ต้องยอมรับว่ามีบ้าง อาจไม่ใช่ของดีจริง หากทำเองก็สนับสนุนค่ะ
    -คิดถึงเช่นกันค่ะและฝากความระลึกถึงคนข้างกายที่น่ารักด้วย ซึ่งคงทำงานหนักไม่แพ้กัน ก็ขอส่งกำลังใจมาช่วยก็แล้วกันค่ะ

  • #10 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 เวลา 9:22

    ขอบพระคุณครับป้าจุ๋ม  โดยศักยภาพพื้นที่มีวัตถุดิบเพียงพอ แต่อาจต้องใช้เวลารวบรวมครับ ตัวชาวบ้านเองก้ผ่านการอบรมมาแล้ว แต่ต้องฟื้นฟูกัน สิ่งที่เราต้องเข้าไปช่วยคือ ความสอาด การบรรจุหีบห่อ การตลาด ป๊าดดดดดด นักพัฒนานี่ทำหลายด้านจริงๆ ไม่เคยคิดว่าจะต้องรอบรู้เรื่องเหล่านี้ แต่สนุกดีครับป้าจุ๋ม


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.13401412963867 sec
Sidebar: 0.066414833068848 sec