ข้าหลวงกับดงหลวง
อ่าน: 2372
ข้าหลวงในวัง และนายทหารระดับสูงเดินทางเข้าไปดูงานปราชญ์ดงหลวงวันนี้
พ่อชาดี พ่อแสน และผู้นำหลักของเรา เช่น พ่อหวัง และผู้นำรุ่นสองคือ สีวร
วัง..มีพระราชดำริจะศึกษาความสำเร็จของเกษตรกรในพื้นที่ไปเป็นตัวอย่างแก่หมู่บ้านในชนบทอื่นๆ
ท่านข้าหลวง..ติดต่อมาแบบไม่เป็นทางการ เพราะไม่ต้องการให้ข้าราชการในจังหวัด พื้นที่ทราบ ต้องการมาแบบส่วนตัวเพราะต้องการพบประชาชนจริงๆ เรียนรู้จริงๆ….
บังเอิญเหลือเกินที่วันอาทิตย์ผมมีนัดกับผู้นำเครือข่ายไทบรู ซึ่งปกติอยู่กับครอบครัวที่ขอนแก่น ขณะที่ประชุมกับชาวบ้าน ดร.วีระชัยฯ ท่านรองเลขาฯ สปก.โทรเข้ามือถือว่า พี่บู๊ดอยู่ไหน ผมบอกว่ากำลังประชุมกับผู้นำไทบรู ท่านบอกว่าดีเลย รอรับคณะข้าหลวง..จะมาดูงาน เดี๋ยวจะมาถึง และมาแบบส่วนตัวจริงๆไม่แจ้งอำเภอ จังหวัด ตำรวจ ทหาร ไม่ต้องทั้งสิ้น….
คณะนี้ท่านผ่านการดูงานปราชญ์ดังๆมาทั่วประเทศแล้ว เมื่อมาพบ พ่อชาดี พ่อแสน พ่อหวังก็ทึ่ง..และทึ่งมากก็คือ การขยายการปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นภายในชุมชนเอง แต่ที่อื่นๆนั้น เช่น ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิมนั้น ท่านดังทะลุฟ้า คนทั่วประเทศไปดูงานท่าน และเอาแบบท่านไปปฏิบัติ แต่รอบๆบ้านท่านไม่มีใครทำตาม.. แต่ที่ดงหลวงนี่แปลก เดินไปไหนก็พบป่าหัวไร่ปลายนา ป่าครอบครัว เกษตรผสมผสาน ปลูกต้นไม้กันรกไปหมด….
คณะของท่านข้าหลวงถ่ายทำวีดีโอเอาไปถวายวัง.. ตลอดเวลาเลยครับ
ท่านสั่งให้ผมส่งข้อมูลเชิงละเอียดอีกหลายรายการด่วน…..
เป็นปลื้มที่ท่านชมเชย..
แต่ทั้งหมดเพราะพี่น้องไทบรูเท่านั้น เราเป็นเพียงผู้อยู่เบื้องหลัง…
Next : เรื่องของมัน.. พัฒนาการ » »
7 ความคิดเห็น
โห เยี่ยมมากเลยค่ะพี่บู๊ด ดีใจด้วยนะคะ …พ่อ ๆ ทั้งหลายรู้สึกจั๋งไดพ่องน้อ เราีมีเว้าจั๊กหน่อยบ่จ้ะ
พ่อ พ่อเขาดีใจกันใหญ่เลย ทางคณะข้าหลวง..บอกว่าไปดูงานที่ไหนเห็นมีวิทยากรคนเดียวคือคนที่เป็นเจ้าของสวน แต่มาดงหลวง วิทยากรเป็นได้ทุกคนเลย เดินตามอธิบายกันเพียบไปหมด ไม่ว่าเจ้าของสวนหรือเป็นกรรมการเครือข่ายไทบรูสามารถอธิบายแทนกันได้เลย
อย่างไรก็ตามคณะใช้เวลาครึ่งวันไปดูสี่ราย ถือว่าใช้เวลาน้อยไปหน่อย เพราะท่านมีตารางจะไปที่อื่นต่อครับ พ่อแสนยังไม่ได้อธิบานอีกหลายเรื่อง เช่น เทอร์โมมิเตอร์ เล้าหมู ที่เลี้ยงหอย ฯลฯ แต่ก็ได้อะไรไปเยอะ ทางพ่อพ่อเขายินดีต้อนรับทุกเมื่อ ครับ จะมีผลงานให้ชมตามฤดูกาล
นับเป็นความสำเร็จของท่านปราชญ์ดงหลวงอย่างยิ่งทีเดียวค่ะ ที่ว่าประสพความสำเร็จก็เพราะได้ขยายการปฏิบัติการไปยังกลุ่มเกษตรกรภายในชุมชนค่ะ แสดงว่าต้นแบบนั้นสามารถนำไปปฏิบัติได้ที่ฝรั่งเรียกว่าPractical คือเป็นการเกษตรที่สามารถยังชีพได้ค่ะ
แวะมาอ่านแล้วก็ปลื้มแทนพ่อชา และพี่น้องไทบรูค่ะ
ทั้งผญ.วิบูลย์และลุงประยงค์ รณรงค์ที่ป้าจุ๋มกล่าวถึงนั้น ต่างเป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 1 ของสกศ. ที่ตัวเองเป็นคณะทำงานคัดเลือกและสรรหา รวมทั้งมีกิจกรรมส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ค่ะ
และที่น่าคิดคือ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้รู้ท่านใดก็ตาม ต้องมีคุณสมบัติของ “ผู้นำ” ที่ดี และมีความสามารถในการสร้างเครือข่ายและ “ทายาท” ผู้่รับช่วงที่จะทำงานต่อด้วย จึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ไม่ใช่เก่งและเป็นพระเอก … อยู่คนเดียว
จะขออนุญาตเก็บข้อคิดของพี่บางทรายไว้เพื่อพัฒนาโครงการ (ไม่แน่ใจว่าจะได้ทำโครงการเดิมหรือไม่) ต่อไปค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ปลื้มใจครับ ของดีมีอยู่ทั่วไป แต่ผู้ที่ไม่รู้จักเสาะแสวงหากลับมองไม่เห็น
เห็นด้วยกับน้องFreemindค่ะควรหาทายาทหรือทำเป็นทีมค่ะ อย่างของลุงประยงค์นั้น ท่านทำเป็นทีมค่ะ มีหลักการที่ดีมาก ทำครบวงจร โดยตั้งเริ่มตั้งแต่
ขอน้อมรับคำแนะนำดีดีทุกท่านครับ ขอบคุณมากเลยครับ