โลกยามค่ำ
อ่าน: 1320
บทความต้นฉบับ เขาตั้งชื่อไว้ว่า สัญญาณเตือน
ขออภัยที่รูปไม่มีความคมชัด เพราะใช้กล้องที่คุณภาพต่ำ และไม่มีขาตั้งกล้อง แถมใช้มือถ่ายแบบธรรมดา copy มาจากหนังสือ ภาพจึงไม่คม และเบลอๆมากๆด้วย รูปต้นฉบับเป็นแผ่นเดียวใหญ่ที่แสดงโลกทั้งใบ แต่ผมถ่ายแบ่งส่วนมาครับ
———-
ปริมาณการใช้ไฟฟ้ายามค่ำคืนของประเทศต่างๆในยุโรป สว่างมากที่สุด
เป็นภาพถ่ายตอนกลางคืนแสดงให้เห็นว่าโลกของเราใช้ไฟฟ้าอย่างมหาศาลหลังพระอาทิตย์ตกไปแล้ว ดูเผินๆก็สวยดี แต่ถ้าดูให้ดีๆจะเห็นว่าไม่น่านิ่งนอนใจ
นี่คือปริมาณการใช้ไฟของทวีปอาฟริกา ซีกตะวันตกของทวีปอาฟริกา
ส่วนของประเทศอาฟริกาใต้
เพราะลองนึกภาพว่าแหล่งพลังงานไฟฟ้าจะร่อยหรอลงไปอย่างมากแค่ไหนขณะประชากรโลกที่อยู่ในเมืองเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพเหล่านี้เป็นของนักวิทยาศาสตร์ “มาร์ก อิมฮอฟ” แห่งองค์การอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซ่า
นี่คือปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยเรา
ดูจะมากพอกับมาเลเซียและสิงค์โปร์ แต่ที่เขมรและลาวดูจะน้อยกว่ามาก
ภาพที่ปรากฏอยู่นี้เป็นเครื่องมือแสดงให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต “แผนที่ภาพโลกแสดงการใช้ไฟฟ้า” ฉบับนี้สามารถประเมินผลกระทบการขยายตัวของเมืองได้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อการผลิตอาหารของโลก หรือบรรยากาศในโลกใบนี้
รูปซ้ายมือนี่เป็นเกาะญี่ปุ่น รูปนี้เป็นประเทศอินเดีย
“นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราสามารถเข้าใจโลกทั้งใบได้อย่างเป็นระบบสมบูรณ์แบบ” อิมฮอฟกล่าว ความรู้ที่ได้อาจจะกลายเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นได้
อภิปราย: สำหรับท่านที่เล่นแผนที่ หรือ GIS หรือท่านที่สนใจทางด้านนี้ย่อมคิดอะไรไปร้อยแปด เมื่อเอาข้อมูล(ภาพถ่ายจริงจากดาวเทียม) มาพิจารณาดูเราก็รู้ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ส่วนของโลกที่ใช้มาก ใช้น้อย หากเอาข้อมูลสนามมาพิจารณาก็จะทราบรายละเอียดมากขึ้นไปอีกว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น หากมีข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องไปอีกมากมาย นักวิทยาศาสตร์ก็จะใช้ประโยชน์ตรงนี้ทำการวิเคราะห์ คาดการณ์ พยากรณ์การ “ถลุง” พลังงานของเพื่อนร่วมโลกได้ดี และคำนวณ ความสิ้นเปลืองในการบริโภคพลังงาน และอาจจะทำนายถึงระยะเวลาวิกฤตพลังงานที่กำลังจะถึงด้วยซ้ำไปว่าจะรุนแรงมากแค่ไหน และ…ฯลฯ…
มองมุมหนึ่งคือความสวยงาม
และมองอีกมุมหนึ่ง น่าตกใจนะครับเพราะว่า “ความสวยคือการทำลาย อันก่อเกิดทุกข์ในที่สุด”
(แหล่งข้อมูล: Readers Digest ฉบับมกราคม 2552 หน้า 130)