Old Comrades

1911 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 30 มกราคม 2012 เวลา 0:37 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 69900

เมื่อสิ้นปีผมไปร่วมงานพบเพื่อนเก่าที่ทำงานพัฒนาชนบทกันที่สะเมิง เชียงใหม่ โดยมี Mr. Klaus Bettenhausen ชาวเยอรมันที่นำมูลนิธิ ฟริดริช เนามัน เข้ามาเมืองไทยและทำงานพัฒนาชนบทในสะเมิงและที่อื่นๆในภาคเหนือ เขามาร่วมงานด้วยเพราะเขาใช้ชีวิตที่เชียงใหม่ มีครอบครัวเป็นคนไทย..หลังจากที่ผมกลับขอนแก่นแล้ว เขาก็เขียนจดหมายมาให้เพื่อนร่วมงานทุกคน รวมทั้งผมด้วย จึงอยากเอามาขยายเพื่อให้เพื่อนเห็นภาพการทำงานในสมัยนั้นครับ พ.ศ. 2518-2522 ครับ

Dear old ‘Comrades’,

I thought of sharing with you some ideas and memories from the ‘good old times’. When, on our meeting in Samoeng Dec 30, I was asked to address you, the honorable guests, I misunderstood. Also, my mind was with my darling wife who was  in hospital at that time. Later on, most of our ex-staff reflected on the devt. Work we had done, in the 70ies, in Amphoe Samoeng, THC, Prao and Mae Taeng.

When we started our project, end of 1975, Thailand - and Samoeng - was a different place. All the houses in Samoeng were simple, made from wood. Electricity only in T.Samoeng Tai, in a few villages, from 5 - 10 p.m. The district administration, the police station all very humble, built from solid wood, with simple desks and chairs - and fortified by a protective barrier of wooden poles (against communists).

Our own office, the project office, was of course as simple as the other official places. I can’t recall where exactly we worked before we moved to our own office, on our own strip of land. I only remember that we  washed using water from a well which was ice-cold, as it was Nov/Dec when we began the project, 1975.

We started with a questionnaire campaign (forgot details) among farmers, in Wat Huay Kork temple. It was cold - but the response was encouraging. Anyway, at 10 p.m. everybody went to bed. In those years we didn’t drink beer but mostly Mekong. Beer Chang didn’t exist yet, it was just Singh and Amarit.

The staff were driving Honda CT 125 (?) and I had a Land rover 88. There were asphalt roads just up to Chaisit, the Chinese middle man, maybe even less. Any other roads were ‘lug lang’. I remember the difficult stretches from Ban Bong Kwao up to Ban Mae Pae and the hill down in Ban Angkai (T. Yang Myyn). Even the road from Kongkarg Noi to Ban Maesarp was hellish difficult during the rainy season. To drive from CNX to A. Samoeng took 2 hours; sometimes a tree had fallen over and blocked the road.

There were no telephones in Samoeng. Messages were sent by motorcycles; a message from Samoeng Tai to Yang Myyn + a response took one full day. There were only two restaurants, one of them belonging to the local policeman. A post office didn’t exist, there was no bank, there was no hospital.

During the rainy season work was particularly difficult, particularly for professional staff on motorcycles. Clothes were immediately dirtied, splashed with red spots from the laterite roads. Sometimes some staff got stuck somewhere and could not return because the roads were too muddy and impassable; they then had to ‘kin kao ling’. If I remember right, our main food, during the initial years, was rice with yum bei chaa, bla kapong and bla too kemm.

I remember all the site offices we had: Mom in Yang Myyn, Wallop in Samoeng Neua, Kwanchai in Mae Sarp, Ngo in Hard Sompoy and P’Sawat in Samoeng Tai, supported by Sinee and Paisal. In Samoeng Neua I used to sleep at the temple of Ban Balaan, in Yang Myyn at the temple as well.

Our project work, the election of ‘farmer foremen’, their training at the NADC, staying for three days and two nights in Chiangmai, at Wat Sri Gyyd near Wat Phra Singh, the evening classes in the villages, the organizing of training courses, the excursions to other parts of Thailand (Chainat)……..yes, our project seems to have acted as an ‘eye opener’ for our farmers from Samoeng.

Then the politics. The suspicions about what we  were doing. It was after all 1975/76. Wallop returning one day from the field with a sickish face; he had been accused of being a communist ! Then October 6, Paisal arrested and ‘invited’, to spend the next 6 weeks (?) in suan garunathep, for indoctrination. One day the then Dy PM, Khun Pramarn Adireksarn, visited the project, landing next to the school of Ban Balaan with two helicopters ! I preesented a statement, in Thai language, arguing against the suspicions of the Thai local authorities who were suspecting us of being communists. - Later Pa Prem took over in BKK and things cooled down.

The Foundation in Germany left our project design mostly untouched but controlled our project activities very closely and there were official  visitors to CNX and Samoeng a few times. I remember vividly only one in Yang Myyn when one of our honorable Thai friends tried to communicate with the farang guests explaining them a new approach to frog breeding (offspring twice per year), thereby creating the famous statement ‘one frog tow eggs’ !! The farang guests were most surprised.

All those memories cover the period 1975 - 1988 and deal mostly with our project in Samoeng; I have mucg weaker memories of our work in THC, Prao and Mae Taeng. But those memories are wonderful and so much in contrast to what Thailand is today. Still, if you enter deeper into T. Samoeng Neua, Mae Sap and Yang Myyn - there still some trace, some ’smell’ can be felt when passing through those villages.

One could go on and reflect on the uniqueness of Thailand, it’s friendly and welcoming people, the behavioral pattern of their social relations, the avoidance of conflict, also the political development in the country which, to my understanding, are all the result of the fact that Thailand has never been a colony, never had farang ‘masters’ to ‘civilize and tame’ the Thais. One could even ask whether there is reason to deplore this….

I send my best regards to all of you ! Stay healthy and in good spirits !


Bob ณ เวียงจัน

436 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2010 เวลา 16:22 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4940

ผมต้องการแผนที่ประเทศลาวที่เหมาะสมกับงาน นอกจากจะดูจาก Google แล้วอยากได้ที่เป็น hard copy จึงมองหาร้านหนังสือ ร้านแรกที่พบคือ ร้านโอเรียลตัล ที่ผมพบหนังสือประวัติศาสตร์ลาวราคา 1 ล้านกีบ มีแผนที่อยู่หลายฉบับแต่ไม่ถูกใจ จึงเดินหาไปเรื่อยๆ


แต่แล้วก็ไม่ได้ ยังคิดว่ากลับไปขอนแก่นไปหาที่นั่นดู แต่ก็ผิดหวังอีก เพราะมีแต่แผนที่รวมสามประเทศ มาเวียงจันคราวนี้ เมื่อเลิกงานก็เดินไปริมโขง ถ่ายรูป ดูฝั่งไทย และชื่นชมธรรมชาติโดยเฉพาะอากาศยามนี้ เมื่อเย็นย่ำก็เดินกลับที่พัก ผ่านร้านหนังสือแห่งหนึ่งบนเส้นทางกลับที่พักจึงเข้าไปดู มีแต่หนังสือฝรั่ง ไหนลองไปดูซิว่ามีแผนที่ไหม

สายตาผมไปสะดุด หนังสือที่วางหลายเล่มที่มีชื่อผู้เขียน Robert Cooper ผมตรงไปหยิบมาพลิกดู เอ ชื่อผู้เขียนนี้คือคนที่เรารู้จักเมื่อสามสิบปีที่แล้วนี่ ใช่หรือเปล่าหนอ.. สกุลใช่ Cooper ใช่แน่ พอดีมีคนในร้านเดินมา แล้วเอ่ยปากพูดว่า เชิญดูหนังสือตามสบายนะ อ้อดูหนังสือเล่มนั้นหรือคะ เป็นเจ้าของร้านนี่แหละ… คุณ Cooper อยู่ข้างในร้านค่ะ นั่นภรรยาของเขาค่ะ


เมื่อมีจังหวะผมเข้าไปถามสุภาพสตรีที่ถูกแนะนำว่าเป็นภรรยา Cooper ผมขออภัยเธอที่จะถามคำที่ไม่สุภาพว่า คุณ Cooper เคยมีภรรยาเป็นคนไทยใช่หรือไม่ครับ เธอมองหน้าผมแล้วตอบว่าใช่ ที่เชียงใหม่ ผมไม่มีข้อสงสัยอีกต่อไปแล้ว Cooper คนนี้ก็คือเพื่อนเก่าเมื่อสามสิบปีที่ผ่านมา และภรรยาคนแรกของเขาก็เป็นเพื่อนร่วมงานของผม


ผมตรงไปหา Bob หรือ Robert แนะนำตัว ดูเขางง งง แล้วเขาค่อยๆรื้อฟื้นความจำ แต่ก็ยังไม่ค่อยเชื่อใจ จนเมื่อผมเอ่ยชื่อเพื่อนเก่าๆสมัยนั้น…ดูเหมือนเขายิ้มออก และเมื่อเอ่ยชื่อสินี เขาร้องอ๋อ ที่ขี่มอเตอร์ไซด์ไปทำงานสะเมิงใช่ไหม ..ฯลฯ เขายิ้มกว้างที่สุดเลย ผมจำได้แล้ว….Bob พูดลาวใส่ผม เราใช้เวลาคุยกันสักครึ่งชั่วโมงแล้วขอตัวกลับ โดยบอกว่าที่พักอยู่ใกล้ๆนี่เอง และก่อนกลับไทยจะแวะมาอีก

ผมขออนุญาตถ่ายรูปโดยภรรยาปัจจุบันเป็นคนถ่ายให้ Bob เอื้อมมือมาโอบไหล่ผมอย่างสนิทสนม แล้วบอกว่าอย่าเพิ่งไปเดี๋ยวจะเอาหนังสือให้เล่มหนึ่ง แล้วเขาก็ให้ภรรยาไปหยิบหนังสือมา แล้ว Bob เซนต์ให้ผม


จริงๆภรรยาคนแรกของ Bob คือเพื่อนสนิทของผมและเพื่อนๆร่วมงานสมัยที่ทำงานพัฒนาชนบทครั้งแรกที่สะเมิง เชียงใหม่ Bob เป็นคนหล่อมาก สาวติดกันงอมแงม และเป็นนักเขียน พูดจาไพเราะ ฯ การมาพบ Bob อีกครั้งในวัยที่ต่างก็ร่วงโรยไปมากแล้ว แน่นอน ผมดีใจจนบอกไม่ถูก ว่าจะมาพบเขาที่เวียงจันและอยู่ใกล้ๆที่พักเดินไม่ถึง 50 ก้าวเอง

อือ..ชีวิตก็เป็นอย่างนี้แหละ..


สะเมิงที่เปลี่ยนแปลง 1

326 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 17 สิงหาคม 2010 เวลา 22:42 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 3026

ขึ้นภาคเหนือคราวที่ผ่านมาฝ่าฝนไปตลอด ก็มันช่วงฤดูฝน เป้าหมายของเราคือจัดการเรื่องที่ดินให้ก้าวหน้าหน่อย ซึ่งก็บรรลุผลไปอีกขั้นหนึ่ง แล้วเราก็ตั้งใจจะใช้เวลาสักสองวันไปเยี่ยมพื้นที่สะเมิงแบบไม่เปิดเผยตัว


เอาไว้มีเวลาเยอะจะมาตระเวนคารวะชาวบ้านที่เรามากินมานอนที่นี่ให้ทั่วถึงเลย

ขอแนะนำสะเมิงหน่อย เป็นอำเภอที่มีที่ตั้งอยู่หลังดอยสุเทพฯ ติดต่อกับ อ.แม่ริม อ.แม่แจ่ม อ.ปาย อ.แม่แตง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ชนพื้นเมือง เป็นคนเมืองผสมกับไทยลื้อ และชนเผ่าตามชายขอบพื้นที่อำเภอ เช่น ม้ง ปกาเกอญอ ลีซู ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า คนพื้นเมืองที่อพยพมาอยู่ที่นี้ส่วนหนึ่งหนีระบบการเก็บส่วนสาอากรของสมัยโบราณ ที่เรียก “ถา สี่บาท” หากไม่มีจ่ายก็ต้องไปใช้แรงงานให้กับผู้ปกครองรัฐ มีภาพเก่าๆในหนังสือมากมาย ประชาชนที่ไม่มีเงินส่งภาษีและไม่ยอมไปใช้แรงงานก็หนี…หนีไปอยู่สะเมิง ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 50 กม.

….” พ.ศ.2435 เป็นต้นมา รัฐเรียกเก็บภาษีรายหัวจากผู้ชายที่มีครอบครัว  เรียกกันว่า  “ภาษี  4  บาท”  การเก็บภาษีดังกล่าวชาวบ้านเดือดร้อนมาก  เพราะในสมัยนั้นชาวไร่ชาวนาไม่ได้สะสมเงินตรา  รายได้ในรูปแบบของเงิน จะได้มาจากการค้าขายเท่านั้น  การเก็บภาษี  4  บาท จึงส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่ได้ทำการค้า….”

ผมมาทำงานที่นี่ตั้งแต่ปี 2518 ถึง 2522 ผมก็จำเป็นต้องออกจากโครงการไปอยู่อีสานด้วยเหตุผลทางการเมือง การกลับมาเพราะผูกพันกับพื้นที่ ชาวบ้าน และเสน่ห์ของขุนเขา คุณตุ๊จองที่พักทางอินเตอร์เนท บอกว่าชื่อ แสงอรุณคอตเทจ อยู่กลางป่า ต.สะเมิงเหนือ ซึ่งเราไม่รู้จักเพราะคงมีการก่อสร้างภายหลังที่เราออกมาจากพื้นที่นานแล้ว ก็เลยลองจองดู เพราะอยู่ใกล้บ่อน้ำแร่ร้อนที่บ้านโป่งกว๋าว ด้วย ทราบว่าพัฒนาขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว


ผมบอกครอบครัวว่าขอขับรถจากสะเมิงใต้ไปสะเมิงเหนือ แทนที่จะไปทางลัดจาก อ.แม่ริมตรงไปสะเมิงเหนือเลย เพราะอยากสัมผัสพื้นที่เดิมๆของเราที่เมื่อสามสิบห้าปีที่แล้วมาลุยที่นี่ ทุกคนตกลง ผมค่อยๆขับรถไป ปากก็บรรยายให้ลูกสาวฟังว่าพ่อเคยมาทำอะไรแถวนี้ ป้ายบอกว่าหมู่บ้านข้างหน้าคือบ้านกองขากหลวง เราก็มีเรื่องเล่าให้ลูกฟังว่า ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งสมัยนั้นมาขอยืมเงินไปใช้หนี้ ธกส. แล้วเขาจะเอาควายห้าตัวมาประกันให้ ด้วยเงินสามพันบาทที่ผู้ใหญ่ต้องการ เราเอาเงินให้ไป จนบัดนี้ก็ไม่ได้คืน และไม่คิดจะขอคืน

ถนนบางช่วงผ่านข้างภูเขาที่ชันมากๆ สมัยก่อนช่วงฤดูฝนแบบนี้กอไผ่ทั้งกอเคยสไลด์ลงมาทับเส้นทางหมด การคมนาคมที่มีน้อยอยู่แล้วถูกปิดตาย ชาวบ้านต้องมาช่วยกันตัดไผ่ทีละลำจนหมดทั้งกอ แล้วขุด ลากเอาดินออกไปทั้งหมด


ขัยรถบนถนนที่ดีมาก ไม่มีลูกรังอีกแล้ว ผ่านทุ่งนา ชาวบ้านเพิ่งดำนาเสร็จ บางแปลงมีร่องรอยการเซ่นไหว้เจ้าที่ แม่โพสพ มีการปลูกพืชเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าเดิม น้ำท่ายังดีเหมือนเดิม ส่วนใหญ่ก็จะทำเหมืองฝายกัน ระบบเหมือนฝายภาคเหนือนั้นมีคนทำปริญญาเอกกันหลายต่อหลายคนมาแล้ว

นี่คือความอุดมสมบูรณ์ของสะเมิง พืชหลักสมัยก่อนคือ ข้าว ทั้งข้าวนาปี ข้าวไร่ กระเทียม หอมแดง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดพื้นบ้าน ของป่าก็มี ไม้สนเกี๊ยะ เปลือกก่อ เปลือกไก๋ น้ำมันสน .. แต่วันนี้พืชเศรษฐกิจใหม่ๆเข้ามามากมาย…


มองปัจจุบันเห็นอดีต..สะเมิง

604 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 14 สิงหาคม 2010 เวลา 20:56 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 14016

มาย้อนอดีตสะเมิงกับครอบครัว

ต.สะเมิงใต้ ต.สะเมิงเหนือ ต.แม่สาบ

นอนที่แสงอรุณรีสอร์ท บ้านแม่แพะ

อาบน้ำแร่ร้อนที่บ้านโป่งกว๋าว

ถนนเส้นนี้อดีตเป็นลูกรัง

เราใช้มอเตอร์ไซด์ผ่านฝุ่นและโคลนมา 5 ปี

มีเรื่องราวมากมายที่พบ..


เยือนถิ่นเก่า

1039 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 9 กรกฏาคม 2010 เวลา 21:57 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 16413

คราวที่ขึ้นไปเชียงใหม่ทำภารกิจส่วนตัว หลังจากจัดการเรียบร้อยแล้วพอมีเวลาก็ขับรถไปเยือนถิ่นเก่าสะเมิง ที่เป็นทำงานพัฒนาชนบทครั้งแรก หลังจากเรียนจบก็มุ่งสู่ชนบท ขณะที่เพื่อนๆเข้าป่ากันหมด นั่นมันปี 18 อิอิ


สมัยนั้นถนนเป็นลูกรัง ไม่ราบเรียบ เราต้องใช้มอเตอร์ไซด์วิบาก ขับขี่จากเชียงใหม่ แม่ริมขึ้นยอดเขา ตรงนี้ เราก็จะพักรถ และยืนดู อ.สะเมิงเบื้องหน้าโน้นที่อยู่ในหุบเขา

เนื่องจากเรามีเวลาน้อยจึงพยายามไปไม่เปิดเผยตัวเอง ไม่แวะไปหาใครต่อใครที่เรารู้จัก อยากดูการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่

แทบไม่เหลือคราบไคลสะเมิงในอดีตเลย ทุกอย่างขยับตัวตามสภาพเมือง ไปหมดแล้ว สมัยปี 18 นั้นทั้งอำเภอไม่มีธนาคาร ต้องมาใช้ธนาคารที่ อ.แม่ริม หน้าอำเภอมีร้านอาหารร้านเดียวชื่อป้าเติง สามีท่านเป็นจ่าตำรวจ เราฝากท้องไว้ที่นี่ หรือไม่ก็ชาวบ้าน หรือไม่ก็ทำเองบ้าง

วัดทรายมูล ห่างจากตัวอำเภอสองกิโลเมตร ผมเคยมาจำวัดที่นี่คราวที่บวชแล้วตั้งใจเอาผ้าเหลืองมาให้ญาติโยมในพื้นที่ได้เห็นก่อนที่จะสึกที่วัดเจดีย์หลวง สมัยนั้นวัดทรายมูลเป็นแต่วัดในหมู่บ้านเก่าๆ มีแต่กระต๊อบชาวบ้านที่มีน้ำใจล้นเหลือ

วัดท่าศาลานี่ก็มีความทรงจำลึกซึ้ง เราใช้ระเบียงข้างศาลาวัดเป็นที่ประชุมชาวบ้านสารพัดเรื่อง วันแล้ววันเล่า ทั้งกลางวันกลางคืน โบสถ์หลังที่เห็นแห่งนี้เราก็เคยใช้เป็นที่ประชุมมาก่อน สมัยนั้นหลังคายังเป็นไม้แป้น เมื่อวัดรื้อออกเราขอซื้อเพื่อกะจะเอาไปสร้างบ้าน ชาวบ้านบอกว่า ของวัดทั้งหมดไม่ควรเอาเข้าบ้าน ไม่ว่าจะมีกำลังซื้อหรือถือวิสาสะ หรือขโมยไปก็ดี “มันขึ๊ด”

มีเรื่องราวมากมายที่เรามีกับสถานที่แห่งนี้ นึกถึงแล้วเราก็ต้องน้ำตาคลอเพราะทั้งหมดนั้นคือความผูกพันที่เรามีกับชาวบ้าน มีกับพื้นที่ มีกับท้องถิ่นแถบนี้

สะเมิงคือหุบเขามีที่ดินน้อย อาชีพหลักคือข้าวเพื่อบริโภค กระเทียม หอมแดงและยาสูบ นอกนั้นก็ของป่า สนเกี๊ยะ เปลือกก่อ เปลือกไก๋ สัตว์ป่า ชาวบ้านจำนวนมากปลูกยาสูบส่งโรงบ่ม ยาสูบที่นี่เป็นพันธุ์เวอร์จิเนีย ใบใหญ่ มีพ่อเลี้ยงมาตั้งโรงบ่ม ชาวบ้านหลายคนมีความรู้และชำนาญในการทำเตาบ่ม จึงดัดแปลงความรู้เตาบ่มยาสูบมาเป็นเตาอบกล้วย กลายเป็นกล้วยอบเลิศรส กระต๊อบตรงกลางนั่นคือเตาอบกล้วยของอ้ายสมที่ผมรู้จัดท่านดี เพราะเป็นลูกค้าประจำ วันนี้อ้ายสมแก่มากแล้ววางมือให้ลูกหลานทำต่อ

เลยไปหน่อยเป็นบ้าน “ครูอุด” จำชื่อจริงท่านไม่ได้ ท่านเป็นครูที่มีอายุมากแล้วทำหน้าที่สอนเด็กก่อนวัยเรียนและชั้นประถม ควบ เด็กๆรักท่านมาก เราเองก็เชิดชูท่าน ท่านเป็นครูจริงๆ ยามที่ฝนตกน้ำท่วม ท่านถึงกับเดินมาอุ้มเด็กทีละคน ไปเข้าห้องเรียน ครูมีนิทานเล่ามากมายไม่รู้จบไม่รู้สิ้น เด็กๆชอบนิทานครูมาก ท่านยิ้มแย้มรักเด็ก ชาวบ้านบอกว่าท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว..

กลุ่มแม่บ้านรุ่นใหม่ ยุคใหม่ พัฒนามาเป็นโอท็อป วิสาหกิจชุมชน เข้าสังกัดราชการที่ตระเวนไปขายสินค้าที่กลุ่มแม่บ้านผลิตออกขายสารพัดอย่าง ตระเวนไปทั่วประเทศที่ราชการชัดชวนไป

ก่อนกลับผมย้อนเข้าไปที่ตัวอำเภอร้านค้าเพื่อซื้อกาแฟสมัยใหม่ ผมพบเณรน้อยองค์นี้ ยืนเหนียมอายที่จะสั่งน้ำดื่มสมัยใหม่สีสวยๆเย็นๆ น่าอร่อย ความเป็นเด็กอยากดื่ม จึงตัดสินใจสั่งน้ำดื่ม ตาก็เหลือบมองผมแบบเขินอาย
ผมเดินไปถามว่ามาจากวัดไหน เณรน้อยบอกมาจากสะเมิงเหนือ ห่างออกไปมากกว่า 20 กิโลเส้นทางบนภูเขาเพื่อมาเรียนหนังสือที่อำเภอ และกำลังจะเดินทางกลับ…

ผมบอกกับตัวเองว่าต้องหาเวลาทั้งสัปดาห์มาตระเวนกราบไหว้ผู้เฒ่า ชาวบ้านที่ให้น้ำให้ข้าวให้ที่นอนให้ความรักให้การปกป้องผม ที่นี่คือถิ่นเกิดทางจิตวิญญาณของผมในงานที่ทำ

ที่นี่ สะเมิง…


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 20 Temple Hotel..

2009 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 12 สิงหาคม 2009 เวลา 8:34 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 33256

สถานที่: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

วันเดือนปี: ปี พ.ศ. 2518-2523

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

สมัยนั้น เมื่อเราเดินทางออกไปทำงานส่วนใหญ่ไม่ได้ไปเช้ากลับเย็น แต่จะตระเวนไปทั้งสัปดาห์ ออกจากหมู่บ้านนี้ ไปบ้านถัดไป เรื่อยๆตามแผนงานทั้ง 4 ตำบล 27 หมู่บ้าน

ปกติเราจะพักบ้านชาวบ้านที่เราสนิทสนมด้วย ซึ่งเราก็ฝากท้องไว้กับชาวบ้าน และชาวบ้านก็ยินดีมากที่เราไปพักด้วย บางครอบครัวก็เรียกเราเป็นลูกหลาน ผ่านไปไม่พักก็งอนเอาเลย ต้องไปง้อ และแน่นอนช่วงสงกรานต์เราก็ตระเวนไปรดน้ำดำหัวท่านเหล่านั้น

แต่ก็มีบ่อยๆที่เราไปเป็นคณะหลายคนรวมทั้งฝรั่งผู้รับผิดชอบโครงการ เราจึงไปพักที่วัด ก็โบสถ์ด้านหลังรูปนี้แหละครับ เป็นทั้งที่ประชุมชาวบ้านไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน เป็นสถานที่ใช้ฝึกอบรมต่างๆ เป็นสถานที่กินข้าว..ฯลฯ สารพัดประโยชน์ รวมทั้งเป็นที่นอน ท่านเจ้าอาวาสเป็นพระหนุ่มก็ยินดีและมาดูแลอย่างดี

ดูเหมือนว่าวัด โบสถ์ เป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์มากสำหรับสังคมชนบท และการใช้ประโยชน์ต่างๆนั้นจะมีความเชื่อกำกับอยู่ในมโนสำนึกว่า อยู่ในบริเวณวัด เป็นสถานที่มงคล ศักดิ์สิทธิ์ จะไม่พูดจาที่โกหก หรือเป็นเท็จ

ก่อนทำกิจกรรมใดๆ และเมื่อจบสิ้นกิจกรรมใดๆทุกคนก็ก้มกราบพระประธานในโบสถ์นั้นๆ อย่างน้อยที่สุดกิจกรรมต่างๆที่ทำในที่นั้นจะอยู่บนความเชื่อและหลักการศาสนากำกับอย่างแน่นอน..

แม้แต่เราใช้เป็นที่นอนพักผ่อน เราก็ก้มกราบพระก่อนทุกครั้ง ฝรั่งเลยเรียกว่า Temple Hotel อิอิ


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 19 เจ้าเล็ก..

1514 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 10 สิงหาคม 2009 เวลา 23:23 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 9822

สถานที่: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

วันเดือนปี: ปี พ.ศ. 2518-2523

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

เล็กเป็นชื่อเล่นเขา ความที่เป็นลูกสุดท้องของพ่อชาวสุพรรณ ตระกูลนี้มีการศึกษาดี ญาติพี่น้องจึงมีหน้าที่การงานสูงๆ แต่เล็กออกจะเกเร กระนั้นก็ยังไปเรียนจนจบ High school จากปีนัง มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี

ปากเปราะ จริงใจ มีน้ำใจ รักเพื่อนฝูง ขี้เล่น และออกจะกรุ้มกริ่มกับสาวๆซักหน่อย เขาเข้ามาร่วมโครงการเป็นรุ่นที่สาม มาพร้อมกับภรรยาสาวและลูกชายเล็กๆสองคน เนื่องจากบุคลิกง่ายๆ คล่องแคล่ว กว้างขวางในความสามารถ จึงเป็นฝ่ายสนับสนุนของโครงการ

ครั้งหนึ่งเราขึ้นไปเยี่ยมชนเผ่ากระเหรี่ยง หรือปกากะญอบนดอยสูงด้วยมอเตอร์ไซด์ แล้วเจ้าเล็กโดนตัว “ต่อป่า” ต่อยเอาที่ต้นคอ เล็กรู้สึกเจ็บแปลบๆ เพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นความผิดปกติก็เกิดขึ้นกับเล็กทันที รู้สึกบวมขึ้นอย่างทันทีทันใด และเริ่มหายใจติดขัด ทั้งตัวขึ้นผื่นเต็มไปหมด

ด้วยสัญชาติญาณ ผมเอาเล็กซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์ บึ่งลงจากยอดดอย ลัดเลาะไหล่เขา ทุ่งนา หมู่บ้าน ลำห้วยมุ่งสู่ตัวอำเภอสะเมิง เป้าหมายคือสถานีอนามัยอำเภอ ขณะนั้นเวลาบ่าย ผมขับมอเตอร์ไซด์เร็วมากกว่าขับแข่งอีก เพราะ เล็กที่นั่งข้างหลังพูดตลอดเวลาว่า ..หายใจไม่ออก ปวด…

ผ่านตรงไหนมา ชาวบ้านต่างแปลกใจว่าผมทำไมขับรถเร็วจังวันนี้ จะรีบไปไหน ผมพาเล็กมาถึงสถานีอนามัยใช้เวลาเกือบ 45 นาทีจากยอดดอย ปกติน่าจะใช้เวลามากกว่าชั่วโมง… เล่าเรื่องให้พี่อนามัยทราบ พี่เขาเข้าใจจับนอนบนเตียงแล้วก็ฉีดยาเข้าไปหนึ่งเข็ม… ทันที

พี่อนามัยบอกว่า ทำบุญมามากนะนี่ หากช้ากว่านี้ เล็กคงหายใจไม่ออกอันตรายถึงชีวิตได้เลย เพราะเล็กเขาแพ้พิษของตัวต่อป่า พิษตัวต่อทำให้เกิดบวม เห่อด้านในหลอดลม หลอดลมหายใจตีบลง นี่แหละที่ทำให้หายใจไม่ออก….

เล็กคนนี้คืออดีตสามีของป้าดาว ที่ผมชวนเธอมาร่วมปลูกป่าที่พระบาทห้วยต้ม ลี้ ลำพูนคราวที่แล้วด้วย ปัจจุบันเล็กมีครอบครัวครั้งที่สาม อยู่กินกันที่แม่สาย เชียงราย เขาเคยมานอนพักกับผมที่มุกดาหารนานนับสัปดาห์…


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 17 รดน้ำดำหัว

185 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 9 สิงหาคม 2009 เวลา 0:52 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, ทุนสังคม #
อ่าน: 7486

สถานที่: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

วันเดือนปี: ปี พ.ศ. 2518-2523

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

(ทีมงานโครงการรดน้ำดำหัว Mr. Klaus Bettenhausen ผู้รับผิดชอบโครงการ)

ต่อเติมทุนทางสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือเมื่อถึงสงกรานต์ก็นำน้ำส้มป่อยไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อขอขมาลาโทษสิ่งต่างๆที่ล่วงเกิน และขอพรจากท่าน

เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นต้นทุนทางสังคมที่ดีงาม เป็นการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่มีสาระในการเชื่อมระหว่างรุ่น ระหว่างวัย ระหว่างบทบาทหน้าที่ให้ร้อยรัดต่อกัน

ผู้น้อยแสดงความเคารพ นับถือต่อผู้อาวุโส

ผู้อาวุโสก็แสดงเมตตาต่อผู้น้อย

น้ำส้มป่อยเป็นเพียงสื่อกลางที่ใจมีต่อใจ ตัวตนต่อตัวตน

ความขัดข้องหมองใจ ช่องว่างที่มีต่อกันก็ปิดลงด้วยประเพณีปฏิบัติของท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่อคนก็เชื่อมร้อยเป็นสายใยผูกพันต่อกัน เรื่องร้ายกลายเป็นดี เรื่องร้อนกลับเป็นเย็น การอึมครึมกลายเป็นยิ้มแย้มแจ่มใส…

ของดีมีอยู่..

ที่เป็นรากของสังคมไทยเรา

ที่เป็นต้นทุนทางสังคมของเรา


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 16 หม่อมสามหย่อม

26 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 7 สิงหาคม 2009 เวลา 13:51 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 4409

สถานที่: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

วันเดือนปี: ปี พ.ศ. 2518-2523

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

พวกเราเรียกเขาว่าหม่อม หรือพี่ชาย หรือคุณชาย เพราะชื่อเต็มๆคือ มรว.อัฉรียชัย รุจวิชัย คนนครชัยศรี นครปฐม จบเกษตรศาสตร์บางเขน

หม่อมเป็นคนร่าเริง สนุกสนาน ออกจะเรทอาร์นิดๆ พอหอมปากหอมคอ ทำให้คำเรียกว่าหม่อมนั้นเพื่อนๆจะเอาไปเล่นซะสนุกเชียว เช่น ที่จั่วหัวไว้นั่นแหละ ชาวบ้านมีงานอะไรมักจะเชิญพวกเราไปร่วม เพราะเราบริจาคภาษีสังคมแล้วก็จะตั้งวงเหล้าขาว แล้วก็แหกปากร้องเพลงกันหามรุ่งเชียว..อิอิ (คิดแล้วบ้าจริงๆ..)

หม่อมไปทำงานสะเมิงเป็นรุ่นที่สอง ต่อมาโครงการขยายพื้นที่ไปที่ อ.ลี้ ลำพูน ตอนนั้นกำลังแยกเป็นกิ่ง อ.ทุ่งหัวช้าง หม่อมไปเป็นหัวหน้าโครงการที่นั่น

หม่อมมีความสามารถพิเศษเรื่องการร้องเพลงไทยสากลและเล่นดนตรีไทย ถึงกับเคยร่วมวงดนตรีกับทูลกระหม่อมพระเทพฯ สมัยที่เรียนอยู่ที่บางเขน เข้ากับชาวบ้านเก่ง ทำงานดี เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนฝูงและชาวบ้าน

วันหนึ่งในอดีต เมื่อโครงการใกล้จะสิ้นสุดสัญญา หม่อมมีอาการชาที่มือซ้าย ขึ้นไปที่ไหล่ และมากขึ้นเรื่อยๆ เข้าโรงพยาบาลสวนดอกซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ก็ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน นับวันอาการมากขึ้นจนเกือบจะพูดไม่ได้ สวนดอกตัดสินใจส่งเข้าพระมงกุฎที่กรุงเทพฯโดยเอารถพยาบาลไปส่ง อาการหม่อมมากขึ้นจนถึงขั้นหนัก ต้องให้อ๊อกซีเจนระหว่างนอนในรถจากเชียงใหม่เข้ากรุงเทพฯ

ระหว่างทางเกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญเพราะอ๊อกซีเจนหมดถัง ไม่ได้เตรียมมาเผื่อ แต่บุญเหลือเกินที่หม่อมทำความดีมาไว้มาก รถพยาบาลวิ่งถึงนครสวรรค์พอดี จึงแวะไปเอาถังอ๊อกซีเจนที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แล้วก็บึ่งเข้ากรุงเทพฯ

ทีมหมอรออยู่แล้วจัดการตรวจสอบอย่างละเอียด ในที่สุดพบก้อนเนื้องอกที่ต้นคอด้านหลังไปทับเส้นประสาท…. ผ่าตัดด่วนคืนนั้น

หม่อมรอดชีวิตมาแบบไม่ปกติต้องฟื้นฟูร่างกายทำกายภาพอยู่นานจนกลับมาเป็นปกติ ปัจจุบันหม่อมปักหลักอยู่ที่เชียงใหม่ ทำสวนไม้ดอก เป็นนายกสมาคมผู้ปลูกไม้ดอกเชียงใหม่ และปลูกบ้านอยู่ในสะเมิง มีครอบครัวที่น่ารักมาก..

เรายังติดต่อกันเป็นประจำ เพราะหม่อมเป็นหย่อมๆ คือ เพื่อนรักของพวกเรา…อิอิ.

(ขออภัยที่ชื่อเรื่องหวือหวาไปหน่อย เพราะเอามาจากเรื่องจริงในอดีต..)


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 14 ในหลวงกับสะเมิง

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 25 กรกฏาคม 2009 เวลา 20:40 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, ทุนสังคม #
อ่าน: 1603

พื้นที่ไกลปืนเที่ยงอย่างสะเมิงนั้น สุขภาพชุมชนย่อมด้อยไปเสียทุกด้าน ยิ่งสารเคมีเข้ามากับการส่งเสริมการเกษตรแบบใหม่ กับความไม่เท่าทัน ไม่ระมัดระวังเท่าที่ควรของเกษตรก็ส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพมาก


ปี 2518 นั้นโรคคอพอกยังมีจำนวนมาก Mr Klaus Bettenhausen ผู้แทนองค์กรที่ทำงานอยู่จึงติดต่อขออาสาสมัครหมอมาจากเยอรมัน แล้วร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการของสมเด็จย่า จึงเกิดแพทย์อาสาในพื้นที่สะเมิงขึ้น มีการบริการสุขภาพเกือบทุกด้านที่สามารถทำงานได้ในระดับสนาม


พวกเราก็ช่วยเรื่องการประสานงาน การจัดการต่างๆ การอำนวยความสะดวกให้คณะแพทย์ พยาบาลทุกสาขาได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ

งานด้านนี้เป็นเหมือนสงเคราะห์ ซึ่งยุคนั้นเป็นช่วงรอยต่อระหว่างงานพัฒนาแบบสงเคราะห์กับการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งเราก็ทำควบคู่กันไป

สะเมิงแห่งนี้เกี่ยวข้องกับในหลวงของเรามาก โดยพระองค์เสด็จออกเยี่ยมเกษตรกรหลายครั้ง ทุกครั้งพระองค์จะเสด็จลงเดินไปตามหมู่บ้านเยี่ยงข้าราชการและประชาชนทั่วไป ด้วยเหตุนี้มีส่วนทำให้พระองค์เกิด “โรคพระหทัยเต้นผิดปกติ” มีข้อมูลโดยสรุปดังนี้

  • ปี 2530 ทรงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนที่อำเภอสะเมิง ทรงพบว่าชาวบ้านจำนวนมากเป็นโรคคอพอก ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทูลว่า มีการเอาเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกประจำ แต่ชาวบ้านไม่ยอมใช้ เพราะไม่รู้จักก็กลัวจะเป็นอันตราย ในหลวงจึงรับสั่งให้นำเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกประชาชนด้วยพระหัตถ์ ชาวบ้านจึงยอมเชื่อว่าเกลือชนิดนี้กินได้ จนแพร่หลายต่อๆมา ปัจจุบันไม่มีคนป่วยโรคคอพอกที่สะเมิงแล้ว
  • ทรงเสด็จขึ้น-ลงสะเมิงอีกหลายครั้ง เพื่อติดตามแก้ปัญหาเรื่องน้ำและถนน จนชาวบ้านทำกินกันได้เป็นปกติสุข มีรายได้เลี้ยงชีพได้พอเพียง หากพระองค์เองที่ทรงพระประชวร! ในหลวงทรงได้รับเชื้อไมโครพลาสม่าจากการเสด็จไปที่สะเมิงนี้เอง
    อันเป็นสาเหตุของโรคพระหทัยเต้นผิดปกติเรื้อรังมาถึงปัจจุบัน แม้คณะแพทย์จะพยายามเท่าใด ก็ไม่อาจถวายการรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงถวายพระโอสถประคองพระอาการมาตลอด จนกระทั่งต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่เมื่อปี 2538
  • ในหลวงเคยมีพระราชกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า… ” ฉันขึ้น-ลงสะเมิงอยู่หลายปี จนได้รับเชื้อไมโครพลาสม่า ซึ่งในที่สุดทำให้ฉันเป็นโรคหัวใจเต้นไม่ปกติ จนเกือบต้องเสียชีวิต”


“การรักผู้อื่นยิ่งกว่าชีวิตของตนเองนั้น…ยิ่งใหญ่อย่างไรและเพียงไหน”

ข้อมูลนี้บันทึกก่อนแล้วที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang/166752

ขอบคุณแหล่งข้อมูล


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 13 ยอดภู

27 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 23 กรกฏาคม 2009 เวลา 22:47 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 1445

สะเมิงเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา สมัยนั้นไม่มีถนนดำ หรือที่ลาดยางเลย หมู่บ้านจะเกาะกลุ่มกันตามพื้นที่หุบเขา ที่มีพื้นที่มากน้อยแตกต่างกัน บางหมู่บ้านจะต้องข้ามภูเขาไป และแน่นอนระหว่างตำบลก็จะมีภูเขาขวางกั้น


มอเตอร์ไซด์จึงเหมาะสมที่สุดที่จะใช้เป็นยานพาหนะ เพื่อทำงานในโครงการนี้ พวกเราเองก็เป็นวัยรุ่น การขับมอเตอร์ไซด์ขึ้นดอย ลงดอย จึงคุ้นชินจนเป็นปกติ บ่อยครั้งที่เราหยุดรถบนยอดเขาแล้วมองกลับลงไปในหมู่บ้าน ไร่ข้าวโพดของชาวบ้าน เถียงนา และทิวเขาไกลลิบโน้น สร้างบรรยากาศ และจินตนาการมากมายทีเดียว อากาศเย็นสบาย และวัฒนธรรมชุมชนที่เปิด แม้กับคนต่างถิ่นอย่างเรา เป็นชีวิตที่มีความสุข

บางช่วงฤดู เราชอบที่จะหยุดที่ยอดเขาเพื่อดูเมฆปกคลุมหมู่บ้านเบื้องล่างเสียมิด เหมือนเราอยู่บนสวรรค์ คิดถึงสะเมิง..


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 11 กล้วยอบสะเมิง

1320 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 20 กรกฏาคม 2009 เวลา 22:19 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 76420

สถานที่: สะเมิง

วันเดือนปี: ประมาณปี พ.ศ. 2523

โครงการ: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

พื้นที่สะเมิงนั้นอาชีพหลักคือการทำนาปีข้าวเหนียว และข้าวไร่ตามไหล่เขา หลังนาก็ปลูกกระเทียม ซึ่งขึ้นชื่อว่าคุณภาพดี เพราะไม่ใช้ปุ๋ยเคมี กระเทียมที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้ปุ๋ยมูลสัตว์นั้นเก็บเอาไว้นานๆจะไม่ฝ่อ เหมาะเอาไปทำพันธุ์ต่อ สรรพคุณทางยาก็มีมากกว่า นอกจากนี้มีพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ข้าวโพดพื้นบ้าน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว งา ฯลฯ พืชเศรษฐกิจที่ทำเป็นแบบ Contract farming คือยาสูบพันธุ์เวอจิเนีย และที่ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า


ชาวสะเมิงมีทั้งคนเมืองและชนเผ่าไทยลื้อ นอกนั้นก็เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากเป็นม้งกับปกากะญอ กล้วยที่สะเมิงลูกใหญ่ หวาน ดก เพราะดินภูเขาดีมาก อาชีพที่สำหนึ่งคือการทำกล้วยอบขาย

เราเคยได้ยินกล้วยตาก แต่ที่สะเมิงเป็นกล้วยอบ เพราะใช้วิธีอบในเตา เกษตรกรเรียนรู้และดัดแปลงมาจากอาคารอบ หรือบ่มใบยาสูบนั่นเอง โดยสร้างอาคารเล็กๆขึ้น ภายในอาคารปิดด้วยดินที่มีโครงด้านในเป็นไม้ไผ่สาน ทึบ แบ่งป็นสองชั้น ชั้นล่างเกือบติดพื้นดิน เว้นไว้สำหรับเอาฟืนท่อนใหญ่ๆใส่เข้าไปได้ ชั้นบนแบ่งย่อยเป็นชั้นสำหรับใส่ตะแกรงอบกล้วย จะกี่ชั้นก็แล้วแต่การออกแบบของเจ้าบ้านนั้น

ระหว่างชั้นบนกับชั้นล่างแบ่ง หรือ กั้นด้วยแผ่นเหล็กชิ้นใหญ่ เพื่อใช้เผาพื้นด้านล่างแล้วให้เกิดความร้อนส่งแผ่ไปอบกล้วยที่อยู่บนชั้นต่างๆนั้น


ขั้นตอนการอบกล้วยนั้นเป็นความลับ(ทางราชการ)ที่มีเทคนิคเฉพาะของใครของมัน แต่โดยทั่วไปคือ คัดเลือกกล้วยที่เริ่มสุก และกล้วยเหล่านั้นจะไม่เอามาจากสวนที่มีต้นหญ้าคาขึ้น ชาวบ้านบอกว่า หากเอากล้วยจากสวนที่มีหญ้าคา จะทำให้กล้วยออกรสฝาดมากกว่า เอากล้วยมาปอกเปลือกลงในอ่างใหญ่ ล้างน้ำปูนเพราะ….

แล้วก็เอาไปเข้าเครื่องบีบให้แบนดังรูป แล้วก็เอาไปวางเรียงกันในตะแกรง มากเพียงพอสำหรับการอบครั้งหนึ่งๆ แล้วก็ปิดประตู ทำการก่อไฟเผาฟืนใส่เข้าไปด้านล่างของเตาอบนี้ ควบคุมความร้อนด้วยเทอร์โมมิเตอร์ ความร้อนเท่าไหร่เป็นความลับ(ทางราชการ)

นานพอสมควรก็เปิดประตูเอาตะแกรงออกมากลับกล้วยเอาด้ายอื่นลงล่างบ้าง และสลับตะแกรงบนลงล่าง ล่างขึ้นบนบ้าง ดูแลฟืนให้มีตลอด นานเท่าไหร่เป็นความลับ(ทางราชการ) เมื่อได้ที่ก็เอาออกมาทิ้งให้อุ่นๆบรรจุถุงพลาสติก ขาย

สมัยก่อน กก.ละ 10 บาท กินกันพุงกาง เดียวนี้แพงขึ้นไปเท่าไหร่แล้วไม่รู้…

กล้วยอบสะเมิงขึ้นชื่อว่ารสอร่อย สะอาด ออกจากเตาก็เข้าถุงเลย.. ไม่ได้ทิ้งให้แมลงวันตอม..

ใครเข้าสะเมิงละก็ถามหากล้วยอบนะครับ ที่บ้านศาลา หรือบ้าน ป่ากล้วยก็ได้ รับรองไม่ผิดหวังแน่ๆ..


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 12 ส. ศิวรักษ์

7 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 20 กรกฏาคม 2009 เวลา 21:42 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1154

สถานที่: สะเมิง

วันเดือนปี: ประมาณปี พ.ศ. 2524

โครงการ: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

 

เนื่องจากโครงการฯเป็นมูลนิธิของประเทศเยอรมัน และเข้ามาเมืองไทยโดยการชักนำของอาจารย์ ส. ศิวรักษ์ เนติบัณฑิตอังกฤษผู้โด่งดัง ท่านอาจารย์เป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมของคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเพื่อสังคมในด้านต่างๆ ท่านเป็นผู้รู้กว้าง และสัมผัสการทำงานแบบนี้มามากจึงมีสาระที่อบรมบ่มเพาะสำนึกพวกเรามาเสมอ ท่านไปพูดที่ไหนๆ พวกเราก็แห่ไปฟังกัน


ประมาณปี พ.ศ. 2522 เราก่อตั้ง คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งชาติขึ้นหรือ กป.อพช. ผมเป็นกรรมการในยุคแรกๆอยู่พักหนึ่ง เราเชิญท่านมาพูดให้สติแก่พวกเรา ท่านพูดถึงนักเขียนมากมาย เช่น ฟร้านซ์ เฟนอน, กอร์กี้, ฟริจอฟ คับปรา, อี เอฟ ชูเมกเกอร์, ฯลฯ นักคิดนักเขียนไทยก็มีมากมาย โดยเฉพาะท่าน ประยุต ปยุตโต หนังสือต่างๆที่นักพัฒนาชุมชนควรจะอ่านมากมาย เรางี้ แค่กระผีกของท่านก็ไม่ได้ ท่านอ่านหนังสือดีดีมากมาย และเอาแง่คิด ความรู้มาบอกกล่าวพวกเรา

เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมท่านก็พาฝรั่งเข้าไปประเมินผลโครงการที่เราทำอยู่ ผมพาท่านท่องสะเมิงโดยท่านนั่งท้ายมอเตอร์ไซด์ เนื่องจากท่านไม่เคยนั่งมาก่อน เกร็งไปหมด ผมเองก็เกรงที่มีผู้ใหญ่ระดับโลกมานั่งท้ายมอเตอร์ไซด์ ท่านมาสัมผัสชีวิตพวกเรา มาดูงานที่เราทำ มาเยี่ยมชาวบ้าน…และให้สติแก่พวกเรา

เพราะเรามีแต่ความตั้งใจทำงาน มีความต้องการช่วยเหลือชุมชนผ่านระบบโครงการ แต่ไม่มีประสบการณ์ สมัยนั้นในมหาวิทยาลัยยังไม่มีภาควิชาพัฒนาชุมชน มีแต่เรียนกันเอง สนใจกันเอง และไปหาประสบการณ์กันเอง ดีที่สุดก็ไปฝึกงานหรือศึกษาดูงานกันที่ต่างประเทศ เช่นที่ ฟิลิปปินส์ที่เรียกสถาบัน “เซียโซลิน” ที่ศรีลังกาก็โครงการ “ซาโวดายา” ที่อิสราเอลก็ “กิบบุช” และ “โมชาป” บลังกาเทศก็คือ “กรามินแบ๊งค์” ของมูฮัมหมัด ยูนุส ที่ได้รับรางวัลโนเบล ที่เกาหลีก็โครงการ “แซมาเอิลอุลดอง” ของปักชุงฮี

ในเมืองไทยที่ทำกันอย่างจริงจังก็ต้องสภาคาทอลิคแห่งประเทศไทยที่ก้าวหน้ามากที่สุด อาจเรียกว่าเป็นต้นปฐมบทของงานพัฒนาเอกชนในประเทศไทย

ท่านอาจารย์ ส. ศิวรักษ์ ถือได้ว่าท่านเป็นปรมาจารย์ของคนทำงานเพื่อชุมชน


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 9 อดีตผู้ว่าฯเชียงใหม่

935 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 20 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:52 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 49032

สถานที่: สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

วันเดือนปี: ปี พ.ศ. 2521

โครงการ: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

ภาพนี้มีอายุ 31 ปีแล้ว


โครงการร่วมมือกับสภากาชาดไทย สมาคมสตรีผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยสาขาภาคเหนือ ร่วมกันจัดฝึกอบรมสาระที่จำเป็นให้แก่แม่บ้าน สตรีทั่วไป ผู้ที่กำลังจะเป็นแม่ เราได้ส่งสตรีที่จะไปเป็นพี่เลี้ยงเด็กเล็กมาเข้าหลักสูตรด้วย เพื่อนำความรู้ไปดัดแปลง ประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่อไป

เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ผู้จัดได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมาแจกใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมทุกคนโดยนายประเทือง สิทธิพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้น

ท่านผู้ว่าท่านนี้ต่อมาอีก 2 ปี พ.ศ. 2523 ท่านใช้ปืนยิงตัวเองตายที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เหตุผลที่ทราบจากข่าวหนังสือพิมพ์ภายหลังคือ ท่านไปพัวพันคดีคอรับชั่นโรงพิมพ์ของราชการในสมัยนั้น ท่านทนสภาพกดดันไม่ได้ก็จบชีวิตลงดังกล่าว


(ภาพนี้เอามาจาก internet ไม่ทราบที่อยู่แล้ว ขออภัยท่านเจ้าของภาพด้วย)

ภาพจวนผู้ว่าหลังนี้ ทราบว่าปัจจุบันเป็นอาคารสงวนไว้ และย้ายจวนผู้ว่าไปสร้างใหม่ จวนหลังนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานสมควรอนุรักษ์ไว้ ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานนวรัตน์ขาเข้าจะอยู่ทางซ้ายมือ ติดริมปิง

คนเชียงใหม่ทราบรายละเอียดกรุณาขยายความด้วยเน้อ…


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 8 ทัศนศึกษากรุงเทพฯ

1408 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 19 กรกฏาคม 2009 เวลา 12:34 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 16758

กิจกรรมการพัฒนานั้นมีมากมาย ล้วนแต่เป็นความคาดหวังที่จะก่อเกิดในสิ่งที่ดี แก่บุคคล แก่ชุมชน แก่กลุ่ม องค์กร หรือแม้แต่ส่งผลสะเทือนในระยะยาว


แต่ทั้งหมดนั้นก็ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นด้วย เพราะไม่ได้คิดถึงส่วนนี้ หรือคิดไม่ถึง หรือไม่ระมัดระวัง หรือ ฯลฯ

สะเมิงเป็นเมืองปิด หรือกึ่งปิด(เหมือนดงหลวงช่วงที่ผมเข้าไปใหม่ๆ) เพราะชาวบ้านมีเวลาส่วนใหญ่อยู่กับท้องที่ท้องถิ่น เชื่อมต่อกับโลกภายนอกด้วยรถโดยสารที่มีจำกัด และวิทยุที่ฟังได้บ้างไม่ได้บ้าง โดยเฉพาะทีวี เลิกกันเลย ทั้งอำเภออาจจะมีไม่ถึง 10 เครื่อง เพราะเป็นพื้นที่ภูเขา ไม่สามารถรับคลื่นได้ สมัยนั้นยังไม่มีระบบดาวเทียม…

ความหวังดีของเราก็คือ พาคณะแม่บ้าน และเยาวสตรีออกไปศึกษาดูงานในเมืองจนถึงกรุงเทพฯ โดยเชื่อมกับเพื่อนองค์กรพัฒนาเอกชนในเมือง เพื่อดูแหล่งสลัม ซึ่งก็คือพี่น้องจากชนบทที่มาอาศัยที่นี่เพื่อหางานทำ….

เราคิดในแง่ดี มีการเตรียมมาตัวมาก ก่อนการเดินทาง ระหว่างการเดินทาง และหลังการเดินทาง พูดคุยกันมากเพื่อให้เกิดการเรียนรู้สภาพสังคมในมุมต่างๆ ในครั้งนั้นเรามีโอกาสติดต่อกับองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิสตรีที่ถูกกดขี่ เราเลือกกรณีขายบริการจำนวนหนึ่งที่มาทำงานในกรุงเทพฯ การพบปะพูดคุยกันมีการเตรียมการอย่างดี โดยภาพรวมก็ออกมาดี ใครต่อใครก็แสดงความเห็นว่า อยู่บ้านนอกเราดีกว่า ไม่มีเงินใช้แต่มีกิน ไม่ต้องดิ้นรน เผชิญปัญหาการกดขี่มากมายเช่นกรณีอาชีพนี้…

เราเดินทางกลับสะเมิง ต่างแยกย้ายกับกลับบ้าน….

……

ทุกอย่างก็เดินไปตามปกติ เราก็ออกตระเวนเยี่ยมเยือนพี่น้องกันตามแผนงาน..

แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น…. มีหญิงสาวในหมู่บ้านหายตัวไปสามคน..

ต่อมาทราบว่าเธอเหล่านั้นแอบหนีหมู่บ้านเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปหากลุ่มสตรีที่ขายบริการนั้น..??

พระเจ้า….

กิจกรรมของเรามีส่วนเป็นการชี้โพรงให้กะรอกเสียแล้ว…..


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 6 ยานพาหนะสมัยนั้น

896 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 14:47 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 16738

สถานที่: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

วันเดือนปี: ปี พ.ศ. 2518-2522

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

ปี พ.ศ. 2518-2522 นั้น ถนนมีแต่ฝุ่นกับโคลน ฝุ่นในฤดูแล้ง โคลนในฤดูฝน เวลาเราออกพื้นที่ ก็จะไปหลายวัน ไปหมู่บ้านไหนก็ค้างนอนกับบ้านชาวบ้าน อุปกรณ์ประจำของเราก็คือเป้ที่มีถุงนอน เสื้อ กางเกงและสิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้



ระหว่างเดินทางจากบ้าน อมลอง ไปหาดส้มป่อย จะต้องผ่านแม่น้ำแม่ขาน ที่ฤดูแล้งชาวบ้านเอาต้นไม้ใหญ่ๆมาทำสะพานแบบหยาบๆให้รถปิคอัพผ่านไปยังตำบลยั้งเมิน ที่ไกลออกไป


สะพานไม้แบบชั่วคราวนี้ คือต้นไม้ทั้งต้นที่เอามาวางเรียงกัน ยึดติดกันด้วยเหล็กที่มีปลายแหลมสองด้านตอกเข้าไปในเนื้อไม้ให้ยึดติดกัน(ดูเหมือนจะเรียกปลิง หากผิดขออภัย) เมื่อฤดูฝนมา น้ำป่าหลาก ตรงนี้แหละที่เราต้องมาพร้อมๆกันหลายคน เพราะบางช่วงไม่สามารถขับขี่มอเตอร์ไซด์ได้ต้องช่วยกันประคองเอาข้ามฝั่ง


บางช่วงน้ำป่ามาแรงมาก พัดพาเอาสะพานไม้สักทั้งต้นนั้นหายไปหมดแล้ว เราก็ต้องช่วยกันแบกมอเตอร์ไซด์ข้ามแม่น้ำขานแห่งนี้ หากน้ำลด ก็อาจจะขับข้ามได้

และรูปนี้ คลาสสิคจริงๆ นายสุรพล จำนามสกุลไม่ได้แล้ว เป็นนายอำเภอสะเมิง ออกตรวจเยี่ยมชาวบ้านกับพวกเรา ยังต้องยอมถอดกางเกงนุ่งผ้าขาวม้าข้ามแม่น้ำขาน…

มันจริงๆ..ชีวิตคนทำงานพัฒนาชนบท..


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 4 ที่ตั้งสำนักงานโครงการฯ

458 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 7:39 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 7001

สถานที่: สำนักงานเกษตรภาคเหนือ

วันเดือนปี: ประมาณปี พ.ศ. 2518

โครงการ: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ


ช่วงที่สำนักงานเกษตรภาคเหนือ(สกน.)เป็นสำนักงานในเมืองของโครงการพัฒนาชนบทที่ผมทำงานอยู่นั้น เพิ่งก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ(2518) มี ดร.ครุย บุญยสิงห์ เป็น ผู้อำนวยการโครงการ ภรรยาท่านคือนักพูดเพื่อสังคมคนสำคัญที่มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นทางทีวีบ่อยคือ คุณหญิงเต็มสิริ บุญยสิงห์

สกน.สมัยนั้นยังไม่มีร้านอาหารกาแลที่สวยงามเช่นปัจจุบัน สำนักงานแบบนี้มีทุกภาค ช่วงที่มีการปรับโครงสร้างระบบราชการถูกยุบไปเป็นเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สกน.ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลนิวซีแลนด์

ปกติผมจะประจำอยู่ที่พื้นที่โครงการคือสะเมิง จะออกมาที่นี่เดือนละครั้งช่วงที่มีการฝึกอบรมผู้นำเกษตรกรเท่านั้น..


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 3 ฝิ่น

153 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 23:06 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 4747

สถานที่: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

วันเดือนปี: ปี พ.ศ. 2518-2522

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ



สภาพพื้นที่ อ.สะเมิงเป็นภูเขา หมู่บ้านจะตั้งอยู่ระหว่างหุบเขา ที่มีลำห้วยน้ำใสไหลผ่าน ทุกช่วงฤดูทำนาเราจะเห็นภาพนี้จนคุ้นชินตา บ่อยครั้งที่เราหยุดรถมอเตอร์ไซด์เพื่อชื่นชมภาพสวย เช่นนี้ อิอิ บางครั้งเราก็ลงไปนอนเล่นที่เถียงนาหรือกระต๊อบนั่น..


ปี พ.ศ.2518 นั้น ยอดเขาบางแห่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวม้ง จะมีการปลูกฝิ่นกันอย่างเปิดเผย เราชอบขึ้นไปชมไร่ฝิ่น ซึ่งเจ้าของไร่คุ้นเคยกับพวกเราก็มิได้มีปฏิกิริยาในทางลบแต่ประการใด หลังจากนั้นไม่กี่ปีทางราชการก็ปราบปรามอย่างหนัก การปลูกฝิ่นจึงหมดสิ้นไป หรือลบลี้มากขึ้นกว่าอดีตที่เคยทำมา



ภาพเก่าเล่าเรื่อง 2 ยานพาหนะและการเดินทาง

54 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 0:32 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 4511

สถานที่: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

วันเดือนปี: ปี พ.ศ. 2518

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ


ยานพาหนะในการทำงานคือ มอเตอร์ไซด์ ไม่ว่าเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง คุณสมบัติประการหนึ่งคือ ต้องขับขี่มอเตอร์ไซด์ได้ สมัยนั้นเป็น เอนดูโร 125 CC รุ่นที่เห็นเป็น ซูซูกิ 2 จังหวะ ใช้ปีเดียวพัง ต่อมาเปลี่ยนเป็น Honda รุ่น Trial 125 CC ระบบ 4 จังหวะ


ต้องใส่หมวกกันน็อค (Helmet) ใส่ถุงมือ และใส่รองเท้าหุ้มหน้าแข้ง ตามกติกาฝรั่งที่ว่า safety first เป็นครั้งแรกๆในสังคมไทยที่คนขับขี่มอเตอร์ไซด์ต้องใส่หมวกกันน็อค ชาวบ้านชอบมามองเราเป็นตัวตลก


สภาพพื้นที่ หมู่บ้านใน อ.สะเมิง อย่างที่เห็น เป็นป่าเขา ทางลำบากมาก ลำห้วยแม่ขานสมัยนั้นยังไม่มีสะพาน ต้องข้ามลำต้นไม้ที่ชาวบ้านช่วยกันทำ เมื่อฤดูน้ำหลาก ต้นไม้ใหญ่ๆที่เห็นก็หลุดลอยไปตามน้ำ ออกเขื่อนภูมิพลโน้น ฤดูแล้งก็หาต้นไม้มาทำใหม่…!!!??? ฤดูฝน เส้นทางเป็นร่องลึก ดินเหนียว ล้มแล้วล้มอีก บางปีต้องพันล้อด้วยโซ่ และมีไม้แคะดินออกจากล้อประจำรถเรา


น้ำในลำห้วยแม่ขานสะอาดใสแจ๋ว ชาวบ้านบางคนก็ดื่มกิน

มอเตอร์ไซด์เหล่านี้ทุกคนต้องเรียนวิธีการซ่อมแซมปัญหาพื้นฐานได้ และต้องทนุถนอมดุจหญิงสาว เพราะเมื่อใช้งานครบสามปี ทางโครงการโอนรถนี้ให้เป็นสมบัติส่วนตัวของเจ้าหน้าที่คนนั้นเลย…


ภาพเก่าเล่าเรื่อง 1 วิถีนักพัฒนาชุมชน

30 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 11 กรกฏาคม 2009 เวลา 23:56 ในหมวดหมู่ งานพัฒนาสังคม #
อ่าน: 3184

สถานที่: บ้านแม่สาบ ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

วันเดือนปี: ประมาณปี พ.ศ. 2519

โครงการ: โครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ อ.สะเมิง

โดย: Fridrich Naumann Stiftung ภายใต้ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ


งานหน้าที่หลักประการหนึ่งคือตระเวนไปตามหมู่บ้านต่างๆของพื้นที่โครงการ เพื่อประชุมชาวบ้านในเรื่องการจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน หรือกลุ่มออมทรัพย์ ที่มีสันนิบาตเครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุน ภายใต้การดูแลของสภาแคทอลิคแห่งประเทศไทย ต่อมาจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ชนิดหนึ่งภายใต้กรมส่งเสริมสหกรณ์

เราจะตระเวนไปตามหมู่บ้านแล้วพักนอนที่บ้านชาวบ้าน ซึ่งจะมีบ้านประจำที่เราสนิทสนมด้วย บ้านนี้เป็นไทยลื้อ ชายหนุ่มที่ยืนขวามือของผมเป็นลูกชายแม่อุ้ย พ่ออุ้ย เจ้าของบ้าน ที่เราเลือกให้เป็น เกษตรกรผู้นำประจำหมู่บ้านนี้ ไทยลื้อเป็นชนเผ่าที่ขยัน แข่งขันกันทำงาน รักความก้าวหน้า อัตราการเรียนหนังสือสูงๆของเด็กรุ่นใหม่สูงกว่าชนเผ่าอื่นๆ ปรับตัวต่อเทคโนโลยี่ได้เร็ว ฉลาด อิอิ สาวก็สวย..ด้วย :-



Main: 0.10080599784851 sec
Sidebar: 0.13218808174133 sec