ความหลังที่สุรินทร์

โดย bangsai เมื่อ 1 พฤษภาคม 2011 เวลา 0:30 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 927

ประมาณปี พ.ศ. 2523-2525 ผมเผ่นจากภาคเหนือไปอีสานเพราะควันหลงเดือนตุลา คนข้างกายได้รับทุนจากรัฐมนตรีเยอรมันไปเรียนที่นั่น

ทำไมต้องสุรินทร์: เพราะ ลาวเวียตนาม เขมรถูกปลดปล่อย ศัพท์ปลดปล่อยนั้นเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์ เหมือนดงหลวง มุกดาหารที่ผมทำงานมาสมัยโน้น ชาวบ้านก็บอกว่าที่นี่คือเขตปลดปล่อยมาก่อน

เพราะสงครามจึงเกิดการอพยพมากมาย โดยเฉพาะชายแดนไทย-กัมพูชาเพราะมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จึงมีค่ายอพยพชายแดนบริเวณนี้มากมาย และนี่เองที่เป็นเหตุให้มีหน่วยงานต่างประเทศนับร้อยๆองค์กรเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อนฝูงผมจำนวนมากต่างมาทำงานกับค่ายอพยพเหล่านี้ ที่จังหวัดสุรินทร์ก็มีค่ายอพยพเช่นกัน

เวลาผ่านไป เกิดประเด็นทางสังคมเกิดขึ้นคือ คนอพยพในค่ายมีความกินดีอยู่ดีมากกว่าชาวบ้านคนไทยที่อยู่รอบๆค่าย…ประเด็นทางสังคมนี้เอง หน่วยงานต่างประเทศที่มาทำงานในค่ายนั้นต่างก็ทยอยสร้างโครงการพัฒนาชนบทไทยไปด้วย

พ.ศ. นั้นเองที่เมืองไทยเป็นยุคองค์กรพัฒนาเอกชน จึงเกิด กป.อพช. (คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชน) เรียก NGO นั้นแหละ ผมเองเป็นหนึ่งในกลุ่มก่อครั้ง เพราะก่อนหน้านั้นเรามีการประชุมกันที่ชะอำทุกปี จนพัฒนามาดังกล่าว

CUSO ย่อมาจาก Canadian University Services Oversea เป็นองค์กรหนึ่งที่สนใจจะทำงานพัฒนาชนบทตามชายแดนไทย-กัมพูชาที่จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมองค์กรที่สนใจมาร่วมกันทำโครงการในพื้นที่เดียวกัน เท่าที่ผมจำได้ มี GGAT ของคุณหญิงกนก สามเสนวิลล์ มี PDA ของท่านมีชัย วีระไวทยะ มีมูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม มี บัณทิตอาสาสมัครของจุฬาฯที่มีท่านอาจารย์จอห์น อึ้งภากรณ์ มีมูลนิธิโฮลสหทัย มี…ฯ มีทีมคณะพี่เลี้ยงเป็นแกนกลาง ผมเป็นหนึ่งในนั้น

ชายแดนไทย-กัมพูชาตรง อ.กาบเชิง อ.สังขะ อ.บัวเชด ของจังหวัดสุรินทร์นั้นชนพื้นคือชาวเขมร(สูง) ขะแมลือ ส่วนเขมรในประเทศเขมรนั้นเรียกเขมรต่ำหรือ ขะแมกรอม ภาษาราชการจะใช้คำว่าราษฎรไทยเชื้อสายเขมร

ผมไปทำงานใหม่ๆสมัยนั้น มีท่านอาจารย์ มรว.อคิน รพีพัฒน์ และทีมงาน ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และอีกหลายท่านเป็นวิทยากรอบรม โดยมีท่าน ดร.สุธีรา ทอมสัน(วิจิตรานนท์)เป็นที่ปรึกษาโครงการท่านอาจารย์สุธีราท่านเป็น Science Board of Canada ด้วยนะ ท่านอาจารย์สุธีราเป็นสตรีไทยคนแรกๆที่เปิดประเด็นสิทธิสตรีขึ้นในประเทศนี้

ผมต้องไปนอนในหมู่บ้านชายแดนที่เป็นชาวเขมรที่บ้าน “ขนาดมอญ” การอยู่บ้านชาวบ้านในชนบทนั้นไม่มีปัญหาสำหรับผม แต่ที่นี่ ผมเกิดปัญหาที่จำได้แม่นคือท้องผมเสีย และบ้านชาวบ้านไม่มีห้องน้ำ ต้องเข้าป่า…โฮยมันทรมานผม และมันเกิดเหตุกลางคืน….

ผมต้องไปเรียนภาษาเขมรที่วิทยาลัยครูสุรินทร์ มีการสอบด้วย เดี๋ยวนี้ลืมหมดแล้ว ช่วงที่เราทำงานที่นั่นก็ยังเกิดการปะทะกัน มีการซ้อมการอพยพ มีหลุมหลบภัย ชาวบ้านไปหาของป่าก็โดยกับระเบิดขาขาดบ่อยๆ

ที่นั่นผมรู้จักกันตรึม แซนโดนตา กนบติงต๊อง วัฒนธรรมเขมร ไม้ประดู่ที่มีลายสีดำสวยที่สุดที่ผมเคยเห็น เห็นพิธีกรรมชนเผ่าเขมร เห็นพิธีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ แม่แต่หมอจากศิริราชก็งง อธิบายไม่ได้ว่ามันคืออะไร

เห็นการตกเขียวข้าวจากแปลงนา งานสำคัญที่ผมได้ก่อฐานรากไว้ และบัดนี้เติบโตไปมากมายนั้นคือ กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน หรือกลุ่มออมทรัพย์ ทราบว่ามีเงินหลายสิบล้านบาทแล้ว

ผมออกมาจากที่นั่นแล้วไปอยู่ขอนแก่นก่อนที่โครงการจะจบลงเพราะมีงาน ของโครงการ USAID ที่ผมสนใจที่นั่น ที่สุรินทร์น้องๆก็ตั้งเป็นมูลนิธิ NET ขึ้นมาจนปัจจุบันนี้

มูลนิธิ NET ในปัจจุบันยังทำหน้าที่อยู่ชายแดนแถบนั้น และน้องๆก็เติบโตกัน

เมื่อเกิดการปะทะกันชายแดน และมีชาวบ้านอพยพ ผมดูข่าวแล้วก็นึกได้ว่า นั่นคือหมู่บ้านที่ผมทำงานมาทั้งนั้นเลย …..

« « Prev : เหวี่ยงแห..

Next : มะพร้าวกับโบสถ์ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2011 เวลา 6:22

    ผู้หญิงไทยจำนวนมาก ไปหลงเชื่อทฤษฎีฝรั่งว่าถูกกดขี่ ทั้งที่หญิงไทยมีสิทธิมากที่สุดในโลก มากกว่าหญิงฝรั่งร้อยเท่า ผมเชื่อเช่นนี้มานานแล้ว

    วันนี้มีการจัดอันดับโดยฝรั่ง ปรากฎว่าหญิงไทยได้อันดับหนึ่งของโลก ในด้านการเป็นผู้บริหาร

    ซึ่งผมไม่เองก็ได้ทำนายสถิตินี้ไว้เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว

    แต่ที่น่าทึ่งคือหญิงไทยยังไม่ได้เป็นนายกฯกะเขาสักที ในขณะที่อินเดีย ปากีสถานแท้ๆ ยังมีนายกหญิงได้เลย ไม่ต้องเอ่ย ศรีลังกา พม่า อินโด ฟิลิปินส์

    แต่นายกกะเทยเรามีมากที่สุดในโลก ในขณะที่เมกาเป็นสส.กะเทยก็เรื่องใหญ่ วิจารณ์กันทั่ว

    ประเทศไทยเรามันแปลกจริงหนอ

    NGO เราก็มาก แต่ส่วนใหญ่รับวาระและเงินทุนมาจากต่างชาติ ที่เป็นไทยแท้ๆ หาได้ยากมาก (เท่าที่ผมทราบ) บางกลุ่มดูไท้ไทย แต่ก็ไม่แคล้วมีเอี่ยวจากต่างชาติจนได้

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2011 เวลา 9:30

    เรื่องความเท่าเทียมหญิงชายนั้น เป็นมุมมองของฝรั่ง จริงๆ เพราะเรา “นำเข้า” แนวคิดนี้เข้ามา เหมือนเรื่องอื่นๆจำนวนมากมาย ผมคิดว่าบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ดี เช่นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด)
    สำหรับสังคมไทยคงท้องมองเสื่องวคามเท่าเทียมหญิงชายในบริบทวัฒนธรรมไทยด้วย แน่นอนวัฒนธรรมบางเรื่องก็ต้องการการปรับตัวเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ผลักสาระทางวัฒนธรรมออกไปแล้วเอาแนวคิดฝรั่งเข้ามาแทนที่ทั้งหมด ผมก็ไม่เห็นด้วยครับ

    พูดถึง NGO ผมต้องบอกว่า มีหลายกลุ่มหลายประเภท
    การรับเงินจากต่างประเทศนั้นต้องพูดให้จบครับ เดี๋ยววันหลังมาชำแหละเรื่องนี้กัน
    เพราะผมเติบโตมาจาก NGO ครับ

  • #3 ComsVope ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 ตุลาคม 2017 เวลา 13:33

    http://tadalafil777.com
    viagra in luxemburg cialis generic
    buy cialis online
    cialis online overnight delivery
    buy generic cialis

  • #4 keeddy ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 ตุลาคม 2017 เวลา 17:00

    http://tadalafil777.com
    cialis 20mg side effects
    buy cialis online
    buy generic cialis online without prescription
    buy generic cialis

  • #5 keeddy ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 ตุลาคม 2017 เวลา 18:45

    http://tadalafil777.com
    coupons for cialis 20mg
    buy cheap cialis online
    cialis online pharmacy canada
    buy cheap cialis online

  • #6 HicOxito ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 ตุลาคม 2017 เวลา 21:12

    http://tadalafil777.com
    how much are viagra pills cialis 20mg
    cheap cialis
    does generic cialis really work
    buy cialis online

  • #7 Ordini ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 ตุลาคม 2017 เวลา 21:47

    http://tadalafil777.com
    generic cialis effectiveness
    cialis online
    generic cialis online
    generic cialis


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.279865026474 sec
Sidebar: 0.052367925643921 sec